cloud – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Jul 2024 12:03:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก ‘WIZ’ สตาร์ทด้านอัพไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ที่ ‘Google’ กำลังทุ่ม 2.3 หมื่นล้านเหรียญเพื่อปิดดีล! https://positioningmag.com/1482847 Tue, 16 Jul 2024 09:48:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1482847 Alphabet เจ้าของ Google อยู่ในการเจรจาเพื่อซื้อ Wiz สตาร์ทอัพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สําหรับคลาวด์คอมพิวติ้ง ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในราคาประมาณ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์  ซึ่งถ้าดีลดังกล่าวสำเร็จ จะถือเป็นการเข้าซื้อกิจการครั้งใหญ่สุดของ Alphabet

สำหรับ Wiz ถือเป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอลที่ทำธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยมี Assaf Rappaport เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งเป็นคนเดียวกับที่ก่อตั้ง Adallom ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งถูกขายให้กับ Microsoft ในราคา 320 ล้านเหรียญ เมื่อประมาณเกือบ 10 ปีก่อน

หลังจากขายธุรกิจไปได้ 3 ปี เขาก็ลาออกจาก Adallom เพื่อรวมตัวกับเพื่อน ๆ เพื่อสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ จนมาปี 2020 ได้ก่อตั้ง Wiz ที่ให้บริการด้านระบบรักษาความปลอดภัยบน คลาวด์ โดยตลาดคลาวด์มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านเหรียญ และมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 20%

Assaf Rappaport

หลังก่อตั้งได้ 9 เดือน Wiz สามารถระดมทุน Series A มูลค่า 100 ล้านเหรียญ และ 5 เดือนจากนั้น ก็สามารถระดมทุน Series B มูลค่า 120 ล้านเหรียญ ภายในเวลา 18 เดือน บริษัทสามารถทำรายได้ถึง 100 ล้านเหรียญ และเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนปี 2023 สามารถสร้างรายได้ประมาณ 350 ล้านเหรียญ ซึ่งช่วยให้ได้รับการลงทุนเพิ่มเติม 1 พันล้านเหรียญ เดือนพฤษภาคม 2024 ด้วยการประเมินมูลค่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญ ส่งผลให้ Wiz เป็น บริษัทซอฟต์แวร์ที่เติบโตเร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา

โดยจุดเด่นของ Wiz คือ ช่วยให้ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มองเห็นภาพรวมของระบบคลาวด์ทั้งหมด ขณะที่กลยุทธ์ของ Wiz จะเน้นมุ่งไปที่ บริษัทยักษ์ใหญ่ โดยจะระดมทุนมหาศาลเพื่อเร่งการจ้างงานและเร่งเครื่องการเติบโตของบริษัท ปัจจุบัน 40% ของบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 100 เป็นลูกค้าของบริษัท อาทิ Fox, Morgan Stanley และ LVMH 

ล่าสุด Alphabet บริษัทแม่ของ Google ได้เจรจากับ Wiz หลังจากที่บริษัทระดมทุนได้ โดย Alphabet อาจเสนอเงินสูงถึง 2.3 หมื่นล้านเหรียญ เพื่อซื้อบริษัท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าที่ประเมินเกือบ 2 เท่า และหากดีลสำเร็จ ดีล ดังกล่าวกลายเป็นดีลที่มีมูลค่าสูงสุดของบริษัท แซงหน้าดีลการซื้อ Motorola ที่มีมูลค่า 1.25 หมื่นล้านเหรียญ เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว  อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขของข้อตกลงยังไม่เสร็จสิ้นและการเจรจาอาจล่มได้

ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคม 2022 Alphabet ได้ซื้อบริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์ Mandiant ในราคา 5.4 พันล้านเหรียญ เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ จัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ดีขึ้นและสนับสนุนธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้ง โดย Google พยายามจะดันรายได้ในฝั่ง Google Cloud เพื่อเป็นการกระจายรายได้นอกเหนือจากธุรกิจโฆษณา และแม้ว่ายอดขายบนคลาวด์จะเติบโตขึ้น แต่ก็ประสบปัญหาในการแข่งขันกับบริการที่คล้ายคลึงกันจาก Microsoft และ Amazon

“การซื้อ Wiz แสดงให้เห็นว่า Google กําลังเดิมพันครั้งใหญ่ในพื้นที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อเสริมธุรกิจ  คลาวด์” Dan Ives กรรมการผู้จัดการและนักวิเคราะห์วิจัยหุ้นอาวุโสที่ Wedbush กล่าว

CNN / Forbes / CCN

]]>
1482847
‘อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส’ เปิดตัว AWS Region ในไทยช่วงต้นปี 2025 ช่วยลูกค้าเก็บข้อมูลบน Cloud ในประเทศได้ https://positioningmag.com/1475915 Thu, 30 May 2024 17:04:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1475915 อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (AWS) ประกาศเปิดตัว AWS Region ในไทยช่วงต้นปี 2025 การเปิดตัวดังกล่าวนั้นจะทำให้ภาคธุรกิจไทยสามารถย้ายข้อมูลที่เคยเก็บไว้ใน Cloud ที่เก็บข้อมูลในต่างประเทศ นำกลับมาเก็บอยู่ในประเทศไทย

AWS ประกาศเปิดตัว AWS Region ในไทยช่วงต้นปี 2025 ซึ่งจะทำให้ไทยนั้นมี Cloud ของยักษ์ใหญ่ไอทีรายนี้ในประเทศมากถึงในระดับหลาย Data Center และทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกในการใช้บริการต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับในอดีต

สำหรับ AWS Region ในประเทศไทยนี้ถือเป็น Region ทื่ 4 ของ AWS ที่เปิดตัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทชี้ว่าจะช่วยให้ลูกค้าที่ใช้บริการ Cloud สามารถเก็บข้อมูลของตนไว้ในประเทศไทย ช่วยให้ลูกค้าสามารถลดความหน่วงของการรับส่งข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการที่เติบโตขึ้นในการใช้ Cloud ในภูมิภาคนี้

