export – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 23 Jan 2024 04:56:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไทยยังครองแชมป์ส่งออกทุเรียนไปยังจีนในปี 2023 แต่สัดส่วนเริ่มลดลง ขณะที่เวียดนามเริ่มตีตื้นขึ้นมาแล้ว https://positioningmag.com/1459749 Mon, 22 Jan 2024 15:27:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459749 ไทยยังครองแชมป์ส่งออกทุเรียนไปยังจีนในปี 2023 แต่สัดส่วนเริ่มลดลงเหลือแค่ราวๆ 67.8% เท่านั้น ขณะที่เวียดนามเริ่มตีตื้นขึ้นมาแล้วอยู่ที่ราวๆ 31.82% โดยปริมาณความต้องการทุเรียนของชาวจีนยังเติบโตขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

South China Morning Post รายงานข่าวโดยอ้างอิงข้อมูลจากศุลกากรของประเทศจีนในปี 2023 นั้นไทยยังคงครองแชมป์ส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีน อย่างไรก็ดีสัดส่วนดังกล่าวที่ไทยครองแชมป์เริ่มลดลง หลังจากที่แดนมังกรเริ่มนำเข้าทุเรียนจากประเทศเวียดนามเพิ่มมากขึ้น

ในปี 2023 นั้นจีนนำเข้าทุเรียนจากประเทศไทยมากถึง 929 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ซึ่งอยู่ที่ 784 ตัน โดยไทยยังครองสัดส่วนส่งออกทุเรียนมากถึง 67.98% ในปีที่ผ่านมา โดยผู้นำเข้าทุเรียนจากไทยรายหนึ่งได้กล่าวว่าปริมาณความต้องการทุเรียนของจีนนั้นถือว่าอยู่ในระดับ ‘เท่าไหร่ก็ไม่พอ’

ทางด้านของประเทศเวียดนามนั้นจีนได้นำเข้าทุเรียนมากถึง 493.1 ตัน ครองสัดส่วน 31.82% เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ที่ส่งออกเพียงแค่ 40 ตันเท่านั้น ซึ่งสัดส่วนไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ

องค์การอาหารของสหประชาชาติ (FAO) ได้รายงานว่าเวียดนามมีสัดส่วนในการส่งออกผลไม้มากถึง 5% ของประมาณทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักมากถึง 40,880 ตัน ในปี 2022 ที่ผ่านมา โดยปีก่อนหน้านี้สัดส่วนของเวียดนามในการส่งออกผลไม้นั้นต่ำกว่า 1% ด้วยซ้ำ

รายงานของ HSBC เมื่อช่วงเดือนกันยายนได้วิเคราะห์ว่า ปัจจัยความต้องการของชาวจีนนั้นมาจากมุมมองของผู้บริโภคชาวจีนนั้นไม่ได้มองว่าทุเรียนเป็นเพียงผลไม้ แต่ยังเป็นของขวัญที่อวดความมั่งคั่งของผู้ให้ด้วย นอกจากนี้การมอบทุเรียนให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของของขวัญตามธรรมเนียมที่มอบให้กับเพื่อนหรือญาติด้วย

ทำให้ปริมาณทุเรียนในตลาดโลกนั้นราวๆ 90% ได้ส่งเข้าไปยังประเทศจีน นอกจากนี้ในรายงานของ HSBC ยังได้ชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับไทยที่มีการนำเข้าสินค้า ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมาอาเซียนได้ส่งออกสินค้าไปยังจีนเป็นอันดับ 1 ด้วย

ไม่ใช่แค่ไทยและเวียดนามเท่านั้น แต่จีนยังได้นำเข้าทุเรียนจากฟิลิปปินส์เพิ่มมากขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 3.8 ตัน คิดเป็นสัดส่วนแค่ 0.2% เท่านั้น อย่างไรก็ดีเนื่องด้วยโครงสร้างพื้นฐานของฟิลิปปินส์ที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับไทยและเวียดนาม ทำให้ค่าขนส่งนั้นถือว่าแพง เมื่อเทียบกับ 2 ประเทศผู้ส่งออกทุเรียนข้างต้น และจีนยังเตรียมนำเข้าทุเรียนจากมาเลเซียเพิ่มขึ้นด้วย

