e-payment – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 02 Mar 2021 11:45:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จ่ายด้วยบิตคอยน์! Rakuten Pay รับชำระด้วย “เงินคริปโต” แล้วที่ร้านค้าพันธมิตรทั่วญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1321459 Tue, 02 Mar 2021 10:26:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321459 “บิตคอยน์” รุกเข้าสู่ชีวิตประจำวันไปอีกขั้นเมื่อ Rakuten Pay ระบบอีเพย์เมนต์เจ้าใหญ่ของญี่ปุ่น อนุมัติให้ลูกค้าชำระเงินด้วยเงินคริปโต 3 สกุล คือ บิตคอยน์ (BTC), บิตคอยน์ แคช (BCH) และอีเธอเรียม (ETH) ที่ร้านค้าพันธมิตรหลายพันจุดทั่วประเทศ ก้าวไปอีกขั้นจากเดิมรับชำระบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของบริษัท สู่การชำระที่หน้าร้านแบบออฟไลน์

บริษัท Rakuten อีคอมเมิร์ซเจ้ายักษ์แห่งญี่ปุ่นประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2021 ว่า บริษัทได้เริ่มอนุมัติให้ลูกค้าสามารถชำระค่าสินค้าและบริการด้วยเงินคริปโตผ่านแอปพลิเคชัน Rakuten Pay ที่จุดรับชำระของร้านค้าพันธมิตรทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยมีสกุลเงินที่ยอมรับในระบบ ได้แก่ บิตคอยน์ (BTC), บิตคอยน์ แคช (BCH)
และ อีเธอเรียม (ETH)

โดยปัจจุบันมีร้านค้าพันธมิตรที่ตอบรับชำระเงินคริปโตด้วยแอปฯ Rakuten Pay หลายพันจุด ครอบคลุมทั้งกลุ่มร้านสะดวกซื้อ เช่น 7-Eleven, Lawson, Familymart ร้านขายยา เช่น Tsuruha จนถึงร้านอาหาร เช่น McDonald’s, Mister Donut การนำเงินคริปโตไปชำระที่หน้าร้านเหล่านี้ได้โดยตรงเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา เพราะก่อนหน้านี้พื้นที่ที่รับชำระด้วยคริปโตมักจะมีแต่แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นหลัก

ร้านค้าที่รับชำระด้วยคริปโตผ่าน Rakuten Pay

พัฒนาการของ Rakuten ในวงการคริปโตนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2015 เป็นครั้งแรกที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของบริษัทรับชำระเงินด้วยบิตคอยน์ หลังจากนั้นมีการเทกโอเวอร์บริษัทรับแลกเปลี่ยนเงินคริปโต จนในที่สุดเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2019 บริษัทเริ่มให้บริการ Rakuten Wallet แลกเปลี่ยนเงินคริปโตเป็นเงินเยน รองรับ 3 สกุลดังกล่าวคือ BTC, BCH และ ETH

ดังนั้น การยกระดับในครั้งนี้คือการที่ลูกค้าสามารถผูกบัญชี Rakuten Wallet กับ Rakuten Pay เพื่อแลกเงินคริปโตเป็นสกุลเงินเยนในแอปฯ (R Cash) และใช้ชำระที่ร้านค้าได้เลย เสมือนกับเป็นการใช้คริปโตจ่ายโดยตรง

ทั้งนี้ ระบบการชำระด้วยคริปโตผ่าน Rakuten Pay จะไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมใดๆ แต่จำกัดการใช้วงเงินไว้ที่ 1,000 – 100,000 เยนต่อเดือน (ประมาณ 284 – 28,400 บาท) เทียบกับปกติเมื่อลูกค้าใช้ Rakuten Wallet แลกคริปโตเป็นเงินเยนจะมีการคิดค่าธรรมเนียม (อัตราคิดค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับมูลค่าเงินที่แลก)

JPMorgan รายงานว่า Rakuten มีฐานผู้ใช้ในกลุ่มอีคอมเมิร์ซซึ่งเป็นธุรกิจหลักอยู่ 95 ล้านคน ดังนั้น การขยับของยักษ์แดนปลาดิบครั้งนี้ น่าจะทำให้แวดวงเงินคริปโตแข็งแรงยิ่งขึ้น

Source: Coinbase, Rakuten, Medium

]]>
1321459
TikTok มีระบบชำระเงินของตัวเองแล้ว! บริษัทแม่ ByteDance เปิดตัว Douyin Pay ในจีน https://positioningmag.com/1315273 Wed, 20 Jan 2021 05:48:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315273 ByteDance บริษัทแม่ของแอปฯ TikTok เปิดตัวระบบ e-Payment ใหม่ในชื่อ Douyin Pay ต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในแอปฯ Douyin แอปฯ ต้นฉบับของ TikTok ทั่วโลก

Douyin Pay จะมาเป็นช่องทางเสริมระบบชำระเงินที่มีอยู่แล้ว และยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ Douyin ให้ดียิ่งขึ้น” บริษัท ByteDance ส่งแถลงการณ์รายงานผ่านสำนักข่าว Reuters ถึงการเปิดตัวระบบ e-Payment ของบริษัท

ปัจจุบัน ผู้ใช้งานแอปฯ Douyin (โถ่วอิน) ในจีนมีกว่า 600 ล้านคนต่อวัน การชำระเงินซื้อสินค้าผ่านแอปฯ ที่ผ่านมาสามารถใช้บริการ Alipay ของ Ant Group หรือ WeChat Pay ของ Tencent โดยผู้ใช้มักจะชำระเงินเพื่อซื้อของขวัญเสมือนจริงให้กับไอดอลที่กำลังไลฟ์สด หรือซื้อสินค้าที่ขายอยู่บนแพลตฟอร์ม

สำหรับเบื้องหลังการพัฒนา Douyin Pay นั้น ByteDance ใช้วิธีควบรวมกิจการบริษัท Wuhan Hezhong Yibao Technology Co เมื่อปีก่อน โดยบริษัทนี้มีใบอนุญาตระบบชำระเงินจากธนาคารกลางของจีนมาตั้งแต่ปี 2014 ทำให้บริษัท ByteDance ปรับผลิตภัณฑ์มาใช้กับแอปฯ ของตนเองได้ทันที

บรรยากาศใน TikTok ไทยที่บูมสุดขีดเมื่อเดือนเมษายนปี 2563

จากฐานผู้ใช้แอปฯ 600 ล้านคน ในประเทศที่มีประชากร 1,393 ล้านคน ผู้ใช้เหล่านี้น่าจะเป็นสปริงบอร์ดอย่างดีในการที่ Douyin Pay จะเข้าฟาดฟันในตลาด e-Payment จีน ซึ่งปัจจุบันมีผู้เล่นรายใหญ่สองราย คือ Alipay กับ WeChat Pay โดยระบบ Alipay ยังเป็นเบอร์ 1 ด้วยมาร์เก็ตแชร์ 55.39% ส่วนผู้เล่นรายอื่นๆ ที่พยายามทำตลาด ได้แก่ JD Pay, Baidu Wallet และ Meituan Pay

จังหวะการเปิดตัวของ Douyin Pay นั้นน่าสนใจมาก เพราะเลือกเปิดตัวในช่วงที่ทางการจีนกำลังตรวจสอบบริษัท Ant Group เจ้าของ Alipay อย่างเข้มงวด จึงเป็นไปได้ว่าช่วงนี้จะเป็นช่วงที่บริษัทอื่นๆ เตรียมเข้ามาชิงตลาด

แอปฯ Douyin นั้นนับได้ว่าเป็น “ต้นฉบับ” ของแอปฯ TikTok ที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศ และเป็นเหมือนภาพอนาคตให้เห็นว่า TikTok จะก้าวไปในทิศทางใดและสามารถต่อยอดไปทำอะไรได้บ้าง โดย Douyin มีระบบอี-คอมเมิร์ซภายในแอปฯ ของตัวเองตั้งแต่ปี 2017 และปัจจุบันมีผู้ซื้อของบนแอปฯ หลายร้อยล้านคนต่อวัน

ส่วน TikTok ไทยนั้นได้อานิสงส์เติบโตแรงเมื่อปี 2563 จากการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติในไตรมาส 2 ทำให้ช่วงปลายปี TikTok ไทยมีโอกาสขยับเปิดบริการ TikTok for Business ให้ธุรกิจระดับ SMEs สามารถซื้อการลงโฆษณาภายในแอปฯ ด้วยตนเองได้ ต้องจับตามองต่อไปว่า TikTok ไทยจะรับต้นแบบจาก Douyin มาใช้และเปิดการขายอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบบนแอปฯ บ้างหรือเปล่า

Source

]]>
1315273
รู้จัก ‘Dolfin’ น้องใหม่ตลาด ‘e-payment’ กับแนวคิดมาก่อนหรือหลังไม่สำคัญ เพราะศัตรูเดียวกันคือ ‘เงินสด’ https://positioningmag.com/1286997 Wed, 08 Jul 2020 13:26:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286997 ถือว่าเป็นน้องใหม่ในตลาด ‘e-payment’ ไทย เพราะ ‘ดอลฟิน’ (Dolfin) เพิ่งให้บริการได้เพียง 8 เดือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 1 ล้านราย และมีการทำธุรกรรมกว่า 100 ล้านทรานแซกชั่นต่อเดือน อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว จุดยืนของ Dolfin ก้าวต่อไปในตลาด รวมถึงมุมมองของตลาด e-payment ไทยจากนี้ คุณรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง จะมาไขข้อสงสัยให้ฟัง

