Angela Merkel – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 31 Dec 2020 11:21:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มรสุม ปี 2020 สุดยอด “ผู้นำหญิง” เฉิดฉายในเกมการเมืองโลก https://positioningmag.com/1312563 Thu, 31 Dec 2020 09:18:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312563 ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลอดปี 2020’ ทั่วโลกต้องเผชิญมรสุมโรคระบาดครั้งใหญ่ มาซัดกระหน่ำเเบบไม่หยุดหย่อน เเละจะส่งผลกระทบทุกภาคส่วน ต่อเนื่องไปอีกหลายปี

การมาของ COVID-19 ได้พลิกวิถีชีวิตของผู้คนไปเเบบคาดไม่ถึง เมื่อการเดินทางที่เคยไปไหนก็ได้ทั่วโลกกลับหยุดชะงัก ยอดผู้ติดเชื้อสะสมที่ยังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องหวั่นวิตกกับการกลายพันธุ์ที่มาซ้ำเติมระหว่างรอวัคซีน ทำให้เศรษฐกิจโลกที่ทรุดอยู่เเล้ว ต้องทรุดหนักลงไปอีก รัฐบาลในเเต่ละประเทศต้องต่อสู้กับการบริหารจัดการวิกฤต

ช่วงมรสุมที่ต้องเจอกับสารพัดความท้าทายตลอดปี 2020 นี้ เป็นช่วงเวลาที่ผู้นำหญิงได้เเสดงศักยภาพอันโดดเด่นในการบริหารประเทศ ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมจากประชาคมโลกไม่น้อย เเละผลงานของพวกเธอจะยังเฉิดฉายต่อไปในปี 2021 อย่างเเน่นอน

Positioning รวบรวมสุดยอดผู้นำหญิง’ (บางส่วน) ที่มีบทบาทสำคัญในเกมการเมืองโลกตลอดช่วงปีที่ผ่านมา

อังเกลา แมร์เคิล : เยอรมนี

เริ่มต้นกับสุดยอดหญิงเเกร่งอย่างอังเกลา แมร์เคิล’ (Angela Merkel) นายกรัฐมนตรีเเห่งเยอรมนี ผู้ได้รับการตัดอันดับจากนิตยสาร Forbes ให้เป็นผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกเป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน 

เยอรมนีถือเป็นประเทศผู้นำของสหภาพยุโรป (EU) ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันโครงการเศรษฐกิจเเละสังคมต่างๆ รวมไปถึงข้อตกลงดีลเบร็กซิตการเเยกตัวของสหราชอาณาจักร ที่เพิ่งบรรลุไปหมาดๆ จบมหากาพย์ยืดเยื้อยาวถึง 4 ปี

อ่านรายละเอียด : สรุป 10 ข้อสำคัญปิดดีล Brexit” อังกฤษ-EU

ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาด แมร์เคิลต้องเเบกภาระหนักอึ้ง จากสถานการณ์ในเยอรมนีนั้นไม่ค่อยสู้ดีนัก เมื่อต้องติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุดของโลก โดยยอดล่าสุดอยู่ที่ราว 1.29 ล้านราย รักษาหายแล้ว 9.5 แสนราย 

ที่ผ่านมา เยอรมนีใช้มาตรการควบคุมโควิดที่เข้มงวดน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป หลังจากผ่านการระบาดในช่วงเเรก เเละตอนนี้กำลังได้รับผลกระทบจากการระบาดอีกระลอก เมื่อเริ่มพบผู้ติดเชื้อใหม่รายวันเป็นจำนวนมากกว่าการระบาดช่วงฤดูใบไม้ผลิถึง 3 เท่า

อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมัน

ดังนั้น รัฐบาลเยอรมนี จึงขยายการใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ด้วยการสั่งปิดร้านค้าที่ไม่จำเป็น รวมถึงให้มีการเรียนการสอนผ่านทางออนไลน์ ไปจนถึงอย่างน้อยวันที่ 10 มกราคม 2021

