ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai เล่าว่า อ้างอิงจาก Google Sea eConomy 2024 ประเมินว่า ตลาด Food Delivery ไทยจะมีมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท เติบโต +7% ซึ่งถือว่า เติบโตกว่ามูลค่าตลาดร้านอาหาร ที่คาดว่าจะเติบโตประมาณ +5% มีมูลค่า 7 แสนล้านบาท
ดังนั้น ปี 2567 ถือเป็น ปีแห่งความจริง เพราะแสดงการเติบโตของตลาดอย่างแท้จริงโดยที่ไม่มี ปัจจัยภายนอก ต่างจากที่ผ่านมาที่มีการระบาดของ COVID-19 ซึ่งปัจจัยในการเติบโตหลัก ๆ มาจาก จำนวนผู้ใช้ใหม่จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับเทคโนโลยี
“ตลาดร้านอาหารไทยแข่งขันสูง แต่ละปีมีร้านปิดประมาณ 30% แต่ก็เปิดใหม่มาทดแทน ดังนั้น การเติบโตจะไม่สูง แต่ที่ตลาด Food Delivery โตกว่าเพราะยังมีโอกาสเติบโตจากผู้ใช้ใหม่ เช่น เด็กจบใหม่ ที่ 80-90% ต้องเคยใช้ Food Delivery หรือกลุ่มหลักที่ใช้อย่าง 30-40 ปี ก็ยังใช้ต่อเนื่อง ดังนั้น ตลาดจึงยังมีโอกาสโตจากคนรุ่นใหม่”
แม้ว่าในปีนี้ SCBX จะยกธงขาวประกาศ ปิดตัวแพลตฟอร์ม Robinhood หลังจากขาดทุนสะสม 3 ปีกว่า 5,500 ล้านบาท แต่สุดท้ายแพลตฟอร์มก็ถูก ขาย ให้กับกลุ่มผู้ลงทุนที่นำโดย ยิบอินซอย (YIP IN TSOI) มาซื้อไปในมูลค่า 2,000 ล้านบาท
“Robinhood” บทใหม่ภายใต้ “ยิบอินซอย” ขอเก็บ GP 28%
ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ยอด มองว่า ในปีหน้าภาพจะยิ่งชัดเจนว่า ผู้เล่นรายไหนจะยังอยู่ เพราะด้วยลักษณะของตลาดที่มีความเป็นวอลลุ่มค่อนข้างสูง ธุรกิจต้องการ Economy of scale เพื่อทำให้ธุรกิจดำเนินการต่อได้ ดังนั้น ผู้เล่นรายเล็ก จะยิ่งอยู่ยาก เพราะต้องการไซส์เพื่อสเกล และภาพของตลาดไทยจะเหมือนกับต่างประเทศที่จะมีผู้เล่น อยู่รอด 2-3 ราย ซึ่งปีหน้าจะเห็นว่าผู้เล่นรายไหนจะอยู่รอดจากนี้ สำหรับตลาดไทยในปัจจุบันมีผู้เล่นหลัก ๆ อยู่ 4 ราย ได้แก่ LINE MAN Wongnai, Grab, Food Panda, Robinhood และ Shopee Food
สำหรับภาพรวม 10 เดือนที่ผ่านมาของ LINE MAN Wongnai มีการเติบโต +35% โดยมั่นใจว่าเป็น เบอร์ 1 เมื่อวัดจากจำนวนธุรกรรมต่อวัน โดยปัจจุบันแพลตฟอร์มมีผู้ใช้กว่า 10 ล้านรายต่อเดือน ให้บริการครบ 77 จังหวัด ครอบคลุม 328 อำเภอ มีร้านค้าในระบบกว่า 5 แสนร้าน และมี ไรเดอร์กว่า 1 แสนคน
“เรายืนยันว่าเป็นเบอร์ 1 เมื่อเทียบวัดจากจำนวนธุรกรรมต่อวัน แต่บอกไม่ได้ว่าทิ้งห่างเบอร์ 2 แค่ไหน ถือว่ามีระยะห่างประมาณหนึ่ง แต่เราไม่เคยสบายใจ เพราะผมให้เกียรติคู่แข่งเสมอ เขาก็แข็งแรง เราเองก็ต้องสู้ทุกหยด ทุกเม็ด แม้ผู้เล่นเหลือน้อยก็วางใจไม่ได้”
ในส่วนของจำนวนไรเดอร์ ยอด ระบุว่า ไม่เพิ่มขึ้น แต่เน้นเพิ่ม efficiency ให้ดีขึ้น ทำรอบได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้แต่ละวัน โดยสามารถเพิ่ม productivity ของไรเดอร์ได้ถึง 50% ต่อวัน เมื่อเทียบกับ 2 ปีก่อน และปัจจุบันจำนวนไรเดอร์ที่ ทำประจำ มีมากกว่าพาร์ตไทม์ ซึ่งแพลตฟอร์มพยายามจะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อเพื่อแก้ pain-point ให้กับลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพให้ไรเดอร์
ในปีนี้ฟีเจอร์ใหม่ที่ออกมาก็ได้รับผลตอบรับที่ดี เช่น การเพิ่ม ตัวเลือกจัดส่ง โดยพบว่า 25% เลือกจัดทันใจ และส่งถูก หรืออย่างฟีเจอร์ Multiple Pick-Up ที่ทำให้สั่งร้านที่ 2 ระหว่างทางได้ ซึ่ง 50% ของยูสเซอร์เคยใช้ฟีเจอร์นี้ เป็นต้น
“ฟีเจอร์ใหม่ ๆ 70% เป็นสิ่งที่อยู่ภายในที่ผู้ใช้ไม่ได้เห็น อาทิ Cooking time prediction ที่จะช่วยให้ไรเดอร์ไม่ต้องรอนาน ซึ่งสิ่งนี้ยูสเซอร์อาจไม่ได้เห็น แต่มาเพื่อแก้ปัญหาให้ทั้งไรเดอร์และลูกค้า”
