coffee – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 12 Dec 2023 06:19:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กาแฟสำเร็จรูปอาจมีราคาแพงขึ้น สาเหตุจากผลผลิตในบราซิลเก็บเกี่ยวได้น้อยลงเกือบ 20% https://positioningmag.com/1455176 Tue, 12 Dec 2023 03:38:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455176 ราคากาแฟสำเร็จรูปนั้นมีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้ สาเหตุสำคัญมาจากเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้านั้นเก็บเกี่ยวได้น้อยลง จากปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งก่อนหน้านี้ผลผลิตในประเทศเวียดนามเองก็เก็บเกี่ยวได้น้อยลงเช่นกัน

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่า ราคากาแฟสำเร็จรูปนั้นมีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้ สาเหตุสำคัญมาจากเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้านั้นเก็บเกี่ยวได้น้อยลง จากปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้านั้นเก็บเกี่ยวได้น้อยลงในบราซิลคือสภาวะอากาศที่แห้งแล้ง ปริมาณฝนที่ตกน้อยลง รวมถึงอุณหภูมิที่สูงมากขึ้น โดยสหกรณ์ Espirito Santo ซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้าแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศบราซิลคาดว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตน้อยลงเกือบ 20% จากที่เคยคาดการณ์ไว้

แม้ว่าเกษตรกรในสหกรณ์ Espirito Santo จะพยายามทำให้ต้นกาแฟนั้นมีน้ำหล่อเลี้ยงดิน เพื่อไม่ให้ดินแห้งเกินไป แต่อากาศที่แห้งแล้งส่งผลทำให้อุณหภูมิสูงมากขึ้น ทำให้ต้นกาแฟพันธุ์โรบัสต้านั้นตายลง ขณะเดียวกันในละแวกสหกรณ์เองเริ่มมีการจำกัดการใช้น้ำ เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำ ยิ่งทำให้สถานการณ์ดูแย่ลงไปอีก

ก่อนหน้านี้ไม่ใช่แค่ในประเทศบราซิลที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง แต่เวียดนามซึ่งเป็นแหล่งผลิตกาแฟโรบัสต้ารายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองนั้นเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยสุดในรอบ 4 ปีเช่นกัน

นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาราคาเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่ซื้อขายล่วงหน้ามีราคาปรับสูงขึ้นถึง 42% ส่งผลทำให้ต้นทุนในการผลิตกาแฟนั้นปรับตัวเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันราคาน้ำตาลซึ่งถือเป็นอีกส่วนผสมหลักที่สำคัญของกาแฟสำเร็จรูปก็มีราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างความเสี่ยงที่ราคากาแฟสำเร็จรูปนั้นมีโอกาสปรับเพิ่มสูงขึ้นตาม

]]>
1455176
สตาร์ทอัพสหรัฐฯ ไอเดียดี เตรียมเปิดตัวกาแฟไร้เมล็ด ลดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปลูกต้นกาแฟ https://positioningmag.com/1446831 Thu, 05 Oct 2023 07:35:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446831 Atomo Coffee สตาร์ทอัพจากสหรัฐอเมริกา เตรียมเปิดตัวกาแฟไร้เมล็ด โดยผลิตมาจากส่วนประกอบหลายชนิต มีรสชาติแทบจะเหมือนกาแฟทุกประการ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผลิตเพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปลูกต้นกาแฟ รวมถึงลดปัญหาโลกร้อน

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า Atomo Coffee สตาร์ทอัพจากเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา เตรียมที่จะเปิดตัวกาแฟไร้เมล็ด โดยจุดประสงค์หลักคือลดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการปลูกต้นกาแฟ หลังความต้องการกาแฟเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนผสมของกาแฟไร้เมล็ดที่บริษัทผลิตออกมานั้นประกอบไปด้วยน้ำมันสะกัดจากดอกทานตะวัน อินทผลัม กาเฟอีน ฟีนูกรีกหรือลูกซัดที่สกัดเอาไขมันออกไป เป็นต้น ซึ่งรสชาตินั้นผู้ผลิตได้กล่าวว่าแทบเหมือนกาแฟเกือบทุกประการ เนื่องจากผลิตโดยใช้โครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกัน

Andy Kleitsch ซึ่งเป็น CEO และผู้ร่วมก่อตั้งของ Atomo Coffee ได้กล่าวว่า “กาแฟทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าในแต่ละวัน โดยในแต่ละวันมีการตัดไม้ทำลายป่า 10 เท่าของขนาดของ Central Park ใน New York ซึ่งถือเป็นอัตราที่น่าตกใจ

การตัดไม้ทำลายป่าถือเป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 2 ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามหลังจากการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล และจากการศึกษาพบว่าภายในปี 2050 พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งที่ใช้ปลูกกาแฟในปัจจุบันอาจไม่สามารถผลิตเม็ดกาแฟออกมาได้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไม่เพียงเท่านี้ ปริมาณฝนที่ตกหนักจากสภาวะโลกร้อนก็ส่งผลทำให้การเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟนั้นทำได้ลดลง ส่งผลทำให้เมล็ดกาแฟมีราคาแพงมากขึ้น

นอกจากนี้บริษัทกล่าวว่ากาแฟไร้เมล็ดของบริษัทช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 93% และใช้น้ำน้อยกว่ากาแฟทั่วไปถึง 94%

