Go Green – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 15 Oct 2021 07:15:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เบื้องหลัง “คาเฟ่ อเมซอน” 3,700 สาขา ปั้นแบรนด์ให้แกร่งจาก “คุณภาพกาแฟ” และ “คุณภาพบริการ” https://positioningmag.com/1356265 Fri, 15 Oct 2021 11:00:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356265

การเติบโตของ “คาเฟ่ อเมซอน” ที่ขยายตัวได้ถึง 3,700 สาขา เบื้องหลังร้านกาแฟแบรนด์ยักษ์ย่อมต้องมีการจัดการที่เข้มงวด เพื่อให้ทุกสาขามีคุณภาพสินค้าและบริการได้มาตรฐาน รวมถึงวิสัยทัศน์ด้านการ ‘Go Green’ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ ‘มากยิ่งกว่ากาแฟ’ หรือ ‘Beyond Coffee’ ทุกครั้งที่เลือกดื่ม

คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) แบรนด์กาแฟสัญชาติไทยกำลังจะครบรอบ 20 ปีในปี 2565 ปัจจุบันมีร้านกาแฟทั่วไทยและในต่างประเทศกว่า 3,700 สาขา ทำให้เป็นแบรนด์ผู้นำธุรกิจร้านกาแฟของไทย รวมถึงได้รับความสำเร็จในระดับโลกมาแล้ว จากการคว้ารางวัล “สุดยอดแบรนด์แห่งปี” ประจำปี 2020-2021 บนเวที World Branding Awards ซึ่งเป็นการคว้ารางวัลนี้ 4 ปีซ้อน

กุญแจสำคัญของธุรกิจรูปแบบแฟรนไชส์ที่จะประสบความสำเร็จได้ถึงขนาดนี้ ไม่ได้มีเฉพาะโมเดลธุรกิจเท่านั้น แต่ต้องมีปัจจัยด้านมาตรฐาน “คุณภาพสินค้า” และ “คุณภาพบริการ” ที่สม่ำเสมอในทุกๆ สาขา ดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความใส่ใจสิ่งแวดล้อมและช่วยสนับสนุนชุมชนอย่าง โครงการไทยเด็ด ที่เป็นโครงการจากบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR โดยคาเฟ่ อเมซอนได้มีการเปิดโอกาสให้นำขนมและเบเกอรีจาก SMEs ที่ถูกคัดมาแล้วเข้ามาขายภายในร้าน

พร้อมกันนั้นยังยกระดับประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคให้ไม่หยุดอยู่แค่สินค้าและบริการภายในร้าน โดยมีการขยายการขายไปยัง สินค้ากลุ่ม Home Use ที่กำลังเติบโตในช่วงยุคโควิด-19อย่าง Café Amazon Drip Coffee กาแฟดริปที่ออกมาหลากหลายรสชาติให้ได้ลิ้มลอง หรือผลิตภัณฑ์น้องใหม่อย่าง Café Amazon Cold Brew กาแฟสกัดเย็นที่ผู้บริโภคสามารถซื้อและนำกลับไปทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน และยังคงคุณภาพรสชาติมาตรฐานแบบฉบับของคาเฟ่ อเมซอน

ด้วยปัจจัยเหล่านี้คือการสร้างความแข็งแกร่งผ่านแนวคิด “Beyond Coffee” ที่ต้องการให้ลูกค้าได้มากยิ่งกว่า เพราะกาแฟของคาเฟ่ อเมซอนไม่ใช่แค่เพียงเครื่องดื่ม แต่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มพลังชีวิต

คาเฟ่ อเมซอนจึงดูแลมาตรฐานคุณภาพหลายด้านเพื่อส่งต่อสิ่งที่มากกว่ากาแฟให้กับลูกค้า ก่อนจะมาเป็นกาแฟในแก้ว ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เหล่านี้

“คุณภาพสินค้า” – หัวใจหลักของร้านกาแฟก็คือ “เมล็ดกาแฟ” ทุกขั้นตอนของเมล็ดกาแฟคาเฟ่ อเมซอนมีการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ตั้งแต่ต้นน้ำการปลูกจนถึงการคั่วและบรรจุลงถุง