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ตามมาจากแผนการลงทุนในประเทศไทยในปี 2022 ซึ่งบริษัทประกาศการลงทุนเป็นเม็ดเงินมากถึง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 190,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 15 ปี จนถึงปี 2037 เพื่อที่จะลงทุนในระบบ Cloud ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานไอทีในประเทศไทย

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ประจำ AWS ประเทศไทย ได้กล่าวถึงการเปิดตัว AWS Region ว่าจะยิ่งช่วยผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีภายในภูมิภาค โดยเรามีความยินดีอย่างยิ่งในการส่งเสริมอนาคตที่รุ่งเรืองสำหรับลูกค้าและพาร์ตเนอร์ของเราทุกราย

Country Manager ประจำ AWS ประเทศไทย ได้กล่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า AWS มาลงทุนในประเทศไทยไม่ใช่แค่ลงทุนแค่ Data Center แห่งเดียวเท่านั้น แต่ลงทุนมากกว่านั้น เนื่องจากการทำระบบ Cloud ต้องใช้หลาย Data Center ซึ่ง 1 Zone จะเท่ากับ 3-4 Data Center แต่ละประเทศนั้นจะมีไม่น้อยกว่า 3 Zone

ขณะที่ AWS Region อื่นๆ ในภูมิภาคนี้ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซีย นั้นบริษัทเตรียมที่จะเปิดตัวภายในปี 2024 นี้

ปัจจุบันลูกค้าของ AWS นั้นมีทั้งองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทย สถาบันการเงิน สตาร์ทอัพมีชื่อเสียง ซึ่งล้วนแต่ใช้บริการ Cloud ของบริษัททั้งสิ้น

]]>
1475915
AWS เจาะลูกค้า 8 อุตสาหกรรมในไทย มองเทรนด์ GenAI ถูกพัฒนาด้วยความหลากหลาย ฉลาดเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1461087 Thu, 01 Feb 2024 01:47:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461087 AWS ประเทศไทยได้แถลงแผนธุรกิจในปี 2024 โดยเจาะไปที่ลูกค้า 8 กลุ่มอุตสาหกรรมในไทย จากปัจจัยการเติบโตของตลาด Public Cloud นั้นเติบโตเฉลี่ย 18.6% ต่อปีจนถึงปี 2027 และยังรวมถึงเทรนด์การเข้ามาของ Generative AI

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ประจำ AWS ประเทศไทย ได้กล่าวถึง การทำธุรกิจในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นในปี 2015 เป็นต้นมา รวมถึงการเปิดให้บริการอื่นๆ เช่น Cloudfront ในปี 2020 และล่าสุดคือ AWS ได้เพิ่มการลงทุนใน ASEAN และมีแผนที่จะเปิดราย AWS Regions อีก 4 แห่ง ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น

โดย AWS มีแผนที่จะลงทุนในประเทศไทยมากกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 190,000 ล้านบาท ในประเทศไทยภายในระยะเวลา 15 ปี และจะมีการเปิด AWS Bangkok Region ซึ่งตอนนี้บริษัทกำลังพัฒนาโครงการดังกล่าว

Country Manager ประจำ AWS ประเทศไทย ยังกล่าวว่า AWS มาลงทุนในประเทศไทยไม่ใช่แค่ลงทุนแค่ Data Center เดียวเท่านั้น แต่ลงทุนมากกว่านั้น เนื่องจากการทำระบบ Cloud ต้องใช้หลาย Data Center ซึ่ง 1 Zone จะเท่ากับ 3-4 Data Center แต่ละประเทศนั้นจะมีไม่น้อยกว่า 3 Zone

8 อุตสาหกรรมที่ AWS ประเทศไทย มุ่งเน้นในปี 2024 ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการการเงิน ค้าปลีก ยานยนต์ ดิจิทัล พลังงาน การผลิต ด้านสุขภาพ รวมถึง TMEG (โทรคมนาคม, สื่อ, ความบันเทิง, เกม) โดย AWS ประเทศไทยจะแนะนำการใช้บริการคลาวด์ที่ช่วยกระตุ้นนวัตกรรมและสร้างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการที่มีความเฉพาะเจาะจงของภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้

วัตสัน ได้กล่าวถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่การประหยัดแค่ค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว แต่การใช้ Cloud ของกลุ่มลูกค้าใน 8 อุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะเจาะจงของลูกค้าด้วย

ขณะเดียวกัน AWS ยังมีการจัดโครงสร้างทีมในประเทศและในระดับภูมิภาค AWS และยังรวมถึงการจัดงาน AWS Summit ในไทย เพื่อที่จะรองรับการเปิดตัวของ AWS Bangkok Region หลังจากนี้ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ไปจนถึงการ Reskill เพื่อเพิ่มทักษะด้าน Cloud เนื่องจากความต้องการด้านบุคลากรที่เพิ่มสูงขึ้น

ข้อมูลจาก Semiannual Public Cloud Services Tracker โดย IDC ที่จัดทำในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2023 คาดว่าตลาดบริการคลาวด์สาธารณะในประเทศไทยคาดว่าจะเติบโตถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (คิดเป็นเงินไทย 88,845 ล้านบาท) ภายในปี 2027 เติบโตเฉลี่ย 18.6% ต่อปี ทำให้ AWS ยังเชื่อว่าตลาด Cloud ในไทยยังเติบโตได้

ในส่วนของเรื่องปัญญาประดิษฐ์นั้นทีมผู้บริหารของ AWS ประเทศไทย ได้ยกคาดการณ์ปี 2024 ของ Dr. Werner Vogels ซึ่งเป็น CTO ของ Amazon โดยเขามองว่าในอีกหลายปีข้างหน้าที่กำลังจะมาถึงจะเต็มไปด้วยนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยี และช่วยในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราที่ต้องมีความรวดเร็วเพิ่มขึ้น เริ่มต้นด้วย Generative AI

