EU – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Mar 2024 05:54:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Apple โดนสหภาพยุโรปปรับเป็นเงินก้อนใหญ่เกือบ 70,000 ล้านบาท จากประเด็นผูกขาด App Store https://positioningmag.com/1465072 Tue, 05 Mar 2024 03:45:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465072 สหภาพยุโรปปรับเงิน Apple มากถึง 1,800 ล้านยูโร จากประเด็นผูกขาด App Store หลังจากที่ Spotify ได้ร้องเรียนการขัดขวางไม่ให้แจ้งผู้ใช้งานว่าสามารถจ่ายเงินค่าบริการจากนอกแพลตฟอร์มได้ ซึ่งเม็ดเงินค่าปรับดังกล่าวสูงกว่าที่คาดไว้

Apple ถูกสหภาพยุโรปปรับเป็นเงินมากถึง 1,800 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 70,000 ล้านบาท จากข้อหาที่ผูกขาด App Store และขัดขวางไม่ให้คู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการ Music Streaming รายอื่นสามารถแจ้งผู้ใช้งานได้ว่าสามารถจ่ายเงินค่าบริการจากนอกแพลตฟอร์มได้

ปัจจุบัน Apple ห้ามแอปประเภท Music Streaming แจ้งผู้ใช้งาน iOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับ iPhone และ iPad ว่าสามารถสมัครสมาชิกด้านนอกแอปที่มีราคาถูกกว่าการสมัครผ่านแอปใน iOS ได้ ซึ่งถ้าหากมีการสมัครผ่านแอปโดยตรงนั้นจะโดน Apple หักค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 30% ทำให้ผู้พัฒนาแอปหลายรายไม่พอใจ

ขณะเดียวกันค่าปรับดังกล่าวยังสูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดไว้ ซึ่งในตอนแรกคาดว่าจะอยู่ที่ราวๆ 500 ล้านยูโรเท่านั้น

คำตัดสินดังกล่าวมาจากข้อกล่าวหาที่ Spotify ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการยุโรปถึงพฤติกรรมของ Apple ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เช่น การขวางไม่ให้อัปเดตตัวแอป เนื่องจากบริษัทให้ผู้ใช้งานรายใหม่สมัครสมาชิกนอกแอปฯ ของตัวเองจะได้ฟังเพลงฟรี 3 เดือนในราคา 0.99 เหรียญเท่านั้น

Margrethe Vestager กรรมาธิการการแข่งขันของคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวว่า Apple ใช้ตำแหน่งที่โดดเด่นในทางที่ผิดมานานนับ 10 ปี หลังจากนี้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ จะต้องยกเลิกข้อจำกัดที่มีอยู่ทั้งหมด

รายได้จาก App Store นั้นถือว่าเป็นรายได้สำคัญของ Apple ปัจจุบันรายได้ในส่วนดังกล่าวนั้นมีสัดส่วนมากกว่า 20% ของรายได้รวมของบริษัทแล้ว

ไม่ใช่แค่สหภาพยุโรปเท่านั้นที่มองถึงเรื่องการผูกขาด App Store แต่หน่วยงานกำกับดูแลหลายประเทศเองเริ่มบีบ Apple หรือแม้แต่ Google ให้เปิดเสรีมากขึ้น เนื่องจากมองว่าผู้เล่นรายอื่นควรที่จะเข้ามาแข่งขันได้ เช่น ในกรณีของญี่ปุ่น เป็นต้น

ทางฝั่งของ Apple กล่าวว่าจะอุทธรณ์คำตัดสินดังกล่าว และมองว่าผลการตัดสินนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือฝั่งของ Spotify ซึ่งได้เข้าพบกับคณะกรรมาธิการยุโรปมากถึง 65 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา และมองว่าบริษัทไม่ได้ผูกขาดบริการ Music Streaming เนื่องจาก Spotify มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 56% ในทวีปยุโรป

