Krungthai – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 19 Apr 2023 03:19:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กางแผน 5 ปี “ธนาคารกรุงไทย” กับยุทธศาสตร์ X2G2X ย้ำจุดแข็งธนาคารพาณิชย์ของรัฐ https://positioningmag.com/1427444 Mon, 17 Apr 2023 04:29:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427444 ธนาคารกรุงไทยกางโรดแมป 5 ปี ตั้งแต่ 2566-2570 มีมิชชั่นสำคัญก็คือ การเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย แล้วทำให้ชีวิตดีขึ้นในในทุกๆ วัน เน้นยุทธศาสตร์หลัก X2G2X ใช้จุดแข็งความเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ เชื่อมต่อพาร์ตเนอร์ และพัฒนาแพลตฟอร์มให้ลูกค้า พร้อมเตรียมงบ 12,000 ล้านบาท ลงทุนเทคโนโลยีรองรับการก้าวสู่การเงินดิจิทัล

เข้าถึงปัจจัย 4 ของคนไทย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ หลายคนเรียกมันว่าเข้ามา Disrupt หลายๆ ธุรกิจเลยก็มี เนื่องจากดิจิทัลทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป ถ้าธุรกิจไหนไม่ปรับตัว ก็ยากที่จะอยู่รอด

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอันดับต้นๆ หนีไม่พ้นค้าปลีก และธนาคาร ที่มีหน้าร้านสาขาในการให้บริการลูกค้า ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งเครื่องในการเอาตัวเองเข้าสู่อีคอมเมิร์ซ ส่วนธนาคารเองก็ต้องพัฒนาระบบดิจิทัล ซึ่งประเทศถือว่ามีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคตอบรับกับบริการดิจิทัลมากขึ้นด้วย

“ธนาคากรุงไทย” เป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทย ในปีนี้ได้ดำเนินการมาครบ 57 ปีแล้ว แต่เดิมกรุงไทยมีภาพลักษณ์เป็นธนาคารสำหรับข้าราชการ เพราะด้วยความเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ผู้ใช้งานจึงค่อนข้างมีอายุหน่อย ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากรุงไทยได้รีเฟรชแบรนด์ให้ทันสมัยขึ้น พร้อมกับดึง “ณเดชน์ คูกิมิยะ” เป็นพรีเซ็นเตอร์แอปพลิเคชัน KRUNGTHAI NEXT เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น

ซึ่งปัจจุบันกรุงไทยเองก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองหลักในการพัฒนาบริการดิจิทัลสู่มือผู้บริโภค เรียกว่ามีบริการแทบจะครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของคนไทย มีการพัฒนาเองบ้าง และจับมือร่วมกับพาร์ตเนอร์บ้าง

ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เล่าว่า

“ธนาคารกรุงไทยมีจุดแข็งที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่เราเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน และมิชชั่นสำคัญก็คือ อยากให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆ วัน โฟกัสที่ปัจจัย 4 ของมนุษย์ ลูกค้าส่วนใหญ่ของกรุงไทยจะเป็นผู้สูงวัย จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพเป็นพิเศษ แต่มีการเน้นเรื่องการศึกษามากขึ้น เพราะต้องการดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มขึ้น เรียกว่าต้องใช้โมเดลเรือบรรทุกเครื่องบิน กับสปีดโบ้ท เอามาปรับใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร”

จุดเปลี่ยนสำคัญก็คือการพัฒนาแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในช่วงแรกเป็นการใช้กับโครงการสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ต่อมาได้พัฒนาบริการต่างๆ ที่สามารถใช้งานผ่านแอปเป๋าตังได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพที่ใช้สิทธิบัตรทอง หรือรับถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดได้ รวมไปถึงการซื้อสลากดิจิทัล ที่คุมราคาได้ใน 80 บาท และบริการอื่นๆ อีกมากมาย