พ่อ-แม่ใหญ่ได้เปรียบ

Dolfin เกิดจากการร่วมทุนสองบริษัท คือ กลุ่มเซ็นทรัล และกลุ่มเจดี ดอทคอม (JD.com) บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ซึ่งมีบริษัทเจดี ดิจิทส์ (JD Digits) ที่ทำด้านเทคโนโลยีฟินเทคมาช่วยหนุนด้านเทคโนโลยี โดยมีทุนจดทะเบียน 8,000 ล้านบาท และแน่นอนว่าที่ยอดใช้งานของ Dolfin เติบโตได้เร็วส่วนหนึ่งก็มาจากอีโคซิสเต็มส์ในเครือเซ็นทรัล ที่ทำให้มีจุดรับชำระที่มหาศาล ไม่ว่าจะเป็นห้างเซ็นทรัล, ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านอาหารในเครือซีอาร์จี และแฟมิลี่มาร์ท มีจุดเติมเงินผ่านเคาน์เตอร์เซ็นเพย์ (CenPay) กว่า 1,900 สาขาทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นพันธมิตรกับ ‘พร้อมเพย์’ ที่มีจุดรับชำระกว่า 4.5 ล้านจุด

“จุดสำคัญที่ทำให้คนใช้คือ เน็ตเวิร์กของจุดรับชำระและเน็ตเวิร์กของคนใช้ ต้องเติบโตอยู่ในลักษณะที่สมดุลกัน อะไรมาเร็วเกินก็ไม่ได้ ต้องก้าวไปพร้อม ๆ กัน แต่ Covid-19 หรือบรรยากาศแบบนี้ก็เป็นจังหวะที่ทำให้คนเปิดใจทั้งร้านค้าทั้งลูกค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้คนมาสมัครใช้งานอย่างง่ายดาย เราก็จะต้องมี marketing promotion”

มาช้ามาก่อนไม่สำคัญ เพราะ เงินสด คือศัตรูตัวจริง

เราไม่ได้มองใครเป็นศัตรู เพราะศัตรูที่เราแข่งอยู่คือ ‘เงินสด’ ตอนนี้ไทยมีการใช้ e-payment ไม่ถึง 3% ขณะที่จีนไปเกือบ 100% ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดทุกรายยังต้องวิ่งตามหาความฝัน แต่ข้อดีของการเป็นแพลตฟอร์มคือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมี 1 ราย อาจจะมี 2 wallet ในโทรศัพท์เดียวกันก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนั้น แต่วันที่ไทยกลายเป็นสังคมไร้เงินสด จากนี้ถึงจะเป็นช่วงต้องแข่งขัน เพราะถ้าลูกค้าชินกับแอปไหน ก็จะใช้แอปนั้น น้อยครั้งที่จะข้ามกัน แต่โจทย์แรกคือ ต้องชนะเงินสด ขณะที่เราธนาคารก็ไม่ได้ไปแข่ง แต่เป็นพันธมิตรกันในการช่วยเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กต่าง ๆ แลกกับการส่งต่อเทคโนโลยี เช่น Biomatrices, Facial Recognition เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม คงไม่สามารถประเมินได้ว่าการจะไปจุดนั้นจะใช้เวลานานแค่ไหน อาจจะ 3 ปี หรือ 10 ปี เพราะมีหลายปัจจัยไม่ใช่แค่ผู้บริโภค เช่น หากธนาคารแห่งประเทศลดการผลิตธนบัตรหรือเลิกพิมพ์ธนบัตร แน่นอนว่าสังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นทันที ซึ่งปัจจุบันภาครัฐก็ผลักดันเต็มที่ อย่างการมีพร้อมเพย์ หรือแอปเป๋าตัง ซึ่งมันผลักดันให้ประชาชนไม่ต้องกลัวดิจิทัล

“ตอนนี้คนยังมีความเขินในการใช้คิวอาร์โค้ดอยู่ ซึ่งมันยังห่างไกล ดังนั้น การมาก่อนไม่ได้แปลว่าผู้ชนะ เพราะศัตรูตัวฉกาจของเราคือ เงินสด เพราะตอนนี้มันยังไม่ใช่ New Normal ตอนนี้โจทย์ของผู้เล่นทุกรายคือ ต้องทำให้เขาใช้แบบไม่เขิน เพราะมันยังดูเป็นของที่พิเศษ ตอนนี้เขาเริ่มเปิดใจแล้ว และเขาก็มองว่ามาแน่นอน”

เพย์เมนต์แค่จุดเริ่ม ของจริงจะมาอีก 6 เดือน

เพย์เมนต์ เป็นเครื่องมือทำให้เรารู้จักลูกค้า และมีรายได้มาจากค่าธรรมเนียมของร้านค้า แต่ไม่ได้คิดจะทำเป็นรายได้หลัก เพราะ Dolfin วาง Position ตัวเองเป็น Digital Financial Platform โดยเตรียมจะเข้าเปิดบริการอีก 3 รูปแบบ ได้แก่ ปล่อยเงินกู้ (loan), ขายประกัน (insurance) และ การจัดการสินทรัพย์ (Asset Management) โดยใน 6 เดือนจากนี้จะเริ่มปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล โดยใช้ ‘Data’ สามารถทำได้ผ่านมือถือ ไม่ต้องใช้เอกสารหรือเดินทางไปธนาคาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ลูกค้าต้องยินยอมให้ใช้ข้อมูล อย่างไรก็ตาม การจะต่อยอดไปสู่การปล่อยกู้ให้กับร้านค้าพาร์ตเนอร์ยังต้องใช้เวลา แต่ระบบพร้อมแล้ว

“ในไทยมีผู้เล่นรายใหญ่ 5 ราย ไม่รวมรายเล็ก และทุกคนคงมีแนวคิดการเป็น Digital Financial Platform แต่มองว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ครบ เพราะผู้เล่นอื่นอาจจะยังโฟกัสที่เพย์เมนต์ บางรายอาจจะทำเป็นระบบปิด ใช้ในเฉพาะแพลตฟอร์มตัวเอง แต่เราวางตัวตั้งแต่ต้นว่าจะเป็นระบบเปิด”

สิ้นปีโต 2 เท่า คืนทุนใน 5 ปี

ภายในสิ้นปีนี้ เราเพิ่มร้านค้านอกเครือเซ็นทรัลเป็น 15,000 ร้านค้า จากปัจจุบันมี 2,000 ร้านค้า และตั้งเป้าเพิ่มผู้ใช้เป็น 2 เท่า หรือ 2 ล้านราย ซึ่งจะโฟกัสไปที่คนรุ่นใหม่เป็นหลัก เพราะเข้าถึงได้ง่าย โดยปัจจุบันผู้ใช้งาน Dolfin เฉลี่ยอายุที่ 18-40 ปี แต่ภายใน 3-5 ปีจากนี้ Dolfin ตั้งเป้าทำรายได้ให้คืนทุน และมั่นใจว่าลูกค้าที่ใช้งานจะมาจากทุกช่วงอายุ

“สินค้าเทคโนโลยีราคาจะถูกลงเรื่อย ๆ เพื่อให้สเกลได้ เหมือนกับการสร้างแพลตฟอร์ม ดังนั้นถ้าเราจะคืนทุน ก็ต้องเมื่อมันสเกลได้ อย่างที่จีนคนใช้ e-wallet ทุกช่วงอายุ เหมือนกับเงินสดที่ใช้ได้ตั้งแต่เด็กจนผู้ใหญ่ และเราเองต้องการสู้กับเงินสด ดังนั้นเราต้องออกแบบให้กับทุกกลุ่มใช้ได้”

ความเชื่อมั่น หัวใจสำคัญที่ท้าทาย

ในสมัยหนึ่งเราไม่กล้าใช้บัตรเครดิต เพราะกลัวคนเอาไปใช้รูด หากบัตรหาย แต่ตอนนี้คนไม่กลัวแล้ว เพราะอยากสะดวกมากกว่า เช่นเดียวกับ e-payment คนยังกังวลว่าปลอดภัยไหม ดังนั้น การให้ความรู้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันจะนำพาซึ่งความเชื่อมั่น อย่าไปกลัว เพราะมันหนีไม่ได้ มันมาแน่ แต่ต้องใช้ประโยชน์จากมันให้มากที่สุด เพราะทุกอย่างมันมีกฎหมายกำกับอย่างชัดเจน และไม่มีผู้ให้บริการคนไหนอยากให้เกิดข้อผิดพลาด

]]>
1286997
“ทีวี”คือแต้มต่อ เมื่อทุกคนทำออนไลน์ได้หมด ส่องยุทธศาสตร์ “เวิร์คพอยท์”สร้าง Ecosystem รวม”พันธมิตร คู่ค้า ผู้ชม” https://positioningmag.com/1235745 Mon, 24 Jun 2019 03:34:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235745 การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อทีวีดิจิทัล หลังการปลดล็อก “ต้นทุน” ทุกรายที่ไปต่อ ต่างมุ่งสู่การสร้างแพลตฟอร์มโอทีที ชูยุทธศาสตร์ผสานออฟไลน์ออนไลน์ รับมือการแข่งขันที่ไม่ได้มีเพียงคู่แข่งทีวีด้วยกัน 

“เวิร์คพอยท์” ที่เริ่มต้นจากคอนเทนต์ โปรวายเดอร์ และก้าวสู่การเป็นเจ้าของ “ทีวีดิจิทัล” มองสถานการณ์อุตสาหกรรมสื่อวันนี้อย่างไร Positioning สัมภาษณ์  ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ที่บอกว่าวันนี้สื่อทีวี ซึ่งมีเม็ดเงินโฆษณาอยู่ราว 30,000-40,000 ล้านบาทต่อปี ประเมินจากผู้ประกอบการของผู้ถือใบอนุญาตทีวีดิจิทัลปัจจุบัน