ที่มา – BBC, CNN, The Guardian

]]>
1465072
‘อียู’ เคาะ เลิกจำหน่าย ‘รถบรรทุก-รถโดยสาร’ ที่ใช้น้ำมัน ภายในปี 2578 เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน https://positioningmag.com/1419358 Wed, 15 Feb 2023 05:53:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419358 หลังจากที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้อนุมัติกฎหมายเกี่ยวกับการเลิกใช้รถยนต์และรถตู้สันดาปแล้ว ล่าสุด อียูได้เคาะกฎใหม่ เลิกจำหน่ายยานพาหนะสันดาปขนาดใหญ่ อาทิ รถบรรทุก และ รถโดยสาร ภายในปี 2578 เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้เปิดเผยถึงเป้าหมายที่จะลดการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะที่มีน้ำหนักมาก โดยวางเป้าลดการปล่อยมลพิษของรถบรรทุกใหม่อย่างน้อย 45% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับระดับในปี 2562 และต้องลดลง 65% ภายในปี 2578 จนภายในปี 2583 ต้องลดลงสู่ระดับ 90%

ทำให้ สหภาพยุโรป จึงเคาะกฎว่าจะเลิกจำหน่ายรถยนต์สันดาปขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสารหรือรถบรรทุก โดยสหภาพยุโรปตั้งเป้าว่า รถโดยสารประจำทางในเมืองจะต้องปลอดมลพิษตั้งแต่ปี 2573 ขณะที่ผู้ผลิตสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์ไฮโดรเจน และเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน

ทั้งนี้ มาตรการต่าง ๆ ที่สหภาพยุโรปออกมานั้นก็เพื่อเป้าหมานในการทำให้ยุโรปมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ปัจจุบัน รถยนต์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 15% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดในสหภาพยุโรป ส่วนรถบรรทุก รถโดยสารในเมือง และ รถโดยสารทางไกล คิดเป็น 6%

ในขณะเดียวกัน จีน ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ต้องการให้รถยนต์ใหม่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ปลั๊กอินไฮบริด หรือไฮโดรเจนภายในปี 2578

]]>
1419358
EU เตรียมยุติการขายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในปี 2035 https://positioningmag.com/1390591 Wed, 29 Jun 2022 12:01:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390591 สหภาพยุโรป (EU) อนุมัติให้ยุติการขายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในปี 2035 ใน 27 ประเทศ เพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้เสนอครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมปี 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งหมายถึงการหยุดจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล

นอกจากจะมีการยุติการขายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปในปี 2035 แล้ว สหภาพยุโรปยังมีการอนุมัติให้มีการติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทุกๆ 60 กิโลเมตรอีกด้วย ขณะเดียวกันถ้าหากยังมีผู้ใช้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปอยู่ก็จะโดนอัตราภาษีสูงที่สุดของในแต่ละประเทศ

สำหรับนโยบายดังกล่าวนั้นมีการต่อสู้ในรัฐสภายุโรปมาแล้ว โดยนักการเมืองฝ่ายแรกมองว่าควรที่จะแบนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป 100% ภายในปี 2035 ขณะที่นักการเมืองอีกฝ่าย ซึ่งมาจากประเทศที่มีอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์กลับมองว่ายุโรปควรจะแบนเพียงแค่ 90% เท่านั้น และให้ความเห็นว่าผู้บริโภคควรที่จะเลือกได้ว่าอยากได้รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป

มาตรการดังกล่าวที่ EU ต้องมีการผลักดันออกมา ส่วนหนึ่งนั้นมาจากแรงกดดันในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าที่มีผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศจีน รวมถึงสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ในสหภาพยุโรปมีการเร่งให้หลายประเทศเลิกผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ให้ปรับเปลี่ยนมาเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เพราะไม่งั้นแล้วจะไม่สามารถต่อสู้ได้

Agnes Pannier-Runacher รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของฝรั่งเศส ได้ออกมากล่าวว่า “นี่เป็นความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของทวีปยุโรป” และเธอยังได้เสริมว่า “ด้วยข้อตกลงดังกล่าวนี้ ยุโรปกำลังจะเป็นผู้นำในด้านการจัดการด้านสภาวอากาศ”