โดยผลิตภัณฑ์กาแฟไร้เมล็ดของบริษัทจะเจาะไปยังกลุ่มลูกค้าร้านกาแฟเป็นหลักก่อน และบริษัทกำลังเจรจากับบริษัทผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ของโลกบางรายในการผลิตสินค้าเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดหลังจากนี้

Atomo Coffee ได้รับเงินลงทุนมากถึง 51.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และนักลงทุนบางส่วนเคยเป็นนักลงทุนผู้อยู่เบื้องหลังบริษัทอย่าง Beyond Meat ด้วย โดยนักลงทุนเหล่านี้หวังว่ากาแฟไร้เมล็ดจากผู้ผลิตรายนี้จะได้รับความนิยมในท้ายที่สุด

]]>
1446831
Starbucks รุกตลาดอินเดียหนัก ขายเครื่องดื่มแก้วเล็ก เพิ่มเมนูพิเศษ ขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ https://positioningmag.com/1433512 Fri, 09 Jun 2023 03:35:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433512 เชนร้านกาแฟรายใหญ่อย่าง Starbucks ล่าสุดได้มีแผนในการบุกตลาดอินเดียเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การขายเครื่องดื่มแก้วเล็กที่มีราคาถูกลง การเพิ่มเมนูพิเศษ หรือแม้แต่การขยายสาขาเพิ่มหลังจากนี้ เพื่อที่จะเจาะฐานลูกค้าในแดนภารตะ

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า Starbucks เชนร้านกาแฟรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกานั้นกำลังรุกประเทศอินเดียมากขึ้น โดยแผนการล่าสุดคือการเพิ่มเมนูพิเศษ หรือแม้แต่การขายเครื่องดื่มแก้วเล็ก เพื่อที่จะเจาะตลาดกาแฟในแดนภาระตะให้ได้

โดย Starbucks ได้เพิ่มเมนูกาแฟขนาด Pico ซึ่งมีขนาด 6 ออนซ์ ราคาเริ่มต้นราวๆ 2.24 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 79 บาท และปรับราคามิลค์เชคเริ่มต้นที่ 3.33 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 116 บาท และยังมีเมนูพิเศษนั่นก็คือชาใส่นมแบบอินเดียซึ่งมีราคาเริ่มต้นที่ 2.24 ดอลลาร์สหรัฐ

Sushant Dash ผู้บริหารระดับสูงของ Starbucks ในอินเดียกล่าวว่า “เมื่อคุณขยายขนาด คุณต้องหาผู้บริโภครายใหม่” นอกจากนี้เขายังกล่าวเสริมว่าการใช้กลยุทธ์ด้านราคาของเชนร้านกาแฟรายนี้จะช่วยทำลายการรับรู้ที่ว่าราคากาแฟของ Starbucks นั้นมีราคาแพง

ซึ่งเมนูที่ทำพิเศษสำหรับลูกค้าในประเทศอินเดีย รวมถึงกาแฟที่มีขนาดเล็กลงมา จะไม่สามารถหาซื้อได้ในประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นที่ไทย สิงคโปร์ หรือแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา

นับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา Starbucks ได้มีพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญก็คือ Tata Group ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ของประเทศอินเดียที่พยายามผลักดันเชนร้านกาแฟรายนี้เข้าไปในประเทศ แหล่งข่าวไม่ระบุตัวตนของ Reuters ยังกล่าวว่า Starbucks ยังมีแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มเติมในอื่นๆ หลังจากนี้ด้วย

คู่แข่งของ Starbucks ในอินเดียนั้นมีหลายราย ไม่ว่าจะเป็น Third Wave และ Blue Tokai ซึ่งปัจจุบันมีสาขาราวๆ 150 สาขา ขณะที่เชนร้านกาแฟรายใหญ่อย่าง Tim Hortons ก็ยังมีสาขายังไม่มากนัก ส่วนใหญ่แล้วร้านกาแฟเหล่านี้มักจะอยู่ตามเมืองใหญ่เช่น New Delhi หรือแม้แต่เมืองที่เป็นฮับทางเทคโนโลยีอย่าง Bengaluru

การแข่งขันของธุรกิจร้านกาแฟในประเทศอินเดียถือว่าท้าทายไม่น้อย เนื่องจากประเทศอินเดียนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมทานชาเป็นหลัก แต่ธุรกิจร้านกาแฟก็ยังมีการขยายตัวได้ดี ซึ่งข้อมูลของ Euromonitor คาดว่าตลาดกาแฟในอินเดียจะเติบโตได้ถึง 12% ต่อปี ซึ่งปัจจุบันมูลค่าตลาดกาแฟในอินเดียถือว่ามีขนาดเล็กมาก เพียงแค่ 300 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

สอดคล้องกับในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไมเคิล คอนเวย์ ประธานฝ่ายพัฒนาช่องทางระหว่างประเทศของ Starbucks ได้กล่าวว่าตลาดอื่นๆ นอกประเทศจีนถือว่าขยายตัวได้ดี และภายในสิ้นปี 2023 บริษัทจะมีการเปิดสาขาเพิ่ม 400 แห่งทั่วเอเชียแปซิฟิก