สถานการณ์วันนี้ คนที่เป็นเจ้าของใบอนุญาตทีวีดิจิทัลทั้ง 15 ช่องที่เหลืออยู่ ซึ่งจะไม่เพิ่มจำนวนไปมากกว่านี้ ดังนั้น “ทีวีดิจิทัล” ไม่ใช่สื่อที่ใครๆ จะทำได้ เพราะต้องมีใบอนุญาต เม็ดเงินโฆษณาทีวีจึงเป็นโอกาสของคนทำทีวีเท่านั้น แต่สื่อออนไลน์ “ทุกคน” ทำได้หมด แม้กระทั่งคนธรรมดา ก็เป็นเจ้าของแชนแนลในยูทูบได้ ใช้ Facebook Live เป็นช่องทางขายของหารายได้

 

ชลากรณ์ ปัญญาโฉม

“วันนี้ทีวีดิจิทัลเป็นแต้มต่อของคนทำทีวี เพราะทุกสถานีทำออนไลน์หมดแล้ว แต่คนทำออนไลน์ ก้าวมาเป็นเจ้าของทีวีไม่ได้ ”

คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ยกเว้นเก็บค่าประมูลทีวีดิจิทัล 2 งวดสุดท้าย และค่าเช่าโครงข่าย (MUX) จนครบใบอนุญาตอีก 10 ปี ทำให้วันนี้ ผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาตทีวีดิจิทัล “ไม่มีต้นทุน” เวิร์คพอยท์เองต้นทุนลดลงจากส่วนนี้ราว 100 ล้านบาทต่อปี ขณะที่การทำทีวีดิจิทัล ช่วง 5 ปีที่ผ่านมามี “กำไรสะสม” เกือบ 2,000 ล้านบาท จึงคืนทุนค่าใบอนุญาตที่จ่ายไปทั้งหมดแล้ว

ปักธงสร้าง Ecosystem ต่อยอดธุรกิจ

ยุทธศาสตร์คนทำทีวีวันนี้ คือ Single Content  Multiple Platform การใช้คอนเทนต์เดียวกระจายไปทุกวินโดว์ แต่ละวินโดว์ก็พยายามหาวิธีสร้างรายได้ ซึ่งทั้งโลกใช้วิธีนี้และประเทศไทยก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน

ปัจจุบันคนทำทีวี คือคนที่มี “มีเดีย”ครบที่สุด เมื่อต้องเชื่อมทุกแพลตฟอร์มเข้าหากัน จึงอาจเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้  ซึ่งก็มีทั้งการมองตัวเองเป็น “มีเดีย” ก็จะใช้เป็นช่องทาง “ขายสินค้า” ได้  แต่สิ่งที่เวิร์คพอยท์กำลังจะทำคือเชื่อมทุกแพลตฟอร์มเข้าหากัน ทั้งแพลตฟอร์มของเวิร์คพอยท์ที่มีสื่อครบ และของพันธมิตร เพื่อดึงคู่ค้า ทั้งผู้ลงโฆษณา ผู้ขายสินค้า และผู้ชมทั้งกลุ่มที่ดูคอนเทนต์และในฐานะผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้ามาอยู่ใน Ecosystem เดียวกัน  ซึ่งจะเริ่มเห็นในปีนี้

 

เราคงไม่ทำทุกอย่างเองทั้งหมด ใน Ecosystem ที่กำลังจะทำนี้ มีพาร์ทเนอร์หลายราย ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียล มีเดีย  มาร์เก็ตเพลส  อีเวนต์ เชื่อมเข้ากับสื่อทีวี ออนไลน์และธุรกิจอื่นๆ ของเวิร์คพอยท์

ปัจจุบันแพลตฟอร์ม Facebook YouTube Line  ไม่ใช่ของเวิร์คพอยท์ แต่มีคอนเทนต์ของเวิร์คพอยท์อยู่ในแพลตฟอร์ม ซึ่งก็เชื่อมเข้ามากับ Ecosystem คอนเซปต์ง่ายๆ คือ เวิร์คพอยท์ จะทำหน้าที่ Plug-in ทุกอย่างทั้งของเวิร์คพอยท์และพาร์ทเนอร์ เพื่อเสนอโซลูชั่นให้กับผู้ที่ต้องการใช้สื่อและคอนเทนต์ รวมทั้งเป็นแพลตฟอร์มของ “ผู้ชม” ที่ต้องการดูคอนเทนต์ เป็นช่องทางให้ SMEs ที่ต้องการขายสินค้าและใช้สื่อเข้าถึงผู้บริโภค

“การสร้าง Ecosystem ของเวิร์คพอยท์ มาจากจุดที่เรามีสื่อครบทั้งทีวี ออนไลน์ และอีเวนต์ มีความเชี่ยวชาญการทำคอนเทนต์  เพราะธุรกิจสื่อวันนี้ เป็นเรื่องของการล้อมคนไว้ทุกทิศทาง”

ยุทธศาสตร์การสร้าง Ecosystem  ของเวิร์คพอยท์ เป็นแนวทางเดียวกับแพลตฟอร์มใหญ่ระดับโลกอย่าง  Alibaba Amazon Facebook Google Line  ที่ต้องทำทุกอย่างเช่นกัน และในบางอย่างหากไม่ทำก็จะหาพาร์ทเนอร์มาทำงานร่วมกัน  เป็นสิ่งที่เห็นเทรนด์และทิศทางธุรกิจจากการไปร่วมสัมมนาของแพลตฟอร์มระดับโลกทุกปี ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเวิร์คพอยท์ พอมีเงินเหลือที่จะลงทุนใหม่ๆ เพื่อทดลองการสร้าง Ecosystem

ลงทุนอีเพย์เม้นต์ GB Prime Pay

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2562 เวิร์คพอยท์ ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  เรื่องบริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้เข้าลงทุนในหุ้นสามัญของ บริษัท โกลบอล ไพร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Global Prime) ซึ่งเป็นธุรกิจ Payment Gateway ธุรกิจรับชำระเงินในระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นการลงทุนเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและเพิ่มศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ มูลค่าการลงทุน 40  ล้านบาท ถือหุ้น 30%

โดย GB Prime Pay ระบบชำระเงินรองรับบัตรทุกชนิดและธุรกิจหลากหลายประเภท ทั้งระบบตะกร้าบนเว็บไซต์ การขายผ่าน Facebook Line และ Instagram พร้อมทั้งบริการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อขาย เทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภครายบุคคล

ภาพจากเว็บไซต์ GB Prime Pay

ชลากรณ์ บอกว่าการเข้าไปลงทุนใน GB Prime Pay เพราะเป็นธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ เป็นบริษัทที่กำลังเติบโต วัตถุประสงค์แรกเป็นการลงทุนเพื่อทำ “กำไร” แต่ในระยะยาวมีโอกาสที่จะเชื่อมโยงกับการขยายธุรกิจของกลุ่มเวิร์คพอยท์ และเป็นการต่อจิ๊กซอว์ระบบเพย์เม้นต์ใน Ecosystem ของเวิร์คพอยท์

“การลงทุนในธุรกิจใหม่ ระยะสั้นจะดูว่ามีอะไรเชื่อมโยงกับเวิร์คพอยท์ได้บ้างและหากยังไม่มีในระยะยาวก็อาจมีธุรกิจที่เชื่อมโยงกันได้ โดยเฉพาะ Transaction Online ที่เวิร์คพอยท์อาจได้ประโยชน์ ผ่านระบบเพย์เม้นต์อีคอมเมิร์ซ ในธุรกิจทีวี ช้อปปิ้งและผลิตภัณฑ์ความงามแบรนด์ Let Me In”

ผังรายการทีวีเปลี่ยนถี่

ในสมรภูมิการแข่งขันทีวีดิจิทัลเองวันนี้ สปีดการปรับผังรายการต้องดูทุก 3 เดือน จะเห็นได้ว่ารายการส่วนหนึ่งเป็นซีซั่นอยู่แล้ว เพราะพฤติกรรมชมในยุคนี้เปลี่ยนเร็ว ช่วงต้นปีเศรษฐกิจชะลอตัวและมีเลือกตั้งจึงยังไม่ปรับผัง โดยเริ่มใส่รายการใหม่ตั้งแต่ไตรมาส 2 มาอย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนรายการ “ปริศนาฟ้าแลบ” เป็น “กล่องของขวัญ” ,รายการ Sweet Chef Thailand, รายการ 10 FIGHT 10, Who is my Chef, คู่เฟค คู่แฟน Fake Lovers ช่วงไตรมาส 3 จะใส่รายการใหม่เข้ามาอีก ปกติมีรายการใหม่ไตรมาสละ 1-2 รายการ มีทั้งปรับและเปลี่ยน

ภาพเฟซบุ๊ก The Mask Singer

ก็ต้องบอกว่ารายการที่คนชอบพูดถึง อย่าง The Mask Singer และ I Can See Your Voiceรตติ้งยังดีอยู่เฉลี่ย 3 จึงยังอยู่ในผังช่องต่อไป เพราะเป็นรายการที่มีคนดูประจำ แต่ละซีซั่นก็จะใส่ลูกเล่นใหม่ เพื่อรีเฟรชรายการให้ดูสนุกและตื่นเต้น แม้เรตติ้งจะไม่สูงเท่าที่เคยทำได้ระดับ 7-8  แต่เรตติ้ง 3 ก็แข่งขันกับละครที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันได้

เดิมทีวีเป็นการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่วันนี้เป็นการแข่งขันของทุกอุตสาหกรรม เพื่อดึงเวลาของคนให้มากที่สุด จึงไม่ได้โฟกัสที่ Ranking และ Rating มากนักว่าเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างไร เพราะเมื่อใดก็ตามที่ “คอนเทนต์ดี” เรตติ้งก็จะดีตามไปด้วย