ในช่วงมรสุม แมร์เคิล ชนะใจประชาชนด้วยการพูดคุยอย่างเปิดเผยว่าประเทศชาติกำลังเผชิญความท้าทายอะไรอยู่ โดยในช่วงเเรกๆ ที่เกิดการเเพร่ระบาด เธอได้ออกมายอมรับอย่างรวดเร็วว่า COVID-19 เป็นภัยที่ร้ายแรงมากต้องรีบจัดให้มีการตรวจหาเชื้อติดตามและกักตัวผู้ติดเชื้อ

EU ได้เริ่มฉีดวัคซีน COVID-19 แล้ว เมื่อช่วงกลางเดือน ธ.. ที่ผ่านมา โดยเริ่มเเจกจ่ายให้กลุ่มเปราะบาง และบุคลากรการแพทย์ก่อน ซึ่งคุณยายวัย 101 ปีได้รับเป็นคนแรกในเยอรมนี

สิ่งที่น่าจับตามองในปี 2021 คือการประกาศวางมือทางการเมืองของเเมร์เคิล ที่กำลังก้าวลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังหมดวาระลงในปีหน้านี้ ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการเมืองยุโรป ต้องติดตามกันว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

จาซินดา อาร์เดิร์น : นิวซีเเลนด์ 

โดดเด่นทั้งบุคลิกเเละผลงาน ต้องมอบมงให้จาซินดา อาร์เดิร์น” (Jacinda Ardern) นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ที่ได้รับคำชมจากนานาชาติอย่างล้นหลาม เเละการชื่นชมชมจากประชาชนในประเทศ ด้วยการเลือกให้ชนะเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2

ตลอดการทำงานในตำเเหน่งผู้นำประเทศ เธอได้ดำเนินนโยบายต่างๆ ที่หลากหลายเเละเเปลกใหม่ทั้งการรับมือผู้ก่อการร้ายที่นำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายครอบครองอาวุธปืน การส่งเสริมสิ่งเเวดล้อมผลักดันปัญหาสภาพอากาศในเวทีโลก การสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ เเละการสร้างงานต่างๆ

เเละในขณะที่ประเทศต้องรับมือกับโรคระบาด อาร์เดิร์นก็ตัดสินใจได้เฉียบขาดไม่เเพ้ใคร

โดยนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ตั้งใจจะหยุดการแพร่ระบาดโดยสิ้นเชิง ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ตอนที่ผู้เสียชีวิตในประเทศมีแค่ 6 รายเท่านั้น เพื่อเดินหน้าตรวจและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศอย่างจริงจัง ซึ่งในช่วงกลางปี 2020 นิวซีเเลนด์มียอดผู้ติดเชื้อใหม่เป็นศูนย์เเละติดลิสต์เป็นหนึ่งในประเทศที่จัดการโรคระบาดได้ดีที่สุด

จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ (Photo by Hagen Hopkins/Getty Images)

นิวซีแลนด์ ได้สั่งจองวัคซีน COVD-19 มากเพียงพอต่อประชากรภายในประเทศทั้งหมดราว 5 ล้านเเล้ว โดยต่อไปจะมีการเเบ่งปันวัคซีนส่วนต่างไปให้ประเทศใกล้เคียงด้วย

รัฐบาลนิวซีแลนด์เพิ่งให้ไฟเขียวข้อตกลง Travel Bubble กับออสเตรเลีย ภายในไตรมาสแรกปี 2021 เป็นความพยายามครั้งใหม่ หลังจากเคยคุยกันมาหลายรอบแต่เป็นอันพับแผนเพราะการระบาดซ้ำ โดยข้อตกลงนี้สำคัญกับภาคท่องเที่ยวของนิวซีแลนด์ ซึ่งมีลูกค้าต่างประเทศเป็นชาวออสเตรเลียเกือบ 50%