ปัจจุบัน Starbucks ในประเทศอินเดียมีสาขาทั้งสิ้น 343 สาขา ซึ่งจำนวนสาขายังตามหลังประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ซึ่งอินเดียถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เชนกาแฟรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกาต้องการตีตลาดให้ได้

]]>
1433512
Luckin Coffee ล่าสุดมี 10,000 สาขาในประเทศจีนแล้ว กลับมามีกำไรอู้ฟู่ถึง 3,300 ล้านบาท https://positioningmag.com/1433300 Wed, 07 Jun 2023 05:26:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433300 เชนร้านกาแฟในประเทศจีนอย่าง Luckin Coffee ซึ่งถือแบรนด์จากจีนรายนี้ได้เปรียบเหมือนเป็นคู่แข่งสำคัญของ Starbucks ล่าสุดได้ประกาศว่ามีสาขาครบ 10,000 สาขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังได้ออกโปรโมชันให้กับลูกค้าสามารถซื้อกาแฟในราคา 9.9 หยวนด้วย

Luckin Coffee ได้แจ้งลูกค้าผ่านทาง WeChat บัญชีของบริษัทว่า เชนร้านกาแฟรายนี้มีสาขาที่ 10,000 แล้ว โดยสาขาดังกล่าวนี้ตั้งอยู่ที่ Xiamen Zhongshan Road Pedestrian Street ซึ่งเป็นร้านขนาดใหญ่

บริษัทยังได้กล่าวถึงสาขาแรกของเชนร้านกาแฟรายนี้ว่าอยู่ Beijing Galaxy SOHO ซึ่งบริษัทได้ผ่านช่วงเวลามากถึง 5 ปี ก่อนจะมีสาขาที่ 10,000 ในโพสต์ดังกล่าวใน WeChat ยังขอบคุณพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจที่นำแฟรนไชส์ Luckin Coffee ไปเปิดสาขา รวมถึงลูกค้าที่อุดหนุนตลอดมา

ในช่วงที่ผ่านมาเชนร้านกาแฟรายนี้ได้เปลี่ยผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นกองทุน Private Equity ในประเทศจีนที่มีชื่อว่า Centurium Capital นอกจากนี้หลังการเข้ามาของกลุ่มทุนใหม่ก็ยังมีการเปลี่ยนทีมผู้บริหารมากถึง 7 ราย หลังจากที่บริษัทได้สร้างเรื่องอื้อฉาวจากการตกแต่งบัญชี

ก่อนในท้ายที่สุด Luckin Coffee สามารถพลิกฟื้นกลับมามีกำไรได้อีกครั้งและมีส่วนแบ่งทางการตลาดของกาแฟในประเทศจีนมากถึง 7.8% เมื่อเทียบกับปี 2020 ซึ่งอยู่ที่ 6.3% โดยผลประกอบการในไตรมาส 1 ของปีนี้บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 4,437 ล้านหยวน และมีกำไรมากถึง 678 ล้านหยวนแล้ว

ไม่เพียงเท่านี้เชนร้านกาแฟรายนี้ยังได้ทำการตลาดด้วยการออกโปรโมชันเฉลิมฉลองและขอบคุณลูกค้าด้วยคูปองในการซื้อเครื่องดื่มในร้านในราคา 9.9 หยวน ซึ่งลูกค้าจะได้รับคูปองดังกล่าวผ่านแอปพลิเคชัน Luckin Coffee

ขณะที่สาขาของ Starbucks ในประเทศจีนนั้น ข้อมูลล่าสุดในปลายปี 2022 ที่ผ่านมามีสาขาทั้งหมดราวๆ 6,019 สาขา ถ้าหากคิดเป็นจำนวนของร้านยังถือว่าตามหลัง Luckin Coffee อีกมาก

]]>
1433300
ร้านกาแฟ Tim Hortons เตรียมขยายสาขาในอาเซียนเพิ่ม หลังจับมือ Marubeni พาร์ตเนอร์จากญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1421322 Wed, 01 Mar 2023 01:51:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421322 เชนร้านกาแฟเเบรนด์ยอดนิยมจากเเคนาดา Tim Hortons ได้เปิดสาขาในประเทศไทยมาเป็นเวลาพักใหญ่ ล่าสุดเตรียมที่จะขยายสาขาเพิ่มในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือแม้แต่อินโดนีเซีย หลังจากที่ได้จับมือกับพาร์ตเนอร์รายใหญ่จากญี่ปุ่นอย่าง Marubeni

Restaurant Brands International บริษัทแม่ของเชนร้านกาแฟรายใหญ่จากแคนาดาอย่าง Tim Hortons ได้ประกาศความร่วมมือระหว่างบริษัทกับ Marubeni บริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น ในการขยายสาขาไปยัง 3 ประเทศในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือแม้แต่อินโดนีเซีย

คาดว่าสาขาแรกของ Tim Hortons ในมาเลเซียและสิงคโปร์จะเริ่มในปี 2023 ได้ ขณะที่ในประเทศอินโดนีเซียคาดว่าจะเริ่มต้นมีสาขาแรกภายในปี 2024 และทาง Marubeni คาดว่าจะมีสาขาของ Tim Hortons ใน 3 ประเทศได้ 100 สาขาและยอดขายรวม 300 ล้านเหรียญสหรัฐภายใน 10 ปีข้างหน้า