อย่างไรก็ดี คำขอของประเทศต่างๆ รวมถึงเยอรมนีและอิตาลี สหภาพยุโรปยังตกลงที่จะพิจารณาอนุญาตสำหรับการใช้เทคโนโลยีทางเลือกในอนาคต เช่น เชื้อเพลิงสังเคราะห์หรือระบบไฮบริด หากพวกแต่ละประเทศสามารถกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ EU ยังได้อนุมัติขยายเวลา 5 ปี ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ “เฉพาะกลุ่ม” หรือผู้ผลิตรถยนต์น้อยกว่า 10,000 คันต่อปีจนถึงสิ้นปี 2035 ซึ่งข้อกำหนดนี้จะทำให้หลายฝ่ายมองว่าผู้ผลิตรถยนต์หรูที่มีฐานการผลิตในยุโรปหลายยี่ห้อนั้นประโยชน์จากข้อยกเว้นนี้ 

ที่มา – France 24, CNA

]]>
1390591
ทำได้จริงไหม! ‘อียู’ ประกาศคว่ำบาตร ‘น้ำมันรัสเซีย’ 90% ภายในปลายปีนี้ https://positioningmag.com/1387184 Tue, 31 May 2022 07:21:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387184 ตั้งแต่ ‘รัสเซีย’ เปิดศึกเริ่มสงครามกับ ‘ยูเครน’ ราคาน้ำมันทั่วโลกก็พุ่งสูงขึ้น แต่ที่ราคาน้ำมันสูงหลายคนคิดว่าเป็นเพราะการ ‘คว่ำบาตร’ จาก ‘อียู’ (EU) หรือ ‘สหภาพยุโรป’ แต่ความเป็นจริงแล้วที่น้ำมันทั่วโลกแพงเป็นเพราะรัสเซียมีกำลังผลิตน้ำมันที่ลดลง จนทำให้ประเทศในยุโรปต้องไปดึงเอาน้ำมันจากประเทศผู้ผลิตอื่น แต่ล่าสุด อียูก็มีมติที่จะคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียจริง ๆ ภายในสิ้นปีนี้

หลังจากที่อียูได้เสนอเข้าร่วมกับสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ ในการคว่ำบาตรน้ำมันของรัสเซียเมื่อเดือนที่แล้ว ล่าสุดของอียู อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เปิดเผยว่า อียูมีมติในการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย 90% ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อลดแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่สำหรับการทำสงครามกับยูเครน นอกจากนี้ ยังมีมาตรการคว่ำบาตรอื่น ๆ อาทิ การตัด Sberbank ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียออกจากการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ SWIFT, ห้ามผู้แพร่ภาพกระจายเสียงของรัฐรัสเซียอีก 3 ราย และคว่ำบาตรบุคคลที่รับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามในยูเครน

อย่างไรก็ตาม อียูจะยกเว้นมาตรการดังกล่าวกับประเทศ ฮังการี เนื่องจากประเทศไม่มีดินแดนติดทะเล ดังนั้น การขนส่งน้ำมันจึงทำได้ยากกว่าประเทศอื่น ทำให้จำเป็นต้องพึ่งพิงการส่งน้ำมันดิบจากรัสเซียผ่านทางท่อส่งน้ำมัน

ที่ผ่านมา อียูกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานรัสเซียมาแล้ว 5 ครั้ง นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์เพื่อบีบให้รัสเซียหยุดก่อสงคราม อย่างไรก็ตาม พวกเขาประสบปัญหาในการแบนนำเข้าน้ำมันรัสเซีย เนื่องจากมันก่อความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรป

เนื่องจาก ยุโรปถือเป็นผู้ซื้อพลังงานรัสเซียรายใหญ่ที่สุด โดยในปี 2020 ยอดส่งออกน้ำมันดิบ 27% ของรัสเซียถูกส่งไปยังยุโรป หรือคิดเป็นประมาณ 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ประเทศ ฮังการี, สาธารณรัฐเช็ก และสโลวาเกีย ถือเป็น 3 ประเทศที่พึ่งพาน้ำมันของรัสเซียมากที่สุด โดยคิดเป็น 86%, 97% และ 100% ตามลำดับ

ทั้งนี้ รัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบอันดับ 2 ของโลก โดยช่วงก่อนเกิดสงครามสามารถผลิตได้เฉลี่ย 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 11% ของความต้องการทั่วโลก แต่ตั้งแต่เกิดสงคราม ปริมาณการผลิตของรัสเซียก็ลดลงมาเหลืออยู่ราว 9-10 ล้านบาร์เรลต่อวัน เท่านั้น หรือหายไปประมาณ 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงเพราะไม่เพียงพอต่อความต้องการ