การปลูกกาแฟ ของคาเฟ่ อเมซอนเลือกแหล่งปลูกเมล็ดกาแฟอะราบิกาทางภาคเหนือของไทย โดยร่วมมือกับเกษตรกรชาวเขาทั้งในโครงการหลวง,สหกรณ์การเกษตร และวิสาหกิจชุมชนหลายแห่ง พื้นที่ปลูกทุกแหล่งอยู่บนที่สูง อากาศบริสุทธิ์ ไม่ใช้สารเคมี ไม่มีการปนเปื้อน ทำให้ได้เมล็ดกาแฟคุณภาพดีเกรดพรีเมียม รวมถึงเมล็ดกาแฟสายพันธุ์โรบัสตาก็รับซื้อจากเกษตรกรชาวไทยแต่ยังคงไว้ซึ่งการคัดเลือกให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

ขั้นต่อมาคือการคัดเมล็ดกาแฟ ก่อนจะเข้าโรงคั่ว เมล็ดกาแฟที่มาจากแหล่งเพาะปลูกจะถูกคัดแยกขนาด สี น้ำหนัก ตรวจสอบรอยตำหนิ และมีระบบทำความสะอาด 5 ขั้นตอน คัดแยกสิ่งปลอมปนก่อนไปสู่ขั้นตอนถัดไป โดยคาเฟ่ อเมซอนมีโรงคั่วกาแฟเป็นของตนเอง มีกำลังการผลิต 2,700 ตันต่อปี ได้มาตรฐาน GMP ทั้งหมดทำงานในระบบปิด จึงไม่มีสิ่งเจือปนลงไปในระบบ ทำให้มั่นใจได้ว่าเมล็ดกาแฟแต่ละเมล็ดจะถูกผลิตส่งไปยังร้านคาเฟ่ อเมซอนทุกสาขาอย่างมีคุณภาพ

ขั้นตอนสุดท้ายก่อนบรรจุถุงต้องอาศัยความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญ นั่นคือการ ‘Cupping Test’ หรือการชิม วิเคราะห์ กลิ่น สี รส ของเมล็ดกาแฟคั่วล็อตนั้นว่าได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานหรือไม่ หากรสชาติผิดเพี้ยนไม่กลมกล่อม จะถือว่ากาแฟล็อตนั้นตกมาตรฐานและถูกคัดออกทันที

จากนั้นกาแฟจะถูกบรรจุถุงแบบเติมก๊าซไนโตรเจนเพื่อป้องกันกลิ่นหืน และมี Aroma Protection Value ช่วยระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เมล็ดกาแฟคายออกมาหลังคั่ว สินค้าเหล่านี้จะถูกส่งออกไปยังสาขาคาเฟ่ อเมซอนทั่วประเทศตามลำดับก่อนหลัง คือนำกาแฟที่คั่วก่อนส่งออกไปก่อน เพื่อให้ทุกถุงสดใหม่ที่สุด

“คุณภาพการชงกาแฟ” – เมื่อได้เมล็ดกาแฟที่ดีแล้ว “บาริสต้า” ก็เป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่จะทำให้กาแฟทุกแก้วสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยคาเฟ่ อเมซอนมีการตั้ง Training Center ขึ้นมาอบรมบาริสต้าและผู้บริหารร้านโดยเฉพาะ เพื่อให้ความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงจะมีการตรวจสอบคุณภาพบาริสต้าในสาขาต่างๆ ทุกปี มีการจัด Re-Training ให้ เพื่อให้ฝีมือบาริสต้ายังคงสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังมีการจัดประกวด Café Amazon Barista Championship ต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้เกิดการพัฒนาฝีมือ ยกระดับศักยภาพบาริสต้าให้ดียิ่งขึ้นไป

“คุณภาพการให้บริการ” – นอกจากฝีมือการชงของบาริสต้าที่จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าแล้ว การบริการในทุกส่วนของร้านยังมีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยคาเฟ่ อเมซอนมองว่าพนักงานในร้านคือ Touch Point หลักที่ผู้บริโภคจะได้สัมผัสกับแบรนด์ ดังนั้น พนักงานจะต้องยึดหลัก ‘Service Excellence’ มีหัวใจบริการ (service mind) เข้าถึงและรับฟังผู้บริโภคว่ามีความต้องการอย่างไร เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับใช้ให้ตอบสนองลูกค้าอย่างดีที่สุด