สำหรับเป้าหมายการ IPO ภายในปีหน้า ยอดยังคงย้ำถึงเป้าหมายเดิมส่วนโอกาสการ ควบรวมกิจการในธุรกิจเดียวกัน ของ LINE MAN Wongnai ค่อนข้าง เป็นไปได้ยาก โดย ยอด ให้ความเห็นว่า เพราะเหลืออยู่ไม่กี่ราย และแข่งขันกันมานาน แต่ถ้าเป็นการ M&A ข้ามอุตสาหกรรมเพื่อสร้างการเติบโตยังเป็นไปได้ เช่นการ M&A กับ Rabbit LINE Pay เป็นต้น
ในส่วนของการ ลงทุนในสตาร์ทอัพไทย รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยอด มองว่า มีความ ท้าทายมาก เพราะต้องยอมรับว่า นักลงทุนไม่อยากเสี่ยง ที่จะลงทุนกับสตาร์ทอัพระยะแรก ทำให้ช่วงสองปีที่ผ่านมานักลงทุนหันไปลงทุนในตลาดที่มีโอกาสเติบโตและให้ผลตอบแทนได้มากกว่า อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา
]]>ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai กล่าวว่า ภาพรวมตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ไทยคาดว่ามีสัดส่วนประมาณ 15% ของตลาดอาหารทั้งหมด หรือมีมูลค่าราว 1.2 แสนล้านบาท โดยมีโอกาสเติบโตเกือบ +10% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้
อย่างไรก็ตาม ยอดมั่นใจว่า LINE MAN มีอัตราการเติบโตเหนือตลาด และเป็นผู้เล่นที่ เติบโตเร็วสุดในตลาด เนื่องจากความครอบคลุมของพื้นที่ในการให้บริการ และจำนวนร้านอาหารที่ครอบคลุม โดยปัจจุบัน LINE MAN มีไรเดอร์กว่า 1 แสนคน ให้บริการครบ 77 จังหวัด ครอบคลุม 328 อำเภอ เพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบกับ 2 ปีที่ผ่านมา และมีร้านค้าในระบบกว่า 7 แสนร้าน มีผู้ใช้กว่า 10 ล้านรายต่อเดือน
“ถ้าเป็นคนกรุงเทพฯ อาจไม่เห็นความแตกต่าง แต่ในต่างจังหวัดเราเป็นเบอร์ 1 เพราะให้บริการคลอบคลุม และจำนวนร้านอาหารเราก็เป็นเบอร์ 1 โดยเฉพาะร้านรายย่อยและสตรีทฟู้ด”
อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ถือเป็นตลาดที่ Maturity ทำให้ผู้เล่นแต่ละรายไม่ได้ทุ่ม Subsidize เหมือนช่วงเริ่มต้น แต่จากภาวะเศรษฐกิจทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคค่อนข้างระมัดระวังเรื่องการจับจ่าย ทำให้ LINE MAN ได้ทุ่มงบการตลาด 300 ล้านบาท ออกแคมเปญ ถูกสุดทุกวัน พร้อมปรับให้ใช้ส่วนลดได้ 3 ต่อพร้อมกันในออร์เดอร์เดียว โดยไม่ต้อง Scbscibe เพื่อเป็นสมาชิก โดยแคมเปญดังกล่าวถือเป็นแคมเปญใหญ่สุดในรอบ 3 ปี
“ทุกครั้งที่ทำการสำรวจ ประเด็นค่าส่งถูก ราคาอาหารเป็นมิตร ถือเป็นเบอร์ต้น ๆ ที่ลูกค้าให้ความสำคัญ ดังนั้น เราจึงทำแคมเปญนี้ตลอด 3 เดือน แต่ถูกสุดทุกวันไม่ใช่แค่แคมเปญ แต่เป็นจุดยืนของเรา”
นอกจากนี้ LINE MAN ยังดัน Moon มาสคอตของแบรนด์ขึ้นมาเป็น พรีเซ็นเตอร์ รับกระแสมาสคอตมาร์เก็ตติ้งที่กำลังมาแรงเพื่อสร้าง ภาพจำ อีกทั้งยังมีการใช้ดารา อินฟลูเอนเซอร์มาสร้างแรงกระตุ้นในตลาด
อย่างไรก็ตาม ยอด ย้ำว่า แคมเปญดังกล่าวไม่ใช่การเริ่ม สงครามราคา แต่ LINE MAN อยากจะกระตุ้นตลาดช่วงโค้งสุดท้ายของปี ซึ่งถือเป็นช่วงไฮซีซั่น เพื่อเพิ่มโมเมนตัมการเติบโต และเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ โดยคาดว่าในช่วงแคมเปญดังกล่าว จะช่วยให้ LINE MAN เติบโต 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
“ภาพจำของตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ที่ต้อง Subsidize มันจะเปลี่ยนไปแน่นอน เพราะตลาดเริ่มมาชัวร์แล้ว แต่มันก็ต้องมีการแคมเปญเพื่อกระตุ้นตลาดบ้าง ซึ่งที่เราเลือกจัดแคมเปญใหญ่ช่วงไตรมาสสุดท้ายเพราะตอนนี้เรามีความมั่นใจ อยากจะบุกและกระตุ้นตลาดในช่วงหน้าหนาวซึ่งเป็นไฮซีซั่น”