Source

]]>
1387184
‘อียู’ ออกกฎให้ ‘Big Tech’ ลบคอนเทนต์ต้องห้าม ไม่ทำเจอปรับ 6% ของรายได้ทั้งปี! https://positioningmag.com/1382547 Sun, 24 Apr 2022 03:31:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382547 สหภาพยุโรป หรือ อียู ได้มีข้อสรุปกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมเหล่า Big Tech ของโลก โดยกำหนดให้ทุกแพลตฟอร์มต้องลบเนื้อหาที่เป็นอันตราย หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับเงิน 6% ของรายได้ทั้งปี

สหภาพยุโรปและสมาชิกรัฐสภา ได้บทสรุปในพระราชบัญญัติบริการดิจิทัล (Digital Services Act – DSA) ซึ่งเป็นส่วนที่สองของโครงการขนาดใหญ่เพื่อควบคุมบริษัทเทคโนโลยี มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีบทลงโทษที่รุนแรงขึ้นสำหรับแพลตฟอร์มและเว็บไซต์ที่มีคอนเทนต์ต้องห้ามจำนวนมาก ตั้งแต่คำพูดแสดงความเกลียดชังไปจนถึงการบิดเบือนข้อมูล และภาพการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก

“แพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่ที่ทำตัวเหมือน ‘ใหญ่เกินกว่าจะดูแล’ กำลังจะหมดลงด้วย DSA กฎใหม่ของเราจะปกป้องผู้ใช้ทางออนไลน์ รับรองเสรีภาพในการแสดงออกและโอกาสสำหรับธุรกิจ สิ่งที่ผิดกฎหมายออฟไลน์จะผิดกฎหมายออนไลน์ในสหภาพยุโรปอย่างมีประสิทธิภาพ” เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน หัวหน้าคณะกรรมาธิการยุโรปทวีต

กฎระเบียบดังกล่าวจะกำหนดให้แพลตฟอร์มต้องลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมายอย่างรวดเร็วทันทีที่ทราบว่ามีอยู่ เครือข่ายโซเชียลจะต้องระงับผู้ใช้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายบ่อยครั้ง หลังจากที่ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีถูกเรียกร้องหลายครั้งว่าล้มเหลวในการควบคุมแพลตฟอร์มของพวกเขา อาทิ การจู่โจมของผู้ก่อการร้ายในนิวซีแลนด์ที่ถ่ายทอดสดบน Facebook ในปี 2019 และการจลาจลที่โกลาหลในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้วได้รับการส่งเสริมผ่านทางออนไลน์

นอกจากจะบังคับให้รีบลบเนื้อหาที่เป็นอันตรายแล้ว อีกส่วนสำคัญของกฎหมายนี้คือ การจำกัดวิธีที่การกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานสำหรับการโฆษณาออนไลน์ โดย DSA จะห้ามไม่ให้กำหนดเป้าหมายด้านการโฆษณากับผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก ข้อมูลเพศ เชื้อชาติหรือศาสนา หากบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามกฎใหม่ดังกล่าวอาจต้องเสียค่าปรับสูงถึง 6% ของรายได้ในปีนั้น ๆ

ทั้งนี้ กฎระเบียบนี้เป็นแนวทางร่วมกับ Digital Markets Act (DMA) ซึ่งกำหนดเป้าหมายแนวปฏิบัติในการต่อต้านการแข่งขันในกลุ่มเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เพื่อพยายามจะควบคุมอำนาจทางการตลาดของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่นั้น ๆ

Source

]]>
1382547
‘EU’ ผ่านร่างกฎหมายบังคับใช้พอร์ต ‘USB-C’ ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เพื่อลดภาระผู้บริโภค https://positioningmag.com/1382316 Thu, 21 Apr 2022 10:42:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382316 หากพูดถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนั้น หลายสิ่งหลายอย่างเริ่มพัฒนาไปในรูปแบบ ‘ไร้สาย’ มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาพอร์ตการเชื่อมต่อระหว่างสายชาร์จก็มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น USB Type-A, USB Type-B, USB Type-B mini และ USB Type-B micro และมาตรฐานล่าสุดก็คือ USB Type-C ซึ่ง EU กำลังจะกำหนดให้เป็นพอร์ตมาตรฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

คณะกรรมการตลาดภายในและการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐสภายุโรป ได้ลงมติเห็นชอบในคะแนน 43 ต่อ 2 เพื่อให้ใช้ พอร์ต USB-C เป็นพอร์ตมาตรฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยกเว้นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กเกินไปที่จะมีพอร์ต USB Type-C เช่น สมาร์ทวอทช์ เครื่องติดตามสุขภาพ และอุปกรณ์กีฬาบางชนิด

โดยคณะกรรมการให้เหตุผลว่า กฎใหม่นี้จะทำให้แน่ใจว่า ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องใช้ที่ชาร์จและสายเคเบิลใหม่ทุกครั้งที่ซื้ออุปกรณ์ใหม่ และ สามารถใช้ที่ชาร์จอันเดียวสำหรับแกดเจ็ตอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กและขนาดกลางทั้งหมดได้ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต กล้องดิจิตอล หูฟังและชุดหูฟัง คอนโซลวิดีโอเกมแบบใช้มือถือ และลำโพงแบบพกพา ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภค

ทั้งนี้ การแก้ไขนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในวงกว้างของสหภาพยุโรปในการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดสหภาพยุโรป และเพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง MEPs เผยว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในยุโรป มีมากถึง 11,000-13,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์การชาร์จของสมาร์ทโฟนที่ต้องเปลี่ยนใหม่เมื่อซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องใหม่หรือต่างแบรนด์กัน

อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวจะยังไม่ถูกบังคับใช้ โดยในขั้นตอนถัดไป ร่างดังกล่าวจะถูกเสนอผ่านสภารวมในเดือนพฤษภาคม และเริ่มออกขั้นตอนบังคับใช้กับประเทศสมาชิกยุโรปต่อไป ซึ่งแปลว่าสินค้าของ Apple ที่จะขายในยุโรปหลังข้อกำหนดนี้บังคับใช้ จะต้องเปลี่ยนไปใช้ USB-C ทั้งหมด จากที่ปัจจุบัน iPhone, iPad รุ่นเริ่มต้น และ AirPods ยังใช้พอร์ต Lightning สำหรับเชื่อมต่ออยู่

Source

]]>
1382316
EU อนุมัติคว่ำบาตร ‘รัสเซีย’ รอบใหม่ มุ่งไปยังกลุ่มพลังงาน-เหล็ก-สินค้าฟุ่มเฟือย https://positioningmag.com/1377679 Tue, 15 Mar 2022 12:34:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377679 EU อนุมัติมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่โดยมุ่งเป้าไปยังภาคพลังงาน เหล็ก สินค้าฟุ่มเฟือยเเละกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทหาร

สหภาพยุโรป (EU) ได้อนุมัติอย่างเป็นทางการให้มีการคว่ำบาตรครั้งใหม่ (รอบที่ 4) ต่อรัสเซียหลังรุกรานยูเครน ซึ่งรวมถึงการห้ามการลงทุนในภาคพลังงานของรัสเซีย การส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือย และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กจากรัสเซีย

เเหล่งข่าวเผยกับ Reuters ว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจน้ำมันของรัสเซียอย่าง Rosneft, Transneft และ Gazprom Neft อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะยังคงสามารถซื้อน้ำมันและก๊าซจากพวกเขาได้ 

พร้อมจะมีการห้ามการทำธุรกรรมกับรัฐวิสาหกิจของรัสเซียบางแห่ง ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มอุตสาหกรรมการทหารของรัฐบาลเครมลิน

ทั้งนี้ การสั่งห้ามนำเข้าเหล็กจากรัสเซีย คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มูลค่า 3.3 พันล้านยูโร (ราว 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

บริษัทเอกชนในสหภาพยุโรป จะไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือยใดๆ ที่มีมูลค่ามากกว่า 300 ยูโรซึ่งรวมถึงเครื่องประดับไปยังรัสเซีย โดยแหล่งข่าวในสหภาพยุโรป กล่าวว่า จะมีการห้ามส่งออกรถยนต์ที่มีมูลค่ามากกว่า 50,000 ยูโรด้วยเช่นกัน 