“เราคิดข้ามเรื่องเรตติ้งไปแล้ว เพราะเป็นปกติที่มีขึ้นลง แต่โฟกัสไปที่คนดูใช้เวลาอยู่กับทุกแพลตฟอร์มของเวิร์คพอยต์มากขึ้นหรือไม่ ทั้งทีวี ออนไลน์ และกิจกรรม เพราะเมื่อมีคนใช้เวลามากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะเห็นโฆษณา ซื้อสินค้า หรือขายสินค้าใน Ecosystem ของเวิร์คพอยท์ วันนี้จึงมองเรื่องการต่อยอดธุรกิจเป็นหลัก”

ภาพจากเฟซบุ๊ก workpoint

ปีนี้รายการเวิร์คพอยท์ที่กระแสแรงสุดก็คือ มวย 10 FIGHT 10 รูปแบบรายการให้ดารา นักแสดง มาแข่งต่อยมวย ก่อนแข่งจะมีการซ้อม 2-3 เดือน รายการ 10 FIGHT 10  ไอเดียคล้าย The Mask Singer  ที่ดึงดารา นักร้อง คนดัง มาแข่งขันความสามารถร้องเพลง มีดาราสนใจขึ้นเวทีจำนวนมาก เช่นเดียวกันดารา หลายคนที่นิยมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเป็นประจำ ก็สนใจเข้าร่วมแข่งขันต่อยมวย 10 FIGHT 10 แข่งขัน ซีซั่นละ 10 คู่ ระยะเวลา 3 เดือน หลังออกอากาศไป 2 ตอน เรตติ้งเฉลี่ย  2  การดูผ่าน Facebook Live พร้อมกันหลักแสนคน  ถือเป็นตัวเลขที่สูงมากและไม่เห็นตัวเลขนี้มาระยะหนึ่งแล้ว ก่อนนี้ที่ทำได้คือ The Rapper

ต่อยอดคอนเทนต์จากหน้าจอสู่สโตร์

ปีนี้เวิร์คพอยท์ได้ทดลองต่อยอดคอนเทนต์รายการธุรกิจใหม่ ผ่านรายการ Sweet Chef Thailand  ซึ่งเป็นรายการแช่งขันทำขนม ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.15 น. เริ่ม 9  มิ.ย.ที่ผ่านมา  โดยหลังรายการจบ เมนูขนมในรายการ จะนำมาขายที่ร้าน Sweet Chef Cafe สยามสแควร์ ซอย 3  ซึ่งเป็นร้านที่ “โต๊ะกลม” บริษัทในเครือเวิร์คพอยท์ลงทุนร่วมกับเจ้าของร้าน The Cassette Music Bar  ร้าน Kobe Steakhouse และร้านรองเท้า paa ซึ่งมีประสบการณ์ในธุรกิจร้านอาหารอยู่แล้ว

ร้าน Sweet Chef Cafe สยามสแควร์ ซอย 3

หลักคิดการทำรายการ Sweet Chef Thailand ที่มีให้ดูทั้งหน้าจอทีวี ออนไลน์ และไปจบที่หน้าร้าน เป็นการต่อยอดคอนเทนต์ของเวิร์คพอยท์ เพราะส่วนใหญ่คนที่ดูรายการอาหาร หลังจบรายการแล้ว หากชอบเมนูนั้นๆ ก็ไม่รู้ว่าจะไปหารับประทานได้ที่ไหน จึงทดลองนำมาขายที่ร้าน Sweet Chef Cafe เพื่อให้คนที่สนใจมาชิมเมนูต่างๆ  ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากมีเดีย ที่สร้างการรับรู้ผ่านรายการทีวีมาสร้างรายได้ผ่านหน้าร้าน ช่วง 1-2 ปีนี้ จะทดลองโปรเจกต์ลักษณะนี้อีก แต่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก

จับมือทุกแพลตฟอร์มออนไลน์

นอกจากนี้เวิร์คพอยท์ ยังมีความร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์ทุกราย ในการนำรายการไปนำเสนอผ่านแพลตฟอร์มนั้นๆ รวมทั้งการเป็นคอนเทนต์ โปรวายเดอร์ ความร่วมมือง่ายที่สุด คือรับจ้างผลิต “ออริจินัล คอนเทนต์”หรือการแบ่งรายได้ร่วมกัน ความร่วมมือก่อนหน้านี้ เช่น  Viu Line TV

ล่าสุด Netflix ได้เข้ามา “เช่าเวลา”ในช่องเวิร์คพอยท์ เพื่อฉายคอนเทนต์ของ Netflix เป็นภาพยนตร์ยาวตอนเดียวจบ 1 ครั้ง 1 ชั่วโมง เมื่อวันเสาร์ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากนี้เป็นรายการทีวีแนะนำหนังและฉายหนังตัวอย่างครั้งละ 20 นาที  ถือเป็นรูปแบบการโฆษณาคอนเทนต์ของ Netflix ทางทีวีที่เป็นสื่อแมส

สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นยุทธศาสตร์ที่ทุก “สื่อ” ทำเหมือนกัน คือ เป็นการ “ดักคนดู” ของทุก “มีเดีย” เพราะหากต้องการให้คนเห็นคอนเทนต์จำนวนมากก็ต้องใช้ทุกพื้นที่ ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์  สิ่งพิมพ์ OOH  การที่ Netflix ใช้สื่อทีวี เพราะต้องการเห็นตลาดใหญ่ขึ้นอีก

“ตอนนี้ธุรกิจสื่อทั้งโลก เหลือกฎอยู่ข้อเดียว คือ ใครได้คนเยอะสุด จะได้ประโยชน์มากที่สุด ออนไลน์เองก็ต้องทำให้คนอยู่กับแพลตฟอร์มของตัวเองให้ได้มากที่สุด แม้วันนี้มีคนใช้บริการอยู่จำนวนมากแล้ว แต่ก็ต้องการได้เพิ่มอีก”

ส่วนความร่วมมือกับ Facebook หลังจบรายการ 10 FIGHT 10 จะต่อด้วยรายการ Social Icon  ซึ่งจะใช้เครื่องมือของเฟซบุ๊กในการโหวตแข่งขัน  แนวคิดคือเชื่อมทีวีกับออนไลน์  วัตถุประสงค์หลักๆ คือ หาคนทำวิดีโอ ทุกประเภท ทั้ง รีวิวสินค้า ร้องเพลง ขายสินค้า คลิปตลก  หากทำคอนเทนต์ได้ดี ก็มีโอกาสสร้างอาชีพได้ และต้องการให้คนที่มีความสามารถตื่นตัวกับการทำวิดีโอ คอนเทนต์  ซึ่ง Facebook ก็จะได้คนทำวิดีโอ บนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น  ส่วนเวิร์คพอยท์เองก็มีโอกาสเจอคนทำวิดีโอเก่งๆ และเป็นพาร์ทเนอร์ในกลุ่ม Influencers

อุตสาหกรรมสื่อวันนี้ ทุกคนยังต้องเจอการเปลี่ยนแปลงต่อไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เรื่องที่ยาก คือ ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด แต่เชื่อว่าการมีสื่อครบและมีคอนเทนต์ที่ดี ยังมีโอกาสไปต่อได้.

]]>
1235745
ดีแทคขายกิจการชำระเงิน Paysbuy ให้ Omise แล้ว https://positioningmag.com/1131888 Thu, 06 Jul 2017 06:37:12 +0000 http://positioningmag.com/?p=1131888 รายงานข่าวจาก www.techinasia.com ได้ระบุถึง ดีลของบริษัท Omise ให้บริการชำระเงินออนไลน์ได้เข้าซื้อกิจการ Paysbuy ในส่วนของธุรกิจชำระเงินออนไลน์จากดีแทค ผู้ให้บริการมือถือ ส่วนมูลค่าของดีลนี้ยังไม่มีการเปิดเผย ภายใต้เงื่อนไขของดีลนี้ ธุรกิจการชำระเงินของ Paysbuy จะเข้ามารวมกับ Omise ทันที ส่วนธุรกิจส่วนอื่นๆ ยังคงอยู่กับดีแทค

ก่อนการเข้าซื้อกิจการ Paysbuy บริษัท Omise ได้ระดมเงินทุนเพิ่มจำนวน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่าน Token sale ที่เป็นเหมือนเงินดิจิทัล

Paysbuy เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์รายแรกที่เปิดให้บริการแก่ผู้บริโภคชาวไทย เปิดตัวโดยดีแทค หนึ่งในโอเปอเรเตอร์ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ

สำหรับ Omise ก่อตั้งตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2556 โดย Jun. Hasegawa และ Ezra Don Harinsut เดิมทีนั้น Omise เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แต่หลังจากที่เกิดความยุ่งยากในการชำระเงิน จึงตัดสินใจสร้างแพลตฟอร์มของตนเอง

หลังจากนั้นหนึ่งปีที่ผ่านมา Omise ได้รับระดมทุน ซีรีย์ B มูลค่า 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย SBI Investment บริษัทลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น การลงทุนครั้งนี้เพื่อนำเพย์เมนต์เกตเวย์ของไทยขยายตลาดไปยังตลาดใกล้เคียง

การเข้าซื้อกิจการ Paysbuy ในครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้บริโภคชาวไทยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น อาศัยฐานลูกค้าเดิมของ Paysbuy และมีแผนจะเปิดตัวบริการใหม่ OmiseGO เป็นอีวอลเล็ท จะเปิดตัวช่วงปลายปีนี้

อุตสาหกรรมการชำระเงินออนไลน์ในไทยจะยิ่งร้อนระอุขึ้น นอกเหนือจากแพลตฟอร์มคู่แข่งที่เป็นโลคอลอย่าง 2C2P แล้ว Omise ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันในระดับภูมิภาคจากผู้เล่นระดับโลกเช่น Stripe อีกด้วย