ทั้งนี้ คาเฟ่ อเมซอนมีการควบคุมคุณภาพการบริการด้วยการเข้าตรวจประเมินมาตรฐานทุกสาขา 1 ครั้งต่อเดือน โดยจะมีทั้งการเข้าตรวจสอบแบบแสดงตัวก่อน และการสุ่มตรวจเสมือนเป็นลูกค้า ทำให้มั่นใจว่าทุกสาขามีบริการที่ได้คุณภาพ

สำหรับยุค COVID-19 นี้ คาเฟ่ อเมซอนยังมีการเปิดตัว “Café Amazon Application” ยกระดับงานบริการลูกค้ารับยุค Next Normal ลูกค้าสามารถสั่งกาแฟ ชำระเงินในแอปฯ และมารับที่หน้าร้านได้เลย ไม่ต้องเข้าคิวรอในร้านซึ่งลูกค้าบางท่านอาจไม่สบายใจ เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่สะท้อนให้เห็นการรับฟังและใส่ใจความต้องการของผู้บริโภค

“Go Green” – จุดสำคัญอีกเรื่องที่ทำให้แบรนด์แกร่งคือ คาเฟ่ อเมซอนมีนโยบายใส่ใจสิ่งแวดล้อม เข้ากับความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ซึ่งต้องการแบรนด์ที่รับผิดชอบต่อสังคม โดยหลายปีที่ผ่านมาคาเฟ่ อเมซอนออกโมเดล “ลดขยะ” หลายประการ เช่น เปลี่ยนแก้วและหลอดให้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Bio Cup), แปรรูปวัสดุใช้แล้วจากโรงคั่วกาแฟกับขยะภายในร้านมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร้านและสินค้าพรีเมียม ไปจนถึงชุดผ้ากันเปื้อนของพนักงานก็ผลิตจากขวดและน้ำดื่มรีไซเคิล รวมถึงโครงการเก็บแก้วกลับที่จะนำแก้วพลาสติกที่ใช้แล้วภายในร้านกลับเข้าสู่กระบวนการ Upcycling เพื่อนำมาเป็นของใช้ในร้านคาเฟ่ อเมซอนต่อไป

ในปี 2565 คาเฟ่ อเมซอน จะยังคงเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปเรื่อยๆ สู่เป้าหมายจำนวน “4,000 สาขา” โดยจะยังคงยึดวิสัยทัศน์ “Beyond Coffee” รักษามาตรฐานคุณภาพสินค้าและการบริการ เพื่อให้แบรนด์ยังแข็งแกร่ง โตไปพร้อมกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมตลอดซัพพลายเชนที่คาเฟ่ อเมซอนเกี่ยวข้อง เพื่อให้แบรนด์คาเฟ่ อเมซอนเป็น “มากกว่ากาแฟ”

หลังจากนี้คาเฟ่ อเมซอนจะยังคงมีโครงการใหม่ๆ ที่น่าสนใจออกมาอย่างต่อเนื่องให้คอกาแฟได้ติดตามกันตลอดปีที่ 20 ครบรอบสองทศวรรษของผู้นำแห่งแบรนด์กาแฟในไทย

อยากรู้ Café Amazon ใส่ใจเพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานคุณภาพสินค้าและการบริการแค่ไหน ไปชมคลิปได้ที่นี่

]]>
1356265
‘อินเดีย’ Go Green! เตรียมแบน ‘พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง’ ในปีหน้า หวังแก้ปัญหามลพิษ https://positioningmag.com/1356096 Mon, 11 Oct 2021 10:11:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356096 หลังจากมีมติในปี 2019 เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกในประเทศ ในที่สุดรัฐบาลกลางของอินเดียก็เตรียมประกาศห้ามไม่ให้ใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plasstic) โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2022 โดยมาตรการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดมลภาวะ แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าไม่ง่ายและอาจจะได้ผลมากพอ

อินเดียเตรียมแบนการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง อาทิ ถุงหูหิ้ว, ถุงบรรจุภัณฑ์อาหาร ขวดและหลอดที่ใช้เพียงครั้งเดียวทิ้ง แต่นักวิเคราะห์มองว่า การบังคับใช้ จะเป็นกุญแจสำคัญ และมองว่าอินเดียยังต้องแก้ไข ปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญ เช่น นโยบายในการควบคุมการใช้พลาสติกทางเลือก, การปรับปรุงการรีไซเคิล และการจัดการการแยกขยะที่ดีขึ้น ไม่เช่นนั้นอาจจะได้ผลไม่ดีพอ