ซานนา มาริน : ฟินเเลนด์ 

นี่คือยุคของคนรุ่นใหม่ของจริงกับซานนา มาริน (Sanna Marin) นายกรัฐมนตรีหญิงที่อายุน้อยที่สุดในโลก วัย 34 ปี จากฟินแลนด์ เธอเดินหน้าสนับสนุนความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ จัดตั้งรัฐบาลผสมที่ล้วนมีผู้หญิงเป็นผู้นำพรรค ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการเมืองโลก

มารินได้เสนอตารางการทำงานแบบใหม่ โดยแบ่งให้ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ ในเวลา 6 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้คนงานใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น

ก่อนที่เธอจะเป็นนายกรัฐมนตรี มารินเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของฟินแลนด์ ในขณะที่อยู่ในตำแหน่งดังกล่าว Marin สนับสนุนให้มีเวลาทำงานน้อยลง เพื่อปรับปรุงความสามัคคีและผลผลิตของพนักงาน ขณะที่ปัจจุบันฟินแลนด์ทำงานแปดชั่วโมงต่อวัน ห้าวันต่อสัปดาห์

ซานนา มาริน นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์

ฉันเชื่อว่าผู้คนควรใช้เวลากับครอบครัว คนที่รัก งานอดิเรก และใช้เวลากับด้านอื่นๆ ของชีวิต เช่น วัฒนธรรม และนี่อาจเป็นขั้นต่อไปสำหรับชีวิตการทำงานของเรา

ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ก็สร้างความท้าทายให้ผู้นำรุ่นใหม่ไม่น้อย เเต่ฟินแลนด์ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับเสียงชื่นชมในการรับมือ COVID-19 อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่วันก่อน ทางการระบุว่า พลเมืองฟินแลนด์อย่างน้อย 1 คนที่เพิ่งเดินทางกลับจากสหราชอาณาจักร ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโรค COVID-19  กลายพันธุ์ก็ต้องรอดูว่ารัฐบาลภายใต้การนำของซานนา มารินจะจัดการวิกฤตนี้ต่อไปอย่างไร

ไช่อิงเหวิน : ไต้หวัน 

เราคงคุ้นเคยกับชื่อของไช่อิงเหวิน(Tsai Ing-wen) ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของไต้หวัน ที่ขึ้นชื่อในความเเข็งเเกร่ง ด้วยการการดำเนินนโยบายแข็งกร้าวต่อจีนแผ่นดินใหญ่พยายามผลักดันให้ไต้หวันมีบทบาท เเละเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก รวมถึงการประกาศให้ไต้หวันใช้กฎหมายสมรสเพศเดียวกันเป็นชาติแรกในเอเชีย 

โดยเมื่อต้นที่ผ่านมา ไช่อิงเหวิน ชนะเลือกตั้งด้วยคะเเนนเสียงท่วมท้น นั่งเก้าอี้ผู้นำไต้หวันต่อเป็นสมัยที่ 2

ความท้าทายในปีนี้ของไช่อิงเหวิน นอกเหนือจากการเล่นการเมืองเเห่งอำนาจเเล้ว เธอยังต้องเจอวิกฤตการระบาดของ COVID-19 ที่ค่อนข้างสาหัสทีเดียว ในช่วงเเรกไต้หวันได้รับการยกย่องว่าจัดการโรคระบาดได้ดีลำดับต้นๆ ของโลก ก่อนจะมีการระบาดซ้ำในเวลาต่อมา

ไช่อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน (Photo by Clicks Images/Getty Images)

เเผนการรับมือ COVID-19 ของไต้หวัน ที่สำคัญคือการตื่นตัว และไม่นั่งอยู่เฉยๆ จากนั้นไต้หวันใช้วิธีรุกด้วยการตั้งศูนย์บัญชาการกลาง Central Epidemic Command Center ศูนย์ CDC นี้ทำให้ไต้หวันสามารถเดินมาตรการและตัดสินใจได้เร็วทันการณ์ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจจับและติดตามผู้ติดเชื้อแบบไม่คลาดสายตา