โดย Dr. Werner มองว่า Generative AI ในปัจจุบันยังมีความลำเอียงเล็กน้อย และยังจำกัดอยู่แต่การใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น

ซึ่ง CTO ของ Amazon มองว่า Generative AI กลายเป็นการรู้จักอย่างแพร่หลาย ขณะที่โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) จะถูกเทรนด้วยข้อมูลทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย จะมีความเข้าใจที่ละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ และความท้าทายในสังคมที่ซับซ้อน และจะมีความฉลาดเพิ่มขึ้นกว่าในปัจจุบัน

]]>
1461087
AWS Cloud คือคำตอบ…G-Able พร้อมช่วยลูกค้ายกระดับ Digital Transformation https://positioningmag.com/1453622 Thu, 30 Nov 2023 09:40:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453622  


จากสถานการณ์ Digital Disruption ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมไปถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ผู้คนทั่วไปได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงชั่วข้ามคืน โดยหันมาดำเนินกิจวัตรประจำวันบนโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้งในด้านการเรียน การทำงาน และการทำธุรกรรมการเงิน เป็นต้น ในส่วนของภาคธุรกิจนั้นองค์กรต่างต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในปัจจุบัน และเติบโตต่อไปในอนาคต การทำ Digital Transformation จึงเป็นเป้าหมายสูงสุดของหลายองค์กร

แม้ว่าการทำ Digital Transformation อาจจะดูไม่ยุ่งยาก เพราะมี Use Case และ Practice มากมาย แต่มีเพียงไม่กี่องค์กรที่ประสบความสำเร็จ นั่นเป็นเพราะองค์กรมักต้องเผชิญกับ Challenge หลายส่วน เช่น ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านเทคโนโลยี การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของคนในองค์กร การเข้าใจไม่ตรงกันของผู้บริหารและฝ่ายปฏิบัติการ ข้อกังวลเกี่ยวความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมบุคลากร ทั้งทักษะและประสบการณ์ ในการ Adopt ใช้เทคโนโลยี

สถานการณ์เหล่านี้บ่งชี้ว่า “เทคโนโลยี” และ “ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี” คือตัวแปรสำคัญในการเตรียมความพร้อม และช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น และเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า “Cloud” คือเทคโนโลยีอันดับต้นๆ ที่ถูกใช้วางรากฐานของ Journey นี้

สิ่งที่น่าสนใจคือ ข้อมูลจาก Gartner ซึ่งได้คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายบริการ Public Cloud ของผู้ใช้ทั่วโลกในปี 2566 จะเติบโตเพิ่มขึ้น 21.7% คิดเป็นมูลค่า 597.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจาก 491 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565 และองค์กรธุรกิจในประเทศไทย จะมีปริมาณการใช้จ่ายใน Public Cloud ปี 2566 เพิ่มขึ้น 31.7% จากปี 2565 คิดเป็นมูลค่า 54.8 พันล้านบาท โดยบริการ Infrastructure-as-a-service (IaaS) คาดว่าจะเติบโตสูงสุดที่ 44.3% ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า Cloud Technology คือปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตในยุคดิจิทัลและจะเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวในอนาคต


ทำไมต้อง Cloud ของ AWS

AWS หรือ Amazon Web Services เป็นระบบ Cloud ที่ครอบคลุมและถูกนำมาใช้มากที่สุดในโลก และให้ประโยชน์กับลูกค้าได้มากที่สุด ไม่ว่าจะฟังก์ชันที่ครบครัน ตั้งแต่เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานอย่างการคำนวณ การจัดเก็บและฐานข้อมูล ไปจนถึงเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น Machine Learning และ AI อีกทั้งยังมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูง ความยืดหยุ่นที่ตอบโจทย์เฉพาะองค์กร ราคาที่เหมาะสม รวมไปถึงมีพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ทีม Cloud ของ G-Able คือหนึ่งในทีมที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีที่สุด

เมื่อมีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์แล้ว ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยผลักดันในการใช้เทคโนโลยีนั้นเป็นอีกเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง G-Able เป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์รายแรกๆ ในประเทศไทย และเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งของ AWS มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ทีม Cloud and Data Center Modernization ของ G-Able มีความเชี่ยวชาญในการ Implement ระบบ Cloud ของ AWS โดย Cloud Engineer ทุกคนได้รับ Certification จาก AWS และมีประสบการณ์ในการให้บริการแก่องค์กรชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ รวมทั้งเข้าใจธุรกิจของลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจการเงิน ธุรกิจโทรคมนาคม และธุรกิจโลจิสติกส์

ปัจจัยทั้งหมดนี้จึงทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า G-Able สามารถให้บริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าด้วยโซลูชัน Cloud ที่ดีที่สุดจาก AWS ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษา (Consulting), วางแผน (Planning) การสร้างและการย้ายระบบงาน (Implementation & Migration) และการดูแลบริหารจัดการ (Operation) หลัง Implementation & Migration ด้วย

ที่มา – AWS Cloud Adoption Framework (AWS CAF): Overview – AWS Prescriptive Guidance (amazon.com)

โดยเราได้แบ่งขั้นตอนการทำงานดังนี้

  1. Assess: เป็นขั้นตอนการประเมินความพร้อมขององค์กร ก่อนที่จะทำ Cloud Migration การประเมินนี้อิงตาม AWS Cloud Adoption Framework และปัจจัยในการทำ Digital Transformation (ธุรกิจ ผู้คน การกำกับดูแล แพลตฟอร์ม ความปลอดภัย และการดำเนินงาน) โดยการประเมินนี้จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อน รวมถึงเสนอแผนปฏิบัติการเพื่อปิด Gap ต่างๆ ขององค์กร เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากก่อนเริ่มโครงการ
  2. Mobilize: เป็นขั้นตอนที่สร้างความสามารถพื้นฐานในองค์กรและเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับ AWS Cloud และการ Migrate ข้อมูลไปบน Cloud โดยเน้นที่การรักษาความปลอดภัย และการดำเนินการอัตโนมัติ ซึ่งประกอบไปด้วย
  • Detailed Business Case
  • Detailed Portfolio Discovery
  • Application Migration
  • Migration Governance
  • AWS Landing Zone
  • Security, Risk, and Compliance
  • Operations
  • People: Skills, Culture, Change, and Leadership
  1. Migrate & Modernize: ขั้นตอนการ Migrate หรือการโยกย้ายข้อมูลขึ้นไปบน Cloud ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เตรียมไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ รวมถึงการที่จะต้องดูแลบริหารจัดการให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่องหลังจากที่ Migrate แล้ว ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน Modernize หรือ Optimize ให้เหมาะสมต่อเนื่องตลอดเวลา

