BigPay – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 18 Jul 2024 09:25:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “แอร์เอเชีย” บุกธุรกิจการเงิน! เปิดตัว “BigPay” ในไทย เริ่มจากอี-วอลเล็ต อนาคตมุ่งสินเชื่อดิจิทัล https://positioningmag.com/1483253 Thu, 18 Jul 2024 08:12:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1483253 “แคปปิตอล เอ” เจ้าของสายการบิน “แอร์เอเชีย” เปิดตัวบริการทางการเงิน “BigPay” ในประเทศไทย ประเดิมด้วยอีวอลเล็ต และบัตรเสมือนจาก Visa ใช้ชำระเงินได้ทั่วโลก พร้อมฟีเจอร์ช่วยผู้ใช้เก็บออมเงิน อนาคตเตรียมเปิดระบบให้กู้สินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) ตั้งเป้าหมายปี 2567 ดึงผู้ใช้ 1 แสนราย และมุ่งสู่ 1 ล้านรายภายใน 2-3 ปีข้างหน้า

“BigPay” ฟินเทคในเครือ “แคปปิตอล เอ” เจ้าของสายการบิน “แอร์เอเชีย” เริ่มต้นเปิดตัวในประเทศไทยแล้ว หลังจากก่อตั้งครั้งแรกที่มาเลเซียในปี 2560 และขยายสู่สิงคโปร์ในปี 2563

การเปิดตัว BigPay ในประเทศไทย เริ่มจากฟังก์ชันกระเป๋าเงินดิจิทัลหรือ “อี-วอลเล็ต” ที่มีฟีเจอร์พิเศษคือ “Stash” ช่วยในการเก็บออมเงิน เพราะฟีเจอร์นี้ทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างกระเป๋าย่อยเพื่อวางเป้าหมายการเก็บออมต่างๆ ได้ภายในแอปฯ เช่น ทริปท่องเที่ยว ซื้อของขวัญ

BigPay
ตัวอย่างการใช้งาน BigPay

รวมถึงมีระบบชำระเงินผ่าน “Visa Virtual Card” หรือบัตรเสมือนแบบ Prepaid ที่ร่วมกับ Visa จึงใช้ชำระเงินได้ที่ 130 ล้านร้านค้าทั่วโลกที่รับชำระเงินผ่านระบบของ Visa อยู่ขณะนี้ สามารถใช้จ่ายแบบออนไลน์ก็ได้ หรือสั่งบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card มาใช้ชำระเงินที่หน้าร้านค้าแบบออฟไลน์ก็ได้เช่นกัน

จุดขายของ BigPay แน่นอนว่าต้องเป็นอีโคซิสเต็มของแคปปิตอล เอเองที่มีทั้งสายการบิน “แอร์เอเชีย” และแอปพลิเคชันจองเที่ยวบินและที่พัก “AirAsia MOVE” ดังนั้น ผู้ใช้ BigPay จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เมื่อใช้ระบบนี้ชำระเงินในการจองเที่ยวบินกับแอร์เอเชีย หรือใช้จ่ายบนแอปฯ AirAsia MOVE

BigPay
บัตรพลาสติก Platinum Visa Prepaid Card

 

อนาคตมุ่งสู่ “สินเชื่อดิจิทัล”

“อภิฤดี ปรัชญาเศรษฐ” ผู้จัดการ BigPay ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ขั้นต่อไปของแพลตฟอร์มคือจะมีการปล่อย “สินเชื่อดิจิทัล” (Digital Lending) ให้กับผู้ใช้ โดยจะเน้นการออกสินเชื่อส่วนบุคคลที่เหมาะกับอีโคซิสเต็มของเครือเอง เช่น การท่องเที่ยว

ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาโมเดลธุรกิจสินเชื่อดิจิทัลว่าจะเป็นการพัฒนาระบบด้วยตนเองและขอใบอนุญาตเอง หรือการร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการเงินที่มีใบอนุญาตอยู่แล้วในประเทศไทยซึ่งยังอยู่ระหว่างเจรจา ทั้งนี้ บริการสินเชื่อดิจิทัลขณะนี้ BigPay ในมาเลเซียเริ่มให้บริการไปแล้วและบริษัทเป็นผู้พัฒนาระบบเครดิตสกอริ่งด้วยตนเอง ในเชิงศักยภาพในการทำระบบจึงสามารถพัฒนาเองได้