ปัจจุบันแอปพลิเคชันเป๋าตัง มีผู้ใช้งาน 40 ล้านคน และมีเงินหมุนเวียนในระบบ 600 ล้านบาท ในอนาคตจะมีบริการที่ต่อยอดมากขึ้นเรื่อยๆ อาจมองไปถึง 5 อีโคซิสเท็มหลักของคนไทย ได้แก่ สุขภาพ, การศึกษา, รัฐ, เพย์เมนต์ และการเดินทาง

โรดแมป 5 ปี 7 ยุทธศาสตร์

ทั้งนี้ธนาคารกรุงไทยได้กางแผนงาน 5 ปี ระหว่างปี 2566-2570  เพื่อเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภายใต้แนวคิด “มุ่งสร้างคุณค่า สู่ความยั่งยืน” เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคง ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม ทั่วถึง แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้

1. ปลดล็อกศักยภาพในการสร้างมูลค่าจากการทำธุรกิจกับคู่ค้าของลูกค้า (X2G2X) เร่งต่อยอดยุทธศาสตร์ X2G2X ให้เกิดการเชื่อมโยงในเชิงลึกในกลุ่มลูกค้าต่างๆ ทั้ง B2B B2C G2B และ G2C และมีแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์คู่ค้าของลูกค้า ทั้งการเร่งสร้าง Economic Value จากแอปฯ เป๋าตัง และถุงเงิน เสริมศักยภาพผู้ประกอบการ SME ให้แข็งแกร่ง ต่อยอดความร่วมมือที่ได้ลงทุนไปแล้วทั้งระบบ Smart Transit ตั๋วร่วม Smart Hospital และ Digital Business Platform เป็นต้น

2. ขับเคลื่อนประสิทธิภาพองค์กรด้วยดิจิทัล และข้อมูล เร่งนำข้อมูล และเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็น Process Digitalization โดยนำระบบ RPA หรือ Robotic Process Automation และการใช้ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานภายในของธนาคารมากขึ้น ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการใช้กระดาษ (Paperless) นำไปสู่โครงสร้างการประเมินอัตรากำลังที่เหมาะสมในการให้บริการผ่านสาขา ผสมผสานการให้บริการออนไลน์สู่ออฟไลน์ได้เต็มศักยภาพ โดยช่องทางสาขาจะถูกปรับเป็นการให้บริการทางธุรกิจ และอยู่ระหว่างการทดสอบในพื้นที่ EEC

3. เปิดตัวแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างการเติบโตในมิติใหม่ พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ทั้ง Virtual Banking ที่ธนาคารจะร่วมกับพันธมิตร เพื่อดำเนินการ และ Wealth-Tech เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และบริการทางการเงินในทุกระดับชั้น ต่อยอดสร้างศักยภาพการออม เสริมสร้างความมั่งคั่งให้คนไทย

4. สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม เท่าเทียม และยั่งยืน ขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทาง ESG  สนับสนุนประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม โปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำ ลดช่องว่างการกระจายรายได้ เชื่อมโยงกลุ่มลูกค้า SME กับ Digital Economy และเร่งปรับตัวเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน

5. พัฒนา และเสริมสร้างขีดความสามารถการทำงานแห่งอนาคต เร่งสร้างการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านความพร้อมของระบบรองรับ PDPA & Cyber Risk เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม บริหารจัดการ NPL และ NPA เพื่อแก้ปัญหาปรับเป็นสินทรัพย์ที่สร้างคุณค่าในเวลารวดเร็วขึ้น พร้อมบูรณาการบริษัทในเครือ สร้างประโยชน์จากสินทรัพย์ให้เต็มศักยภาพ บนความร่วมมือแบบ ONE Krungthai

6. ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีหลักขององค์กรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT และ Digitalization อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับโครงสร้างเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย มั่นคง ปลอดภัย มีเสถียรภาพ มีประสิทธิภาพและสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อสนับสนุนการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

