Citi – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 15 Jun 2024 03:58:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 UOB เผย “โอนย้ายลูกค้า Citi เป็นไปด้วยดี มองปัญหาการจ่ายเงินเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าคนละแบบ แต่แก้ปัญหาแล้ว” https://positioningmag.com/1478242 Fri, 14 Jun 2024 14:30:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478242 ในช่วงที่ผ่านมาลูกค้าของ Citi ที่ได้โอนย้ายมาเป็นลูกค้า UOB ประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นทั้งการไม่สามารถติดต่อกับ Call Center ได้ หรือแม้แต่ปัญหาระบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ ซึ่งล่าสุดสถาบันการเงินรายนี้ได้กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวได้กำลังทยอยแก้ปัญหาอยู่

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย (UOB) ได้ชี้แจงเรื่องราว รวมถึงการแก้ไขปัญหา หลังจากไม่กี่วันที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ทางธนาคารเร่งให้ทางธนาคารแก้ไขปัญหาการถ่ายโอนบัญชีลูกค้าจากซิตี้แบงก์ (Citi) มายังธนาคาร และกำชับให้ธนาคารเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจาก UOB ได้ซื้อธุรกิจรายย่อยของซิตี้แบงก์ในประเทศไทย ประกอบไปด้วยกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย ในปี 2022 และยังรวมถึงประเทศอื่นไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม

Positioning รวบรวมประเด็นสำคัญจากผู้บริหารของ UOB หลังจากมีการย้ายลูกค้าจากเดิมที่อยู่ Citi มายังระบบของ UOB ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนเป็นต้นมา

การย้ายระบบเป็นไปได้ด้วยดี

ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวว่า ธนาคารได้ดำเนินการโอนย้ายบัญชีลูกค้าจากซิตี้แบงก์ ประเทศไทย จำนวนกว่า 1.2 ล้านราย มายังระบบของธนาคารยูโอบี โดยเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมาและในขั้นตอนการโอนย้ายมีความปลอดภัยที่ดี

เขายังชี้ว่าการย้ายลูกค้าจากแพลตฟอร์มหนึ่งมาอีกแพลตฟอร์มหนึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ และมีความขลุกขลั่กหลายเรื่อง

ในขณะที่ วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า การโอนย้ายสำเร็จทั้งลูกค้ารายย่อยรวมถึงลูกค้า Wealth ซึ่งทางธนาคารรับทราบว่าทุกการเปลี่ยนแปลง ลูกค้าไม่ได้รับความสะดวกสบาย ทางธนาคารขออภัยในความไม่สะดวก

ปัญหาเรื่อง Call Center

กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า UOB ได้เพิ่มจำนวน Call Center มากถึง 1,000 คน (จากเดิม 500 คน) และเรื่องดังกล่าวมีการเตรียมพร้อมหลายเดือนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพนักงาน เป็นต้น

แต่เนื่องจากปริมาณการโทรเข้ามาของลูกค้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม นั้นเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า แม้จะเพิ่มพนักงานแล้วเท่าตัว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เธอได้ให้รายละเอียดเป็นเพราะว่าระยะเวลาการพูดคุยเฉลี่ยของลูกค้านั้นเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยต่อลูกค้า 1 รายอยู่ที่ 700 วินาที ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ที่ 350 วินาที เนื่องจากลูกค้าต้องการให้ช่วยสมัคร บริการ UOB TMRW ซึ่งลูกค้ามากกว่า 90% ของ Citi ได้สมัครบริการ UOB TMRW แล้ว

นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น เธอได้กล่าวว่าได้แบ่งกลุ่มของ Call Center ให้แยกรับปัญหาในเรื่องต่างๆ เช่น การสมัคร UOB TMRW การรับปัญหาเรื่อง Statement ซึ่งลูกค้าบางคนไม่ได้เก็บไว้ รวมถึงปัญหาเรื่องระบบการ กระจายยอดชำระอัตโนมัติ (Payment Apportionment)

(จากซ้าย) วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand / ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ / ยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย / ภาพจาก UOB Thailand

เปิดบริการในหลายช่องทาง

วีระอนงค์ ยังได้กล่าวว่า ปัญหาของ Call Center ในช่วงแรกนั้นได้แก้ปัญหาโดยการฝึกพนักงาน Call Center เพิ่มเติม และยังมีการนำพนักงานที่เกี่ยวข้องในส่วนต่างๆ มาช่วยในเรื่องนี้ด้วย ขณะเดียวกันทาง UOB ได้เปิดช่องทางในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น ทั้งมีการส่งอีเมล หรือเปิดรับปัญหาจาก Social Network ต่างๆ สามารถส่งข้อความเข้ามาได้ และยังรวมถึงการให้บริการของสาขาได้มีการขยายเวลาทำการในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีพอสมควร

ในเดือนเมษายน กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวว่าธนาคารได้รับคำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการรายงานกลับไปเป็นระยะๆ และทุกสัปดาห์มีการประชุมร่วมกันด้วย และปัญหาที่เกิดขึ้นเธอซาบซึ้งธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องของการแก้ไขปัญหาลูกค้า

สำหรับการแก้ปัญหาระยะสั้น วีระอนงค์ ได้กล่าวว่า หากลูกค้าโทรเข้ามาที่ UOB จะต้องรับสายได้ สามารถมีการส่ง Statement ได้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มที่ลดลงแล้วแต่เธอยังจับตามองอยู่ และพยายามทำให้ลูกค้าสบายใจมากขึ้น

ในส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางคือปรับปรุงกระบวนการ โดยเฉพาะเรื่องของระบบการจ่ายเงิน เพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป เลยต้องรีบแก้ไข ทำให้ดีมากกว่านี้ และยังรวมถึงก็สิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้า ตอบโจทย์ลูกค้า มีแคมเปญต่างๆ ไม่หยุดทำแคมเปญ

เธอยังมองว่า ที่ผ่านมาธนาคารได้เน้นสื่อสารเรื่องการโอนย้ายลูกค้าเลยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสิทธิประโยชน์หายไป แต่หลังจากนี้ธนาคารจะสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

ผู้บริหารของ UOB Thailand ชี้ว่าปริมาณการโทรเข้ามาของลูกค้าลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า / ข้อมูลจาก UOB Thailand