กรณีที่ Robinhood ผู้เล่นอีกรายในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ที่ได้เจ้าของใหม่ ทำให้ยังคงโลดแล่นอยู่ในตลาด พร้อมกับข่าวลือว่าอาจมี ผู้เล่นใหม่ เข้ามาในตลาด ยอด มองว่า ไม่ได้กังวล เพราะการแข่งขันในตลาดก็ยังคงมี และมองว่าตลาดฟู้ดเดลิเวรี่ไม่ใช่ตลาดที่จะเข้ามาได้ง่าย ๆ ต้องมีความพร้อมในด้านอินฟราสตรักเจอร์ และเน็ตเวิร์ก อย่างไรก็ตาม ยอด เชื่อว่า ตลาดยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว ยังขยายได้ โดยเฉพาะ Coverage ในระดับอำเภอ ซึ่งประเทศไทยมีอำเภอประมาณ 700-800 อำเภอ
“Robinhood ยังทำตลาดต่อ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแผนหรือการแข่งขัน ก็ถือว่าผู้บริโภคมีตัวเลือกเพิ่มในตลาด ถือเป็นอีกแพลตฟอร์มไทยที่เป็นเพื่อนกับเราในวงการนี้”
สำหรับแผนการเข้าเตรียมขายหุ้นไอพีโอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในปี 2025 ยอด ยืนยันว่า ยังคงเป็นเป้าเดิม แต่ไม่สามารถระบุชัดได้ว่าจะเป็นช่วงไตรมาสใด ในส่วนของการ ทำกำไร ไม่ได้มีความกังวล เพราะยังสามารถทำกำไรจากธุรกิจอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารจัดการร้านอาหาร ธุรกิจเพย์เมนต์ ซึ่งบาลานซ์กับธุรกิจออนดีมานด์ได้ แม้จะเป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดก็ตาม
จากกรณีผลสำรวจของ Redseer Strategy Consultants บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการธุรกิจสัญชาติอินเดีย ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับตลาด On-Demand ในประเทศไทยว่า ในช่วงครึ่งปีแรก LINE MAN Wongnai มีส่วนแบ่งตลาด 44% แซงหน้ายักษ์ใหญ่อย่าง Grab ที่มีอยู่ 40% ในด้านจำนวนการทำธุรกรรม ขณะที่ Grab เองได้ออกมาแสดงความเห็นว่า ไม่น่าเชื่อถือ
ซึ่งทาง ยอด ออกมาแสดงความเห็นว่า เพราะทั้ง LINE MAN และคู่แข่ง ต่างก็ มั่นใจในตัวเลขผลประกอบการของบริษัท อย่างไรก็ตาม การจะบอกว่า LINE MAN เป็นเบอร์ 1 คงต้องให้คนกลางเป็นคนพูด แต่ LINE MAN ยังมีความตั้งใจจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ให้ได้ และจากการสำรวจของหลาย ๆ สำนักก็ให้ LINE MAN เป็นเบอร์ 1
]]>สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Line Man Wongnai บริการส่งอาหารรายใหญ่ของไทย ได้เตรียม IPO เข้าตลาดหุ้นไทยในปีหน้า (2024) และจะระดมทุนมากถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 11,000 ล้านบาท
ความเคลื่อนไหวของแหล่งข่าวดังกล่าวได้กล่าวว่า Line Man Wongnai ได้ที่ปรึกษาทางการเงินในไทยประกอบไปด้วยธนาคารกสิกรไทย และบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ขณะเดียวกันก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการหาวาณิชธนกิจจากต่างประเทศ เพื่อช่วยในการระดมทุนจากนักลงทุนสถาบันที่อยู่ในต่างประเทศ
สอดคล้องกับรายงานของสำนักข่าว Reuters ที่ได้สัมภาษณ์ ชอง อิน ยัง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ LINE MAN Wongnai ได้แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินแล้ว
ถ้าหากอ้างอิงเม็ดเงินในการระดมทุนแล้ว Line Man Wongnai อาจติด 1 ใน 10 ของการระดมทุนในตลาดหุ้นไทยในรอบหลายปี และอาจสร้างความคึกคักให้กับตลาดหุ้นไทย เนื่องจากมีบริษัทแพลตฟอร์มเข้ามาระดมทุน
ก่อนหน้านี้ไม่นาน Line Man Wongnai ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการ Rabbit LINE Pay ร่วมกับ LINE ซึ่งดีลดังกล่าวถือเป็นดีลในการซื้อกิจการต่อจากการซื้อกิจการ Food Story สตาร์ทอัพไทยผู้พัฒนาระบบ POS (Point of Sale)
อย่างไรก็ดีแหล่งข่าวของสำนักข่าวดังกล่าวได้กล่าวว่า ดีลดังกล่าวยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น เม็ดเงินในการระดมทุน รวมถึงระยะเวลาในการเข้าตลาดอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ ขณะที่ตัวแทนของบริษัทได้กล่าวกับ Bloomberg ว่าบริษัทมีแผนที่จะ IPO ในปี 2025 แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นๆ แต่อย่างใด