นอกจากนี้ ยังห้ามไม่ให้หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหภาพยุโรปออกการจัดอันดับให้กับบริษัทสัญชาติรัสเซีย

พร้อมกันนั้น คณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า มาตรการจำกัดการเข้าถึงตลาดการเงินในยุโรป เเละการกีดกันออกจากระบบธนาคาร SWIFT จะยังคงดำเนินต่อไป

โดยสหภาพยุโรป จะถอดรัสเซียออกจากสถานะการค้า “most-favoured nation” เพื่อลงโทษทางภาษีสำหรับสินค้ารัสเซียหรือการห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินของเหล่ามหาเศรษฐี นักธุรกิจที่สนับสนุนรัฐบาลรัสเซีย ซึ่ง โรมัน อับราโมวิชผู้เป็นเจ้าของทีมฟุตบอลเชลซีของอังกฤษ ก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีคว่ำบาตรนี้ด้วย

ที่มา : Reuters 

]]>
1377679
EU เตรียมคว่ำบาตร “รัสเซีย” กรณีรับรอง “สาธารณรัฐ” 2 แห่งทางตะวันออกยูเครน https://positioningmag.com/1374930 Wed, 23 Feb 2022 02:34:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374930 (สำนักข่าวซินหัว) เมื่อวันจันทร์ที่ 21 ก.พ. บรรดาผู้นำสหภาพยุโรป หรืออียู (EU) แถลงว่าอียูจะใช้มาตรการคว่ำบาตรตอบโต้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีรัสเซียรับรองแคว้นลูกันสก์และแคว้นโดเนตสก์ทางตะวันออกยูเครนเป็น “สาธารณรัฐ”

แถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนระบุว่าชาร์ลส์ มิเชล ประธานคณะมนตรียุโรป และอัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ประณามมติของรัสเซียที่รับรองสองแคว้นข้างต้นในฐานะ “รัฐเอกราช”

“ขั้นตอนดังกล่าวละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงข้อตกลงมินสก์อย่างโจ่งแจ้ง อียูจะใช้มาตรการคว่ำบาตรตอบโต้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมายนี้”

ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ลงนามกฤษฎีการับรอง “สาธารณรัฐประชาชนลูกันสก์” (LPR) และ “สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์” (DPR) ในฐานะรัฐเอกราช เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 21 ก.พ.

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สภาดูมา (Duma) หรือสภาผู้แทนราษฎรรัสเซีย อนุมัติร่างกฎหมายรับรองสาธารณรัฐลูฮันสก์ และสาธารณรัฐโดเนตสก์ ในภูมิภาคดอนบาสส์ที่แยกตัวเป็นอิสระทางตะวันออกของยูเครน เป็นรัฐเอกราช

ขณะหลายชั่วโมงก่อนการประกาศรับรองดังกล่าว โจเซฟ บอเรลล์ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศของอียู เตือนว่าจะมีการออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย หากรัสเซียรับรองเอกราชสองแคว้นทางตะวันออกของยูเครน

]]>
1374930
เหล่าประเทศใน EU ทุ่มเงินลงทุน ‘เวียดนาม’ เพิ่มขึ้น แม้เจอวิกฤตโควิด เน้นอุตฯ ไฮเทค https://positioningmag.com/1356950 Sun, 17 Oct 2021 11:50:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356950 สหภาพยุโรป (EU) ลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้นกว่า 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบเป็นรายปี ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ท่ามกลางการระบาดหนักของโควิด-19

สื่อท้องถิ่นอย่าง VnExpress เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุดที่รัฐบาลส่งไปยังรัฐสภา ระบุว่า เหล่าประเทศสมาชิก EU ลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น 26 ประเทศจากทั้งหมด 27 ประเทศ

โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาลงทุนหลักๆ เช่น Shell Group จากเนเธอร์แลนด์ , Total Elf Fina จากฝรั่งเศส – เบลเยียม, Daimler Chrysler จากเยอรมนี , Siemens และ Alcatel Comvik จากสวีเดน