งาน Operation ช่วยต่อยอดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เมื่อ Implement ระบบและ Migrate ข้อมูลต่างๆ เรียบร้อยถือว่าจบส่วนงานสำคัญในเฟสแรก แต่สิ่งที่ต้องทำระยะยาวหลังจากนี้ นั่นก็คือการทำให้ระบบยังพร้อมใช้งานและมีประสิทธิภาพ ผ่านงาน Operation ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนงานอื่น โดยทีม Managed Tech Services ของ G-Able พร้อมรับไม้ต่อดูแลในส่วนนี้ ครอบคลุมตั้งแต่ การเฝ้าระวัง (Monitoring) การแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงกระบวนการ รวมถึงแนะนำทางเลือกที่คุ้มค่า (Optimization) และการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์และมี Certification ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า เราดูแลได้ตามมาตรฐาน ทำให้บุคลากรในองค์กรไม่ต้องเสียเวลาไปกับงาน Operation หลังบ้าน และยังมีเวลาเพิ่มศักยภาพในการทำงาน พัฒนาต่อยอดธุรกิจ เพื่อพิชิตเป้าหมายขององค์กรต่อไป


ผนึกกำลังพร้อมให้บริการอย่างครบวงจร

Cloud Journey ของการทำ Digital Transformation ไม่ใช่แค่อยู่ใน Blueprint ในขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์ และไม่ได้จบที่ Cloud Migration แต่มันคือการขับเคลื่อนองคาพยพทั้ง 6 ส่วนตั้งแต่ การดำเนินงานให้เป็นไปตามกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ตั้งไว้ ความปลอดภัยของระบบและข้อมูล การดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล การนำ Digital Technology มาใช้ และการดูแลหลัง Technology Adoption ไปจนถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีทั้ง Mindset และ Skill ในการทำงานในยุคดิจิทัล

ซึ่งนอกจาก G-Able จะมีกลุ่มโซลูชัน Cloud and Data center Modernization และ Managed Tech Services ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เรายังมีทั้งเซอร์วิสและโซลูชันทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีอีก 3 กลุ่มที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุน Cloud Journey ให้ตอบโจทย์ และต่อยอดธุรกิจให้ลูกค้าอย่างครบวงจรได้แก่ Cybersecurity, Data and Analytics และ Digital Business and Application และเมื่อ Tech Enabler Company ผู้ที่นำเทคโนโลยี มาช่วยให้ธุรกิจ และชีวิตของผู้คนดีขึ้นในโลกยุคดิจิทัล อย่าง G-Able หรือบริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) มาผนึกกำลังกับ AWS Cloud ผู้นำด้านการให้บริการ Cloud ชั้นนำระดับโลก ส่วนผสมสำคัญทั้ง 2 มิตินี้ก็พร้อมผลักดันให้ลูกค้าก้าวสู่ความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ซึ่งเป็นเรื่องที่ “ง่าย” และ “เป็นไปได้” สำหรับทุกองค์กร

จากซ้าย-ขวา : คุณศรุต อัศวกุล และคุณธีระพงษ์ จันทร Senior Cloud Business Development Manager, คุณมนต์ชัย วิไลพันธ์ Senior Vice President of Managed Service Operations & Assurance


G-Able คือ The Most Trusted Partner

ในฐานะที่ G-Able เป็น Tech Enabler Company เรามุ่งหวังที่จะช่วยลูกค้าทรานส์ฟอร์มองค์กร สู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติ เราเปรียบลูกค้าเสมือนพาร์ทเนอร์ที่พร้อมออกเดินทางไกลไปด้วยกันจนถึงเป้าหมายแห่งความสำเร็จ

คุณขวัญฤทัย แน่นหนา Executive Vice President of Cloud Technology & Managed Tech Services บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ด้วยการทำงานแบบเชิงรุก (Proactive) ทีมโซลูชันของเราเข้าใจธุรกิจและความต้องการของลูกค้า และพร้อมนำเสนอสิ่งที่จะเติมเต็มให้แก่ลูกค้าเพราะเราเชื่อว่า “ป้องกัน” มักดีกว่า “แก้ไข” รวมทั้งแต่ละทีมมี Synergy ระหว่างกันเพื่อสอดประสานการทำงานทุกภาคส่วน และยังใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นให้กับทุก Key Stakeholders ตั้งแต่ฝ่ายปฏิบัติการไปจนถึงระดับบริหาร

ทีม G-Able มุ่งมั่นใส่ใจทุกรายละเอียดในการทำงาน และไม่หยุดที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อปรับใช้กับธุรกิจของลูกค้า ในทุกส่วนของโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมาย  Business Value ที่ลูกค้าได้รับจึงตอบโจทย์ธุรกิจ องค์กรสามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากกว่าที่ลูกค้าคาดหวังไว้”

คุณขวัญฤทัย แน่นหนา Executive Vice President of Cloud Technology & Managed Tech Services บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน)  

“กว่า 34 ปีที่ผ่านมา G-Able ได้พิสูจน์แล้วว่า เราอยู่เคียงข้างลูกค้าในทุกๆ การเปลี่ยนผ่าน ความสำเร็จของลูกค้า คือ Key Success ของ G-Able และเราพร้อมผลักดันให้ลูกค้าเป็นตัวจริงที่โดดเด่นในทุกอุตสาหกรรม