ปัญหาเรื่องของระบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ

ยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงปัญหาของระบบ Payment Apportionment ซึ่งทำให้ลูกค้าหลายรายเกิดความไม่พอใจ นั้นเขามองว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าของ Citi และ UOB ที่แตกต่างกัน

เขาได้กล่าวถึงพฤติกรรมลูกค้า UOB คือจะจ่ายครั้งเดียวจบ แต่สำหรับลูกค้า Citi กลับเลือกจ่ายทีละบัตรเครดิต ซึ่งบางบัตรนั้นลูกค้าจ่ายเต็ม บางบัตรเครดิตลูกค้าจ่ายขั้นต่ำ ในการแก้ปัญหาตอนนี้คือทางธนาคารกำลังพัฒนาระบบให้เลือกจ่ายได้ตามปกติ

ซึ่งปัญหาดังกล่าว กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มองว่าส่งผลทำให้การพูดคุยกับ Call Center ยาวนานมากขึ้น

ตอนนี้เวฟดอกเบี้ยให้หมด จะไม่เกิด Late Charge และถ้าขึ้นในเครดิตบูโร จะช่วยอัปเดต ลูกค้าที่กระทบนั้นหลักพันราย ตอนนี้แทบไม่เหลือแล้ว และตอนนี้ทยอยปรับประวัติลูกค้าแล้ว และดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี จากปัญหาการกระจายยอด

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น เขาได้กล่าวว่าจะแก้ปัญหาให้ โดยธนาคารจะดำเนินการยกเลิก Payment Apportionment ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันสรุปยอดบัญชีวันที่ 24 มิถุนายน เป็นต้นไป สำหรับการใช้งานบัตรเครดิต

กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยังกล่าวว่า สำหรับลูกค้าที่สมัครบัตรเครดิตใบใหม่ของ UOB อาจมีความล่าช้าไปบ้าง ซึ่งตอนนี้ทางธนาคารกำลังปรับปรุงระบบให้ดีมากขึ้น นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตในเดือนเดือนพฤษภาคมมีลดลงบ้าง แต่เดือนมิถุนายนนั้นยอดการใช้จ่ายได้กลับมาปกติแล้ว

]]>
1478242
Fed สั่งให้ Citi ปรับปรุงระบบการจัดการด้านความเสี่ยงภายในอีกครั้ง แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้วก็ตาม https://positioningmag.com/1462385 Tue, 13 Feb 2024 02:04:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462385 ‘ธนาคารกลางสหรัฐฯ’ ได้สั่งให้ ‘ซิตี้’ สถาบันการเงินรายใหญ่ ปรับปรุงระบบการทำงานภายในองค์กรอีกครั้ง โดยเฉพาะวิธีวัดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของคู่ค้า โดยในช่วงที่ผ่านมาปัญหาการจัดการด้านความเสี่ยงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าว โดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้สั่งให้ Citi สถาบันการเงินรายใหญ่ ปรับปรุงระบบการทำงานภายในองค์กรอีกครั้ง โดยเฉพาะวิธีวัดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของคู่ค้า

Fed ได้ส่งหนังสือแจ้ง Citi ถึง 3 ครั้งเพื่อสั่งให้ธนาคารจัดการว่าจะวัดความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้โดยคู่สัญญาในธุรกรรมอนุพันธ์อย่างไรในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยก่อนหน้านี้ฝ่ายตรวจสอบภายในพบว่างานบางส่วนที่ทำเพื่อปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งธนาคารยังไม่เพียงพอ

แหล่งข่าวของ Reuters ยังกล่าววอีกว่า ฝ่ายตรวจสอบภายในยังพบว่าสถาบันการเงินรายนี้ล้มเหลวในการปฏิบัติตามขั้นตอนข้อกำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงได้รับรายงานที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความเสี่ยงทั่วทั้งบริษัท

Citi อยู่ในช่วงเวลาที่ต้องแก้ไขปัญหาด้านกฎระเบียบที่หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกาได้สั่งลงมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการด้านความเสี่ยง การจัดการด้านข้อมูล ไปจนถึงการควบคุมภายในสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินรายนี้ได้รับปากที่จะแก้ปัญหา รวมถึงจ่ายค่าปรับถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 ที่ผ่านมา

ในช่วงที่ผ่านมา Jane Fraser ซึ่งเป็น CEO ของ Citi ได้ปรับโครงสร้างของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการปลดพนักงาน หรือแม้แต่การปรับโครงสร้างการบริหารภายใน รวมถึงการยกระดับการจัดการด้านความเสี่ยง

สถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐฯ รายนี้ต้องการที่จะเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ราคาหุ้นของ Citi ตามหลังคู่แข่งรายใหญ่ เนื่องจากแรงกดดันจากการปรับโครงสร้างองค์กร รวมถึงปัญหาการจัดการด้านความเสี่ยงที่ยังแก้ไขไม่แล้วเสร็จ

และคำเตือนจาก Fed ที่ส่งให้ Citi นั้นอาจทำให้แผนการปรับปรุงโครงสร้างนั้นต้องใช้เวลายาวนานกว่าที่คาด

]]>
1462385
Citi ประกาศปลดพนักงานกว่า 20,000 ราย หลังผลประกอบการออกมาแย่สุดในรอบ 15 ปี https://positioningmag.com/1458707 Sun, 14 Jan 2024 09:06:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458707 ซิตี้ (Citi) สถาบันการเงินรายใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศปลดพนักงานจำนวน 20,000 ราย หรือคิดเป็น 10% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด ซึ่งแผนการดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในปี 2026 หลังจากที่ผลประกอบการในไตรมาสล่าสุดออกมาย่ำแย่สุดในรอบ 15 ปี 

Citi สถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประกาศปลดพนักงานจำนวน 20,000 ราย หรือคิดเป็น 10% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด และการปลดพนักงานครั้งนี้จะช่วยทำให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้มากถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะยาว

แผนการปลดพนักงานของ Citi จำนวน 20,000 ราย ตามหลังมาจากกระบวนการปรับโครงสร้างในรอบ 20 ปี โดยมีการทยอยปลดผู้บริหาร เพื่อลดความซับซ้อนขององค์กร และยังรวมถึงแผนล่าสุดในการนำธุรกิจในประเทศเม็กซิโกเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ จะทำให้พนักงานนั้นลดลงอีก 40,000 คน ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินรายนี้จะมีพนักงานเหลือ 180,000 ราย โดยแผนการดังกล่าวนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2026