“พวกเขาต้องเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบในพื้นที่เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตาม ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการบังคับใช้การแจ้งเตือนนี้ทั่วทั้งอุตสาหกรรม” Swati Singh Sambyal ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะอิสระในนิวเดลีกล่าวกับ CNBC  

Anoop Srivastava ผู้อำนวยการ Foundation for Campaign Against Plastic Pollution องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อจัดการกับขยะพลาสติกในอินเดีย เปิดเผยว่า ขยะพลาสติกประมาณ 60% ในอินเดียถูกรวบรวมไปกำจัดหรือรีไซเคิล ส่วนอีก 40% หรือ 10,376 ตัน ยังคงไม่ถูกเก็บ

ประเทศต่าง ๆ รวมถึงอินเดียกำลังดำเนินการเพื่อลดการใช้พลาสติก โดยส่งเสริมการใช้วัสดุทางเลือกที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ อาทิ ผู้ขายอาหาร เครือร้านอาหาร และธุรกิจในท้องถิ่นบางแห่งเริ่มนำ ช้อนส้อมที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ มาใช้งาน หรือนำ ถุงผ้า มาใช้ แต่ในอินเดีย ยังไม่มีแนวทางสำหรับการใช้พลาสติกทดแทน และนั่นอาจเป็นปัญหาเมื่อการห้ามใช้พลาสติกมีผล

ดังนั้น อินเดียจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมทางเลือกอื่น นอกจากนี้ กฎระเบียบใหม่ยังขาดแนวทางในการรีไซเคิล แม้ว่าขยะพลาสติกในอินเดียประมาณ 60% จะถูกนำไปรีไซเคิล แต่ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าขยะพลาสติกที่มากเกินไปนั้นเกิดจากการ ‘ดาวน์ไซเคิล’ ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่พลาสติกคุณภาพสูง ถูกรีไซเคิลเป็นพลาสติกใหม่ที่มีคุณภาพต่ำกว่าเดิม เช่น การเปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นโพลีเอสเตอร์สำหรับเสื้อผ้า

“ตามปกติแล้ว พลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 7-8 ครั้งก่อนที่จะส่งไปยังโรงเผาขยะ แต่ถ้าคุณดาวน์ไซเคิล พลาสติกที่ได้จะใช้ได้ 1-2 ครั้งก็ต้องกำจัดทิ้ง นอกจากนี้ การแยกขยะก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

นักสิ่งแวดล้อมมักเห็นพ้องกันว่าการห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งนั้นไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากความคิดริเริ่มอื่น ๆ ขณะที่ข้อบังคับของรัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการรวบรวมและรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น เช่น การควบคุมผู้ผลิตและขอให้พวกเขาทำเครื่องหมายประเภทของพลาสติกที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ควรลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทางเลือกที่ใช้แทนพลาสติกด้วย

“อินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่อ่อนไหวต่อราคา ซึ่งพลาสติกทางเลือกสามารถผลิตได้จำนวนมากและขายได้ในราคาที่เหมาะสม ในอดีตรัฐต่าง ๆ ของอินเดียได้ออกข้อจำกัดต่าง ๆ เกี่ยวกับถุงพลาสติกและช้อนส้อม แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้บังคับใช้อย่างเคร่งครัด”

อย่างไรก็ตาม การสั่งห้ามครั้งล่าสุดถือเป็นก้าวสำคัญสู่การต่อสู้ของอินเดียในการลดขยะทางทะเล และช่วยฟื้นฟูสภาพอากาศ และสอดคล้องกับวาระด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง โดยอินเดียกำลังอยู่ในเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามข้อตกลงของปารีส และเสริมว่ามีความมุ่งมั่นที่จะลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 33% เป็น 35% ภายในปี 2030