]]>
1453622
Alibaba ปรับแผนธุรกิจ และทีมผู้บริหารอีกรอบ หลังยกเลิกแผนนำธุรกิจ Cloud เข้า IPO ในตลาดหุ้น https://positioningmag.com/1453369 Sun, 26 Nov 2023 08:48:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453369 Alibaba ได้ปรับทีมผู้บริหารใหม่อีกครั้ง หลังยกเลิกแผนนำธุรกิจ Cloud เข้า IPO ในตลาดหุ้น โดยให้สาเหตุว่าเกิดจากมาตรการแบนการส่งออกชิปของสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้มูลค่าบริษัทลดลงไปถึงหลักหมื่นล้านเหรียญสหรัฐทันที

CNBC รายงานข่าวว่า Alibaba เริ่มปรับโครงสร้างภายในบริษัทอีกครั้ง ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ Alibaba ได้ประกาศยกเลิกนำธุรกิจ Cloud เข้า IPO โดยบริษัทได้ให้เหตุผลถึงมาตรการแบนการส่งออกชิปของสหรัฐอเมริกา ผลที่เกิดขึ้นทำให้ราคาหุ้นของ Alibaba ลดลงทันที รวมถึงทำให้มูลค่าบริษัทหายไปในระดับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

แหล่งข่าวของ CNBC รายงานว่าสำหรับการปรับโครงสร้างดังกล่าว Alibaba ได้ตั้งทีมผู้บริหารชุดใหม่ที่ดูแลแผนกต่างๆ ของธุรกิจ Cloud ยกชุด ไม่ว่าจะเป็น Weiguang Liu ดูแลแผนกคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ขณะที่ Jin Li ดูแลแผนกไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud)

ผู้บริหารทั้ง 2 รายข้างต้นจะขึ้นตรงกับ Eddie Wu ซึ่งเป็น CEO ของ Alibaba ที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ขณะที่ Jiangwei Jiang จะดูแลแผนกโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ (Cloud Infrastructure) จะขึ้นตรงกับ Jingren Zhou ซึ่งเป็น CTO ของธุรกิจ Cloud ของ Alibaba

ก่อนหน้านี้แผนการของ Alibaba คือการแยกธุรกิจออกมาเป็น 6 หน่วยธุรกิจ โดยให้เหตุผลสำคัญคือการปลดล็อกมูลค่าบริษัทให้กับผู้ถือหุ้น เพิ่มเรื่องของการกำกับดูแลองค์กรที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังรวมถึงส่งเสริมให้แต่ละธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้ ซึ่งธุรกิจ Cloud ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการเช่นกัน

ในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจ Cloud ของ Alibaba เองก็ได้รับแรงกดดันจากทั้งคู่แข่งหลายรายจากบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Tencent หรือแม้แต่ Baidu ขณะเดียวกันก็ยังต้องพบกับแรงกดดันจากคู่แข่งรายสำคัญคือ Huawei ยักษ์ใหญ่อีกรายที่กำลังรุกตลาดอย่างหนักเช่นกัน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา CEO ของ Alibaba ยังได้ประกาศถึงแผนการของธุรกิจ Cloud จะรุกในส่วน Public Cloud ที่เน้นให้บริการกับภาคธุรกิจมากกว่าการเน้นหาลูกค้าในฝั่งของหน่วยงานของรัฐบาลจีน ขณะเดียวกันเขาก็มองถึงการผลักดันเทคโนโลยี AI ซึ่งจะทำให้มีการประมวลผลผ่านระบบ Cloud ของบริษัทเพิ่มขึ้น

]]>
1453369
อาลีบาบา รุกตลาด ‘คลาวด์ คอมพิวติ้ง’ สู้เจ้าใหญ่ Amazon ดัน ‘ไลฟ์สด’ เจาะร้านค้าออนไลน์ทั่วโลก https://positioningmag.com/1336729 Sun, 13 Jun 2021 09:36:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336729 อาลีบาบา’ (Alibaba) ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีน รุกตลาดคลาวด์ คอมพิวติ้ง’ สู้เจ้าใหญ่อย่าง Amazon ขยายบริการไลฟ์สตรีมมิ่งสำหรับร้านค้าออนไลน์ที่กำลังเป็นเทรนด์ฮิต ท่ามกลางการเเข่งขันในที่ดุเดือดขึ้น

สำหรับคลาวด์ คอมพิวติ้ง’ (Cloud computing) ถูกมองว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะมาทำกำไรให้อาลีบาบาในระยะยาว ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้ทุ่มเงินทุนเเละผลักดันให้ธุรกิจนี้ขยายเชิงรุกออกไปยังต่างประเทศ

อาลีบาบา เพิ่งประกาศแผนการเปิดศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ในฟิลิปปินส์ภายในสิ้นปีนี้ และกำลังจะเปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งที่ 3 ในอินโดนีเซีย เพื่อสามารถเพิ่มประสิทธิภาพเเละบริการในระดับภูมิภาค

ล่าสุดมีการออกโซลูชันใหม่ เพื่อเจาะกลุ่มร้านค้าออนไลน์โดยเฉพาะ ด้วยการเปิดตัวบริการไลฟ์สตรีมมิ่งสำหรับร้านค้าในอีคอมเมิร์ซ ให้สามารถสตรีมบนเว็บไซต์หรือเเอปพลิเคชันของตัวเองบนคลาวด์ของอาลีบาบา มีฟีเจอร์หลากหลาย เพื่อรองรับการนำเสนอสินค้า แสดงตัวหนังสือข้อความระหว่างไลฟ์ เเละเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การซื้อขายต่างๆ

โดยเทรนด์การสตรีมมิ่งหรือไลฟ์สดได้รับความนิยมอย่างมากในจีนเเละประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ส่วนใหญ่จะเป็นไปในรูปเเบบที่มี โฮสต์ (ผู้ขาย) พูดคุยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าสามารถกดซื้อได้โดยตรงผ่านการถ่ายทอดสด