BigPay
“อภิฤดี ปรัชญาเศรษฐ” ผู้จัดการ BigPay ประจำประเทศไทย

อภิฤดีคาดว่าการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลของ BigPay ในไทยอาจจะเริ่มต้นได้ภายในปี 2568 และจะทำให้แอปฯ เป็น “นีโอแบงก์” เต็มตัว

 

กลุ่มเป้าหมาย Gen Z เริ่มต้นที่ 1 แสนราย

สำหรับกลุ่มเป้าหมายของ BigPay อภิฤดีกล่าวว่าจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ “Gen Z” ซึ่งในไทยมีอยู่ประมาณ 13 ล้านคน ในจำนวนนี้มี 3 ล้านคนที่เข้าสู่ช่วงวัยทำงานแล้ว มีความต้องการบริการทางการเงินที่ช่วยจัดการและเก็บออมเงิน

เบื้องต้นคาดว่าภายในปี 2567 จะมีผู้ใช้งาน BigPay ประมาณ 1 แสนราย และตั้งเป้าว่าจะไปให้ถึง 1 ล้านคนให้ได้ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า

“โทนี เฟอร์นานเดส” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แคปปิตอล เอ และ MOVE Digital

ด้าน “โทนี เฟอร์นานเดส” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แคปปิตอล เอ และ MOVE Digital เปิดเผยว่า ในแง่ธุรกิจสายการบิน ประเทศไทยถือเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของ “แอร์เอเชีย” ทำให้บริษัทมีฐานข้อมูลลูกค้าเป็นทุนเดิมที่จะช่วยต่อยอดให้กับธุรกิจการเงินได้ง่ายขึ้น รวมถึงที่ผ่านมาบริษัทมีการออกบัตรเครดิตร่วมกับ “ธนาคารกรุงเทพ” และได้ผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคชาวไทย จึงมีความเชื่อมั่นในตลาดไทยว่าจะให้การตอบรับ BigPay

โทนียังเปิดเผยแผนทางธุรกิจของ BigPay ว่าจะขยายบริการไปยังประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะทำให้ BigPay มีบริการใน 5 ประเทศอาเซียน สร้างอีโคซิสเต็มทำให้เป็นแพลตฟอร์มโอนเงินระหว่างประเทศได้

“บางคนบอกว่าเรามาช้าไปแล้วในธุรกิจนี้ แต่ผมมองย้อนกลับไปเมื่อ 23 ปีก่อน เราเริ่มต้นสายการบินแอร์เอเชียด้วยเครื่องบินแค่ 2 ลำ จนมาถึงวันนี้เรามี 250 ลำ ผมจึงเชื่อว่าธุรกิจนี้ยังมีที่ให้เราเติบโต และหวังว่าเราจะทำได้แบบที่แอร์เอเชียเคยทำ” โทนีกล่าว “BigPay จะใช้ปรัชญาธุรกิจแบบเดียวกับแอร์เอเชียคือให้คุณค่าสมราคาและพาทุกคนไปทุกที่ที่ไม่เคยมีใครคาดคิด”

]]>
1483253
‘แอร์เอเชีย’ ปิดดีล ‘โกเจ็กไทย’ เดินหน้าปั้น ‘ซูเปอร์แอป’ เต็มตัว https://positioningmag.com/1341096 Wed, 07 Jul 2021 07:56:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341096 ช่วงเดือนกันยายนปี 2020 มีข่าวว่าสายการบินราคาประหยัดอย่าง ‘แอร์เอเชีย’ (AirAsia) พยามยามที่จะสร้าง ‘ซูเปอร์แอป’ ของตัวเองเพื่อจะแข่งขันกับ ‘โกเจ็ก’ (Gojek) และ ‘แกร็บ’ (Grab) โดยจะให้บริการทั้งส่งอาหาร, ของสด, บริการอีคอมเมิร์ซ และเพย์เมนต์ ล่าสุด แอร์เอเชียก็ปิดดีลกับ ‘โกเจ็กไทย’ เพื่อเดินหน้าปั้นซูเปอร์แอปตามที่ตั้งเป้าไว้