Source

]]>
1356096
McDonald’s ก็ Go Green! เตรียมใช้วัสดุรีไซเคิลผลิตของเล่นชุด ‘Happy Meal’ ภายในปี 2025 https://positioningmag.com/1353407 Sat, 25 Sep 2021 12:08:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353407 จะเห็นว่าหลายองค์กรทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งถ้าพูดถึงวงการอาหารก็จะเริ่มมีเมนูแพลนต์เบสต์ ในส่วนของบริษัทของเล่นก็หันมาใช้พลาสติกรีไซเคิล รวมถึง ‘McDonald’s’ (แมคโดนัลด์) ที่มีชุดของเล่น ‘Happy Meal’ ซึ่งภายในปี 2025 McDonald’s จะใช้กระดาษ หรือไม่ก็พลาสติกรีไซเคิลในการผลิต

ก่อนหน้านี้ คู่แข่งอย่าง ‘Burger King’ (เบอร์เกอร์ คิง) ได้ระบุในปี 2019 ว่าจะหยุดชุดแถมของเล่นให้กับลูกค้า และลูกค้าสามารถส่งคืนของเล่นที่มีอยู่แล้วเพื่อหลอมเป็นถาดและสิ่งของอื่น ๆ แทนเพื่อลดการใช้พลาสติก ล่าสุด McDonald’s เป้าหมายที่จะเปลี่ยนมาใช้พลาสติกรีไซเคิลในการผลิต หรือใช้กระดาษในการผลิตแทนภายในปี 2025 โดยคาดว่าจะลดการใช้พลาสติกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลบริสุทธิ์ได้ถึง 90% เมื่อเทียบกับปี 2018

หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ว่า McDonald’s มีการจำหน่ายของเล่นในชุด ‘Happy Meal’ กว่า 1 พันล้านชิ้น โดยเริ่มขายชุด Happy Meals มาตั้งแต่ปี 1979 แต่ในปี 2018 ก็เริ่มเปลี่ยนไปแถมของเล่นที่ใช้ผลิตภัณฑ์ด้านความยั่งยืนมากขึ้นในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และฝรั่งเศส

แต่จากนี้ชุด Happy Meals ประเทศอื่น ๆ อีกกว่า 100 ประเทศจะเน้นไปที่ของเล่นที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลหรือกระดาษแทน อย่างในสหรัฐอเมริกา McDonald’s ก็เริ่มเปลี่ยนแล้ว อาทิ หนังสือและการ์ดสะสมโปเกมอน

ไม่ใช่แค่ช่วยโลก แต่ เอมี เมอร์เรย์ รองประธานฝ่ายการตลาดทั่วโลก กล่าวว่า ชุด Happy Meals ที่ปรับปรุงใหม่จะไม่มีผลกระทบต่อต้นทุนของเหล่าแฟรนไชส์สาขาย่อยแน่นอน เรียกได้ว่าทั้งดีต่อโลก และดีต่อบริษัทเลยทีเดียว

Source

]]>
1353407
เปิดเเผน ‘ซีพี ออลล์’ มุ่ง 7 Go Green ผุดสถานีชาร์จ EV 100 แห่งในปีนี้ เตรียมใช้ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ ส่งสินค้า https://positioningmag.com/1325736 Tue, 30 Mar 2021 13:44:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325736 ซีพี ออลล์ประกาศเเผน ‘7 Go Green’ เเห่งปี 2021 วางเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.28 แสนตัน ปักหมุดขยายเซเว่น-อีเลฟเว่นปีนี้เเตะ 13,000 สาขา พร้อมวางถังคัดแยกขยะลุยติดตั้งสถานีชาร์จ EV หน้าร้านอีก 100 แห่ง เตรียมใช้รถยนต์ไฟฟ้า’ กระจายส่งสินค้าทั่วประเทศ

สำหรับโครงการ ‘7 GO Green’ นั่นเริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อหวังลดและเลิกใช้ถุงพลาสติกที่ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น โดยปล่อยเเคมแปญลดวันละถุงคุณทำได้” ออกมาในปีช่วงปลายปี 2561

โดยในปีนี้บริษัทจะสานต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ผ่าน 4 ด้านหลักๆ ประกอบด้วย Green Building , Green Store , Green Logistic และ Green Living เพื่อลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีนี้รวม 128,426 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tC02e) หรือเปรียบเทียบการปลูกต้นไม้ยืนต้นจำนวน 347,648 ต้น 

ทั้งนี้ เซเว่น-อีเลฟเว่น เปิดให้บริการกว่า 12,400 สาขา โดยในปี 2564 นี้ จะมีการทุ่มงบลงทุนในร้านสะดวกซื้ออีก 1.2 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายให้ได้เป็น 13,000 สาขา เเละก้าวสู่เป้าหมาย 20,000 สาขาให้ได้ต่อไป