]]>ถ้าเป็นคนกรุงเทพฯ ที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS บ่อย ๆ เชื่อว่าก็คงจะใช้บริการ Rabbit LINE Pay (RLP) แน่นอน ซึ่ง Rabbit LINE Pay นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดจาก LINE Thailand ร่วมมือกับทาง Rabbit Card และ mPay แพลตฟอร์มบริการทางการเงินของ AIS เข้ามาลงทุนร่วมกันเมื่อปี 2018 โดยทั้ง 3 พาร์ทเนอร์นั้นถือหุ้นเท่า ๆ กัน
โดยจุดเด่นของ Rabbit LINE Pay ก็คือ การใช้งานผ่านแพลตฟอร์ม LINE ได้เลยโดยไม่ต้องโหลดแอปฯ เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตั๋ว BTS, ซื้อสินค้าใน LINE เช่น สติกเกอร์ รวมไปถึงร้านค้าชั้นนำต่าง ๆ ทั้งนี้ ตัวเลข ณ ปี 2022 Rabbit LINE Pay มีจำนวนผู้ใช้กว่า 10 ล้านราย
แม้จะไม่มีการเปิดเผยถึงมูลค่าการเข้าซื้อหุ้น RLP ต่อจาก แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด และ บริษัท แรบบิทเพย์ ซิสเทม จำกัด แต่ ยอด ชินสุภัคกุล เปิดเผยว่า LINE MAN Wongnai เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยเชื่อว่า RLP นั้นเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจของ LINE MAN Wongnai โดยเปรียบเสมือน น้ำมันหล่อลื่น ให้กับธุรกิจ เพราะในทุกบริการต้องใช้ระบบเพย์เมนต์ นอกจากนี้ ยอด ยังมองว่า ตลาดอีเพย์เมนต์ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
“ทุกบริการของ LINE MAN Wongnai ไม่ว่าจะเป็น Food, Taxi Messengers หรือ LINE เองก็มีบริการอีคอมเมิร์ซอย่าง LINE Shopping และทุกอย่างต้องใช้ระบบเพย์เมนต์ทั้งหมด ดังนั้น RLP จะมาช่วยให้บริการต่าง ๆ มันไร้รอยต่อ (Seamless) มากขึ้น” ดร.พิเชษฐ กล่าวเสริม
ในแง่ขององค์กร RLP ยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทั้งออฟฟิศและพนักงาน ในส่วนของผู้ใช้ก็เช่นเดียวกัน บริการไหนที่เคยใช้ได้ก็ยังใช้ได้ตามเดิม ไม่ว่าจะเติมเงินขึ้นรถไฟฟ้า BTS หรือการใช้จ่ายผ่านร้านค้าพันธมิตร ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคอยากรู้คือ บริการใหม่ที่จะได้เห็น
ซึ่ง ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ได้เปิดเผยว่าจะมีบริการใหม่ ๆ เกิดขึ้นแน่นอน อย่างน้อยที่จะได้เห็นก็คือ สิทธิพิเศษที่มากขึ้น หากใช้งาน RLP ผ่าน LINE หรือ LINE MAN รวมถึงความเป็นไปได้ของบริการ กู้เงินออนไลน์ เพราะทาง LINE เองก็มี LINE BK บริการทางการเงินแบบ Social Banking ของบริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างบริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (บริษัทในเครือของธนาคารกสิกรไทย) และบริษัท ไลน์ ไฟแนนเชียล เอเชีย (LINE Financial Asia) อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแผนชัดเจนว่าจะเห็นบริการใหม่ ๆ เร็วสุดเมื่อไหร่
“อาจยังไม่ชัดเจนว่าจะมีบริการอะไรใหม่ ๆ แต่เราจะพยายามดันทรานแซคชั่นของทั้ง LINE MAN Wongnai และ LINE เข้าไปใช้ใน RLP ให้ได้มากที่สุด แต่เราอยากให้คนเข้ามาในแพลตฟอร์มของเราแล้วทำได้ทุกอย่างตั้งแต่สั่งอาหารจนถึงกู้เงิน” ดร.พิเชษฐ กล่าว
แม้ว่าตลาดอี-วอลเล็ตปีนี้ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง ดอลฟิน วอลเล็ต จะหายไป แต่การแข่งขันก็ไม่ได้ลดน้อยลง โดย ยอด อธิบายว่า ตลาดอีเพย์เมนต์ยังมีความท้าทายจาก พร้อมเพย์ ที่ทำให้ทุกอย่างใช้งานได้อย่างเปิดกว้าง นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม เป๋าตัง ของรัฐบาล ดังนั้น การแข่งขันจึงกว้างมากเพราะมีทั้งธนาคารและแพลตฟอร์มอีวอลเล็ต ซึ่ง RLP ก็อยากจะเป็นผู้เล่นหลักของตลาดไทย ดังนั้น การมีบริการต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคยังใช้งานเป็นโจทย์ที่สำคัญ