เนเธอร์แลนด์เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดด้วยเงินเกือบ 1.04 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน 382 โครงการ รองลงมาคือฝรั่งเศสที่ 3.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเยอรมนีที่ 2.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มีเเนวโน้มว่า ชาติยุโรปจะเข้ามาลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งระยะกลางและระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทค

ปัจจุบัน สินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม ได้แก่ โทรศัพท์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ รองเท้า สิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องใช้ เครื่องมือและอะไหล่ และผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า

การค้าระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนาม เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่ข้อตกลงเขตการค้าเสรี EUเวียดนาม (EBFTA) มีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคมปีที่เเล้ว เเม้จะมีอุปสรรคใหญ่จากโควิด

โดยมูลค่าการค้าปีนี้ เพิ่มขึ้นเกือบ 12% เมื่อเทียบปีต่อปี เป็น 54,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.82 ล้านล้านบาท) ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกของเวียดนามถึง 38,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.28 ล้านล้านบาท

เเละเพื่อดึงดูดการลงทุนของสหภาพยุโรป หลายเมืองในเวียดนามเริ่มดำเนินการจัดหาที่ดินรอบนิคมอุตสาหกรรม เเละจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาแรงงานมีทักษะในภาคการเกษตร การผลิต โลจิสติกส์ และปรับปรุงระบบราชการให้คล่องตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงต้องใช้ความพยายามอีกมากที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานด้านความยั่งยืนที่เคร่งครัดและมาตรฐานทางเทคนิคต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ EU นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

 

ที่มา : VnExpress 

]]>
1356950
‘ยุโรป’ เตรียมเปิดประตูรับ ‘นักท่องเที่ยวต่างชาติ’ ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว เร็วสุดช่วงมิ.ย.นี้ https://positioningmag.com/1330398 Tue, 04 May 2021 10:10:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330398 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อีซีเเนะประเทศสมาชิกทั้ง 27 ประเทศ เตรียมผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดสเเล้ว โดยจะต้องเป็นวัคซีนยี่ห้อที่ได้รับการรับรองจากสหภาพยุโรป

ถึงเวลาฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของยุโรป เเละการข้ามพรมแดนอย่างปลอดภัยให้กลับมาอีกครั้ง” Ursula von der Leyen ประธานอีซี ระบุ

ขณะนี้สหภาพยุโรป (อียู) อนุญาตให้เฉพาะนักเดินทางจากประเทศที่มีอัตราการระบาดต่ำ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ เเละสิงคโปร์ สามารถเดินทางเข้าประเทศในอียูได้ โดยต้องผ่านการตรวจหาโควิด-19 เเละกักตัวก่อน เเต่ยังไม่กำหนดว่าต้องฉีดวัคซีนแล้ว

โดยหวังว่าข้อเสนอการเปิดประเทศรับชาวต่างชาติให้มากขึ้นนี้ จะช่วยกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวในช่วงซัมเมอร์ ซึ่งประเทศสมาชิกอาจจะเปิดรับชาวต่างชาติที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบโดสแล้ว เป็นเวลา ’14 วันก่อนที่จะเดินทางมาถึงยุโรป

หรือชาติสมาชิกอียูอาจจะขอทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 รวมถึงสามารถสั่งให้นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องกักตัวตามกำหนด หรือจะทำทั้ง 2 อย่างก็ได้

นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการอียูเสนอให้มีกลไกฉุกเฉินเพื่อระงับการเปิดรับชาวต่างชาติได้ทันที หากมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหรือพบไวรัสกลายพันธุ์ในประเทศนั้นๆ

โดยการอนุญาตให้บุคคลที่ฉีดวัคซีนครบโดส’ นั้นจะต้องเป็นวัคซีนยี่ห้อที่ผ่านการรับรองจากอียู เเละต่อไปอาจจะเพิ่มวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ ที่องค์การอนามัยโลกรับรองด้วย

ปัจจุบัน ยุโรปมีการรับรองวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์ ,โมเดอร์นา, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และแอสตราเซเนกา

ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวยังต้องให้ชาติสมาชิกอียูอนุมัติ หากผ่านการเห็นชอบเเล้ว คาดว่าจะนำมาใช้ได้เร็วที่สุดในช่วงเดือนมิ.. ปีนี้ 

 

ที่มา : CNN , BBC

 

]]>
1330398