7. ปฏิรูปวัฒนธรรม และปลูกฝังวิธีการทำงานแบบใหม่เพื่อขับเคลื่อนองค์กรด้วยความคล่องตัว ปรับวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ให้เป็นไปในลักษณะ Agility มีความกระฉับกระเฉง โดยอาศัยหลักการแบบ Fail Fast Learn Fast ยกระดับพนักงานให้มีทักษะใหม่ๆ (Upskill/Reskill) สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถในระดับประเทศและระดับโลกเข้ามาทำงานเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เป็นองค์กรแห่งการสร้างผู้นำในอนาคต

ทิศทางการดำเนินธุรกิจธนาคารกรุงไทยในระยะต่อไป อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเงินใหม่ ที่เปิดกว้างใน 3 ด้านคือ

  1. Open Infrastructure การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับทั้งผู้เล่นใหม่ และผู้เล่นปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการแข่งขันและต่อยอดในเชิงนวัตกรรม
  2. Open Data ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล เช่น การสนับสนุนให้มีธนาคารไร้สาขา หรือ Virtual Bank เป็นต้น
  3. Open Competition ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายที่สุด จากการแข่งขันที่เปิดกว้างจากผู้เล่นใหม่เส้นแบ่งการแข่งขันระหว่างธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) ที่แยกกันไม่ออก

เร่งลงทุนเทคโนโลยี

สำหรับแผนการบริหารสินทรัพย์รอการขาย (NPA) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านบาท นั้น ผยง กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าจะลด NPA ให้อยู่ในระดับ 20,000 ล้านบาท เท่ากับอุตสาหกรรมภายในระยะเวลา 5 ปี (66-70) โดยภายในไตรมาส 3 ปีนี้ ธนาคารจะสามารถสรุปพันธมิตรเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนบริหารสินทรัพย์ (JV AMC) ซึ่งจะช่วยให้สินทรัพย์รอการขาย และหนี้เสียลดลง ส่งผลให้การตั้งสำรองหนี้เสียอยู่ในระดับต่ำได้

ผยง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ธนาคารกรุงไทยตั้งเป้าลงทุนด้านเทคโนโลยีประมาณ 12,000 ล้านบาท พร้อมรองรับสู่การเงินดิจิทัลทั้งปัจจุบัน และอนาคตในการจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เนื่องจาก ADVANC มีความเชี่ยวชาญด้านโมบายเดต้า ทำให้ธนาคารไม่ต้องสำรองวงเงินไว้ลงทุนในเรื่องดังกล่าว

ผยง ศรีวณิช

“วงเงินลงทุนจำนวน 12,000 ล้านบาท เพียงพอสำหรับการลงทุนด้านเทคโนโลยี และการร่วมทุนจัดตั้งธนาคารไร้สาขา เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาใช้เงินลงทุนดังกล่าวไปเพียง 7,000-8,000 ล้านบาท จากวงเงินเป้าหมายทั้งหมดที่ตั้งไว้ 12,000 ล้านบาท”

ธนาคารเตรียมรุกตลาดสินเชื่อออนไลน์ (ดิจิทัลเลนดิ้ง) บนเป๋าตังค์ภายในปีนี้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มอาชีพอิสระและกลุ่มที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ช่วงเดือนที่ผ่านมาธนาคารปล่อยสินเชื่อออนไลน์ผ่านกรุงไทยเน็กซ์ (NEXT) ได้สูงถึง 5,000 ล้านบาท ทำให้มั่นใจภายในสิ้นปี 66 นี้ ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อดังกล่าวถึง 10,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ธนาคารมีแผนเปิดสาขารูปแบบใหม่ภายใน 1-2 เดือนนี้ ที่ให้บริการในรูปแบบดิจิทัลบนแท็บเล็ตทั้งหมด โดยพนักงานไม่จำเป็นต้องนั่งให้บริการเฉพาะที่หน้าเคาน์เตอร์เท่านั้น ยกเว้นแต่ธุรกรรมถอน-ฝากเงินสด ทำให้ลูกค้าได้รับบริการได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งเบื้องต้นตั้งเป้าหมายเปิด 20 สาขาในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองใหญ่ อาทิ ชลบุรี และเชียงใหม่ เป็นต้น