“อย่างเป๋าตังเขาก็มีบริการซื้อสลากออนไลน์เพื่อดึงดูดให้ใช้งาน นี่ก็เป็นโจทย์ของเราว่านอกจากบริการที่มีที่ผู้บริโภคใช้อยู่แล้ว เราจะเพิ่มอะไรเข้าไปได้อีก”
อย่างไรก็ตาม ทิศทางของตลาดอีเพย์เมนต์ มีแต่ขาขึ้นไม่มีทางลง ตลาดจะใหญ่ขึ้นอีกเพราะผู้บริโภคใช้งานชินตั้งแต่เกิดโควิดระบาด คนใช้เงินสดน้อยลง เพียงแต่ตลาดยังไม่มาชัวร์ เพราะยังมีผู้เล่นที่ออกจากตลาดไปและยังมีผู้เล่นใหม่ ๆ เข้ามา
ปัจจุบัน แม้บริการ RLP จะยังไม่ทำกำไร โดยในปี 2565 รายได้รวม 319.63 ล้านบาท ขาดทุน 156.65 ล้านบาท แต่ในส่วนของผู้ใช้ยังคงเติบโต โดย ยอด กล่าวว่า ยังไงต้องทำให้ RLP มี กำไร และเติบโตในฐานะ STAND ALONE COMPANY ที่แข็งแกร่ง
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานข่าว โดยอ้างอิงจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารของ LINE MAN Wongnai ว่าผู้ให้บริการส่งอาหารรายใหญ่ของไทยรายนี้เตรียม IPO ภายในปี 2025 และอาจระดมทุนในตลาดหุ้นอื่นๆ ถ้าหากนักลงทุนสนใจ
สื่อรายดังกล่าวได้สัมภาษณ์ ชอง อิน ยัง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ LINE MAN Wongnai โดยล่าสุดบริษัทได้แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินแล้ว และตั้งเป้า IPO ภายในปี 2025 คาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงพิจารณาเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นอื่นเช่น สหรัฐอเมริกา ถ้าหากนักลงทุนสนใจจำนวนมากพอ
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวตามมาหลังจากที่บริษัทได้ซื้อกิจการ FoodStory รวมถึง Rabbit Line Pay
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม ยอด ชินสุภัคกุล CEO ของ LINE MAN Wongnai ได้กล่าวว่า แพลตฟอร์มยังไม่ถึงจุดคืนทุน แต่ปัจจุบันถือว่าอยู่ไม่ไกลซึ่งเป็นไปได้ที่จะคืนทุนได้ภายในปี 2023 นี้ ซึ่งส่วนที่ขาดทุนอยู่คือ Food Delivery และในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าบริษัทจะทำ IPO
อย่างไรก็ดีในรายงาน Reuters ได้ชี้ว่า ตลาดหุ้นไทยมีกฎเกณฑ์ด้านภาษีที่เอื้ออำนวย แต่ความเชื่อมั่นของตลาดหุ้นไทยนั้นได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมถึงความผันผวนของตลาด ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาบริษัทที่คาดว่าจะ IPO ไม่ว่าจะเป็น BigC รวมถึง SCG Chemical ต่างชะลอการ IPO ในตลาดหุ้นไทยไปก่อน เนื่องจากสภาวะตลาดหุ้นไม่เอื้ออำนวย
]]>ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai ได้เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดร้านอาหารในช่วงเดือนมิ.ย.65 – มิ.ย.66 ว่า มีร้านอาหารเปิดใหม่เพิ่มขึ้นจาก 598,693 ร้าน เป็น 680,190 ร้าน เติบโตขึ้น 13.6% แสดงให้เห็นว่าพอวิกฤตโควิดเริ่มคลี่คลาย คนหันมาเปิดร้านอาหารกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร้านอาหารเปิดใหม่จะมีเยอะ แต่จำนวนร้านที่ปิดตัวก็มีไม่น้อยเช่นกัน โดยจากสถิติพบว่ามีร้านอาหารถึง 50% ที่ต้องปิดตัวลงภายในปีแรก และ 65% ปิดตัวลงภายใน 3 ปี
ทั้งนี้ หากเจาะไปที่ ประเภทร้านอาหารที่กลับมา เติบโตมากที่สุดและเติบโตน้อยสุด 5 อันดับ บนแพลตฟอร์มเดลิเวอรี ได้แก่
ส่วน 5 ประเภทร้านอาหารที่การเติบโตชะลอตัวลง ได้แก่
“ส่วนใหญ่ร้านอาหารที่เปิดใหม่จะเป็นร้านเล็ก ๆ ยิ่งเมื่อมีบริการเดลิเวอรี ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านยิ่งทำให้เปิดร้านอาหารได้ง่าย ทำให้การแข่งขันมันสูง พอเขาลองเปิดแล้วพบว่าขายไม่ดีก็ปิดตัวลง อัตราการปิดกิจการในช่วงปีแรกจึงสูงอย่างที่เห็น” ยอด อธิบาย