สำหรับ Tim Hortons สาขาเเรกของไทยตั้งในศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ซึ่งบริษัท วีอีท จำกัด ของตระกูลวัธนเวคินนั้นเป็นผู้ได้สิทธิ์ในการนำแบรนด์ Tim Hortons เข้ามาขยายตลาดในเมืองไทยแต่เพียงผู้เดียว

เชนร้านกาแฟจากแคนาดารายนี้นั้นก่อตั้งในปี 1964 ก่อนที่จะขยายสาขาไปทั่วโลกมากกว่า 5,600 สาขาในช่วงระยะเวลา 59 ปี โดยประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ 14 บนโลกที่เชนร้านกาแฟรายนี้ได้ขยายกิจการเข้ามา ก่อนที่จะมีการขยายไปในประเทศอื่นๆ

ขณะที่ทาง Marubeni เองนั้นบริษัทได้ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาใหม่ เพื่อที่จะเจาะกลุ่มลูกค้า Gen Z ในตลาดอาเซียนโดยเฉพาะ เช่น การลงทุนในแบรนด์เครื่องสำอาง ไปจนถึงองค์กรด้าน E-Sports รวมถึงเชนร้านกาแฟจากแคนาดารายนี้ด้วย

]]>
1421322
‘องค์การกาแฟนานาชาติ’ เชื่อผู้บริโภคจะ ‘ดื่มกาแฟนอกบ้าน’ น้อยลงเพราะพิษเศรษฐกิจ! https://positioningmag.com/1403955 Tue, 11 Oct 2022 05:09:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403955 ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนน่าจะเห็นข่าวการปรับขึ้นราคา ‘กาแฟ’ จากเชนใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น All Café ในเซเว่น, อเมซอน, อินทนิล ยังไม่รวมแบรนด์เล็กแบรนด์ย่อยที่คงจะเริ่มปรับราคาเนื่องจาก วัตถุดิบ ที่แพงขึ้น แน่นอนว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เป็นแค่ไทยแต่เกิดขึ้นทั่วโลก

วานูเซีย โนกิเอรา ผู้อำนวยการบริหารขององค์การกาแฟนานาชาติ (ICO) ประเมินว่า จากปัญหาราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะ เมล็ดกาแฟ ประกอบกับปัญหาเงินเฟ้อและความเสี่ยงจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้บริโภคกาแฟทั่วโลก เลือกจะดื่มกาแฟที่บ้านมากกว่าร้านกาแฟและร้านอาหาร

ปัจจุบัน ซัพพลายเชนกาแฟจากต่างประเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่มหาศาลได้ เนื่องจากผลผลิตกาแฟทั่วโลกที่ลดลงในปี 2021-2022 เนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“เรามีปัญหาสภาพอากาศมากมายในภูมิภาคที่มีการผลิตชั้นนำ ดังนั้น แม้ว่าราคากาแฟจะสูงขึ้น แต่ผู้ปลูกก็ไม่สามารถผลิตสินค้าได้มากอย่างที่ต้องการ เนื่องจากปัญหาสภาพอากาศ”

ผลผลิตรวมของกาแฟในปี 2021-2022 แตะที่ 167.2 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 60 กิโลกรัม) ลดลง 2.1% จาก 170.83 ล้านกระสอบในปี 2020 ตามสถิติของ ICO ขณะที่ การบริโภคกาแฟทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3.3% เป็น 170.3 ล้านกระสอบ ทั้งนี้ ตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 การบริโภคภายในบ้านเริ่มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การบริโภคจากร้านกาแฟและร้านอาหารลดลง อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ยการบริโภคกาแฟทั่วโลกยังทรงตัว

“ฉันไม่คิดว่าจะมีผลกระทบในแง่ของปริมาณการดื่มกาแฟ แต่ในพื้นที่การดื่มกาแฟและคุณภาพอาจได้รับผลกระทบ เพราะผู้คนจะลดคุณภาพของสิ่งที่พวกเขาดื่มและเปลี่ยนที่ที่พวกเขาดื่ม โดยเฉพาะผู้ผลิตกาแฟชนิดพิเศษอาจได้รับผลกระทบมากที่สุด”

วานูเซีย ย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมกาแฟ และทาง ICO กำลังทำงานเพื่อสร้างกองทุนเพื่อการฟื้นฟูควบคู่ไปกับการเป็นพันธมิตรกับองค์กรอื่น ๆ รวมถึงธนาคาร เพื่อหาพื้นที่การผลิตกาแฟที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น

Source

]]>
1403955
เจาะแผน ‘กาแฟพันธุ์ไทย’ ที่ได้ ‘บุ๋ม บุณย์ญานุช’ ช่วยปั้นแบรนด์กับโจทย์ใหญ่ ‘เติบโต’ นอกปั๊มพีที https://positioningmag.com/1400899 Tue, 20 Sep 2022 07:30:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1400899 หากพูดถึง ปั๊มพีที เชื่อว่าหนึ่งในสิ่งที่หลายคนน่าจะจดจำได้ก็คือ กาแฟพันธุ์ไทย ซึ่งปีนี้ก็ถือว่าครบรอบ 10 ปี พอดิบพอดี อีกทั้งแบรนด์ก็เพิ่งจะทำกำไรได้หมาด ๆ ในช่วงไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา ทำให้ พิทักษ์ รัชกิจประการ ซีอีโอและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) ไม่รอช้าที่จะดันให้กาแฟพันธุ์ไทยเติบโตนอกปั๊ม พร้อมดึง บุ๋ม บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ อดีตนักการตลาดมือทองแห่ง บาร์บีคิว พลาซ่า มาเป็นที่ปรึกษาด้านแบรนด์ดิ้งให้กับแบรนด์