ในปี 2020 โมเดลการไลฟ์สตรีมมิ่งเพื่อขายของออนไลน์ ดึงดูดผู้ใช้ชาวจีนมากกว่า 388 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจีน 

อาลีบาบา หวังว่าบริการใหม่นี้จะสร้างความเเตกต่างจากผู้บริการคลาวด์รายอื่นของสหรัฐฯ อย่าง Microsoft และ Amazon

ตามข้อมูลของ IDC อาลีบาบานับเป็นเบอร์หนึ่งเป็นในตลาดคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีส่วนแบ่ง 19.2% สิ้นปี 2020 จากแรงหนุนจากความนิยมในจีน ตามมาด้วยอันดับสองอย่าง Amazon ที่มีส่วนแบ่ง 10.5% เเต่ในตลาดโลกเเล้วอาลีบาบายังเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่มีส่วนเเบ่งเป็นอันดับ 4 เป็นรองจาก Amazon, Microsoft และ Google ตามลำดับ

ความเคลื่อนไหวของอาลีบาบาที่ขยับมาดันธุรกิจคลาวด์ครั้งนี้มีขึ้นหลัง บริษัทขาดทุนจากการดำเนินงาน 7.66 พันล้านหยวนในไตรมาส 4 ของปีการเงินล่าสุด  นับเป็นครั้งแรกที่อาลีบาบาขาดทุนจากการดำเนินงานในฐานะบริษัทมหาชน หลังรัฐบาลจีนสั่งปรับเป็นเงินกว่า 1.8 หมื่นล้านหยวนในข้อหาผูกขาดตลาดเมื่อเดือนที่ผ่านมา

การหันมาหารายได้จากธุรกิจใหม่จึงกลายมาเป็นกลยุทธ์สำคัญของบริษัทในปีงบประมาณปัจจุบัน ท่ามกลางการเเข่งขันในตลาดที่ดุเดือดขึ้น โดยอาลีบาบากำลังเผชิญกับคู่เเข่งที่เป็นยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีในจีนอย่าง Huawei และ Tencent ที่เพิ่งประกาศเพิ่มลงทุนด้านคลาวด์ คอมพิวติ้งไปเมื่อเร็วๆ นี้

 

ที่มา : CNBC , technode

 

]]>
1336729
หมดยุค It’s me แต่เป็น It’s WE! กับการมี Partner ที่รู้ใจสู่การทำ ‘Digital Optimism’ สู้โควิด https://positioningmag.com/1335325 Sat, 05 Jun 2021 04:00:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335325

หากพูดถึงเรื่องการทรานส์ฟอร์มองค์กรไปสู่ดิจิทัล แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่บางองค์กรอาจจะไม่ได้รู้สึกว่าต้องปรับตัว หรือยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ทำให้การปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัลจึงยังไม่ได้เริ่ม จนกระทั่งการมาของ COVID-19 ที่เป็นการบังคับให้ต้องปรับตัว ล่าสุดงาน AIS Business Digital Future 2021- Your Trusted Smart Digital Partner งานสัมมนาในรูปแบบ Virtual Conference ที่รวมสุดยอดองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางดิจิทัลแห่งปี โดยมี Microsoft เป็น Digital Partner ซึ่งจะมาแนะแนวทางการปรับเปลี่ยนองค์กรว่าไม่ยากอย่างที่คิด


ธุรกิจในไทยยังปรับตัวช้ากว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business เปิดเผยว่า COVID-19 ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ทุกองค์กรปรับตัวเร็วขึ้น โดยพบว่าไม่ว่าองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่มีการปรับตัวมากถึง 18-40 เท่า จากการทำงานแบบเดิม ขณะที่บริษัทระดับ Top 10 ของไทยสามารถใช้ดิจิทัลสร้างการเจริญเติบโตของรายได้มากถึง 5 เท่า และทำกำไรได้กว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่มีแผนที่จะทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของประเทศไทยในการทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัลนั้นพบว่ามี Digital Leader เพียง 3% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 5% ส่วน Digital Adopters (ที่เริ่มเปิดรับดิจิทัล) มี 22% ขณะที่ทั่วโลกเฉลี่ย 23% แม้จะน้อยกว่าแต่หากดูภาพรวมแล้ว บริษัทในประเทศไทยที่ไม่มีแผนการนำดิจิทัลมาทรานส์ฟอร์มองค์กรมีเพียง 5% เท่านั้น เมื่อเทียบกับทั่วโลกที่มีสัดส่วนถึง 9%

“COVID-19 ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกไปแล้ว ทำให้โลกออนไลน์และดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต องค์กรธุรกิจก็ต้องทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัล เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนมากขึ้น รวมถึงสร้าง New Business Model เพื่อตอบสนอง Lifestyle ใหม่เพื่อที่จะอยู่รอดท่ามกลางการระบาด”


5 Key Digital Enablers

สำหรับองค์กรที่ยังไม่ร้จะเริ่มทรานซ์ฟอร์มจากตรงไหน คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์, กรรมการผู้จัดการใหญ่,Microsoft (Thailand) ได้แนะนำ 5 Key Digital Enablers ที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงการทำงานในยุคอนาคตที่สำคัญมีดังนี้

Future of Work: การทำงานในปัจจุบันต้องสามารถทำจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งที่ผ่านมา Microsoft ได้ออกแพลตฟอร์มสำหรับสร้างประสบการณ์การทำงานให้แก่องค์กรในยุคใหม่ ชื่อว่า “Microsoft Viva” ที่จะช่วยให้พนักงานสามารถบาลานซ์ในเรื่องของ Productivity, Well-being และ Learning เพื่อให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน

Journey to Cloud: แน่นอนว่าการไป Cloud จะช่วยในเรื่องงบที่น้อยลง Speed ที่เร็วขึ้น แต่ก็ต้องพิจารณาในหลายด้าน องค์กรควรเลือก Cloud Partnership ที่น่าเชื่อถือ ไม่ได้จบแค่ฟังก์ชั่นหรือฟีเจอร์ แต่ต้องความสามารถที่จะช่วยดูแลระบบให้องค์กรได้ตลอดการใช้งานพร้อมกับช่วยดูแลในเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล

Data & AI: องค์กรควรจะต้องหาวิธีในการนำข้อมูลที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลมาสร้าง Customer Engagement หรือการนำข้อมูลมาปรับปรุงกระบวนการผลิต เช่น การสร้างแบบจำลองการผลิตโดยใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ ประเมินผล และปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Security & Privacy: องค์กรควรให้ความสำคัญกับกระบวนการในการปกป้องข้อมูลทั้งข้อมูลภายในและข้อมูลของลูกค้าโดยช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยมีดีไวซ์กว่า 1.7 ล้านเครื่องถูกโจมตี ดังนั้น Microsoft มีคอนเซปต์ Zero Trust Principle Concept นั่นคือ คือการไม่ไว้ใจใครเลย และจำเป็นต้องตรวจสอบทุกคนหรืออุปกรณ์ทุกเครื่องอย่างเคร่งครัด

Skill: ในช่วงนี้ถือเป็นโอกาสที่จะให้ทุกคนสามารถ Upskill หรือ Reskill ในการทำงานได้ โดย Microsoft ได้ร่วมกับ LinkedIn, GitHub ในการเข้าถึงคอร์สหรือหลักสูตรการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้าน DevOps Engineer, Android/ iOS Developer, Data Scientist ได้ฟรี


หาพาร์ทเนอร์ที่ไว้ใจได้ (Trusted Digital Partner)

จากนี้ไปการทำงานต้องสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ไม่ใช่แค่บ้าน เช่นเดียวกันกับลูกค้าที่ต้องเข้าถึงบริการจากที่ไหนก็ได้ในโลก ต้องออกแบบกลยุทธ์และ Digital ให้ไปควบคู่กันไป ต้องมีการนำ Cloud มาใช้เพื่อเพิ่ม Speed และความคล่องตัว ใช้งาน AI เพื่อประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการวางระบบ Security เพื่อสร้างความปลอดภัยให้องค์กร เพื่อสร้าง ความไว้ใจหรือ Trust รวมถึงการ Up Skill, Re Skill พนักงาน

ดังนั้น ตอนนี้โลกหมดยุค ‘It’s me’ แต่เป็น ‘It’s WE!’ องค์กรธุรกิจตอนนี้จะทำคนเดียวไม่ได้ แต่ต้องมี Partnership ในเชิง Business เพื่อทำงานร่วมกัน ช่วยกันสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น Microsoft นั้นที่ได้ลงทุนเทคโนโลยี Intelligent Edge และ Intelligent Cloud แต่การจับมือกับ AIS ในประเทศไทยก็ถือเป็นการผสานเทคโนโลยีทั้งในส่วนของ 5G, Cloud, AI, IoT และอื่น ๆ อีกมากมายเข้าด้วยกัน

สุดท้าย องค์กรต้อง รู้ตนเอง ว่ามีปัญหาและเป้าหมายอะไรในการนำเทคโนโลยีมาใช้ รู้ลูกค้า ว่ามีความต้องการหรือปัญหาอะไรเพื่อจะ capture value เหล่านั้น รู้เทคโนโลยี ว่าใช้อะไรไปตอบโจทย์อะไรได้บ้าง และ รู้ partner ว่าใครจะช่วยนำ technology กับ business expertise มาประกอบกันให้สามารถปฏิบัติได้จริง

“ขอให้องค์กรถือเอาช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ดีในการที่จะนำ Digital Technology มาปรับเปลี่ยนให้องค์กรให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดย AIS และ Microsoft พร้อมที่เป็น Digital Partner ที่จะช่วยให้ท่านสามารถปรับเปลี่ยนองค์กรสู่อนาคต”  ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์, Microsoft (Thailand)

สำหรับธุรกิจองค์กรที่สนใจปรับการทำงานสู่ยุค Future of Work ไม่ว่าจะเป็นบริการ Microsoft 365 หรือ Microsoft Viva สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ https://business.ais.co.th/solution/microsoft365.html หรือหากองค์กรต้องการย้ายระบบขึ้น Cloud สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://business.ais.co.th/solution/microsoftazure.html หรือหากสนใจบริการดีๆจาก AIS Business Cloud สามารถอีเมล์มาได้ที่ [email protected]

]]>
1335325
“อาลีบาบา” จ้างงานเพิ่ม 5,000 ตำแหน่ง พัฒนาเทคโนโลยี “คลาวด์” บูมช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1282957 Wed, 10 Jun 2020 12:31:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282957 “อาลีบาบา” บริษัทเทคโนโลยีเเละอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีน ประกาศจ้างพนักงานด้านไอทีเพิ่มอีก 5,000 ตำเเหน่งในเเผนก “คลาวด์คอมพิวติ้ง” ให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ หลังการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ความต้องการใช้งานสตรีมมิ่ง วิดีโอคอลเเละระบบจัดเก็บข้อมูล เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

โดยตำเเหน่งงานใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นนี้จะดูแลในด้านเครือข่าย ฐานข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ ชิป และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งอาลีบาบา (Alibaba) นับเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก
ตามรายงานของ Gartner

Jeff Zhang ประธานของ Alibaba Cloud Intelligence ระบุในแถลงการณ์ว่า การจ้างงานนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนเเปลงครั้งสำคัญด้านดิจิทัลในภาคธุรกิจของจีน ซึ่งเคยคาดว่าจะใช้เวลาราว 3-5 ปี เเต่ตอนนี้จะถูกเร่งให้เสร็จสมบูรณ์ให้ได้ภายใน 1 ปีข้างหน้า