จากการสำรวจความเห็นร้านอาหาร 1,230 แห่ง ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2023 พบว่าปัญหาหนักใจที่สุด ได้แก่
ฐากูร ชาติสุทธิผล ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบจัดการร้านอาหาร FoodStory POS ของ LINE MAN Wongnai อธิบายว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ต้นทุนร้านอาหาร 25-30% จะมาจาก วัตถุดิบ มากที่สุด ตามด้วย ค่าแรง (20-25%), ค่าเช่าที่ (20-30%), ต้นทุนอื่น ๆ (10%) ที่เหลืออีก 10-20% คือ กำไร
จากข้อมูลของร้านอาหารที่ใช้ Wongnai POS ยังพบว่ามูลค่าการซื้อขายรวม (GMV) ของยอดขายประเภทนั่งรับประทานที่ร้าน (Dine-in) กลับมามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย โดย ยอด ยอมรับว่าปัจจัยดังกล่าวทำให้ LINE MAN Wongnai ตัดสินใจที่ควบรวมกิจการกับ Food Story สตาร์ทอัพด้านโซลูชัน POS (Point of Sale) ที่บริษัทร่วมลงทุนตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว
ซึ่งจากการควบรวมของ LINE MAN Wongnai กับ Food Story ทำให้บริษัทกลายเป็นเบอร์ 1 ของตลาด POS ผ่านการมีส่วนแบ่งตลาด 40% ด้วยจำนวนการใช้งานกว่า 55,000 ร้านค้า มีมูลค่าการซื้อขายผ่านระบบราว 1.8 แสนล้านบาท ผ่านออร์เดอร์ที่สำเร็จ 636 ออร์เดอร์
“จริง ๆ เรามีคุยเรื่องควบรวมมากันหลายครั้งแรก แต่การที่ LINE MAN ควบรวมกับ Wongnai ก็ค่อนข้างใช้เวลา แล้วมาเจอโควิดอีก มาตอนนี้สถานการณ์คลี่คลาย ร้านอาหารกลับมาเติบโต การทานที่ร้านก็เกือบกลับมาเท่าปกติ เราเลยมองว่าถึงเวลาแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยมูลค่าดีลได้”
ร้านอาหารประมาณ 6 แสนร้าน ในไทย จะมีประมาณ 30% ที่ใช้ระบบ POS หรือประมาณ 150,000 ร้าน มีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท ดังนั้น ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เพราะยังมีร้านอาหารที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอีกเยอะ ซึ่งการควบรวมของ LINE MAN Wongnai กับ Food Story จะยิ่งช่วยให้เจาะ ร้านอาหารขนาดกลาง (ร้านอาหารที่มีหลายสาขา หรือแฟรนไชส์) จากปัจจุบัน LINE MAN Wongnai จะเก่งในการเข้าถึงร้านรายย่อย ส่วน Food Story เน้นเชนร้านอาหารขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม แม้ควบรวมกัน แต่จะไม่รีแบรนด์เป็นแบรนด์เดียวกัน เพราะ Food Story ถือเป็นแบรนด์ที่รู้จักอยู่แล้วโดยเฉพาะกับเชนร้านอาหารขนาดใหญ่ ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องรีแบรนด์
“เราเชื่อว่าควบรวมแล้วจะทำให้เราเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด เพราะการทำร้านอาหารมันมีรายละเอียดเยอะ เราเชื่อว่าการรวมเข้าด้วยกันจะทำให้พัฒนาหลาย ๆ ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น โดยเฉพาะด้าน CRM เพราะเรามี Audience จากทั้ง LINE และ Wongnai ดังนั้น เรามีชาแนลดึงลูกค้ากลับมาได้ด้วย ไม่ใช่แค่เก็บดาต้าอย่างเดียว”
]]>Momentum Works บริษัทที่ปรึกษาจากสิงคโปร์ ได้ออกรายงานเกี่ยวกับธุรกิจ Food Delivery ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยชี้ว่าอัตราการเติบโตของยอดขายทั้งหมด (GMV) เหลือเพียงแค่ 5% จากปี 2021 มายังปี 2022 ทำให้มูลค่าตลาดของ Food Delivery นั้นอยู่ที่ 16,300 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับข้อมูลมูลค่าตลาดของ Food Delivery ในอาเซียน ทาง Momentum Works ได้รวบรวมตัวเลขจากผู้เล่นรายสำคัญๆ ในตลาดไม่ว่าจะเป็น Grab และ Foodpanda ที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในละแวกนี้ GoTo ของอินโดนีเซีย LINE MAN Wongnai และ Robinhood ของไทย รวมถึงผู้เล่นรายอื่นๆ ในอาเซียน