ตัวแทนของ Citi ได้กล่าวกับ CNN ว่า แผนการปลดพนักงานนั้นเกิดขึ้นกับธุรกิจของ Citi ที่มีอยู่ทั่วโลก แต่ปฏิเสธที่จะแจกแจงตัวเลขตามทวีปต่างๆ ซึ่งสถาบันการเงินรายดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่าย 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเกิดจากกระบวนการปลดพนักงานในช่วง 2 ปีหลังจากนี้

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Citi ต้องออกมาปลดพนักงานชุดใหญ่ เนื่องจากผลประกอบการของสถาบันการเงินรายนี้ในไตรมาส 4 ของปี 2023 ขาดทุนถึง 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการตั้งสำรองในส่วนต่างๆ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังเป็นผลประกอบการที่แย่สุดในรอบ 15 ปีของสถาบันการเงินรายนี้

Jane Fraser ซึ่งเป็น CEO ของ Citi ได้ออกมากล่าวว่า ผลประกอบการในไตรมาส 4 ถือว่า “ผิดหวังมากที่สุด”

ในช่วงที่ผ่านมา CEO หญิงของ Citi พยายามแก้ไขปัญหาด้านกฎระเบียบที่หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกาได้สั่งให้สถาบันการเงินรายนี้ต้องแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการด้านความเสี่ยง การจัดการด้านข้อมูล ไปจนถึงการควบคุมภายในสถาบันการเงิน

ไม่เพียงแค่การแก้ปัญหาภายในองค์กรเท่านั้น แต่ราคาหุ้นของ Citi เมื่อเทียบกับสถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ราคาหุ้นของ Citi ได้ปรับตัวลดลงสวนทางกับคู่แข่งรายอื่นที่มีราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ทำให้ CEO รายดังกล่าวต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ CEO ของ Citi ต้องปรับโครงสร้างไม่ใช่แค่การปลดพนักงานเท่านั้น แต่ยังมีการขายธุรกิจในต่างประเทศออกไปเพื่อลดความเสี่ยง หรือแม้แต่การฟื้นฟูงบการเงินซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินรายใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐฯ กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

ที่มา – CBS News, CNN, Yahoo Finance

]]>
1458707
HSBC ซื้อธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยในจีนจาก Citi คาดปิดดีลเสร็จครึ่งปีแรกของปี 2024 https://positioningmag.com/1447657 Wed, 11 Oct 2023 12:48:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447657 เอชเอสบีซีได้ประกาศซื้อธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยในจีนจาก Citi โดยไม่ได้ระบุมูลค่าการซื้อกิจการ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของเอชเอสบีซีที่วางแผนขยายธุรกิจเพิ่มในทวีปเอเชีย คาดว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2024 ได้

เอชเอสบีซี (HSBC) สถาบันการเงินรายใหญ่ ได้ประกาศเข้าซื้อธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยในประเทศจีนของ Citi โดยไม่ได้ระบุมูลค่าการเข้าซื้อกิจการแต่อย่างใด ซึ่งสถาบันการเงินรายดังกล่าวตั้งเป้าที่จะรุกธุรกิจการเงินในทวีปเอเชียเพิ่มมากขึ้น

ดีลดังกล่าว HSBC จะได้พอร์ตธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยใน 11 มณฑลในประเทศจีน มีทรัพย์สินภายใต้การดูแลรวมถึงเงินฝากเป็นมูลค่า 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Citi ต้องออกจากธุรกิจกลุ่มลูกค้ารายย่อยของจีนเนื่องจากแรงกดดันจากคู่แข่งนั่นก็คือธนาคารในประเทศจีนหลายแห่ง นอกจากนี้ยังรวมถึงคู่แข่งอย่างธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดที่มีสาขาในประเทศจีน ซึ่งคู่แข่งเหล่านี้ก็มีบริการบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้ารายย่อยเช่นกัน

ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายนปี 2021 ทาง Citi ประกาศแผนออกจากธุรกิจกลุ่มลูกค้ารายย่อยของจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงกลยุทธ์ของสถาบันการเงินรายดังกล่าว โดยธุรกิจดังกล่าวในจีนได้ให้บริการลูกค้ามั่งคั่งเป็นหลักด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝาก กองทุน หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้แผนการดังกล่าวของ Citi ที่ได้ประกาศออกจากธุรกิจกลุ่มลูกค้ารายย่อยในจีนนั้นยังรวมถึงในประเทศไทยที่ธุรกิจดังกล่าวได้ UOB ซื้อธุรกิจดังกล่าวไปในท้ายที่สุด ซึ่งดีลล่าสุดนี้ทำให้ Citi ขายธุรกิจไปแล้วถึง 9 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นจีน ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย บาห์เรน อินเดีย ไต้หวัน เวียดนาม

Citi ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า กลยุทธ์ดังกล่าวนั้นทำให้โครงสร้างของ Citi นั้นดูเรียบง่ายมากขึ้น นอกจากนี้การขายธุรกิจดังกล่าวในจีนยังเหมาะสมกับลูกค้าที่อยู่ในประเทศจีน ซึ่งหลังจากนี้พนักงานกว่า 400 รายจะโอนย้ายไปเป็นพนักงานของ HSBC หลังจากนี้

หลังจากนี้ Citi ได้กล่าวว่าเตรียมที่จะปิดดีลการขายธุรกิจในอินโดนีเซียภายในปีนี้ และเตรียมที่จะนำธุรกิจในประเทศเม็กซิโกเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นด้วย ซึ่งการปรับโครงสร้างดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในแผนของ Jane Fraser ซึ่งเป็น CEO ที่ต้องการทำให้สถาบันการเงินรายนี้มีโครงสร้างเรียบง่ายขึ้น

ตรงข้ามกับกลยุทธ์ของ HSBC ที่วางแผนขยายธุรกิจเพิ่มในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจบริหารความมั่งคั่งที่สถาบันการเงินรายนี้ได้รุกธุรกิจดังกล่าวอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2023 มีเม็ดเงินเข้าในธุรกิจดังกล่าวมากถึง 27,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวเติบโตมากถึง 21% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