“เพื่อการเดินหน้าอย่างเต็มกำลัง เราไม่ได้จะสร้างเเค่ระบบคลาวด์ เทคโนโลยี และบริการที่น่าเชื่อถือเท่านั้น แต่เรายังจะลงทุนเฟ้นหาคนเก่งที่มีศักยภาพด้านไอทีทั่วโลกให้มาร่วมงานกับเรา”

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากอาลีบาบาประกาศว่าจะใช้เงินลงทุน 2 แสนล้านหยวน (ราว 28,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในช่วง 3 ปีข้างหน้าเพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลเพิ่ม เนื่องจากรายได้ในส่วนเทคโนโลยีคลาวด์ของบริษัทเติบโตขึ้นเป็น 40,000 ล้านหยวน (ราว 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีงบประมาณ 2020 นับว่าเพิ่มขึ้นกว่า 62% จากปี 2019

จากการเติบโตที่รวดเร็วนี้ ทำให้เหล่าบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่เป็นคู่เเข่งสำคัญ ก็มีการจ้างงานเพิ่มเช่นกัน โดย Microsoft ได้ประกาศจ้างงานเพิ่มอีกหลายร้อยตำแหน่งในส่วนของ Azure cloud service
ด้าน Amazon ไม่น้อยหน้าเพิ่มตำแหน่งงานกว่า 1,000 ตำแหน่ง ในส่วนเทคโนโลยีคลาวด์ และ Google จ้างเพิ่มงานหลายร้อยตำแหน่งในส่วนนี้เช่นกัน

เเม้ว่าช่วงนี้หลายบริษัททั่วโลกมีความจำเป็นต้อง “ปลดพนักงาน” จากผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤต COVID-19
โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจสายการบิน โรงเเรมเเละการท่องเที่ยว

เเต่ก็ยังมีหลายบริษัทที่ได้รับอานิสงส์จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงนี้ เเละมีความต้องการ “จ้างงานเพิ่ม”
อย่างกลุ่มเชนร้านค้าปลีก Walmart, Kroger, Dollar General และ Aldi รวมถึง Raytheon บริษัทผู้ผลิตอาวุธและเทคโนโลยี และบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี อย่าง PayPal, Epic Games และ Riot Games ก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

 

ที่มา : CNN , Reuters , scmp

]]>
1282957
พิษ COVID-19 ฉุดเงินลงทุนไอทีไทยดิ่ง 9% ทั่วโลก 8% คาด 3 ปีถึงฟื้นเท่าปี 62 https://positioningmag.com/1278322 Wed, 13 May 2020 10:44:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278322 แม้ว่าวิกฤติ COVID-19 จะทำให้เกิดมาตรการล็อกดาวน์จนหลายองค์กรทั่วโลกออกมาตรการ ‘Work from Home’ แต่ดูเหมือนจะไม่เพียงพอให้เกิดการลงทุนด้านไอที เนื่องจากเศรษฐกิจที่ต้องชะงัก กำลังซื้อของคนไม่มี องค์กรเองก็ต้อง รัดเข็มขัด ส่งผลให้แนวโน้มการใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่า 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2562 ถึง 8% ตามการคาดการณ์ล่าสุดของ การ์ทเนอร์อิงค์

การระบาดของ COVID-19 และผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ทำให้ CIO หรือผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ต้องจัดลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีและบริการ โดยได้เข้าสู่โหมด รัดเข็มขัด ซึ่งหมายความว่า การลงทุนจะลดลงและการจัดลำดับความสำคัญเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอดเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด สำหรับองค์กรส่วนใหญ่ตลอดทั้งปี 2563

สำหรับการใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2563 ที่คาดว่าลดลง -8% แบ่งเป็น

  • การลงทุนดาต้า เซ็นเตอร์ -9.75%
  • ซอฟต์แวร์ในองค์กร -6.9%
  • อุปกรณ์ดีไวซ์ -15.5%
  • บริการทางด้านไอที -7.7%
  • บริการทางด้านสื่อสาร -4.5%

จะเห็นว่าตลาดไอทีทุกกลุ่มประสบกับการใช้จ่ายที่ลดลง โดยเฉพาะในตลาดอุปกรณ์ดีไวซ์และระบบดาต้าเซ็นเตอร์ ขณะที่รูปแบบการทำงานระยะไกลในกลุ่มย่อย เช่น บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) เป็นกลุ่มเดียวที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 19% ในปี 2563 ซึ่งจะเห็นการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในด้านการสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ข้อความและการประชุมบนระบบคลาวด์โดยเติบโตขึ้น 8.9% และ 24.3% ตามลำดับ

“การฟื้นคืนสู่สภาวะปกติจะไม่เป็นไปตามรูปแบบดังเช่นสถานการณ์ที่ผ่าน ๆ มา เนื่องจากพลังที่อยู่เบื้องหลังสภาวะของการถดถอยนี้จะทำเกิดแรงสะท้อนอย่างรุนแรงต่อทั้งอุปสงค์และอุปทานที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันอันเนื่องมาจากการผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุข สังคมและการค้า” นายจอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิจัย บริษัท การ์ทเนอร์ กล่าว

ในส่วนของประเทศไทย คาดว่าการใช้จ่ายไอทีจะลดลงต่ำกว่าทั่วโลกที่ -9.3% แบ่งเป็น

  • การลงทุนดาต้า เซ็นเตอร์ -17.9%
  • ซอฟต์แวร์ในองค์กร -3.6%
  • อุปกรณ์ดีไวซ์ -18.1%
  • บริการทางด้านไอที -6.7%
  • บริการทางด้านสื่อสาร -5.9%

“อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศและอุตสาหกรรมหนัก (อุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรกล แรงงานและเงินจำนวนมาก) แม้ว่าการใช้จ่ายด้านไอทีจะค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ตลอดปี 2563 แต่มองว่าต้องใช้เวลานานกว่าสามปีในการกลับมามีมูลค่าเทียบเท่ากับปี 2562”

]]>
1278322