ตัวเลขการเติบโตของ GMV ที่ลดลงในปี 2022 อาจทำให้ตลาด Food Delivery ในอาเซียนนั้นอาจทำธุรกิจได้ยากมากขึ้น
รายงานของ Momentum Works ชี้ว่าตลาดธุรกิจ Food Delivery ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนก็คืออินโดนีเซีย มี GMV ขนาดใหญ่ถึง 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือประเทศไทย มีขนาด 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยสิงคโปร์ที่มีขนาด 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง 3 ตลาดดังกล่าวนี้ GMV กลับลดลง จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์กลับเข้าไปทานอาหารในร้าน ภัยน้ำท่วมในหลายพื้นที่ หรือแม้แต่การยกเลิกมาตรการสนับสนุนของรัฐบาล
แต่สำหรับตลาดอย่างมาเลเซียและฟิลิปปินส์เองก็มีขนาด GMV ที่กำลังเติบโตอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามารุกของผู้เล่นรายสำคัญอย่าง Shopee Food
ในประเทศไทยนั้นในปี 2022 ที่ผ่านมาผู้เล่นอันดับ 1 ที่ครองตลาด Food Delivery ได้แก่ Grab มีส่วนแบ่งตลาดมากถึง 54% รองลงมาคือ LINE MAN ที่ 24% และ Foodpanda 16% ขณะที่ Robinhood นั้นมีส่วนแบ่งตลาด 6% และ ShopeeFood มีส่วนแบ่งแค่ 3% เท่านั้น
ขณะที่มองภาพใหญ่ในอาเซียนนั้น Grab ยังคงครอง GMV มากที่สุดในอาเซียนที่ 54% ขณะที่ Foodpanda อยู่ที่ 19% และ GoTo ที่ 12% ขณะที่ LINE MAN และ ShopeeFood นั้นกลับมี GMV รวมเท่ากันในอาเซียนที่ 6%
อย่างไรก็ดีในปี 2022 ที่ผ่านมานั้นมีข่าวลือที่ว่า Delivery Hero บริษัทแม่ของ Foodpanda อาจถอนตัวออกจากบางประเทศในอาเซียน และสำหรับในประเทศไทยนั้นก็มีข่าวลือว่า LINE MAN Wongnai เองอาจซื้อกิจการคู่แข่งรายนี้ด้วยซ้ำ
โดยเทรนด์ธุรกิจ Food Delivery ที่ Momentum Works มองในปี 2023 นี้ได้แก่การกลับมาทานอาหารในร้าน เรื่องของ Cloud Kitchen หรือการส่งสินค้าสด ระบบ POS สำหรับร้านค้าที่มีหลากหลายมากเกินไปจนน่ารำคาญ อาจทำให้มีผู้เล่นด้าน POS เข้ามา
นอกจากนี้ในรายงานดังกล่าวยังมีเรื่องของมาร์จิ้นธุรกิจ Food Delivery นั้นไม่ได้สูงอย่างที่คิด โดยได้ยกตัวอย่างของ Meituan ซึ่งเป็นบริการในประเทศจีนมาและบริษัทได้มาร์จิ้นเพียงแค่ 6% เท่านั้น ท้ายที่สุดแล้วบริษัทจะต้องลดรวมถึงตัดต้นทุนลงมาเพื่อที่จะทำให้ธุรกิจนั้นสามารถอยู่รอดได้
Note: อัพเดต 18/01/2023 แก้ไขคำและข้อมูลที่ผิด
]]>หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของสตาร์ทอัพก็คือ เทคโนโลยี ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีของ LINE MAN Wongnai ก็คือ ภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี LINE MAN Wongnai ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Wongnai โดยหลังจากที่ระดมทุนรอบซีรีส์บีมาได้ หนึ่งในภารกิจเร่งด่วนก็คือ ทีมเทคโนโลยีที่จะขยายจาก 350 เป็น 450 คน
ในส่วนของผู้ใช้ทั่วไปคงจะคุ้นชินกับแอป LINE MAN แต่จริง ๆ แล้วยังมีอีก 2 ส่วนก็คือ แอปสำหรับ ไรเดอร์ และ ร้านค้า ซึ่งปัจจุบันมีไรเดอร์กว่า 3 แสนราย และร้านค้าพันธมิตร 9 แสนร้านค้า นอกจากนี้ยังมีการทำ POS ให้กับร้านค้าที่มีหน้าร้าน ซึ่งอีโคซิสเต็มส์ทั้งหมดถูกดูแลโดยทีมเทคโนโลยีทั้งหมด 350 คน ซึ่งปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ทีมใหญ่ ๆ ได้แก่
ปัจจุบัน 90% ของทีมเทคโนโลยีเป็นคนไทย โดย ภัทราวุธ ให้เหตุผลว่า ต้องการที่จะ ลงลึก ถึงสิ่งที่ลูกค้าไทยต้องการมากกว่า เพราะมีความเข้าใจถึงปัญหา และใกล้ชิดกับร้านค้าพันธมิตร ทำให้สามารถคัสตอมไมซ์เทคโนโลยีได้ตามความต้องการ และภายใต้ความคาดหวังของผู้บริโภคชาวไทยที่ใช้งานแพลตฟอร์มระดับโลกจนชิน ดังนั้น UX/UI ต้องใช้งานง่าย และนำเสนอสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน (Personalize)