]]>
1427444
ทิศทาง “กรุงไทย” หลังพ้นรัฐวิสาหกิจ วางจุดยืน “แบงก์พาณิชย์ของรัฐ” https://positioningmag.com/1309417 Mon, 07 Dec 2020 12:03:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309417 กรุงไทย (KTB) กำลังเดินสู่ก้าวใหม่ หลังคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความสถานะของธนาคารว่าพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้องเผชิญกับความท้าทายของธุรกิจเเบงก์” ในยุคดิจิทัล ฝ่าฟันวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษ COVID-19 

การประกาศจะเป็น “เเบงก์ของคนต่างจังหวัด” เข้าถึงชุมชนในไทย เเละรองรับมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐ ก็เป็นอีกหนึ่ง “งานหิน” ที่ต้องพัฒนาต่อไปเช่นกัน วันนี้เรามาฟังทิศทางต่อไปของกรุงไทยชัดๆ จากเอ็มดี KTB กัน 

ชูจุดเด่น “เเบงก์พาณิชย์ของรัฐ” 

ประเด็นการพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ยืนยันว่า การเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเป็นเป็นการเปลี่ยนที่รูปแบบ เเต่ไม่ได้เป็นสารสำคัญ 

เรื่องนี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกรุงไทยเเต่อย่างใด เพราะเราวางตัวเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐมาโดยตลอด เเละจะไม่มีการปลดพนักงานออก

โดยผยงอธิบายเพิ่มว่า เเม้ธนาคารกรุงไทยจะพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจเเล้ว ตามการตีความด้วยสถานะ เเต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในภาคปฏิบัติยังคงเป็นธนาคารพาณิชย์ของกระทรวงการคลังของรัฐบาล ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และกระทรวงการคลัง ถือหุ้นใหญ่กว่า 55% มานานกว่า 30 ปีเเล้ว ซึ่งทุกอย่างก็ยังอยู่เหมือนเดิม 

ด้านเงินฝากของหน่วยงานรัฐรัฐวิสาหกิจนั้น ทางกระทรวงการคลังได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจฝากเงินกับธนาคารกรุงไทยต่อไปได้ ส่วนผลกระทบด้านอื่นๆ ก็ทยอยความชัดเจนออกมาต่อเนื่อง

ผู้บริหารกรุงไทยเน้นว่าการปฏิบัติงานต่างๆ เหมือนเดิม ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม

ตอนนี้เราค้นพบตัวเอง หาทางเดินที่เหมาะสม โดยการเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐเเห่งเดียวของประเทศไทยที่วางสถานะให้เเข่งขันกับเเบงก์ใหญ่เจ้าอื่นๆ ได้ อยากให้ความมั่นใจเเละไม่ต้องกังวล

-ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

ส่วนกระเเสข่าวที่ว่าจะเป็นการฉวยโอกาสเพื่อเอาพนักงานออกนั้นไม่ใช่เรื่องจริง

โดยการพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ในด้านสวัสดิการพนักงาน มีเพียงเรื่องเดียวที่จะเปลี่ยนคือ เรื่องการรักษาพยาบาล เนื่องจากพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้นจะอยู่ภายใต้ พ... งบประมาณฯ ไม่ต้องเข้า พ... ประกันสังคมเหมือนเอกชน

เเต่เมื่อพ้นสภาพมาเเล้ว ผยงกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะเเต่เดิมกรุงไทยก็ไม่ได้ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดินในการดำเนินงาน ดังนั้นธนาคารจะแก้ไขระเบียบภายในให้สามารถปรับการรักษาพยาบาลของพนักงานให้คงสิทธิ์เช่นเดิมได้ โดยได้หารือกับสหภาพเเรงงานถึงการเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเเล้ว เเละเป็นไปด้วยดี