Green Building : ลดใช้พลังงานในสาขา

ซีพี ออลล์ จะเน้นออกแบบและบริหารจัดการผ่านคอนเซ็ปต์ ‘ร้านเพื่อสิ่งแวดล้อม’ ลดใช้พลังงานต่างๆ เช่น ปรับปรุงคอยล์เย็น สำหรับตู้แช่เย็นขนาดใหญ่ , เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเป็นประเภท Inverter , ใช้หลอดไฟ LED, ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, โครงการปรับปรุงระบบทำความเย็นของตู้แสดงสินค้า ชนิดไร้บานประตูเป็นแบบรวมศูนย์, โครงการ Knockdown Store นำวัสดุเปลือกอาคารกลับมาใช้ใหม่ และ โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

Green Store : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก กระตุ้นใช้ e-Receipt

จะเน้นไปที่การออกแบบ ‘บรรจุภัณฑ์’ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีในร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ลดปริมาณขยะพลาสติก ผ่านแนวคิด “ลด และ ทดแทน” เช่น พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง, โครงการเสื้อพนักงานที่ผลิตจากขวดพลาสติกรีไซเคิล

นอกจากนี้ จะประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกค้า ALL member ที่มีอยู่ราว 10 ล้านคน หันมาใช้ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดประมาณการใช้กระดาษ

“ปัจจุบันมียอดใช้จ่ายมากถึง 150 ล้านใบเสร็จต่อเดือน เมื่อนำมาต่อกันคิดเป็นความยาวรอบโลกได้ราว 3 รอบ เป็นขยะกระดาษจำนวนมาก” 

Green Living : รณรงค์คัดแยกขยะ

จะเน้นไปที่การรณรงค์สร้างจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม เชิญชวนลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง โดยล่าสุดจะจัดให้มี “ถังคัดแยกขยะ” ในทุกสาขาของเซเว่น-อีเลฟเว่น ค่อยๆ สร้างการรับรู้ให้ให้คนไทยช่วยกันคัดแยกขยะพลาสติก เพื่อนำขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy

Green Logistic : กระจายจุดชาร์จ EV ในไทย 

จะเน้นไปที่การขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศที่มีอยู่ทั้งหมด 20 แห่งใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ และได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ล่าสุด ซีพี ออลล์กำลัง ‘ศึกษาพัฒนารถขนส่งด้วยรถยนต์ไฟฟ้า’ โดยเจรจากับผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในการขนส่งของบริษัท จากปัจจุบันที่มีรถขนส่งอยู่กว่า 7,000 คัน ใช้วิ่งรับส่งสินค้าอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน

นอกจากนี้ บริษัทตั้งเป้าจะติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า(EV) หน้าร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นที่มีพื้นที่จอดรถให้ลูกค้า จำนวน 100 สาขาภายในปีนี้ โดยจะมีให้บริการทั้งเเบบ ‘ชาร์จเร็ว’ (Quick Charge) ใน 30 นาที หรือเเบบชาร์จช้าที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง เพื่อรองรับเทรนด์พลังงานสะอาดที่ผู้บริโภคหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น 

เป็นที่น่าจับตาว่า การกระจายสถานีชาร์จรถไฟฟ้าให้แพร่หลายผ่านร้านสะดวกซื้อ จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทยได้ดีทีเดียว โดยก่อนหน้านี้ บริษัทพลังงานอย่าง ‘เชลล์’ ก็จับมือกับ BMW เปิดตัว Shell Recharge จุดชาร์จ EV แห่งแรกในไทย

ขณะที่เจ้าใหญ่อย่าง ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เผยว่า บริษัทมีแผนจะเปิดประมูลจัดหาอุปกรณ์ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ในปีนี้เพิ่มเป็น 100 แห่งทั่วประเทศเน้นหัวเมืองหลักในแต่ละจังหวัด ในรูปแบบ Quick Charge ซึ่งจะใช้เวลาชาร์จประมาณ 20-25 นาทีต่อคัน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 ล้านบาทต่อสาขา และจะขยายปั๊มชาร์จไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 300 แห่งภายในปี 2565 จากปัจจุบันมีการติดตั้งแล้ว 30 สาขา

 

]]>
1325736