สำหรับ Paysbuy ถือเป็นผู้ประกอบให้บริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-มันนี่ รายแรกๆ ของไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 โดยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E Money License) จากธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ กรกฎาคม 2548 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี 2551 ดีแทคได้เข้าซื้อกิจการและกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ถือเป็นบริษัทลูกของดีแทค ที่ได้นำคนจากดีแทคเข้าไปร่วมบริหาร และดำเนินธุรกิจมา 9 ปี จนได้ตัดสินใจขายกิจการไปให้กับบริษัท Omise


ที่มา : https://www.techinasia.com/omise-acquires-paysbuy

]]>
1131888
ร่วมขยายรูดปรื้ด ! แบงก์กรุงเทพผนึกกสิกรไทย ติดตั้งเครื่องรูดอีดีซี 5.5 แสนเครื่องทั่วประเทศ https://positioningmag.com/1119095 Mon, 13 Mar 2017 05:31:21 +0000 http://positioningmag.com/?p=1119095 ธนาคารกรุงเทพและกสิกรไทย สองธนาคารที่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน 70% ได้ร่วมมือกันในโครงการ “กิจการการค้าร่วมโครงการอีเพย์เมนต์” จากการคัดเลือกจากกระทรวงการคลัง ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ให้ร่วมกัน ติดตั้งเครื่องอีดีซี (EDC) จำนวน 550,000 รายทั่วประเทศ ตามร้านค้า หน่วยงานภาครัฐ คาดภายในเดือน มี.ค. 61 ได้ 550,000 ราย

เพื่อให้ตามเป้าหมายของรัฐบาล ให้มีการดำเนินโครงการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ในการชำระเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของคนไทย

โดยโครงการในครั้งนี้ได้มีการกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมการรับบัตร (Merchant Discount Rate) หรือ MDR สูงสุดไม่เกิน 0.55% ต่อครั้ง ดึงดูดให้ร้านค้าทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ยินดีรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเดบิตมีจำนวนขยายตัวในวงกว้างเพิ่มมากขึ้น

ผู้บริหารของทั้งสองธนาคารเห็นร่วมกันว่า โครงการนี้จะช่วย 1.ลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน 2.ส่งเสริมการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) 3.ลดการใช้เงินสดในชีวิตประจำวัน

ช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจ เข้าถึงบริการชำระเงินผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเดบิต ได้อย่างสะดวก และแพร่หลาย ด้วยต้นทุนการจัดการเงินสดที่ลดลง ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐบาลในเรื่อง National e-Payment ในการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินเพื่อเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสดได้ในอนาคต

]]>
1119095
มาอีกราย! “Pay For U” อี-วอลเลทสัญชาติไทย สู้ศึกอีมันนี่ https://positioningmag.com/1111721 Thu, 22 Dec 2016 06:24:56 +0000 http://positioningmag.com/?p=1111721 ตลาดอีมันนี่ หรือการทำธุรกรรมการเงินบนโลกออนไลน์ ยังคงมีความเคลื่อนไหวอยู่ต่อเนื่อง นอกจากจะได้เห็นผู้เล่นรายใหญ่จากต่างชาติ และผู้เล่นรายใหญ่ในไทยมาบ้างแล้ว รายย่อยๆ ก็ลุยตลาดนี้บ้าง “Pay For U (เพย์ ฟอร์ ยู)” อีวอลเลทสัญชาติไทยก็ขอลงสนามนี้บ้างเหมือนกัน

เพย์ ฟอร์ ยู ได้เริ่มเปิดทดลองให้บริการมาแล้วตั้งแต่ปี 2558 วางจุดยืนเป็นอีวอลเลทที่เป็นกระเป๋าเงินออนไลน์ สามารถใช้จ่ายบิล เติมเงิน บริหารโดยบริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด หรือ IPPS ซึ่งได้แตกบริษัทออกมาจากบริษัท อินเทอร์เน็ต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรไวด์เดอร์ จำกัด หรือ ISSP อยู่ในวงการเทคโนโลยีมากว่า 20 ปีแล้ว ให้บริการในเรื่องดาต้าเซ็นเตอร์ และคราวน์

การทดลองตลาดมาได้ 1 ปี ทำให้เพย์ ฟอร์ ยูมีฐานลูกค้าราว 1.5 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าใช้บริการจ่ายบิล และเติมเงินต่างๆ ในปี 2560 จึงเตรียมบุกตลาดเต็มที่เพราะมองเห็นโอกาสของตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปิดกว้างกับการจ่ายเงินแบบอีวอลเลทแล้ว

แต่การที่จะเข้ามาบุกตลาดในตอนนี้และวางโพซิชั่นเป็นเพียงแค่อีวอลเลท หรือเพย์เมนต์ เกตเวย์อย่างเดียวก็อาจจะดูช้าเกินไป เพย์ ฟอร์ ยูเลยเพิ่มจุดขายด้วยการวางจุดยืนเป็น Business Platform ด้วยการที่มีพันธมิตรร้านค้าต่างๆ ที่ต้องการมีร้านค้าออนไลน์ หรือถ้ามีหน้าร้านอยู่แล้วก็เชื่อมกับระบบจ่ายเงินของเพย์ ฟอร์ ยูได้ โดยเพย์ ฟอร์ ยูจะให้คำปรึกษาด้านการตลาดควบคู่ไปด้วย และหารายได้ด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมจากยอดขายของร้านค้าราว 3% ปัจจุบันมีพันธมิตรรายใหญ่อยู่ราว 10 ราย ตั้งเป้าให้ครบ 100 รายในปีหน้า

ดร. กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัดคิดว่าตอนนี้พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปิดรับแล้ว ช่วงเวลาตอนนี้เหมาะแก่การทำตลาด เพราะเทคโนโลยีเริ่มมาธุรกิจต้องติด 4G อีกทั้งปัจจัยเรื่องอีคอมเมิร์ซก็เติบโตขึ้นมาก็เป็นตัวกระตุ้นเรื่องอีมันนี่ แต่ทางเพย์ ฟอร์ ยูไม่โฟกัสแค่อีวอลเลท หรือเพย์เมนท์อย่างเดียว ทำให้เหมือนกับผู้เล่นรายอื่น แต่วางจุดยืนให้เป็นผู้ช่วยของธุรกิจด้วย มีพันธมิตรร้านค้า     

ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือเพย์ ฟอร์ ยูได้เริ่มนำเทคโนโลยี QR Pay เข้ามาใช้ซึ่งการจ่ายเงินรูปแบบนี้กำลังเป็นที่นิยมในประเทศจีน อินเดีย และกำลังเปิดตัวที่สหรัฐอเมริกา WeChat Pay ก็มีการใช้จ่ายด้วยรูปแบบนี้ ซึ่ง QR Pay จะสามารถช่วยลดต้นทุนของร้านค้าในการติดตั้งเครื่องชำระเงินได้ จากเดิมอาจจะต้องติดตั้งเครื่องรูดบัตรเครดิต แต่ตอนนี้แค่ทำ QR Code ขึ้นมา ก็จ่ายเงินได้เลย โดยที่จะเข้าไปพ่วงกับอีวอลเลทของเพย์ ฟอร์ ยู

การบุกตลาดอย่างหนักในปีหน้า เพย์ ฟอร์ ยูได้วางงบการตลาด 20 ล้านบาท ส่วนใหญ่ใช้กับงบโฆษณดิจิทัลเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ตั้งเป้ารายได้ 200 ล้านบาทในสิ้นปี 2560 และมีฐานลูกค้าเติบโตขึ้น 50% เป็น 2.2-2.3 ล้านราย จากปัจจุบันมี 1.5 ล้านราย

]]>
1111721
จับตา อีเพย์เมนต์บนโมบาย สุดฮอต 3 ค่ายยักษ์ส่ง Apple Pay, Samsung Pay Android Pay บุกเอเชีย https://positioningmag.com/1110423 Fri, 09 Dec 2016 11:10:44 +0000 http://positioningmag.com/?p=1110423 ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย จับตา “เงินอิเล็กทรอนิกส์” หรือ รูปแบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment หรือ e-Payment) กำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล และลดใช้เงินสดมีต้นทุนมหาศาลในการบริหารจัดการ ทั้งการพิมพ์ การขนส่ง การนับคัด และการทำลาย

ข้อมูลจาก Visa Consumer Payment Attitudes Study 2015 กว่า

  • 6 ใน 10 (57%) ของคนไทย คิดว่า การพกเงินสดไม่ปลอดภัย
  • คนไทยพกเงินสดเฉลี่ย 2,094 บาท

info_1_payment

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สัดส่วนมูลค่าการชำระเงินด้วยช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทย จะเพิ่มขึ้นจาก 40% ไปอยู่ระดับที่สูงกว่า 50% ในอีก 10 ปีข้างหน้า

คนไทยใช้อีเพย์เมนต์น้อย

เมื่อดูถึงอัตราการใช้บริการการชำระเงินทางของประเทศไทย ในปี 2557 มีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ย 35 รายการต่อคน ต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ

เมื่อเทียบสัดส่วนการทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์กับประเทศอื่นๆ จะพบว่าจำนวนรายการต่อประชากรต่อปีเป็นดังนี้

2_payment

เป้า 3 ปี อีเพย์เมนต์เพิ่ม 150 รายการ/คน/ปี

คณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) กำหนดเป้าหมายเพิ่มปริมาณการใช้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อประชากรเป็น 50 และ150 รายการ/คน/ปี ในปี 2559 และ 2563 ตามลำดับ

3_payment

รับมือมิจฉาชีพยุคดิจิทัล

จากข่าวมิจฉาชีพพยายามโจรกรรมข้อมูลและเงินในบัญชี ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต่างเดินหน้าลงทุนระบบไอที เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าในการใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ (Digital Banking) โดยเฉพาะในอนาคตที่หลายธนาคารหันมาให้ความสำคัญกับการให้บริการผ่านดิจิทัลเพิ่มขึ้น ซึ่งความปลอดภัยในการให้บริการถือเป็นหัวใจ