เราจะยืนอยู่บนตัวตนของเรา เป็นพันธมิตรกับรัฐบาล จับมือกับพาร์ตเนอร์อื่นๆ ที่เข้าใจเราเเละเราเข้าใจเขา ทุ่มลงทุนเทคโนโลยี เเละศึกษาทางเลือกอยู่เสมอ

Photo : Shutterstock

เปลี่ยนบริการให้เป็นเซลส์ 

ช่วงที่ผ่านมา กรุงไทยเริ่มปรับตัวครั้งใหญ่ ด้วยการขยับไปสู่การเป็น Personal Life Banking เข้าไปอยู่ในการใช้ชีวิตของผู้คน ผ่านการยึดโยงทางดิจิทัล เป็น One Stop Service เเละเป็น Omni-Channel 

เราจะเเบงก์ของคนต่างจังหวัด ใกล้ชิดชุมชน เเละจะต่อยอดให้เข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุดต่อไป

ส่วนความท้าทายในการขับเคลื่อนองค์กรที่อยู่มานานนั้น ผยงตอบว่า คือการ ReskillUpskill เพิ่มทักษะยุคใหม่ให้พนักงาน รวมไปถึงการใช้ Data ที่ธนาคารมีอยู่มหาศาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยต่อไป กรุงไทย มีวิสัยทัศน์ธุรกิจ 5 เเนวทางหลักๆ ได้เเก่

  • ประคองธุรกิจหลัก ให้ก้าวผ่านช่วงวิกฤตโลก
  • สร้างธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่เเค่ธุรกรรมธนาคารเเต่ขยายในน่านน้ำอื่นๆ
  • ใช้กระดาษน้อยลง ประหยัดพลังงาน ดำเนินงานสาขาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม
  • หาพันธมิตรใหม่ๆ ร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม เเละลงทุนในเทคโนโลยี
  • ยึดถือสโลเเกนกรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน  ช่วยเหลือชุมชน SME เพิ่มทักษะให้พนักงาน

เรามีการเปลี่ยนบริการให้เป็นเซลส์ (การขาย) เช่น การเพิ่มบริการคอลเซ็นเตอร์ ด้านการทวงหนี้ ติดตามหนี้ ประเมินหลักทรัพย์ต่างๆ ไปให้บริการกับบริษัทอื่นเพื่อเป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่ง

นอกจากนี้ เเต่เดิมกรุงไทยตั้งการใช้งบฯ การลงทุนไว้ที่ 1.4 หมื่นล้าน เเต่ปีนี้ใช้ไปได้เเค่ 7-8 พันล้านจากสถานการณ์โรคระบาด จึงคาดได้ว่าปีหน้าจะมีการทุ่มลงทุนมากขึ้นอย่างเเน่นอน โดยเฉพาะในส่วนดิจิทัล เพื่อรองรับมาตรการต่างๆ ของรัฐ อย่าง เเอปฯ เป๋าตัง เว็บไซต์ลงทะเบียนคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ฯลฯ เเละขยายฐานลูกค้าผู้ใช้เเอปพลิเคชัน Krungthai NEXT จากผู้ใช้ตอนนี้ 9.95 ล้านรายให้ได้ 12 ล้านรายในปีหน้า

ธนาคารกรุงไทย ได้แต่งตั้งให้ไปรษณีย์ไทยเป็น Banking Agent อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการเงินให้สะดวกยิ่งขึ้น

ปี 2564 : ประคองธุรกิจ ดูแลสินเชื่อเก่าให้ดีและรอด

ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบหนักจาก COVID-19 ทั้งด้านผลกำไรที่ลดลงเเละราคาหุ้นที่ตกต่ำ เเม้จะผ่านช่วงวิ
กฤตไปเเล้ว เเต่ปีหน้ายังมีความท้าทายสูง จากความเสี่ยงหนี้เสียเเละคนตกงาน

ไม่ใช่ปีเเห่งกำไร หรือปีเเห่งการเติบโต เเต่เป็นปีเเห่งการรักษาความเเสถียร เน้นดูแลสินเชื่อเก่าให้ดีและรอด ผยง ศรีวณิช กล่าวถึงทิศทางธุรกิจในปี 2564