อ่าน >>> ‘AirAsia’ เบรกเรื่องบิน หันมาปั้น ‘ซูเปอร์แอป’ ท้าชน ‘Grab’ ‘Gojek’ และ ‘Wechat’

มีรายงานจาก Nikkei Asia ระบุว่า สายการบินราคาประหยัด ‘แอร์เอเชีย’ กำลังพูดคุยในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อซื้อกิจการ ‘โกเจ็ก’ ในประเทศไทย โดยแหล่งข่าวในรัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยว่า หน่วยงานที่กำกับของมาเลเซีย ได้อนุมัติให้แอร์เอเชียซื้อกิจการได้แล้ว โดยคาดว่าจะมีการประกาศการทำสัญญาระหว่างกันเร็ว ๆ นี้

ล่าสุด ‘แอร์เอเชีย ดิจิทัล’ หน่วยธุรกิจด้านดิจิทัลภายใต้กลุ่มแอร์เอเชียก็ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าการเข้าซื้อกิจการของโกเจ็กในประเทศไทยเสร็จสิ้นแล้ว โดยข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปตามแผนการเดินหน้าขยายการเติบโตของ airasia super app ให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน

ขณะเดียวกันก็ทำให้โกเจ็กสามารถเพิ่มการลงทุนในการดำเนินงานได้โดยเฉพาะในตลาด เวียดนาม และ สิงคโปร์ โดยโกเจ็กจะเข้าถือหุ้นบางส่วนในแพลตฟอร์ม airasia super app ซึ่งมีมูลค่าประเมินทางตลาดอยู่ที่ประมาณ 1พันล้านเหรียญสหรัฐ

โทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มแอร์เอเชีย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดหลักของ airasia super app ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการเสริมศักยภาพและสร้างระบบนิเวศธุรกิจของโกเจ็กให้ดีขึ้น โดยเฉพาะสำหรับพนักงานรับส่งของ ร้านค้า และลูกค้าด้วยสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่มีมากขึ้น เช่น อาหาร ของชำ สินค้าเกี่ยวกับความงาม และการจัดส่งพัสดุด่วน ควบคู่ไปกับบริการเรียกรถรับ-ส่ง โดยตั้งเป้าขยายสู่ตลาดใหม่ในประเทศ อาทิ เชียงใหม่และภูเก็ตในอนาคตอันใกล้

“การประกาศในวันนี้คือ การเริ่มต้นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระยะยาวอย่างยิ่งใหญ่กับ Gojek ของกลุ่มแอร์เอเชีย ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมสั่นสะเทือนอย่างแน่นอน ด้วยการผนึกกำลังและสานต่อธุรกิจที่มั่นคงของโกเจ็กในประเทศไทย เชื่อว่าเราจะสามารถขับเคลื่อนความมุ่งมั่นของเราในพื้นที่นี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ”

อ่าน >>> เหล้าเก่าในขวดใหม่? รื้อเหตุผล ทำไม ‘Get’ ถึงต้องเป็น ‘Gojek’

ปัจจุบัน กลุ่มดิจิทัลของแอร์เอเชียประกอบด้วยบริษัทดิจิทัลหลัก 3 ส่วน ได้แก่ airasia super app’ แพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์สำหรับการท่องเที่ยว อีคอมเมิร์ซ บริการทางการเงิน บริการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์พืชผลทางการเกษตรที่ขนส่งตรงจากฟาร์มผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพและการศึกษา

‘Teleport’ บริษัทร่วมทุนด้านการขนส่งและลอจิสติกส์ พร้อมส่งสินค้าภายใน 24 ชั่วโมงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครอบคลุม 77 เมืองใน 5 ประเทศ และธุรกิจฟินเทค BigPay’ ที่กำลังเป็นผู้ให้บริการด้านธุรกรรมธนาคารแบบเสมือน (Virtual Bank) รายแรกในภูมิภาค มีผู้ใช้บริการ 1.3 ล้านราย

ทั้งนี้ แอป Gojek จะยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ สำหรับผู้ใช้เพื่อรับบริการในกรุงเทพฯ จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 จนกระทั่งรวมกับ airasia super app ในขณะที่พนักงานรับส่งของทุกคน และร้านค้า จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานกับ airasia super app เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างต่อเนื่องต่อไป

Source

]]>
1341096