โควิด จุดเปลี่ยนของกาแฟพันธุ์ไทย

จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการมีร้านกาแฟสำหรับให้บริการลูกค้าที่มาใช้บริการปั๊มน้ำมันพีที 10 ปีผ่านไปร้านกาแฟพันธุ์ไทย ก็มีสาขากว่า 500 สาขา และเริ่มทำ กำไร ได้ในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา โดยมีสิ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญก็คือ COVID-19 ที่ทำให้แบรนด์เริ่มให้บริการแบบเดลิเวอรี่ในปี 2564 เป็นครั้งแรก ทำให้แบรนด์เห็นโอกาสที่จะเติบโตนอกปั๊มมากขึ้น

“ที่ผ่านมา กาแฟพันธุ์ไทยส่วนใหญ่อยู่ในปั๊ม ยอดขายหลักจึงต้องพึ่งพาการเดินทาง แต่โควิดมาคนไม่กล้าออกจากบ้าน หลายบริษัทให้ทำงานที่บ้านเกือบ 100% เราถึงได้มีเดลิเวอรี่ และทุกวันนี้เดลิเวอรี่ก็ยังเติบโต” พิทักษ์ รัชกิจประการ กล่าว

ถึงเวลาสร้างแบรนด์ในรอบ 10 ปี

แม้ว่าจะเป็นแบรนด์ที่อยู่มานานนับ 10 ปี แต่ส่วนใหญ่ก็จะอยู่แต่ในปั๊มพีที ดังนั้น จึงไม่ได้สร้างแบรนด์อย่างจริงจังมากนัก ทำให้ พิทักษ์ จึงตัดสินใจที่จะดึง บุ๋ม บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ อดีตนักการตลาดมือทองแห่ง บาร์บีคิว พลาซ่า ที่เพิ่งลาออกมาหมาด ๆ มาเป็น ที่ปรึกษาด้านแบรนด์ดิ้ง ให้กับกาแฟพันธุ์ไทย ควบคู่กับการ ขยายสาขานอกปั๊ม

“ที่ผ่านมาเราแทบไม่ได้สร้างแบรนด์เลย แต่จากผลสำรวจของนิตยสารหนึ่งจัดให้เราอยู่อันดับ 4 ในด้าน Brand Awareness ตามหลังคาเฟ่อเมซอน สตาร์บัคส์ อินทนิล เช่นเดียวกับด้านจำนวนสาขาและรายได้ก็อยู่ Top 4 เช่นกัน”

โดยในครึ่งปีหลังนี้จะเริ่ม refresh แบรนด์ใหม่ โดยมีแนวคิดที่จะทำให้แบรนด์กาแฟพันธุ์ไทย เป็นแบรนด์กาแฟของ คนไทยพันธุ์ใหม่ นอกจากนี้ ได้ทุ่มงบกว่า 20 ล้านบาท ส่งแคมเปญ เวลาเป็นไท ที่จะสื่อสารถึงกลุ่ม คนทำงาน พร้อมกับลบภาพการ กินกาแฟเพื่อทำงาน แต่สามารถกินเพื่อพักผ่อนก็ได้

“โจทย์เราคือ คนที่ไม่เคยกินมาก่อนเลย จะทำยังไงให้เขามาลอง เพราะถ้าลูกค้าไม่ได้เติมน้ำมัน เขาก็ไม่มีวันได้ชิม ดังนั้น การขยายสาขานอกปั๊มจึงเป็นสิ่งสำคัญ พร้อมกันนี้เราก็ต้องเริ่มสร้างแบรนด์ สร้างอแวร์เนส ทำให้คนรู้จัก โดยจะเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่และวัยทำงานเป็นหลัก” บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ กล่าว

ขายแฟรนไชส์เร่งโตก้าวกระโดด

ปัจจุบัน กาแฟพันธุ์ไทยมีกว่า 500 สาขา โดย 70% อยู่ในปั๊มพีที โดยที่ผ่านมาแต่ละปีมีการขยายสาขาประมาณ 50-60 สาขา ดังนั้น หนึ่งในกลยุทธ์ที่จะขยายสาขาให้ได้อย่างก้าวกระโดดก็คือโมเดล แฟรนไชส์ ซึ่งพิทักษ์ตั้งเป้าที่จะขยายให้ถึง 1,500 สาขา ภายในปี 2566 โดยจะเน้นที่ทำเลนอกปั๊มเน้นย่านธุรกิจ แหล่งชุมชน และแหล่งท่องเที่ยว โดยต้องการให้อย่างน้อย 1 อำเภอ มี 1 สาขา ทั้งนี้ คาดว่าสัดส่วนสาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะคิดเป็น 50% ภาคอีสาน 15% และภาคอื่น ๆ ภาคละ 8%

“ในอีก 3 ปีจากนี้ เราตั้งใจจะขยายให้ได้ปีละ 1,000 สาขา และเราต้องการเพิ่มสัดส่วนของแฟรนไชส์จาก 40-45% ในปัจจุบันเป็น 80% ภายในปี 2570 ที่เหลืออีก 20% เป็นสาขาที่บริหารเองสำหรับศึกษาอินไซต์ของลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงสินค้าและบริการ”