โดยมองว่า แผนดำเนินงานในปีหน้าจะยังไม่เน้นการเติบโตของสินเชื่อใหม่มากนัก ตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ 2-3% ใกล้เคียงกับการขยายตัวของจีดีพีไทย

ผยง คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะหดตัวในกรอบ -6% ถึง -7 % ขณะที่ปี 2564 เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.0% ถึง 4.0%

เเม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวบ้างเเล้ว เเต่ประเทศไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน โดยเฉพาะการพึ่งพาการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนกว่า 10% ของจีดีพี เเต่ยังฟื้นตัวจำกัด ยังไม่สามารถว่าจะมีนักท่องเที่ยวกลับมาได้เท่าใดเเละเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาเเละกระจายจายวัคซีน

ดังนั้น ธนาคารจึงต้องเน้นไปที่การประคองเศรษฐกิจ นำเสนอบริการที่เเยกตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ระวังตลาด
เเรงงานที่ยังเปราบาง อัตราว่างงานสูง ระวังความเสี่ยงจากหนี้เสีย (NPL) ซึ่งตอนนี้ของ KTB อยู่ที่ราว 4% นิดๆรวมไปถึงความเสี่ยงจากหนี้ครัวเรือนด้วย

ประเทศไทยจะลดหนี้ครัวเรือนไม่ได้ หากไม่เพิ่มรายได้ให้ประชาชน…”

ช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบขาก COVID-19 ที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของกรุงไทย คิดเป็น 18% ของสินเชื่อรวมที่ระดับ 1.8 ล้านล้านบาท ถือว่าไม่มากนัก เมื่อเทียบกับธนาคารอื่นจะอยู่ที่ราว 30-40% ปัจจัยหลักๆ มาจากลูกค้าเป็นกลุ่มข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้ ส่วนสินเชื่อรายย่อยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เชื่อมโยงไปยังซัพพลายเชนธุรกิจอื่นๆ มากนัก

ภาครัฐยังเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้า ต้องกระตุ้นกำลังซื้อภาคครัวเรือนให้ความต่อเนื่อง ทั้งโครงการคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ช้อปดีมีคืน

ผยง บอกอีกว่า การเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ จะเป็นแรงสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมถึงยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในระยะยาว

@ลุยต่อคนละครึ่งคาดเเห่ลงเฟส 2 ถึง 10 ล้านคน

หนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ ณ ขณะนี้ คงหนีไม่พ้น โครงการคนละครึ่ง ที่ส่งเสริมให้พ่อค้าเเม่ค้ารายย่อยมีรายได้มากขึ้น โดยภาครัฐจะช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ ภายใต้วงเงินอุดหนุน 30,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 23 ..-31 .. (เฟสเเรก)

ล่าสุดเฟส 2” จะเริ่มให้ใช้สิทธิในวันที่ 1 .. – 31 มี.. 2564 ขยายวงเงิน 3,500 บาทต่อคน และเพิ่มวงเงินให้แก่ผู้ได้รับสิทธิในเฟสแรกอีก 500 บาทต่อคน เปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ตั้งแต่วันที่ 16 ..นี้ เป็นต้นไป

เรากำลังเร่งฝ่ายไอทีให้ตรวจสอบเสถียรภาพ ไม่ให้เกิดปัญหาคอขวด แม้ว่าจะเปิดรับลงทะเบียนเพียง 5 ล้านคน แต่เชื่อว่าจะมีผู้สนใจมาลงทะเบียนสูงถึง 10 ล้านคน

โดยมีการปรับปรุงระบบการลงทะเบียนหน้าเว็บไซต์ ให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากขึ้นจาก 200,000 คน ต่อการเข้าใช้งาน 1 ครั้ง เป็น 500,000-1,000,000 คน ต่อการใช้งานในแต่ละครั้ง พร้อมประสานกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วของระบบการส่งข้อความยืนยัน โอทีพี (OTP) ผ่าน SMS