ขณะเดียวกันจีนเองก็เริ่มที่จะปลูกทุเรียนและบริโภคในประเทศมากขึ้น โดยปี 2023 ที่ผ่านมาจีนผลิตทุเรียนได้ราวๆ 250 ตัน โดยสัดส่วน 50 ตันมาจากเกาะไห่หนาน ซึ่งมีสภาวะภูมิอากาศคล้ายกับอาเซียน และจีนต้องการผลิตให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย

]]>
1459749
เศรษฐกิจจีนยังน่ากังวล ตัวเลขภาคการส่งออกถดถอย 4 เดือนติด นักวิเคราะห์คาดจีนจะกระตุ้นการบริโภคในประเทศ https://positioningmag.com/1443693 Thu, 07 Sep 2023 09:53:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443693 ภาคการส่งออกของจีนยังถดถอยต่อเนื่อง ล่าสุดในเดือนสิงหาคม ตัวเลขการส่งออกของจีนถดถอยที่ 8.8% อย่างไรก็ดีนักวิิเคราะห์คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าที่ลดลงอาจใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว รวมถึงจีนอาจมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเน้นการบริโภคในประเทศมากขึ้น

หน่วยงานศุลกากรของจีนได้เปิดเผยตัวเลขการส่งออกของจีนในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาถดถอยที่ 8.8% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนั้นถดถอยมาเป็นระยะเวลา 4 เดือนติดต่อกันแล้ว ปัจจัยดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขเศรษฐกิจจีนหลังจากนี้มีโอกาสพลาดเป้าที่รัฐบาลวางไว้ว่าจะเติบโตที่ 5% แม้ว่า GDP ของจีนในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาจะเติบโตมากถึง 6.3% ก็ตาม 

สำหรับตัวเลขการส่งออกของจีนที่ถดถอยมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่สดใสมากนัก ความต้องการสินค้าลดลงจากประเทศต่างๆ จากผลของการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงให้ตัวเลขเงินเฟ้อกลับลงมา นอกจากนี้ยังรวมถึงท่าเรือใหญ่ๆ ของจีนได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นที่พัดเข้าในช่วงที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ หรือแม้แต่ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ล่าสุดตัวเลขการนำเข้าสินค้าจีนในสหรัฐอเมริกานั้นลดลงเหลือแค่ 14.6% เท่านั้น ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา จากความขัดแย้งดังกล่าว ก็ส่งผลต่อภาคการส่งออกของจีนเช่นกัน

ตัวเลขภาคการส่งออกของจีนที่น่าสนใจ (เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา)

  • ปริมาณการส่งออกโทรศัพท์มือถือถดถอยครั้งแรก โดยถดถอยถึง 20.5%
  • ปริมาณการส่งออกสินค้าประเภทของตกแต่งบ้านเติบโต 14.5%
  • ปริมาณการส่งออกยานยนต์เติบโต 35.2% (ได้ปัจจัยหลักจากการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า)
  • ปริมาณการส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นลดลง 19.7%
  • ปริมาณการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา อาเซียน ไต้หวัน ดีกว่าเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีตัวเลขดังกล่าวดีกว่าผลสำรวจนักนักวิเคราะห์ของ Reuters ซึ่งคาดไว้ว่าจะตัวเลขการส่งออกจะถดถอยมากถึง 9.2% ขณะที่ตัวเลขการนำเข้าสินค้าคาดว่าจะถดถอยที่ 9% ขณะที่ Wind บริษัทด้านข้อมูลการเงินและเศรษฐกิจในจีนคาดว่าภาคการส่งออกของจีนจะถดถอยมากถึง 9.5% ด้วยซ้ำ

ไม่เพียงเท่านี้การนำเข้าสินค้าของจีนในเดือนที่ผ่านมาก็ถดถอยถึง 7.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาด้วย

ในช่วงที่ผ่านมาจีนได้ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็น มาตรการให้ผู้บริโภคซื้อรถยนต์ไฟฟ้ากับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพื่อฟื้นเศรษฐกิจกลับมาโตอีกรอบ หรือแม้แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อจะทำให้อัตราการขอสินเชื่อกลับมาเติบโตมากขึ้น

บทวิเคราะห์ของ UOB ได้มองว่าการส่งออกและการนำเข้าที่ลดลงอาจใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว หลังจากจีนได้นำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์จำนวนมาก และมองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพบ้างแล้ว หลังจากถดถอยลงอย่างมากนับตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นมา แต่สถาบันการเงินจากสิงคโปร์รายนี้ยังคาดการณ์ว่าปีนี้ส่งออกจีนจะถดถอย 6%