ทั้งนี้ สำหรับการลงทุนแฟรนไชส์ร้านกาแฟพันธุ์ไทยเริ่มต้นที่ 1.25 ล้านบาท ไม่รวมค่าสมัครแรกเข้า 1.5 แสนบาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนเพิ่มเติม โดยบริษัทมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและแนะนำในเรื่องของการบริหารจัดการร้าน, วัตถุดิบต่าง ๆ รวมถึงการควบคุมคุณภาพและรสชาติของเครื่องดื่มและอาหารภายในร้าน นอกจากนี้ บริษัทยังมีธนาคารที่เป็นพาร์ตเนอร์สำหรับพิจารณาสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษเพื่อการลงทุน รวมถึงช่วยจัดหาที่ดินทำเลสำหรับคนที่ไม่มีทำเลที่ตั้งอีกด้วย

พัฒนาสินค้าใหม่และลอยัลตี้โปรแกรมมัดใจลูกค้า

แม้ว่าการขยายสาขาจะช่วยทำให้แบรนด์เติบโตจริง แต่อีกหนึ่งส่วนที่ต้องสร้างการเติบโตก็คือ ยอดขายภายในร้าน โดยการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมในช่วงครึ่งปีแรกสูงถึง 20% ดังนั้น อีกกลยุทธ์ของกาแฟพันธุ์ไทยคือ การ ออกสินค้าใหม่ อย่างล่าสุดก็มี ไทย ดีย์ เสริฐ ซึ่งเป็นขนมไทยดื่มได้ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างโอกาสการเติบโตจากสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กาแฟอีกด้วย

“ตอนนี้ยอดขายของร้านกาแฟพันธุ์ไทย 90-95% เป็นกาแฟ แต่เราต้องการจะดันสินค้าอื่น ๆ ในกลุ่ม Non-Coffee มากขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าการบริโภคก็กาแฟก็มีข้อจำกัด ดังนั้น ในอนาคตเราอยากจะเพิ่มรายได้สัดส่วนสินค้าอื่น ๆ เป็น 20%”

อีกกลยุทธ์คือ ลอยัลตี้โปรแกรม ผ่านบัตรสมาชิก Max Card และล่าสุดได้เพิ่มบัตร Max Plus ที่จะวางจำหน่ายในราคา 599 บาท สำหรับใช้เป็นส่วนลดค่าน้ำมันและกาแฟพันธุ์ไทย โดยปัจจุบันทั้ง 2 บัตรมีสมาชิกรวมกว่า 18.5 ล้านคน ซึ่งบัตรดังกล่าวจะเพื่อใช้วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า

นอกจากนี้ เดลิเวอรี่ ก็ยังเป็นส่วนที่ยังเน้นต่อไป เพราะในปี 2564 ช่องทางเดลิเวอรี่สามารถเติบโตได้ถึง 4 เท่า ซึ่งจากนี้ แบรนด์จะใช้ช่องทางเดลิเวอรี่เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงแบรนด์ รวมถึงเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์และการมองเห็นให้มากขึ้น

ตั้งเป้าโต 50% ต่อเนื่อง 5 ปี

ในช่วงครึ่งปีแรกรายได้ของกาแฟพันธุ์ไทยเติบโตเท่าตัวจาก 240 ล้านเป็น 480 ล้านบาท และในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 3 สามารถทำรายได้ไปได้ถึง 230 ล้านบาท ดังนั้น คาดว่าภายในสิ้นปีกาแฟพันธุ์ไทยจะมีรายได้ 1,200 ล้านบาท หรือเติบโต 120% จากครึ่งปีแรก

สำหรับรายได้ของกาแฟพันธุ์ไทยในปีหน้าคาดว่าจะปิดที่ 2,400 ล้านบาท หรือเติบโตเท่าตัวจากปีนี้ และภายใน 5 ปีจากนี้ คาดว่าบริษัทจะรักษาการเติบโตได้ที่ 50% ต่อปี

สำหรับภาพรวม ตลาดกาแฟนอกบ้าน พิทักษ์มองว่ายังมีโอกาสเติบโต เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคไทยบริโภคกาแฟเฉลี่ย 300 แก้วต่อคนต่อปี ขณะที่ญี่ปุ่นบริโภคอยู่ที่ 400 แก้วต่อคนต่อปี หรือ ยุโรปที่บริโภคสูงถึง 1,000 แก้วต่อคนต่อปี โดยมูลค่าตลาดกาแฟนอกบ้านของไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.7 หมื่นล้านบาท เติบโต 9.5% ต่อปี

ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ราว 130,000 ล้านบาท แต่สัดส่วนราว 90% มาจากธุรกิจน้ำมัน แม้จะมีรายได้สูงก็จริง แต่มีความผันผวนสูงมากเช่นกัน ดังนั้น กาแฟพันธุ์ไทย เป็นแค่ ส่วนหนึ่ง ของแผนดันรายได้กลุ่ม Non-Oil เท่านั้น เพราะบริษัทกำลังศึกษาธุรกิจเกี่ยวกับ สุขภาพ ประกัน ฯลฯ เพื่อเพิ่มรายได้ใหม่ ๆ จากนี้คงต้องรอติดตามต่อไปว่าเมื่อไหร่พีทีจะคลอดธุรกิจใหม่ออกมาเขย่าตลาดอีก