ส่วนผู้เข้าร่วมโครงการในเฟสเเรก แล้วต้องการต่อสิทธิ์อัตโนมัติรัฐบาลจะมีการเพิ่มปุ่มหรือส่งข้อความให้ผู้ลงทะเบียนเฟส 1 ยืนยันว่าจะเข้าร่วมมาตรการต่อในเฟส 2 หรือไม่ ขณะที่ผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์จากโครงการคนละครึ่ง เฟสเเรก เนื่องจากไม่ได้ใช้จ่ายภายใต้โครงการภายในวันที่กำหนดไว้ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเฟส 2 ได้ 

สำหรับโครงการคนละครึ่ง วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 8.9 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 9.5 ล้านคน มียอดการใช้จ่ายสะสม 33,754 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 17,236 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 16,518 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 181 บาทต่อครั้ง 

ส่วนจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช ชลบุรี และเชียงใหม่ โดยผู้ประกอบการร้านค้ายังคงสมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

]]>
1309417
ธนาคาร “กรุงไทย” เเจ้งพ้นสภาพการเป็น “รัฐวิสาหกิจ” หลังกฤษฎีกาตีความชัด https://positioningmag.com/1304981 Sat, 07 Nov 2020 11:29:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304981 ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เเจ้งต่อ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง “แจ้งความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อสถานภาพของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)” โดยมีเนื้อหาดังนี้

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ธนาคารได้รับหนังสือจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) ซึ่งแจ้งให้ธนาคารทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือตอบข้อหารือของกองทุนฯ ที่ขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับสถานภาพของกองทุนฯ และธนาคารกรุงไทย

โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งผลการพิจารณาว่า ธนาคารกรุงไทย ไม่มีลักษณะเป็นบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม (2) และ (3) ของบทนิยามคำว่า ‘รัฐวิสาหกิจ’ ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 

การเปลี่ยนสถานภาพของธนาคารตามความเห็นข้างต้น อาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารและต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจหลายฉบับ ซึ่งธนาคารอยู่ระหว่างการพิจารณาถึงผลกระทบในด้านต่างๆ หากได้ความชัดเจนแล้วธนาคารจะได้แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทราบในโอกาสต่อไป

อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้ศึกษาผลความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นด้านคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของธนาคารจนได้ข้อยุติ ว่า

“โดยผลของความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกอบกับการมีผลบังคับใช้ของพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและการบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 ส่งผลทำให้กรรมการ ผู้บริหารสูงสุด ตลอดจนพนักงานของธนาคาร ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานของกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518” 

สำหรับผลกระทบด้านกฎหมายฉบับอื่นๆ ธนาคารจะเรียนแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปเช่นกัน

โดยสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 คือ คำนิยามของคำว่ารัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หมายความว่า

1.องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ
2.บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตาม
  • มีทุนรวมทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ
3.บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตาม (1) หรือ (2) หรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) และ (2) รัฐวิสาหกิจตาม มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ

ใครคือผู้ถือหุ้นใหญ่ในกรุงไทย ? 

ราคาในตลาดหุ้นของธนาคารกรุงไทย (KTB) ณ วันที่ 7 พ.ย. 2563 อยู่ที่ 9.15 บาท มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 11 อันดับเเรก ดังนี้

ข้อมูลจาก set.or.th ณ วันที่ 7 พ.ย. 2563

จะเห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของธนาคารกรุงไทย คือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งถือหุ้นอยู่จำนวน 55.07% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้ว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกิน 50% ของกรุงไทยนั้น มีสถานะ ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยวินิจฉัยแล้วในปี 2543 ว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และธนาคารกรุงไทย มีสถานะเป็น “รัฐวิสาหกิจ” แต่ต่อมามีการปรับปรุง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2561 และมีการใช้พ.ร.บ.วิธีงบประมาณ 2561 และมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในบทนิยม “รัฐวิสาหกิจ” ใหม่

ล่าสุดในเดือนต.ค. 2563 หลังจากกองทุนฟื้นฟูฯ ขอให้วินิฉัยว่ามีฐานเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ รวมทั้งสถานภาพของธนาคารกรุงไทย เนื่องจากคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” มีการนิยามในกฎหมายหลายฉบับและมีความแตกต่างกัน

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) พิจารณาแล้ว มีความเห็นโดยสรุปดังนี้

1) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามคำนิยาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2561 กำหนดให้ ธปท.เป็นหน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นหน่วยงานในธปท.

2) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่ได้เป็น “หน่วยงานรัฐ” ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ เนื่องจากไม่ได้รับเงินงบประมาณ หรือ รายจ่ายอุดหนุนจากงบประมาณ เนื่องจากได้รับเงินจากอำนาจหน้าที่ของกองทุนฯ เองและได้รับการจัดสรรจากธปท.

3) ธนาคารกรุงไทย ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากกองทุนถือหุ้น 55.07%

4) ประเด็นการยื่นบัญชีทรัพย์สินนั้น กฤษฎีกาไม่ได้พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่าต้องปฏิบัติตามประกาศของป.ป.ช.อยู่แล้ว

5) ประเด็นเรื่องการมองฉันทะ หรือ มอบอำนาจให้กระทรวงการคลังได้หรือไม่นั้น สามารถดำเนินการได้ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.มหาชนจำกัด 2535 และการกำกับดูแลนั้นต้องทำผ่านกลไกคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

 

]]>
1304981
“กรุงไทย” มีกำไรในไตรมาส 3 มูลค่า 16,572 ล้าน เพิ่มขึ้น 16% ส่วน 9 เดือนเพิ่มขึ้น 12% https://positioningmag.com/1302570 Wed, 21 Oct 2020 07:00:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302570 ธนาคารกรุงไทย และบริษัทย่อย ประกาศผลประกอบการ มีกำไรจากการดำเนินงานช่วง 9 เดือน ปี 2563 เท่ากับ 54,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ไตรมาส 3 กำไรจากการดำเนินงาน เท่ากับ 16,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16%

ธนาคาร และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3/2563 เท่ากับ 16,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ นอกเหนือจากการบริหารจัดการทางการเงิน ท่ามกลางสภาวะดอกเบี้ยขาลง ประกอบกับรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงาน ในไตรมาส 3/2562 ส่งผลให้ Cost to Income ratio ลดลงเป็น 45.3% จาก 53% ในไตรมาส 3/2562

ธนาคารได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 12,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103.6% เมื่อเทียบกับการตั้งสำรองในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ส่งผลให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร ลดลงเป็น 3,057 ล้านบาท หรือลดลง 51.9%

ธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงาน 9 เดือนปี 2563 เพิ่มขึ้น 12.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเท่ากับ 68,023 ล้านบาท ขยายตัวขึ้น 0.6% ท่ามกลางสภาวะดอกเบี้ยนโยบายที่ถูกปรับลดจนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีสาเหตุหลักจากการได้รับรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ นอกเหนือจากการบริหารจัดการทางการเงิน จึงช่วยลดผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้

รายได้จากการดำเนินงานอื่นเติบโต 13.3% และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 13.8% จากรายการพิเศษสำรองด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายฯ และการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ Cost to Income ลดลงเป็น 42.2% จาก 48.8% ในช่วงเดียวกันของปี 2562

จากการพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ ประมาณการภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรงและมีความไม่แน่นอน ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพสินเชื่อ ธนาคารจึงได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 35,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 87.7% จากค่าใช้จ่ายสำรองในช่วงเดียวกันของปี 2562 ส่งผลให้มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 13,279 ล้านบาท ลดลง 39.2%

ณ 30 กันยายน 2563 ธนาคารมียอดสินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ 2,149,620 ล้านบาท โดยธนาคาร (งบการเงินเฉพาะ) มีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 15.01 และอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงที่ร้อยละ 18.42  ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

]]>
1302570