คาดว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2024 และทาง Citi เองได้กล่าวว่าหลังจากนี้จะให้บริการลูกค้าชาวจีนที่มีความมั่งคั่งสูงผ่านสาขาในประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงแทน

]]>
1447657
Citi ปรับโครงสร้างครั้งใหม่ในรอบ 20 ปี ปลดผู้บริหารออกเพื่อลดความซับซ้อนในองค์กร ตัดสินใจได้เร็วขึ้น https://positioningmag.com/1444353 Thu, 14 Sep 2023 13:31:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444353 หนึ่งในสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง Citi ล่าสุดได้มีการประกาศปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ โดยจะมีการปลดผู้บริหารออกบางส่วนเพื่อลดความซับซ้อนในองค์กร และสามารถตัดสินใจเรื่องสำคัญได้เร็วขึ้น ซึ่งการปรับโครงสร้างดังกล่าวเป็นการปรับครั้งใหญ่สุดในรอบ 20 ปี

Citi สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้เตรียมปรับโครงสร้างครั้งใหม่ โดยจะมีการปลดพนักงานออกที่จะเน้นไปยังผู้บริหารเป็นหลัก อย่างไรก็ดีสำหรับจำนวนการปลดพนักงานครั้งนี้ยังมีจำนวนที่ไม่แน่นอน และจะมีการจ้างผู้บริหารจากภายนอกมาช่วยดูแลธุรกิจบางส่วนด้วย

ในการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งนี้ หัวหน้าธุรกิจทั้ง 5 ฝ่ายของธนาคาร เช่น กลุ่มลูกค้ารายย่อย กลุ่มตลาดทุน กลุ่มบริหารความมั่งคั่ง ฯลฯ จะรายงานตรงต่อ CEO อย่าง Jane Fraser นอกจากนี้ธนาคารจะลดบทบาทผู้บริหารนอกสหรัฐอเมริกาลง

ไม่เพียงเท่านี้ CEO รายดังกล่าวยังเตรียมที่จะจ้างผู้บริหารจากภายนอกสถาบันการเงินมาช่วยดูแลบางฝ่ายธุรกิจของธนาคาร ซึ่งคาดว่าจะมีการแต่งตั้งในช่วงหลังจากนี้

มุมมองจากอดีตพนักงานของ Citi รวมถึงพนักงานปัจจุบันมองว่า โครงสร้างองค์กรแบบดั้งเดิมของสถาบันการเงินจากสหรัฐฯ รายนี้ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดระหว่างพนักงานกับผู้บริหาร และขาดภาระความรับผิดชอบ รวมถึงยังขัดขวางความคิดริเริ่มใหม่ๆ

การปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่นี้ถือเป็นอีกก้าวของ Jane Fraser ตั้งแต่เธอเข้ารับตำแหน่งหัวเรือใหญ่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยเธอได้พยายามแก้ปัญหาของสถาบันการเงินรายนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขายธุรกิจในต่างประเทศออกไป ซึ่งรวมถึงประเทศไทย

ขณะเดียวกันเธอยังต้องแก้ไขปัญหาด้านกฎระเบียบที่หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกาสั่งให้สถาบันการเงินรายนี้ต้องแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการด้านความเสี่ยง การจัดการด้านข้อมูล ไปจนถึงการควบคุมภายในสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินรายนี้ได้รับปากที่จะแก้ปัญหา รวมถึงจ่ายค่าปรับถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ในการปรับโครงสร้างองค์กรนั้นมีสาเหตุเพื่อที่จะลดความซับซ้อน เนื่องจากจำนวนผู้บริหารที่มีมากเกินไป และยังทำให้ Citi ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงมาได้ด้วย โดย CEO รายนี้ได้กล่าวว่าการปรับโครงสร้างของสถาบันการเงินรายนี้นั้น “เป็นผลกระทบมากที่สุด” ต่อระบบการทำงานของสถาบันการเงินรายนี้ในรอบ 20 ปี

Jane Fraser ยังได้กล่าวว่าผลที่เกิดขึ้นอาจทำให้ผู้บริหารบางคนลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากแผนการดังกล่าว อาจทำให้บางคนรู้สึกไม่สบายใจ และแผนการนี้จะต้องบอกลาพนักงานที่ได้ทำงานหนักหรือแม้แต่มีส่วนสำคัญต่อองค์กร แต่เธอได้กล่าวว่าเธอได้ทำสิ่งที่ถูกต้องรวมถึงเพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้นด้วย

ก่อนหน้านี้ราคาหุ้นของ Citi มีผลตอบแทนแย่กว่าคู่แข่งสถาบันการเงินรายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Goldman Sachs หรือ Morgan Stanley ฯลฯ แม้ว่าสถาบันการเงินรายนี้กำลังแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ตาม โดยคาดว่าการปรับโครงสร้างดังกล่าวนี้จะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 ของปี 2024

ที่มา – CNBC, Yahoo Finance, Reuters

]]>
1444353
UOB ประกาศซื้อธุรกิจรายย่อยของ Citi สำเร็จ ตั้งเป้าเป็น The Best Consumer Bank ในไทย https://positioningmag.com/1406244 Tue, 01 Nov 2022 17:56:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1406244 ยูโอบี (UOB) ประกาศว่าได้ดำเนินการเข้าซื้อกิจการธนาคารลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป (Citi) ในมาเลเซียและไทยอย่างเสร็จสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วในวันนี้ โดยการโอนธุรกิจมายัง UOB นั้นผู้บริหารได้กล่าวว่าลูกค้าแทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือแม้แต่ได้รับผลกระทบ และตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนผ่านให้ไร้รอยต่อมากที่สุดด้วย

สำหรับธุรกิจธนาคารลูกค้ารายย่อยที่ UOB ซื้อต่อจาก Citi นั้นประกอบไปด้วยกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย ซึ่งสถาบันการเงินรายใหญ่จากสิงคโปร์รายนี้ได้ซื้อธุรกิจจาก Citi ในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม

สถาบันการเงินรายนี้จะยังคงให้ความสำคัญกับการโอนย้ายธุรกิจรายย่อยของ Citi เป็นไปอย่างราบรื่นในทั้ง 4 ประเทศ โดย UOB หวังว่าการโอนย้ายลูกค้าทั้งระบบจะแล้วเสร็จในอีก 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะทำให้มีลูกค้าจำนวนมากถึง 5.3 ล้านคนกระจายอยู่ทั่วอาเซียน และไทยเองถือเป็นประเทศที่มีฐานลูกค้ารายย่อยมากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน

ตัวเลขที่น่าสนใจ หลังการซื้อธุรกิจรายย่อยของ Citi ของ UOB ในประเทศไทย

  • UOB กลายเป็นธนาคารที่มีฐานลูกค้ารายย่อยใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย
  • ธุรกิจบัตรเครดิตของ UOB จะกลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่อันดับ 3 ของไทย
  • หลังจากซื้อธุรกิจรายย่อยของ Citi จะทำให้ UOB ในไทยมีรายได้จากลูกค้ารายย่อยสูงถึง 70%
  • ปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อประเทศไทยมีสัดส่วนราวๆ 6% ของพอร์ตสินเชื่อรวมของกลุ่ม UOB
  • ขณะที่ในมาเลเซีย UOB กลายเป็นธนาคารที่มีฐานลูกค้ารายย่อยใหญ่เป็นอันดับ 5 และธุรกิจบัตรเครดิตของ UOB จะกลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่อันดับ 2

นอกจากนี้หลังจากการโอนย้ายลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วทาง UOB เองได้ตั้งเป้าที่จะเป็น The Best consumer Bank ในประเทศไทย แต่ถ้าหากมองภาพรวมในทั้งอาเซียนแล้วนั้น UOB ตั้งเป้าที่จะมีลูกค้ามากถึง 10 ล้านรายภายในระยะ 3-5 ปีหลังจากนี้

]]>
1406244
Citi อัปเดตเทรนด์ลงทุนครึ่งปีหลัง 65 แนะนำลงทุนในตราสารหนี้ เลือกหุ้นเน้นปันผล https://positioningmag.com/1395707 Tue, 09 Aug 2022 16:53:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395707 ธนาคารซิตี้แบงก์ อัปเดตข้อมูลเศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลัง 2565 แนะเทรนด์ลงทุน เช่น ลดการการถือเงินสด แต่ให้ลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ที่คาดการณ์ว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี รวมถึงกระจายพอร์ตการลงทุน หลังจากโลกอาจมีความเสี่ยงเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอย

เคน เพ็ง นักยุทธศาสตร์การลงทุนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิก ธนาคารซิตี้แบงก์ ได้กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจรวมถึงตลาดในช่วงที่ผ่านมาว่า นโยบายการเงินและการคลังของสหรัฐอเมริกานั้นมีปริมาณเม็ดเงินลดลงอย่างมาก สิ่งที่เกิดทำให้สภาพคล่องในตลาดลดลง ทำให้ตลาดเกิดความผันผวน

แต่ในขณะเดียวกันเขายังชี้ว่าสภาพตลาดแรงงานของสหรัฐอเมริกาเองก็ยังดูดี มีอัตราการว่างงานต่ำกว่า 4% และต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังจะเข้าสู่สภาวะถดถอยจะต้องทำให้ตลาดแรงงานมีผู้ว่างงานมากขึ้นกว่านี้ โดยนักยุทธศาสตร์การลงทุนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิกของซิตี้แบงก์ชี้ว่าลักษณะก่อนที่เกิดเศรษฐกิจถดถอยในอดีตเป็นแบบนี้มาโดยตลอดเวลา

ทางด้านของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกานั้นเขามองว่ามีความอ่อนไหวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอย่างมาก และในช่วงที่ผ่านมาราคาบ้านปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากถ้าหากอัตราดอกเบี้ยต่ำ ยอดขายบ้านมักจะสูงขึ้น แต่ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยสูงยอดขายบ้านก็ลดลง

นอกจากนี้เขายังชี้ว่าสัญญาณของเศรษฐกิจถดถอยก็คืออัตราดอกเบี้ยระหว่างพันธบัตรสหรัฐ 2 และ 10 ปี นั้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น และคาดการณ์อัตรากำไรของบริษัทสหรัฐในดัชนี S&P 500 ในปี 2566 ลดลง ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังจะเข้าสู่สภาวะถดถอย

ด้านของอัตราเงินเฟ้อนั้น หลังจากที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ข้าวสาลี ปรับตัวลดลงในช่วง 2 เดือนท่ีผ่านมา ทำให้มีความคาดหวังว่าเงินเฟ้ออาจชะลอตัวลง นอกจากนี้นักลงทุนยังคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐอาจไม่ขึ้นดอกเบี้ยแบบตึงตัวน้อยลง แตกต่างกับในช่วงที่ผ่านมา

ทำให้เขามองว่าสิ่งที่ดีหลังจากนี้คือตราสารหนี้จะดูดีมากขึ้น เขาได้ยกผลตอบแทนของพันธบัตร 10 ปีที่น่าเริ่มเข้าลงทุน และเขายังชี้ว่าถ้าหากมีตราสารหนี้ในพอร์ตการลงทุนของลูกค้านั้นจะทำให้ความผันผวนของพอร์ตการลงทุนลดลงได้อีกด้วย

ขณะที่เรื่องของตลาดหุ้นจีนนั้น เคนมองว่ามีความท้าทายและความเสี่ยงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา แต่เขามองว่าจีนอาจมีมาตรการกระตุ้นเพิ่มมากขึ้น เขาได้ชี้ว่าปัจจัยที่ตลาดหุ้นจีนจะฟื้นตัวได้นั้นดูได้จากปริมาณการนำบริษัทเข้า IPO ในตลาดหุ้นฮ่องกง โดยปัจจุบันชะลอตัวลงมากๆ และเขายังแนะนำให้ดูปริมาณเงินกู้ในระบบ ซึ่งเขามองว่าหลังจากนี้หุ้นจีนจะฟื้นตัวได้

มาถึงคำถามหลายคนที่สงสัยว่าแล้วสภาวะอย่างนี้จะลงทุนช่วงนี้อย่างไร นักยุทธศาสตร์การลงทุนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิกของธนาคารซิตี้แบงก์ชี้ว่าให้เลือกลงทุนหุ้นที่เป็นบริษัทคุณภาพ หรือเน้นไปที่หุ้นปันผล หรือหุ้นเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงหุ้นกลุ่มสุขภาพ