ขณะเดียวกัน ไต้หวันทำได้ดีคือการเตรียมพร้อมด้านอุปกรณ์ หน้ากากที่ไต้หวันไม่ขาดตลาดและมีราคาตั้งที่ 16 เซ็นต์ต่อแผ่นเท่านั้น (ราว 0.17 บาท) ขณะเดียวกันก็ให้ความรู้ต่อสาธารณชนอย่างทั่วถึง คู่ไปกับภาคประชาชนที่ลงมือดูแลตัวเอง ตรวจวัดอุณหภูมิลูกหลานตั้งแต่ที่บ้าน แล้วรายงานให้ครูทราบเมื่อเดินทางมาถึงโรงเรียน ทั้งหมดนี้ไต้หวันทำได้เพราะการเรียนรู้จากประสบการณ์ล้วนๆ

อ่านเพิ่มเติม : กรณีศึกษา: ถอด 8 บทเรียน ทำไมไต้หวันคุม COVID-19 ได้อยู่หมัด!

ไช่อิงเหวิน เป็นหนึ่งในผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อเกมการเมืองโลก เรื่อยไปอย่างน้อยจนถึงปี 2024 เเน่นอน

คามาลา แฮร์ริส : สหรัฐอเมริกา 

ตั้งเเต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป ใครๆ ก็คงจับตาการเมืองฉากใหม่ของอเมริกา

คามาลา แฮร์ริส (Kamala Harris) สร้างประวัติศาสตร์ เป็นสตรีคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เเละยังเป็นลูกครึ่งเอเชียคนแรก และชาวอเมริกันผิวสีคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งนี้ด้วย

จากอัยการเขตหญิงคนแรกของซานฟรานซิสโก สู่การขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศเบอร์สอง “แฮร์ริสจุดประกายความหวังในโลกการเมืองของผู้หญิงอีกครั้ง หลังฮิลลารี คลินตันพ่ายแพ้ให้แก่ประธานาธิบดีทรัมป์ ในการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน

แม้ว่าฉันจะเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ทำงานนี้ แต่ฉันจะต้องไม่ใช่คนสุดท้าย

คามาลา แฮร์ริส ว่าที่รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ (Photo : Twitter / @KamalaHarris )

หลังรู้ผลว่าชนะเลือกตั้ง แฮร์ริส ได้กล่าวยกย่องผู้หญิงหลากหลายเชื้อชาติและสีผิวในอเมริกา ที่ช่วยต่อสู้ให้ผู้หญิงผิวสีในอเมริกาได้มีวันนี้ ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ และสิทธิที่จะได้แสดงความคิดเห็นหรือร่วมลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยเธอบอกว่า เด็กผู้หญิงทุกคนที่กำลังดูอยู่ จะเห็นว่านี่คือประเทศแห่งความเป็นไปได้

โจ ไบเดนเพิ่มความหลากหลายทางเพศในคณะทำงานระดับสูงของเขา ด้วยการเปิดตัวทีมสื่อสารหญิงล้วน (4 คนในนั้นเป็นผู้หญิงผิวดำ) ทีมเศรษฐกิจหญิงแกร่ง นำโดยอดีตประธานเฟดอย่างจาเน็ต เยลเลนเเละดึง ส.ส. หญิงอายุน้อยมานั่งกระทรวงแรงงาน นี่คือความต้องการพลิกการเมืองจากยุคของโดนัลด์ ทรัมป์

รอดูกันว่า ปี 2021 การเปลี่ยนเเปลงด้วยพลังหญิงในรัฐบาลมหาอำนาจอย่างอเมริกา จะสร้างแรงกระเพื่อมได้มากน้อยเพียงใด

 