]]>
1400899
Luckin Coffee มีกำไรแล้ว เตรียมกลับมาขยายสาขารอบใหญ่อีกครั้ง https://positioningmag.com/1395733 Thu, 11 Aug 2022 05:32:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395733 เชนกาแฟชื่อดังจากประเทศจีนอย่าง Luckin Coffee เตรียมกลับมาขยายสาขารอบใหญ่อีกครั้ง ขณะเดียวกันบริษัทยังมีกำไรจากการดำเนินกิจการครั้งแรกแล้ว หลังจากที่ได้สร้างเรื่องอื้อฉาวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาโดยตกแต่งยอดขายจนทำให้หุ้นของบริษัทถูกถอนออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ

Luckin Coffee ได้รายงานผลประกอบการสิ้นสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เชนร้านกาแฟจากจีนรายนี้มีรายได้ทั้งสิ้น 1,855 ล้านหยวน และมีกำไรทั้งสิ้น 19 ล้านหยวน นอกจากนี้ยังมีส่วนแบ่งการตลาดของกาแฟจีนมากถึง 7.8% เมื่อเทียบกับปี 2020 ซึ่งอยู่ที่ 6.3%

ในปี 2021 ที่ผ่านมาเชนร้านกาแฟรายนี้ได้เปลี่ยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยเป็นกองทุน Private Equity ในประเทศจีนที่มีชื่อว่า Centurium Capital นอกจากนี้หลังการเข้ามาของกลุ่มทุนใหม่ก็ยังมีการเปลี่ยนทีมผู้บริหารมากถึง 7 ราย รวมถึงอัดฉีดเงินเข้าเชนร้านกาแฟรายนี้ด้วย นับตั้งแต่มีข่าวฉาวในการตกแต่งตัวเลขยอดขายในช่วงปี 2020 ส่งผลทำให้บริษัทถูกถอดออกจากกระดานซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ

David Li ประธานของ Centurium Capital ยังได้กล่าวว่า Luckin Coffee เตรียมที่จะกลับมาขยายสาขาอีกครั้ง สาขา สอดคล้องกับ Guo Jinyi ซึ่งเป็น CEO ของ Luckin Coffee กล่าวว่าตามเมืองใหญ่ของจีนอย่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ เชนร้านกาแฟรายนี้ก็จะเพิ่มสาขา รวมถึง 230 เมืองทั่วประเทศจีน

โดยข้อมูลล่าสุดในเดือนกรกฎาคมนั้น Luckin Coffee มีสาขาราวๆ 7,200 สาขา ขณะที่คู่แข่งรายสำคัญอย่าง Starbucks มีสาขาราวๆ 5,761 สาขา

นอกจากนี้ CEO ของ Luckin Coffee ยังกล่าวว่าบริษัทมีแผนที่อยากจะกลับเข้าซื้อขายในตลาดหุ้น NASDAQ ของสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง และยังไม่มีแผนที่จะนำบริษัทเข้าซื้อขายในประเทศอื่นแต่อย่างใด

ที่มา – Reuters

]]>
1395733
Huawei เตรียมเปิดธุรกิจร้านกาแฟในจีน ต่อยอดหวังดึงคนหนุ่มสาวเข้ามาทำงาน https://positioningmag.com/1389420 Tue, 21 Jun 2022 06:36:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389420 China Daily สื่อรายใหญ่ของประเทศจีนรายงานว่า Huawei ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมของจีน ได้แจ้งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับร้านกาแฟ และกำลังรอการอนุมัติจากทางการจีน โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ต่อเนื่องจากปี 2021 ที่ผู้ก่อตั้งของบริษัทสนใจที่จะลงมาทำธุรกิจร้านกาแฟอย่างจริงจัง

Qichacha ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับติดตามข้อมูลธุรกิจในประเทศจีน ได้ชี้ว่ายักษ์ใหญ่จากจีนรายนี้ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าถึง 2 ชื่อด้วยกัน โดยมีหนึ่งชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “กาแฟหนึ่งถ้วยดูดซับพลังงานจักรวาล” ชื่อดังกล่าวนี้ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในหมวดหมู่อาหารสะดวกซื้อ และกำลังรอพิจารณาอนุมัติจากหน่วยงานของจีน

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวตามมาจาก เหริน เจิ้งเฟย (Ren Zhengfei) ประธานกรรมการบริหารของ Huawei ได้กล่าวในเดือนสิงหาคมของปี 2021 ว่าบริษัทสนใจที่จะเปิดร้านกาแฟมากถึง 100 ร้าน ในสำนักงานบริษัทที่เซี่ยงไฮ้ และผู้ก่อตั้งของ Huawei มองว่ากลยุทธ์ดังกล่าวจะดึงดูดคนหนุ่มสาวให้เข้ามาทำงานกับ Huawei ได้

ตามรายงานของ iiMedia Research ในปี 2021 ตลาดกาแฟในประเทศจีนมีมูลค่า 381,700 ล้านหยวน และคาดว่าจะเติบโตเป็น 1 ล้านล้านหยวนภายในปี 2025 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 27.2%