ขณะเดียวกันเทรนด์ระยะยาว พลังงานสะอาดนั้นเขาชี้ว่ายังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ระยะยาวยังเติบโตได้ดี เห็นได้จากเม็ดเงินในการลงทุนช่วงที่ผ่านมา ซึ่งธุรกิจเกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า และยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่น่าลงทุน นอกจากนี้เขายังแนะนำให้ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่างกองทุนป้องกันความเสี่ยง (Hedge Fund) หรือแม้แต่บริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ก็ช่วยในเรื่องผลตอบแทนเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงภาวะเศรษฐกิจแบบนี้

]]>
1395707
เดอะมอลล์ กรุ๊ป ร่วมกับ ธนาคารซิตี้แบงก์ เอาใจลูกค้าคนสำคัญ ชวนช้อป กับโปรโมชั่นสุดปัง “CITI HAPPY ON TOP” พิเศษสำหรับสมาชิก M Card และ บัตรเครดิต Citi แลกรับส่วนลดเพิ่มรวมสูงสุด 36% https://positioningmag.com/1387057 Tue, 31 May 2022 11:00:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387057

ห้างสรรพสินค้ากลุ่มเดอะมอลล์ ร่วมกับ ธนาคารซิตี้แบงก์ จัดแคมเปญ “CITI HAPPY ON TOP” มอบโปรโมชั่นพิเศษ สำหรับสมาชิกบัตร M Card และ ลูกค้าบัตรเครดิต Citi ทุกประเภท แลกรับส่วนลดเพิ่มรวมสูงสุด 36% ระหว่างวันที่ 1 – 5 มิถุนายน 2565 ที่ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ ทุกสาขา, เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ทุกสาขา, เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์ และ พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์

นางสาวสุวรีย์ ปุณยนิธิปรีดา ผู้จัดการทั่วไปการตลาดบัตรเครดิต บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “สำหรับแคมเปญ “CITI HAPPY ON TOP” ห้างฯ กลุ่มเดอะมอลล์ กรุ๊ป ร่วมกับ บัตรเครดิตซิตี้ มอบความพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ให้กับสมาชิกบัตร M Card และ ลูกค้าบัตรเครดิต Citi รับความคุ้มค่าในทุกการใช้จ่าย พร้อมมอบความสุขให้เหล่านักช้อป ที่ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ทุกสาขา, เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ทุกสาขา, เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์ และพารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ มอบความพิเศษ ช้อปสนุกรับโปร 3 ต่อ

ต่อที่1 : ช้อปในห้างฯ และแผนกเพาเวอร์ มอลล์ รับส่วนลดรวมสูงสุด 36% โดยสมาชิกบัตร M Card รับส่วนลดเพิ่มสูงสุด 20% เพียงนำคะแนนสะสม M Point แลกเท่ายอดซื้อ (บัตร M Card Platinum และ Scarlet รับส่วนลดเพิ่ม 20% และบัตร M Card ประเภทอื่นๆ รับส่วนลดเพิ่ม 12.5%) และบัตรเครดิต Citi รับส่วนลดเพิ่มสูงสุด 20% เพียงนำคะแนนสะสม Citi Rewards แลกเท่ายอดซื้อ (สำหรับบัตร Citi Ultima, Prestige และ Premier รับส่วนลดเพิ่ม 20% และบัตรเครดิต Citi ประเภทอื่นๆ ลดเพิ่ม 12.5%)

ต่อที่2 : ช้อปภายในห้างฯ และใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต Citi ครบ 4,000 – 30,000 บาท ขึ้นไป/เซลล์สลิป รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 1,800 บาท

ต่อที่3 : ช้อปสะสมผ่านบัตรเครดิต Citi ครบ 5,000 บาทขึ้นไป /วัน รับฟรี!!บัตรกำนัลห้างฯ มูลค่า 500 บาท

นางสาวสุวรีย์ กล่าวปิดท้ายว่า แคมเปญ “CITI HAPPY ON TOP” จะทำให้การใช้จ่ายจะกลับมามีสีสันอีกครั้งในช่วงกลางปี มาร่วมช้อปสนุก คุ้มค่าทุกการใช้จ่าย ตลอดแคมเปญ พิเศษเมื่อช้อปผ่านบัตรเครดิต Citi ทุกประเภท ระหว่างวันที่ 1 – 5 มิถุนายน 2565 ที่ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ ทุกสาขา, เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ทุกสาขา, เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์ และ พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์

]]>
1387057
ดีล 1.2 เเสนล้านกับทิศทางธุรกิจรายย่อย ‘ซิตี้กรุ๊ป’ ในมือ UOB ต่อยอดลูกค้า ‘เครดิตดี’ https://positioningmag.com/1370465 Fri, 14 Jan 2022 11:54:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370465 ดีลใหญ่วงการธนาคารในตลาดอาเซียน เมื่อยูโอบี (UOB) เร่งสปีดโค้งสุดท้ายคว้าดีลซื้อธุรกิจรายย่อยซิตี้กรุ๊ป’ (Citigroup) ในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซียเเละเวียดนาม ด้วยมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท

ย้อนไปเมื่อช่วงต้นปี 2564 “ซิตี้กรุ๊ปประกาศขายกิจการลูกค้ารายย่อยใน 13 ประเทศทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออก รวมถึงประเทศไทย จากแรงกดดันของนักลงทุนที่ต้องการให้ธนาคารลดต้นทุน โดยธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อเงินฝาก จะถูกขายออกทั้งหมด ซึ่งทางซิตี้จะหันไปมุ่งเน้นธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเเละธุรกิจลูกค้าสถาบันเเทน

จากนั้นมาก็มีกระเเสข่าวต่างๆ เกี่ยวกับการเเข่งขันเข้าซื้ออย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของไทยนั้นก็มีตัวเต็งที่มาในช่วงเเรกๆ อย่างธนาคารกรุงเทพและธนาคารกรุงศรีฯ เเต่ในท้ายที่สุดธนาคารยูโอบีก็ชนะดีลนี้ไปได้