เพื่อเป็นการป้องกันตนเองในเบื้องต้น ในฐานะเจ้าของเงิน ต้องละเอียดรอบคอบ อย่าเผลอกดรัวๆ ด้วยความเคยชิน โดยไม่อ่านข้อมูลใดๆ โดยมีทริคง่ายๆ คือ

  • ข้อมูลส่วนตัว เก็บไว้กับตัว อย่าไปบอกใคร
  • รหัสผ่าน ตั้งให้ยากเข้าไว้ โจรเดาไม่ได้
  • เว็บไซต์ ดูให้ดี เว็บจริงหรือเว็บหลอก ก่อนกรอกข้อมูลส่วนตัว
  • โปรแกรมป้องกันไวรัส ติดตั้งไว้เถอะ ช่วยตรวจเจอโทรจันร้าย
  • ซอฟต์แวร์และเว็บเบราเซอร์ อัพเดตให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด อุดช่องโหว่ความปลอดภัย
  • ทำธุรกรรมออนไลน์ ตรวจ SSL ของเว็บไซต์ก่อนจ่าย-โอน
  • Cyber Banking > Log in ใหม่เสมอ อย่าเผลอกดระบบช่วยจำรหัสผ่าน
  • Wi-Fi สาธารณะ อยู่นอกบ้านใช้ 4G ดีกว่า Wi-Fi สาธารณะ

การปรับตัวของร้านค้ารองรับ “เงินอิเล็กทรอนิกส์”

เมื่อคนไทยลดการใช้เงินสด และหันมาใช้จ่ายเงินผ่านบัตรและช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ประกอบกับโครงการ Expansion of Card and Card Acceptance ภายใต้นโยบาย National e-Payment ที่กำหนดให้ทุกร้านค้าที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ต้องมีเครื่อง EDC เพื่อเพิ่มการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งเหล่านี้ทำให้ร้านค้าต่างๆ ต้องปรับตัวสู่การค้าขายในอนาคต เพื่อให้พร้อมรองรับการจ่ายทุกรูปแบบ

ปัจจุบันมีเครื่อง EDC ในประเทศไทยอยู่ 396,257 เครื่องและภาครัฐมีนโยบายตั้งเป้าติดตั้งเครื่องรูดบัตร (อีดีซี) เพิ่มเป็น 2 ล้านเครื่อง ข้อมูล: ธนาคารแห่งประเทศไทย ครึ่งปีแรก 2559

หมายเหตุ :

EDC หรือเครื่องรับบัตรเทคโนโลยีทันสมัยที่รองรับทุกบัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตร VISA Mastercard และ UnionPay (บัตรของประเทศจีน) Alipay และ Wechat (อี-ว็อลเล็ตของประเทศจีน) ซึ่งเหมาะสำหรับธุรกิจที่เน้นการขายผ่านหน้าร้าน เช่น ร้านอาหาร โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว สปา ที่รองรับลูกค้าทั้งชาวไทย และต่างประเทศ

K-PowerP@y (mPOS) คืออุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนสมาร์ทโฟนให้เป็นเครื่องรับบัตร ซึ่งเวลานี้ mPOS ของธนาคารกสิกรไทยเป็นเจ้าเดียวที่สามารถเชื่อมต่อต่อผ่านบลูทูธ เหมาะกับธุรกิจร้านค้ารายย่อย เช่น ร้านขายเสื้อผ้า ร้านค้ารายย่อยตามตลาดนัด หรือเหมาะกับการขายนอกสถานที่ เช่น ในงานอีเวนต์ เป็นต้น

ใช้ EDC แล้วร้านค้าจะได้อะไร

  • เพิ่มโอกาสการขายได้มากกว่า ลูกค้าจ่ายง่าย กล้าซื้อมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องพกเงินสดมาเยอะๆ
  • ได้รับความสะดวกและปลอดภัย ร้านค้าไม่ต้องถือเงินสด โดยเงินที่ได้จากการขายของจะถูกโอนเข้าบัญชีในวันรุ่งขึ้นทันที และสามารถเข้าเว็บไซต์ดูรายละเอียดการขายต่างๆ ผ่านทาง e-report ได้
  • มีโปรโมชั่น และแคมเปญต่างๆ ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งร้านค้าที่ซื้อขายผ่านเงินสดจะพลาดการเข้าร่วมแคมเปญตรงนี้ไป

Contactless Payment บนโมบาย มาแรงสุดๆ!

ระบบการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) ผ่านเครื่องมือสื่อสารเคลื่อนที่ ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จาก 3 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ของโลก คือ Apple Pay, Samsung Pay และ Android Pay ที่กำลังเดินหน้าบุกตลาดในเอเชีย

  • Apple Payให้บริการในจีน สิงคโปร์ ล่าสุดคือญี่ปุ่น
  • Apple Pay บน iPhone 7, iPhone 7 Plus และ Apple Watch Series 2 ที่วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น จะฝังชิปรองรับระบบจ่ายเงิน FeliCa Type-F NFC สามารถใช้งานผ่านบัตรยอดนิยม Suica ผู้ใช้จะสามารถใช้งาน Apple Pay ในการเดินทางทั้งรถไฟ, รถไฟใต้ดิน, เฟอรี่ และรถโดยสารประจำทาง โดยมีการอัพเดตค่าโดยสารและตารางเวลา และแจ้งเตือนถ้ายอดเงินใน Suica ไม่พอ
  • Samsung Pay ให้บริการในเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ล่าสุดคือไทย
  • Samsung Pay ในประเทศไทย ใช้เทคโนโลยีการชำระเงินในแบบ Magnetic Secure Transmission หรือการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปที่เครื่องรับชำระเงิน หรือ EDC และเมื่อเครื่องได้รับรายการแล้ว ลูกค้าจะต้องเซ็นต์สลิปบัตรเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป โดยที่ลูกค้าสามารถใช้ Samsung Pay ทำรายการได้ตามเงื่อนไขของร้านค้าโดยไม่มีการจำกัดยอดซื้อสูงสุด สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ 27 ต.ค. นี้ที่ร้านค้าร่วมรายการ และห้างสรรพสินค้าเครือเดอะมอลล์ และสยามพิวรรธน์
  • Android Pay ให้บริการในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ล่าสุดคือสิงคโปร์
  • ขยายตลาดเอเชีย ประเดิมประเทศแรกในภูมิภาคนี้ คือสิงโปร์  Android Pay ในสิงคโปร์ รองรับ Android 4.4 ขึ้นไปที่มีชิป NFC ร้านค้าที่รองรับได้แก่ 7-11, BreadTalk, Cold Storage, McDonald’s, NTUC FairPrice, StarHub, Toast Box, Uniqlo, Watsons และรองรับบัตรของขวัญ บัตรสะสมแต้ม บัตรส่วนลดของร้านค้าเหล่านี้ด้วย นอกจากนี้ตัวแอป Android Pay ยังสามารถใช้จ่ายเงินกับแอปอย่าง Uber, Grab, Shopee, Zalora, Singapore Airlines ได้ด้วย
]]>
1110423
จะเอาไงดี ! เมื่อเทคโนโลยีป่วนแบงก์ https://positioningmag.com/1109041 Wed, 23 Nov 2016 23:55:08 +0000 http://positioningmag.com/?p=1109041 เมื่อโลกเทคโนโลยีใหม่ได้พัดพาเอาคู่แข่งใหม่ๆ ทั้งธุรกิจสื่อสาร ค้าปลีก ฟินเทค สตาร์ทอัปเข้ามาเขย่าโลกการเงิน แบงก์กำลังถูกยึดพื้นที่ธุรกิจชนิดตำราการตลาดเล่มไหนก็ใช้ไม่ได้ แบงก์จะเผชิญและแก้ปัญหากับ “แลนด์สเคป” ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

การมาของเทคโนโลยี กำลังเป็นคลื่นแห่งการปฏิวัติที่ได้สร้างความ “ปั่นป่วน” ให้กับหลายอุตสาหกรรม ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ ตามมาด้วยสื่อทีวี ธุรกิจค้าปลีก รวมทั้งสถาบันการเงิน ที่กำลังถูกท้าทายอย่างหนัก  ที่ทำให้ “ภูมิทัศน์” ของอุตสาหกรรมการเงินต้องเปลี่ยนแปลงไป

จากผู้เล่นหน้าใหม่ ที่มาจากธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม แวดวงค้าปลีก บริษัทผู้ผลิตเกม รวมทั้งบรรดาฟินเทค สตาร์ทอัปทั้งหลาย ที่ใช้ “เทคโนโลยี” มานำเสนอบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากอดีต

ยิ่งกรณีการจับมือระหว่าง 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ อาลีบาบา และกลุ่มซีพีของไทย เพื่อร่วมมือกันขยายบริการทางการเงิน เริ่มจากบริการชำระเงินผ่านเครือข่ายร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และทรูมันนี่ ก็ยิ่งที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับธนาคาร เพราะอนาคตจะมีบริการอื่นๆ ตามมา

ผู้เล่นในธุรกิจอีเพย์เมนต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของฟินเทค ก็มีถึง 4-5 ราย นอกจากอาลีเพย์และทรูมันนี่ แอร์เพย์ ของค่ายเกมการีน่า, ซัมซุง เพย์, เอ็มเปย์ ของเอไอเอส, ไลน์เพย์, เฟซบุ๊ก เพย์

เมื่อเส้นแบ่งของการให้บริการเปลี่ยนไป ผู้เล่นรายใหม่เข้ามา เริ่มมีคำถามว่า ในอนาคต สาขาธนาคารยังจำเป็นอยู่อีก หรืออาจถึงขั้นที่อาจไม่ต้องมี “ธนาคาร” เลยหรือไม่