]]>
1312563
เยอรมนี เตรียมใช้ไม้เเข็ง สั่งให้ “ปั๊มน้ำมัน” ทุกแห่ง ต้องติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า https://positioningmag.com/1282301 Fri, 05 Jun 2020 12:13:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282301 เยอรมนี รุกหนักเปลี่ยนทิศทางอุตฯ ยานยนต์ อัดเเพ็กเกจจูงใจประชาชน เตรียมกำหนดให้สถานีบริการน้ำมันทุกแห่งในประเทศ ติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ 1.3 แสนล้านยูโร (ราว 4.65 ล้านล้านบาท)

โดยรัฐบาลตั้งเป้าจะกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ด้วยการช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่ 6,000 ยูโรต่อคัน (ราว 215,000 บาท) รวมถึงจะเพิ่มภาษีรถยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิลให้สูงกว่าภาษีรถยนต์พลังงานทางเลือก เช่นจะขึ้นภาษีรถ SUV คันใหญ่ที่ก่อมลภาวะ

ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลเยอรมนีครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังคู่เเข่งในวงการผู้ผลิตยานยนต์อย่าง “ฝรั่งเศส” ประกาศเเผนทุ่มเงินกว่า 8,000 ล้านยูโร (ราว 2.8 เเสนล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ตั้งเป้าเป็นเบอร์หนึ่ง ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของยุโรป โดยจะจูงใจประชาชนด้วยการมอบเงิน 7,000 ยูโร (ราว 2.4 เเสนบาท) ให้กับบุคคลทั่วไปที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนบริษัทที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไปใช้ในองค์กรจะได้รับเงินสนับสนุน 5,000 ยูโร (ราว 1.7 เเสนบาท) ต่อคัน

อ่านเพิ่มเติม : เปิดเเผน “ฝรั่งเศส” อัดงบฟื้นอุตฯยานยนต์ หวังพลิกวิกฤตสู่เบอร์ 1 รถยนต์ไฟฟ้าเเห่งยุโรป

เเต่การผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย…จากข้อมูลจากกรมขนส่งเยอรมนี ระบุว่า จากจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่จดทะเบียนในเดือนพฤษภาคมที่ 168,148 คัน มีเพียง 3.3% เท่านั้นที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า เเละตลอดทั้งปี 2019 มีรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนใหม่ในประเทศเพียง 1.8% ขณะที่รถยนต์ดีเซลและเบนซินมีสัดส่วนถึง 32% และ 59.2% ตามลำดับ

Diego Biasi ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง Quercus Real Assets ให้ความเห็นกับ Reuters ว่า เหตุผลหลักกว่า 97% ของคนที่ไม่เลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า มาจากความกังวลที่มีต่อการชาร์จแบตเตอรี่ ดังนั้นการที่รัฐบาลกำหนดให้ทุกปั๊มน้ำมันมีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นการคลายความกังวลของประชาชนได้ดี เพราะพวกเขาจะอุ่นใจขึ้นว่ามีปั๊มน้ำมันเปิดอยู่เสมอ

ข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานและน้ำของเยอรมนี (BDEW) ระบุว่า เพื่อให้ครอบคลุมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตตามเป้าหมาย ควรมีสถานีชาร์จอย่างน้อย 70,000 แห่ง และสถานีชาร์จเร็วอีก 7,000 เเห่ง โดยปัจจุบันมีสถานีชาร์จอยู่ 28,000 แห่งทั่วประเทศ ขณะที่จำนวนสถานีบริการน้ำมันลดลงเหลือ 14,118 แห่งในปี 2020 จากจำนวน 40,640 แห่งในปี 1965

ทั้งนี้ เมื่อปีที่ผ่านมา Angela Merkel นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประกาศว่าจะมีสถานีชาร์จไฟฟ้า 1 ล้านแห่งทั่วประเทศให้ได้ภายในปี 2030

 

ที่มา : Reuters , electrek

]]>
1282301