การตัดสินใจเข้าซื้อครั้งนี้ หลักๆ มาจากตลาดในประเทศไทยเเละเป็นราคาที่เหมาะสมผู้บริหารกลุ่มธนาคารยูโอบีกล่าว โดยขอให้ลูกค้ามั่นใจว่าจะมีการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ไม่บกพร่องเเละไม่มีอะไรหยุดชะงัก

ทุ่มซื้อ 1.2 เเสนล้าน 

กลุ่มธนาคารยูโอบี ได้ทำข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป ซึ่งรวมถึงสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย (ธุรกิจลูกค้ารายย่อย) ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม (การเสนอซื้อกิจการ) และรวมไปถึงพนักงานธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป

การพิจารณาข้อเสนอเงินสดสำหรับการเสนอซื้อกิจการนี้ จะคำนวณจากค่าพรีเมียมรวม 915 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2.25 หมื่นล้านบาท) บวกกับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป 4,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 9.86 หมื่นล้านบาท) ทำให้เกิดมูลค่าในซื้อกิจการครั้งนี้ อยู่ที่เกือบ 5,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 1.2 แสนล้านบาท 

คาดว่าจะลดอัตราส่วนของเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Common Equity Tier 1 หรือ CET1) ของธนาคารลง 0.7% เป็น 12.8% ตามสถานะเงินทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2021 ผลกระทบต่ออัตราส่วน CET1 คาดว่าจะมีไม่มากและจะยังอยู่ภายในข้อกำหนดด้านกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

นับเป็นทิศทางการขยายขอบเขตธุรกิจครั้งใหญ่ของยูโอบี เพื่อเจาะฐานลูกค้าผู้มีกำลังซื้อในอาเซียน และเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การเติบโตในกลุ่มลูกค้าส่วนบุคคล เพิ่มเป็น 2 เท่าได้ภายใน 5 ปี

เพิ่มฐานลูกค้าอาเซียนเป็น 2 เท่า 

ปัจจุบันธุรกิจลูกค้ารายย่อยหรือ Retail Banking ของซิตี้กรุ๊ป มีสินทรัพย์สุทธิรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 9.9 หมื่นล้านบาท) และฐานลูกค้าราว 2.4 ล้านราย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2021 และมีรายได้ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564

ส่วนธุรกิจ Retail Banking ของ UOB ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีฐานลูกค้าจำนวน 2.89 ล้านราย ดังนั้น เมื่อเข้าทำการซื้อกิจการรายย่อยของซิตี้กรุ๊ปแล้ว จะทำให้ฐานลูกค้ายูโอบีเพิ่มเป็น 5.29 ล้านราย

โดยเเบ่งเป็นในไทยราว 2.4 ล้านราย มาเลเซียราว 1.5 ล้านราย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลูกค้ารวม 1.2 ล้านราย เเละเวียดนามอีกเกือบ 2 เเสนราย ซึ่งในเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นฐานลูกค้าของซิตี้ ทำให้ยูโอบีสามารถเจาะตลาดที่กำลังเติบโตสูงได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการซื้อธุรกิจครั้งนี้

หากไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกรรมนี้ในครั้งเดียว การเสนอซื้อกิจการนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของธนาคาร และผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ของธนาคารยูโอบีได้ทันที

ยูโอบีคาดว่าส่วน ROE จะเพิ่มขึ้นเป็น 13% ในปี 2566 จากปีนี้ที่อยู่เฉลี่ยราว 10% เเละประเมินว่ารายได้จากการขยายกิจการครั้งนี้น่าจะเพิ่มขึ้นราว 1.4 เท่า ซึ่งจะมีรายได้ชัดเจนขึ้นในช่วงปี 2567-2569 

คาดเเล้วเสร็จ กลางปี 65 ถึงต้นปี 67

การเข้าซื้อกิจการในแต่ละประเทศ จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานกำกับดูแลธนาคารตามเงื่อนไขของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศสิงคโปร์ คาดว่าจะแล้วเสร็จระหว่างกลางปี 2565 ถึงต้นปี 2567 ขึ้นอยู่กับความคืบหน้าและผลของกระบวนการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลธนาคาร

ภายในครึ่งแรกของปี 2565 ธนาคารจะเข้าไปดำเนินการควบรวมกิจการในส่วนของประเทศไทยและมาเลเซียก่อน จากนั้นในช่วงครึ่งหลังของปี จะเข้าไปดำเนินการในส่วนของอินโดนีเซีย และเวียดนาม

โดยในไทยเเละมาเลเซีย คาดว่าจะควบรวมต่างๆ ทั้งด้านระบบเเละพนักงานเเล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 2 ปี 2566  อินโดนีเซียในช่วงไตรมาส 4 ปี 2566 เเละเวียดนามในช่วงไตรมาส 1 ปี 2667”

ในระหว่างนี้ จะยังคงใช้ชื่อ Citi ไปก่อน เเละจะมีการเปลี่ยนให้ลูกค้ามาอยู่ภายใต้ยูโอบีทั้งหมดในช่วงปลายปี 2565 

ตลาดไทยหอมหวาน ลูกค้าเครดิตดี 

วี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี (UOB) กล่าวว่า ลูกค้ารายย่อยในไทย เป็นพอร์ตที่มีคุณภาพ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในระดับดีเเละจัดการได้ เเละลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มมีกำลังซื้อ จึงมองว่าจะเอื้อต่อการเติบโตของยูโอบีได้

การตัดสินใจเข้าซื้อครั้งนี้ หลักๆ มาจากตลาดในประเทศไทย

ประเมินว่า ยูโอบีจะมีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจรายย่อยของไทย อยู่ที่อันดับ 6 ขยับขึ้นมาจากปัจจุบันที่อยู่อันดับ 7 ขณะที่ธุรกิจบัตรเครดิต ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3 จากอันดับ 8 และมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น เป็น 2.4 ล้านราย จากปัจจุบันที่ 1.3 ล้านราย

ผู้บริหารยูโอบี มองว่า การซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปใน 4 ประเทศ นับเป็นโอกาสครั้งใหญ่ที่มาถึงในเวลาที่เหมาะสม เเละเป็นการเข้าซื้อในราคาที่เหมาะสมเพื่อขยายฐานลูกค้าได้ถึงสองเท่า เพิ่มความเเข็งเเกร่งด้านพันธมิตร เเละการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน

เรามุ่งหวังที่จะโอนย้ายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจที่มีคุณภาพของซิตี้กรุ๊ป และเตรียมต้อนรับทีมงาน สร้างคุณค่าให้กับฐานลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ของเราที่ขยายใหญ่ขึ้น

พร้อมยืนยันว่าพนักงานกว่า 5,000 รายในธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป จากทั้ง 4 ประเทศ จะยังได้ทำงานเช่นเดิม หลังกระบวนการเข้าซื้อกิจการเสร็จสิ้น โดยไม่มีแผนปลดพนักงานเพราะถือเป็นทีมที่มีคุณภาพ

เน้นดิจิทัล Cross sale ต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ 

สำหรับกลยุทธ์ธุรกิจรายย่อยของธนาคารยูโอบี จะมุ่งเน้นไปที่การเจาะกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งกำลังซื้อสูง ที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เป็นจุดเด่นของซิตี้กรุ๊ปจะยังมีการสานต่อเเละขยายความร่วมมือกับพันธมิตรมากขึ้น ฟีเจอร์ไหนที่ลูกค้าสนใจ ก็จะมีการสื่อสารกับลูกค้าทันที พร้อมผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย Cross sale ระหว่าง 2 ธนาคารเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์อื่นต่อไป

นอกจากนี้ จะมุ่งการเข้าหากลุ่มคนรุ่นใหม่ ผ่าน UOB TMRW แพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร และให้บริการด้านการเงินผ่านช่องทางที่หลากหลาย (Omni-channel) เเละใช้ AI มาช่วยพัฒนาธุรกิจเเละบริการลูกค้าซึ่งความท้าทายของการโอนย้ายธุรกิจครั้งนี้ก็คือการรวมระบบเน็ตเวิร์กให้มาใช้เเพลตฟอร์มเดียวกัน

การเสนอซื้อกิจการนี้จะขยายเครือข่ายพันธมิตรของยูโอบี และเพิ่มขนาดธุรกิจลูกค้ารายย่อยในทั้ง 4 ประเทศขึ้นเป็นสองเท่า เร่งให้บรรลุเป้าขยายฐานลูกค้าในภูมิภาคเร็วขึ้นถึง 5 ปี

ด้าน ทีบอร์ พานดิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Citi ประเทศไทย เผยว่า ธุรกรรมนี้เป็นผลดีต่อลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และองค์กรของเรา Citi มุ่งมั่นที่จะทำให้ธุรกรรมนี้เป็นไปอย่างราบรื่น และในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในการให้บริการแก่ลูกค้าธนาคารกลุ่มลูกค้าบุคคลและลูกค้ากลุ่มบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ของเรา

ต้องติดตามต่อไปว่า Retail Banking ซิตี้โฉมใหม่ภายใต้บ้านยูโอบีจะเป็นไปในทิศทางใด

]]>
1370465
มองทิศทาง “ซิตี้” หลังปรับใหญ่ เน้นกลุ่มสถาบัน ยันลูกค้าได้สิทธิประโยชน์ตามเดิม https://positioningmag.com/1328024 Fri, 16 Apr 2021 15:25:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328024 กลายเป็นข่าวใหญ่ในวงการการเงินและธนาคาร เมื่อ “ซิตี้กรุ๊ป” ประกาศเปลี่ยนแปลงการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ในกลุ่มธนกิจบุคคลระหว่างประเทศ (Global Consumer Banking) เป็นการถอนตัวจาก 13 ประเทศที่ทำตลาดอยู่ แต่เน้นกลุ่มลูกค้าสถาบันมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการตัดสินใจยุติการทำตลาดกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่ดำเนินการอยู่ในภูมิภาคเอเชีย ภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) รวมทั้งหมด 13 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บาห์เรน จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ รัสเซีย ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

ให้คงเหลือการดำเนินธุรกิจผ่าน Global Wealth Management Center ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ การดำเนินการเชิงกลยุทธ์ใหม่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนเชิงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องของซิตี้ เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางการลงทุน และทรัพยากรในระยะยาวให้กับธุรกิจสายสถาบันธนกิจ หรือ ICG (Institutional Clients Group) ที่ปัจจุบันมีการขับเคลื่อนสูงและศักยภาพการเติบโตที่แข็งแกร่ง

ซิตี้ได้เน้นธุรกิจสายสถาบันธนกิจ หรือ ICG (Institutional Clients Group) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายทั่วโลกให้กับลูกค้าทั่วเอเชียแปซิฟิก และในประเทศไทย ที่ปัจจุบันมีศักยภาพการเติบโต ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ซิตี้มีเงินทุน และเน้นการลงทุนที่จำเป็นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว รวมถึงการลงทุนในเครือข่ายซิตี้ ตลอดจนการเพิ่มความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อพัฒนาการนำเสนอบริการด้านการเงินการค้า และหลักทรัพย์ระดับโลกที่ดีที่สุด

สำหรับการให้บริการ รวมถึงสิทธิประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของซิตี้แก่ลูกค้าในประเทศไทยยังคงดำเนินต่อไป และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ลูกค้ายังคงจะได้รับบริการเช่นเดียวกับที่เคยได้รับตลอดมา หากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบในลำดับถัดไป

ปีเตอร์ บาเบจ ประธานกรรมการบริหาร ซิตี้ เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า

“ตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายทั่วโลกของซิตี้ และเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตและคุณค่าของซิตี้ ซึ่งซิตี้ยังคงลงทุนในเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนลูกค้าในทุกตลาด เพื่อมอบความสามารถระดับโลกที่เป็นเอกลักษณ์ของซิตี้ พร้อมยืนยันว่าตลาดเอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาดที่มีความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กร”

ทางด้าน ทีบอร์ พานดิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า

“ซิตี้มีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี ด้วยธุรกิจกลุ่มลูกค้าบุคคลธนกิจที่น่าสนใจ และดำเนินไปด้วยดีผ่านทีมงานที่ทุ่มเท และฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งซึ่งมีส่วนร่วมในความสำเร็จของซิตี้มาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงานของซิตี้แบงก์ ประเทศไทยในทันที และไม่มีผลกระทบต่อพนักงานอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเช่นกัน โดย ซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ยังคงพร้อมให้บริการลูกค้าด้วยความเอาใจใส่และความทุ่มเทเช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการมาโดยตลอด”

]]>
1328024