สาขาของธนาคารอยู่ในภาวะ “ปิด” มากกว่า “เปิด” มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเปิดเผยข้อมูลจำนวนสาขาของธนาคารทั้งไทยและต่างชาติ ทยอย “ปิด” สาขาต่อเนื่อง และลดลงทุกพื้นที่ ตัวเลขล่าสุดในเดือนตุลาคม 2559 ลดลงไป 42 แห่ง กรุงเทพฯ ลดมากที่สุด 27 แห่ง ตามมาด้วยภาคกลาง 8 แห่ง ภาคใต้ 3 แห่ง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ พื้นที่ละ 2 แห่ง

ผู้บริหารของแบงก์ชาติ ระบุถึงสาเหตุมาจากเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ธนาคารหันไปเน้นช่องทางดิจิตอลมากขึ้น และต้องการลดต้นทุน ยิ่งในปีหน้า 2560 เมื่อ พร้อมเพย์ เริ่มใช้บริการ และเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ฟินเทค มีมากขึ้น จะยิ่งเห็นการปิดสาขาของธนาคารชัดเจนยิ่งขึ้น

คู่แข่งมาทุกทาง

ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล ประธานสายพัฒนระบบงาน ช่องทางขายและผลิตภัณฑ์ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) มองว่า ธนาคารอยู่ในภาวะที่ท้าทายอย่างหนักจากคู่แข่งที่มาจากอุตสาหกรรมอื่นๆ

word_icon

เวลานี้เราบอกไม่ได้แล้วว่า อะไรคืออุตสาหกรรมการเงิน ทุกอย่างมันเบลอไปแล้ว  ธนาคารเองก็เราไม่รู้ว่า คู่แข่งเป็นใคร ใครมาแข่งกับธนาคารบ้าง เส้นแบ่งไม่มีอีกแล้ว คนทำธุรกิจสื่อสาร  ธุรกิจค้าปลีกที่มีสาขามากๆ ทฤษฎีการตลาดแบบเดิมใช้ไม่ได้อีกแล้ว

word_icon2

“เทคโนโลยี” คือตัวแปรสำคัญ ที่นำพาคู่แข่งหน้าใหม่ๆ เข้ามาในอุตสาหกรรม และเมื่อเส้นแบ่งไม่มี ส่งผลให้แลนด์สเคปการทำธุรกิจของธนาคารจึงเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เป็นโจทย์ที่ธนาคารเองก็ตั้งรับได้ยาก

“อีกวันสองวันอาจมียักษ์ใหญ่เข้ามาอีก บริการฟินเทคที่ธนาคารวางแผนอยู่อาจต้องเปลี่ยนกันใหม่ เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว”

ดังนั้น ธนาคารรวมทั้งผู้คุมกฎกติกา ควรมองให้กว้าง ในระดับ “โกบอล” ไม่ใช่แค่ “โลคัล” ดร.ธีรวัฒน์ ยกตัวอย่าง การออก “กติกา” มาคุมฟินเทคในประเทศไทย แต่ฟินเทคเหล่านี้ก็สามารถไปตั้งบริษัทในประเทศสิงคโปร์ แล้วให้บริการมาที่ไทยได้ 

เปลี่ยนจาก fee เป็น Free

นอกจากนี้ รูปแบบการหารายได้จากค่าธรรมเนียม (Fee) กำลังถูกท้าทายจากผู้เล่นใหม่ๆ นำเสนอบริการทางการเงินในราคาถูก หรือถึงขั้น “ฟรี” ค่าธรรมเนียม ซึ่งก็นำมาทั้ง “โอกาส” และ “ความเสี่ยง”

พฤติกรรมของลูกค้าเวลานี้ กล้าลองบริการใหม่ มีแอปฯ ใหม่ๆ มาพร้อมจะดาวน์โหลดมาทดลอง และที่สำคัญลูกค้าเชื่อเพื่อนเป็นหลัก  ความชำนาญ และองค์ความรู้ที่ธนาคารเคยมีกำลังถูกท้าทายด้วยผู้เชี่ยวชาญหน้าใหม่ ที่มาพร้อมกับบิ๊กดาต้า และเทคโนโลยีใหม่ๆ

ฟินเทค ดิสรัป แบงก์

ในขณะที่เรืองโรจน์-กระทิง พูนผล ผู้จัดการกองทุนร่วมทุน 500 Tuktuks  กล่าวว่า ในบรรดาสตาร์ทอัป ฟินเทค จัดอยู่ในระดับท็อป” ที่ผู้ประกอบการ กองทุนต่างๆ ของทั้งในระดับโลก สหรัฐอเมริกา เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ต่างก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนในฟินเทค รวมทั้งกองทุนร่วมทุน 500 Tuktuks ก็ให้น้ำหนักกับการลงทุนในธุรกิจฟินเทคถึง 30%

เนื่องจากที่ผ่านมา ฟินเทค สตาร์ทอัป เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาบริการใหม่ๆ มาตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้บริการ เขายกตัวอย่างในหลายประเทศ นวัตกรรมบริการทางการเงินต่างๆ ที่เกิดจากฟินเทค ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกใหม่ๆ ด้วยข้อเสนอที่ดีกว่า ทำให้การเข้าถึงบริการทางการเงิน ชำระเงิน กู้เงิน โอนเงิน ถูกและง่ายกว่า

word_icon

ฟินเทคที่ใหญ่สุดคือ สิงคโปร์ มีฟินเทคอยู่ราย ได้ไลเซนส์จากรัฐบาล สร้างแพลตฟอร์มให้คนทั่วไป ปล่อยกู้กับเอสเอ็มอีได้โดยตรง ได้รับผลตอบแทน 15% นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น และไทยต้องปรับตัว

word_icon2

เรืองโรจน์ หรือ กระทิง สะท้อน

ในไทยเองแม้ว่าธุรกิจสตาร์ทอัปจะเริ่มช้ากว่าประเทศอื่น แต่ฟินเทค สตาร์ทอัป เติบโต และถือว่าโดดเด่นกว่าสตาร์ทอัปประเภทอื่นๆ  ยิ่งเมื่อวิถีชีวิตของคนพึ่งพาโทรศัพท์มือถือ คนรุ่นมิลเลนเนียมนิยมทำธุรกรรมการเงินบนออนไลน์ และพร้อมจะทดลองบริการใหม่ๆ เป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับธนาคาร

ถึงแม้ว่าสถิติที่ผ่านมา สตาร์ทอัปจะตายไปถึง 99% อยู่รอดได้แค่ 1% แต่รายที่รอดก็จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการเงินของไทย ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวมากสำหรับธนาคาร เพราะการเงินถือเป็นเส้นเลือดใหญ่

หน่วยงานที่ควบคุมสถาบันการเงิน รวมทั้งหน่วยงานควบคุมสถาบันการเงิน ต้องออกมารับมือด่วน และไม่ควรประมาท ช่วง 5 ปีจากนี้ จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญมาก

info_8

แบงก์ต้องใช้จุดแข็งเข้าสู้

การรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ที่มาพร้อมกับคู่แข่งหน้าใหม่ กำลังเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่ที่แบงก์ต้องหาคำตอบ ดร.อนุชิต แนะว่า ถึงแม้ว่าแบงก์กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก แต่แบงก์ก็ยังมีข้อได้เปรียบบางอย่างที่ถือเป็น “จุดแข็ง” ที่ “ฟินเทค สตาร์ทอัป” ไม่มี

นั่นคือ “ประสบการณ์” ในธุรกิจที่อยู่มานาน  การปล่อยกู้ไม่ยาก แต่ที่ยากตอนไปเรียกเก็บจะได้คืนหรือเปล่า หรือเก็บได้แต่ดอกเบี้ย แต่เงินต้นไม่ได้ คือหนึ่งในตัวอย่าง

การมีฐานเงินทุน มีระบบความปลอดภัยในการให้บริการทางการเงิน ตลอดจนเครือข่ายธุรกิจ คือข้อได้เปรียบที่ ดร.อนุชิต สะท้อนให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่สตาร์ทอัปยังไม่มี และยังเป็นจุดแข็งสำคัญที่จะใช้รับมือกับการเปลี่ยนแปลง

“ฟินเทคที่อยู่ตัวคนเดียว ไม่มี power หรือจะมาสู้กับแบงก์ที่อยู่มานาน มีการสะสมเครือข่ายธุรกิจอยู่ทั่วโลก ผมว่าวันนี้ถ้าใครคิดจะล้ม วีซ่า ผมก็ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย”

แบงก์ จึงควรต้องปรับตัวก่อนที่คนอื่นจะมาทำลาย เช่น การปรับองค์กร แยกหน่วยธุรกิจออกมา เพื่อมาโฟกัสกับบริการใหม่ๆ หรือแม้แต่เรื่องของการใช้มาตรการ “ราคา” มาสร้างอำนาจต่อรอง

word_icon

ถ้าแบงก์ลดราคาค่าธรรมเนียม คู่แข่งใหม่ๆ ก็เข้ายากมากขึ้น ซึ่งแบงก์เองก็มีฐานลูกค้ามากพอที่จะทำได้

word_icon2

ขณะเดียวกัน แแทนที่แบงก์จะรอให้คู่แข่งจากอุตสาหกรรมอื่นเข้ามาแย่งชิงเค้ก แบงก์ก็ออกไปหารายได้จากอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยใช้สิ่งที่แบงก์มีอยู่ “บิ๊กดาต้า” จากทรานแซ็กชันของลูกค้า ที่แบงก์มีมาตลอดนำมาใช้ประโยชน์ในการเสนอธุรกิจใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เพื่อหารายได้เพิ่ม แต่ก็เป็นการบ้านของแบงก์ชาติที่จะต้องขบคิด จะเปลี่ยนกฎหรือกติกาอย่างไร จะเอื้อกับอุตสาหกรรมการเงินในปัจจุบัน