ขณะที่บทวิเคราะห์จาก Bank Of America คาดว่าตัวเลขการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคของจีนจะยังอ่อนแอต่อไป แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะดูดีก็ตาม และคาดว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เน้นการบริโภคในประเทศ หลังจากออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ออกมา

ที่มา – BBC, Al Jazeera, บทวิเคราะห์จาก Bank of America และ UOB

]]>
1443693
ภาคการส่งออกของจีนถดถอยลงครั้งแรกในรอบ 2 ปี ผลจากล็อกดาวน์ เศรษฐกิจโลกชะลอตัว https://positioningmag.com/1407042 Mon, 07 Nov 2022 10:02:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407042 ตัวเลขการส่งออกของจีนในเดือนตุลาคมถดถอยลงครั้งแรกในรอบ 2 ปี สาเหตุสำคัญนั้นมาจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง ขณะเดียวกันการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนก็สร้างปัญหาดังกล่าวด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแค่การส่งออกเท่านั้น แต่การนำเข้าสินค้าของจีนก็หดตัวลงเช่นกัน

สำนักงานศุลกากรของประเทศจีนได้รายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยตัวเลขดังกล่าวนั้นอยู่ที่ -0.3% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมปี 2021 ถือเป็นการหดตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2020 และยังแย่กว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์ของ Reuters ที่คาดไว้ว่าภาคการส่งออกของจีนนั้นจะเติบโตได้มากถึง 4.3% ด้วยซ้ำ

ตัวเลขการส่งออกของจีนไปยังสหรัฐอเมริกาลดลง 12.6% ซึ่งสหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่มีมูลค่าการค้ากับจีนมากที่สุด ทางด้านของสหภาพยุโรปการส่งออกลดลง 9% อย่างไรก็ดีมูลค่าการส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับเพิ่มสูงขึ้นถึง 20% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนั้นเทียบกับเดือนตุลาคมของปี 2021 ที่ผ่านมา

สาเหตุที่ยอดส่งรวมของจีนลดน้อยลงนั้นมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลก และยังรวมถึงปัญหาเศรษฐกิจในประเทศที่จีนที่เกิดจากผลของการล็อกดาวน์โดยใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ ทำให้ Supply Chain เกิดการหยุดชะงักหรือสะดุดในช่วงที่ผ่านมา

ไม่ใช่แค่การส่งออกที่หดตัวเท่านั้น แต่ตัวเลขการนำเข้าสินค้าของจีนที่ตีเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเองก็หดตัวลง 0.7% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมปี 2021 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีตัวเลขการส่งออกและนำเข้าสินค้าของจีนที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะตีมูลค่าเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ต่างใช้ตัวเลขดังกล่าวในการดูภาพรวมของเศรษฐกิจ ซึ่งถ้าหากมองตัวเลขการส่งออกของจีนในเทอมของสกุลเงินหยวนแล้วนั้น การส่งออกของจีนจะเติบโตมากถึง 7%

Zichun Huang นักเศรษฐศาสตร์จาก Capital Economics กล่าวกับ CNN ว่า ตัวเลขส่งออกของจีนหลังจากนี้มีสิทธิ์ที่จะลดลงได้อีก เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง รวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรง

นอกจากนี้บทวิเคราะห์ของ Barclays สถาบันการเงินจากอังกฤษได้ปรับคาดการณ์ GDP ของจีนในปี 2023 ลดลง เนื่องจากความต้องการสินค้าจีนจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปลดลงจากผลของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง โดยมองว่ายอดการส่งออกจะเติบโตแค่ 5% เท่านั้น ซึ่งส่งผลทำให้ GDP จีนอาจเติบโตเหลือแค่ 3.8% เท่านั้น

ที่มา – CNBC, CNN

]]>
1407042
จับตา ‘คลัสเตอร์โรงงาน’ หากคุมไม่อยู่ โควิดลุกลาม-ยืดเยื้อ ฉุด ‘ส่งออก’ เสียหาย 1.9 แสนล้าน https://positioningmag.com/1344693 Fri, 30 Jul 2021 10:29:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344693 โจทย์ใหญ่ ‘คลัสเตอร์โรงงานหากคุมไม่อยู่ โควิดลุกลามยืดเยื้อ เสี่ยงกระทบภาคส่งออกตัวหลักฟื้นเศรษฐกิจไทยต้องสะดุด เสียหายถึง 1.9 แสนล้านบาท ฉุดการเติบโตต่ำกว่า 7%  ชะลอดีมานด์ตลาดอาเซียน เเนะรัฐเร่งทำ Bubble and Sealed ฉีดวัคซีนให้แรงงานภาคการผลิตโดยเร็ว 