ด้วยอัตราการเติบโตที่สูง ทำให้หลายแบรนด์เริ่มสนใจเข้ามาทำธุรกิจร้านกาแฟในประเทศจีนมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ Li Ning ผู้ผลิตเสื้อผ้ากีฬาของจีนเองก็ได้เริ่มเปิดร้านกาแฟ โดยให้เหตุผลที่ว่าสามารถทำให้ประสบการณ์ในการซื้อสินค้านั้นเพิ่มมากขึ้น ขณะที่แบรนด์อื่นๆ เองก็เริ่มเปิดร้านกาแฟในจีนเช่นกัน อย่างเช่น บริษัทน้ำมันอย่าง Sinopec ไปจนถึง TRT Group ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาก็สนใจเปิดธุรกิจร้านกาแฟ

ขณะที่เชนร้านกาแฟไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศหรือเชนร้านกาแฟในจีนเองก็ต่างเริ่มลงทุนในธุรกิจนี้มากขึ้น อย่างเช่น Tim Hortons เชนร้านกาแฟจากแคนาดาก็ได้ทุ่มเงินถึง 1,200 ล้านหยวนเพื่อขยายสาขาให้ได้ 2,750 สาขาภายในปี 2026 ขณะที่เชนร้านกาแฟจีนอย่าง Luckin Coffee เองก็เร่งขยายสาขาเช่นเดียวกัน โดยในไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเชนร้านกาแฟรายนี้ได้เปิดสาขาไปมากถึง 565 สาขา ทำให้มีสาขาทั้งหมด 6,580 สาขา

]]>
1389420
ผู้ประกอบการเตรียมรับมือ! หลังประเทศส่งออก ‘กาแฟ’ เจอ ‘พิษโควิด-ภัยแล้ง’ ทำราคาขึ้นยาวถึงปีหน้า https://positioningmag.com/1352181 Thu, 16 Sep 2021 10:12:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352181 เนื่องจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ขณะที่หลายประเทศกำลังต่อสู้กับการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้หลายประเทศต้องทำการล็อกดาวน์ โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ที่มีนครโฮจิมินห์เป็นศูนย์กลางการส่งออก ทำให้ส่งผลกระทบต่อการขนส่งกาแฟและสินค้าอื่น ๆ ในต่างประเทศ

การล็อกดาวน์ของเวียดนามเพื่อสกัดการระบาดของ COVID-19 อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการ ‘กาแฟทั่วโลก’ อาจทำให้ราคากาแฟสูงขึ้นยาวถึงปี 2022 โดยในเดือนสิงหาคมการส่งออกกาแฟเวียดนามลดลง -8.7% จากเดือนกรกฎาคมมาอยู่ที่ 111,697 ตัน จากที่ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม เวียดนามส่งออกกาแฟถึง 1.1 ล้านตัน ลดลง -6.4% จากปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม รายได้จากการส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้น 2% เป็นประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์

การลดลงของการส่งออกและการผลิตของเวียดนามในผู้ผลิตชั้นนำรายอื่น ๆ ได้หนุนราคากาแฟทั่วโลกให้เพิ่มขึ้น โดยเกณฑ์มาตรฐานกาแฟอาราบิก้าฟิวเจอร์สได้เพิ่มขึ้นประมาณ 45.8% ในปีนี้ ขณะที่โรบัสต้าฟิวเจอร์สพุ่งขึ้น 52.2% ตามข้อมูลของ Refinitiv

ส่วน บราซิล ผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลก เผชิญกับความแห้งแล้งซึ่งทำให้พืชผลเสียหาย สภาพอากาศเลวร้ายส่งผลกระทบต่อการเก็บเกี่ยว เช่นเดียวกันกับที่ประเทศโคลอมเบียที่เจอปัญหาเช่นกัน แถมการเกิดขึ้นของ COVID-19 สายพันธุ์ ‘mu’ ทำให้ขาดแคลนแรงงานซึ่งทำให้การผลิตแย่ลง

“จากการคลายล็อกดาวน์ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐฯ ทำให้เราเชื่อว่าความต้องการจะยิ่งเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพราะร้านกาแฟกลับมาเปิดได้อีกครั้ง”

ที่ปรึกษาได้เพิ่มการคาดการณ์ในปี 2564 สำหรับราคาเฉลี่ยของกาแฟอาราบิก้าจาก 1.35 ดอลลาร์ต่อปอนด์เป็น 1.60 ดอลลาร์ต่อปอนด์ นอกจากนี้ยังปรับขึ้นประมาณการสำหรับปี 2022 จาก 1.25 ดอลลาร์ต่อปอนด์เป็น 1.50 ดอลลาร์ต่อปอนด์

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดเรื่อง COVID-19 อาจถูกยกเลิกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นการหยุดชะงักของการส่งออกกาแฟของเวียดนามจึงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ไม่นาน ส่วนการผลิตกาแฟของบราซิลก็ควรจะฟื้นตัวเร็ว หากสภาพอากาศกลับมาเอื้ออำนวย ดังนั้น หมายความว่า ความต้องการกาแฟทั่วโลกจะเริ่มฟื้นตัวในฤดูกาล 2022/2023 โดยราคาอาราบิก้าเฉลี่ยต่อปีลดลงเหลือ 1.20 ดอลลาร์ต่อปอนด์ในปี 2023 ตามการคาดการณ์ของ Fitch Solutions

Source

]]>
1352181