ธุรกิจเองก็มีขึ้นมีลง ช่วงที่เศรษฐกิจ “ขาขึ้น” ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับทุกธุรกิจ แต่พอเป็นช่วง “ขาลง” จะเป็นบททดสอบให้กับ “ตัวจริง” ที่แข็งแกร่งเท่านั้น ที่จะทนทานต่อลมพายุทางเศรษฐกิจได้แค่ไหน

การผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจมาได้ในหลาย “แบงก์” ต้องมีดีเหมือนกัน เมื่อเทียบกับดอทคอม ที่เคยล้มหายตายจากไปในช่วงฟองสบู่ดอทคอม ปี 2000

“คำถามคือ แบงก์จะพร้อมรับมือหรือไม่ เปรียบเหมือนสึนามิ ถ้าคิดจะวิ่งหนีให้พ้นคลื่น วิ่งให้ทัน ไม่ทันก็ตาย แต่ถ้าเลือกจะไม่วิ่งหนี เปลี่ยนให้เป็นโอกาส ขึ้นไปขี่คลื่นแล้วพาไปให้ไกลได้ โอกาสรอดจะมีมากกว่า”

เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า

ธีรวัฒน์ ดิลกสกุลชัย หัวหน้าสายงานฝ่ายกลยุทธ์ บริษัทแอสเซ็นต์ กรุ๊ป ในเครือซีพี ที่เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล อาลีบาบา เข้ามาถือหุ้น มองว่า บริการชำระเงิน เป็นจุดเริ่มต้นของ “ฟินเทค” โดยในต่างประเทศมีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ที่เร็วขึ้น และสอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้า เช่น การวัดเครดิตเรตติ้งเพื่อให้เงินกู้ของอาลีเพย์ในจีน ที่ดูจากพฤติกรรมการชำระเงิน

“แทนที่จะดูจากเงินเดือน ทรัพย์สินเหมือนกับที่แบงก์เคยทำ เขาพิจารณาจากพฤติกรรมการชำระเงิน เช่น การชำระเงินตรงเวลา ชำระเป็นจำนวนเงินมากน้อยแค่ไหน มีครอบครัวมีลูก หรือดูว่าเพื่อนในเฟซบุ๊กน่าเชื่อถือแค่ไหน หากเครดิตเรตติ้งออกมาดี ก็สามารถให้กู้เงินออนไลน์ได้ทันที ภายใน 2 วินาที”

การทำได้ในลักษณะนี้ เพราะ “โทรศัพท์มือถือ” เป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งผู้เล่นใหม่ๆ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลการใช้งานเหล่านี้ ไปให้บริการทางการเงิน เพื่อตอบโจทย์ได้ตรงกับพฤติกรรมของลูกค้ามากขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีบริการที่ฟินเทคไม่สามารถทำได้ในลักษณะเดียวกับแบงก์ เช่น การปล่อยกู้ ซึ่งในกรณีแบบนี้ ทรูมันนี่เองไม่มีฐานเงินทุนมากพอที่จะปล่อยกู้ได้

“ที่จริงแล้ว ควรมองให้เป็นรูปแบบของการเป็นพันธมิตร แบงก์สามารถใช้ฟินเทคเป็นช่องทางการขายให้กับธนาคารได้ เพราะบางทีสาขาแคปเจอร์ลูกค้าไม่ได้ทั้งหมด ก็มาร่วมมือกับฟินเทค มาเป็นช่องทางขายให้แบงก์ได้”

info_bank

]]>
1109041
ไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งสังคมไร้เงินสดจริงหรือ ? https://positioningmag.com/1108234 Tue, 15 Nov 2016 02:00:17 +0000 http://positioningmag.com/?p=1108234 นับเป็นอีกกระแสบนโลกดิจิตอลที่กำลังได้รับความสนใจ คือ “การทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านเครือข่ายของระบบโทรศัพท์มือถือ” หรือที่เรียกว่า Mobile Payments ที่นับวันยิ่งขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และก่อให้เกิดการทำธุรกรรมการชำระเงินยุคใหม่ ส่งผลให้ชำระเงินค่าสินค้าและบริการในรูปแบบเดิมๆ อาจต้องหมดไป

โดยมี 3 ปัจจัยมาเป็นตัวกระตุ้น 1) การเติบโตของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและรูปแบบการใช้ชีวิตดิจิตอลที่เพิ่มมากขึ้น 2) โครงข่ายโทรคมนาคมและกระบวนการทำธุรกรรมทางด้านการเงินที่ดีขึ้นและ 3) การผลักดันการใช้ National e-payment หรือระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่รัฐบาลพยายามผลักดัน

ด้วยเหตุนี้ Marketbuzzz บริษัทวิจัยทางการตลาดบนมือถือ ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคบนฐานข้อมูลของบัซซี่บีส์ ในหัวข้อ “การใช้มือถือในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่างๆ” เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยสำรวจคนไทยที่ใช้สมาร์ทโฟน รวมจำนวน 2,000 คน ถึงสถานะปัจจุบันของการใช้บริการในการชำระค่าสินค้าและบริการแบบดิจิตอล และสะท้อนให้เห็นว่ามือถือได้ส่งผลต่อวิถีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการชำระค่าสินค้าและบริการอย่างไร

ผลวิจัยพบว่า

  • 50% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีการใช้งาน Mobile Payments รูปแบบต่างๆ อยู่แล้ว
  • Mobile Banking และ Mobile Shopping เป็นสองรูปแบบที่มีการใช้งานมากที่สุดด้วยจำนวนผู้ใช้มือถือกว่าครึ่งหนึ่งที่ใช้สองรูปแบบนี้ โดย Mobile Banking มีการใช้งานบ่อยครั้งกว่า เฉลี่ยใช้งานกว่า 6 ครั้งต่อเดือน และ Mobile Shopping ใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4 ครั้งต่อเดือน
  • มีเพียง 17% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ใช้ Mobile Wallet อยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโต พิจารณาจากจำนวนครั้งต่อเดือนที่ใช้ Mobile Wallet เฉลี่ยสูงถึง 5 ครั้ง ซึ่งใช้งานบ่อยครั้งกว่าธุรกรรมการชำระเงินในรูปแบบอื่นๆ ยกเว้น Mobile Banking
  • ในจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้บริการเพย์เมนต์ของทรูมันนี่มากสุด

TrueMoney มีอัตราการใช้งาน 51% ของกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน
Line Pay มีอัตราการใช้งานอยู่ที่ 30%
mPay อยู่ที่ 28%

  • ในขณะที่ Mobile Wallet ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่สำหรับผู้ที่เคยใช้แล้ว ส่วนใหญ่สูงถึง 96% พบว่าใช้งานง่ายมากและยิ่งง่ายดายมากยิ่งขึ้นหากมี :

จุดให้บริการที่มากขึ้นและครอบคลุมทุกแห่งแสดงให้เห็นว่าเป็นที่ยอมรับ โดยมีจุดให้บริการในหลายพื้นที่
ระบบการออกใบเสร็จที่ดีขึ้น – ไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จแบบกระดาษ แค่ใบเสร็จบนระบบก็เพียงพอ
การใช้งานหน้าจอที่มีประสิทธิภาพเช่น การทำธุรกรรมแบบแตะและจ่าย (tap and go) รวดเร็วทันใจ

  • สำหรับผู้ใช้ Mobile Paymentsจำนวน 2 ใน 3 กล่าวว่า พวกเขาจะใช้ Mobile Payments ในปริมาณเดียวกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ครั้งต่อเดือนและอีก1 ใน 3 กล่าวว่า พวกเขาจะใช้ในปริมาณที่บ่อยครั้งมากขึ้น
  • ผู้บริโภคที่เคยใช้ Mobile Payments เกือบทุกคนต่างเห็นตรงกันว่า อุปสรรคในการใช้ Mobile Payments จะลดลง ถ้า Mobile Payments ทำให้การชำระค่าสินค้าและบริการมีความสะดวกง่ายดายมากขึ้น มีทางเลือกในการชำระเงินมากขึ้น สามารถชำระเงินได้ทุกที่ทุกเวลา และรวดเร็วกว่าการชำระเงินรูปแบบอื่น ถึงแม้จะยังมีข้อกังวลอยู่บ้างในเรื่องของระดับความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม 55% ของผู้ใช้ยังเชื่อว่าระดับความปลอดภัยยังอยู่ในระดับสูง

โมบายเพย์เมนต์มาแน่

มร. แกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Marketbuzzzบริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด ได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นของ Mobile Payments ว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยการใช้สมาร์ทโฟน คนไทยต้องการระบบการชำระเงินแบบทันทีหรือเรียลไทม์มากขึ้น และการใช้มือถือแทนการถือเงินสดหรือบัตรเครดิตเป็นทางเลือกที่สามารถทำได้

word_icon

ในอนาคตอีก 2-3 ปีข้างหน้า Mobile Payments หรือการทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านเครือข่ายของระบบโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย จะเติบโตอย่างมีศักยภาพและนับเป็นอีกทางเลือกในการชำระเงินที่สามารถปฎิบัติได้ในทุกๆ วัน ซึ่งทุกวันนี้เรายังแชตผ่านทางมือถือ ค้นหาข้อมูลผ่านทางมือถือ เล่นเกมผ่านทางมือถือ ท่องอินเทอร์เน็ตผ่านทางมือถือ แล้วทำไมเราจะชำระเงินผ่านทางมือถือไม่ได้

word_icon2

info_pay

]]>
1108234