ข้อมูลล่าสุดจาก Thai Stop Covid โดยกรมอนามัย ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนกรกฎาคม 2564 มีโรงงานผลิตที่ต้องเผชิญกับปัญหาการติดเชื้อโควิดแล้วมากถึง 1,607 โรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 67% ซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก มีทั้งโรงงานผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศและป้อนตลาดต่างประเทศ 

คลัสเตอร์โรงงาน จึงเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ นอกเหนือไปจากแคมป์ก่อสร้าง

โรงงานส่วนใหญ่ที่พบปัญหาการติดเชื้อจะอยู่ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยางพาราและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

โดยประเทศไทยมีโรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มากถึง 11,637 แห่ง มีแรงงาน 1.96 ล้านคน และมีมูลค่าตลาดต่อปีเท่ากับ 8.87 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนส่งออกกว่า 57% และจากการที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานค่อนข้างมาก เมื่อมีผู้ติดเชื้อจึงมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายสูง ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้มาตรการปิดโรงงานหยุดกระบวนการผลิตชั่วคราวได้ 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า หากมีการปิดคลัสเตอร์โรงงาน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมข้างต้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อควบคุมการระบาด จะก่อให้เกิดการสูญเสียมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 4% ของมูลค่าตลาด 

สำหรับอุปทานสินค้าป้อนตลาดจากโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารยานยนต์ ยางพาราและพลาสติก จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานเร็วที่สุด เพราะมีสินค้าคงคลังน้อยกว่าช่วงปกติ

ดังนั้น หากไม่สามารถควบคุมการระบาดคลัสเตอร์โรงงานได้ ภาครัฐต้องมีการล็อกดาวน์โรงงานเพิ่มขึ้น หรือขยายระยะเวลาปิดโรงงานออกไป คาดว่าจะทำให้ปัญหา Supply Disruption ชัดเจนมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์หลักในการฟื้นเศรษฐกิจครั้งนี้ 

นอกจากสินค้าส่งออกทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเเล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจอาเซียนได้รับผลกระทบจากการเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อโควิดใหม่เพิ่มสูงขึ้นมากขึ้น โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ส่งผลต่อความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยในช่วงครึ่งปีหลัง

การส่งออกใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม คิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออกไปตลาดอาเซียน ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท

เเนะทำ ‘Bubble and Sealed’ ในโรงงาน เร่งฉีดวัคซีน สกัดความเสียหาย 

เมื่อพิจารณาประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหรัฐฯ จีน และยุโรป ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่อง สะท้อนจากการส่งออกไปตลาดคู่ค้าหลักในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ถึง 23.4% และมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง

เหล่านี้ จะช่วยชดเชยผลกระทบจากการชะลอตัวลงของตลาดอาเซียนที่ในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 11.2% ส่งผลให้การส่งออกรวม 5 กลุ่มอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ประกอบกับ หากสามารถเร่งหยุดยั้งการระบาดของคลัสเตอร์โรงงานได้เร็ว จะหนุนให้ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยทั้งปี 2564 ขยายตัวได้ในระดับสูงที่ 9.4% เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน

เเต่หากไม่สามารถควบคุมคลัสเตอร์โรงงานได้ ทำให้กระบวนการผลิตหยุดไปอีก 2 สัปดาห์ จะเกิดความเสียหาย 1.9 แสนล้านบาท เป็นปัจจัยฉุดการส่งออกทั้งปีโตได้เพียง 6.8%

ttb analytics เเนะว่า เพื่อลดการระบาดและลุกลามของคลัสเตอร์โรงงาน รัฐต้องมีกระบวนการเร่งตรวจหาและคัดแยกผู้ติดเชื้อออกจากโรงงาน เเละการทำ Bubble and Sealed เพื่อควบคุมดูแลรักษาผู้ติดเชื้อในโรงงานไม่ให้แพร่กระจายออกไป

ต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานภาคการผลิตที่มีจำนวนมาก ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือดำเนินการ เพื่อให้ภาคการผลิตและส่งออกของไทยยังรักษาอัตราการเติบโตได้ต่อเนื่อง ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว

 

 

]]>
1344693