“อย่างตอนมีโครงการคนละครึ่ง เราก็เป็นแพลตฟอร์มแรก ๆ ที่สามารถซิงก์ให้ใช้จ่ายบนแพลตฟอร์ม ซึ่งสิ่งที่ท้าทายของบริษัทเทคโนโลยีไทยคือ เทคทาเลนต์ไทยไม่ได้มีเยอะมาก แต่เราต้องแข่งกับผู้เล่นเจ้าใหญ่ ดังนั้น เราที่มีคนน้อยกว่าก็ต้องลงลึกเพื่อเอาชนะ”
นอกจาการลงลึกความต้องการคนไทยแล้ว แต่กระบวนการทำงานก็เป็นอีกส่วนที่จะทำให้ชนะผู้เล่นรายใหญ่ ซึ่งทาง LINE MAN Wongnai ได้วางเคาเจอร์ในการทำงานไว้ 2 ส่วน ได้แก่ Flat Organization คือ ไม่มีระดับขั้น ทำให้สามารถทำงานได้เร็ว และ Cross-Functional Team ทำงานสอดประสานกันในลักษณะที่สามารถแก้ปัญหาภายในได้เอง
แม้ว่าที่ผ่านมา LINE MAN Wongnai จะใช้คนไทยทำงานเป็นหลัก แต่ในการเพิ่มทีมเทคโนโลยีจากนี้ ภัทราวุธ ยอมรับว่าอาจทำให้สัดส่วนของคนต่างชาติเพิ่มเป็น 30% เพราะถึงเวลาที่บริษัทต้องดึงทาเลนต์ต่างชาติที่มีประสบการณ์ในแพลตฟอร์มระดับโลกมาร่วมงาน เพื่อให้ต่อสู้กับคู่แข่งระดับโลก
“แต่ละปีมีคนมาสมัครเทคทีมกับเราหลายหมื่นคน แต่ตอนนี้เราอยากได้คนที่มีประสบการณ์ มีความรู้เฉพาะทาง อยากได้ทาเลนต์ที่มีไมด์เซตสเกลใหญ่ เราเลยต้องไปหาคนจากต่างประเทศ เพราะเราไม่ได้อยู่ในจุดที่ต้องมาเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ทีมเทคทีมเราแข็งแรงมากขึ้น”
ปัจจุบัน กลุ่มที่ขาดมากที่สุดของบริษัทคือ Platform Engineering, Data Science และ Project Manager เพราะประเทศไทยไม่ได้มีบริษัทเทคโนโลยีเยอะ ทำให้หาคนที่มีประสบการณ์ได้น้อย
ในปีนี้ ทีมเทคโนโลยีเริ่มทำงานแบบรีโมตเวิร์กกิ้ง โดยมีทีมใหม่อยู่ที่เชียงใหม่ตอนนี้มีพนักงานราว 20 คน โดยให้ทำงานที่เชียงใหม่โดยได้เงินเดือนและสวัสดิการณ์เหมือนทำงานในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ทางบริษัทก็มีทีมที่อยู่ในต่างประเทศบ้าง เช่น จีน สิงคโปร์ อินเดีย
“เรามั่นใจว่าค่าตอบแทนของเราไม่น้อยหน้าบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ และอีกสิ่งที่จะดึดงดูดทาเลนต์ต่างชาติคือ เขาจะมาเป็นเฟืองตัวใหญ่ขององค์กรเรา บางคนเขาต้องการสิ่งนี้ เขาไม่ได้อยากจะไปอยู่บริษัทใหญ่แล้วเป็นแค่เฟืองตัวเล็กในองค์กร”
ทั้งนี้ บริษัทได้มีการเปิดรับนักศึกษาฝึกงานทุกปีต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี โดย ภัทราวุธ ทิ้งว่า LINE MAN Wongnai ไม่ได้อยากเป็นแค่สตาร์ทอัพใหญ่สุดในไทย แต่อยากสร้างแรงบัลดาลใจให้คนรุ่นใหม่ ๆ และอยากเป็นตัวเลือกแรกที่เขาอยากมาทำงานไม่ต้องไปต่างประเทศ ทำให้เขาเติบโตไปได้เรื่อย ๆ และสร้างอิมแพ็คให้กับสังคมได้
]]>ย้อนไปในปี 2020 เมื่อ วงใน (Wongnai) แพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหารและข้อมูลด้านไลฟ์สไตล์ ได้ถูก ไลน์แมน (LINE MAN) แพลตฟอร์ม on-demand ส่งอาหารและส่งของของ LINE เข้าควบรวมกิจการในมูลค่า 3,300 ล้านบาท โดยได้งบลงทุนจากบริษัท BRV Capital Management (BRV)
ล่าสุด LINE MAN Wongnai ก็ระดมทุนซีรีส์บีได้อีก 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนำโดย GIC กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์ ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1981 และบริษัท LINE Corporation นอกจากนี้ยังมี BRV Capital Management, บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR), Bualuang Ventures และ Taiwan Mobile ร่วมลงทุนด้วย
โดยทาง ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai ระบุว่า เงินที่ได้จากการระดมทุนจะนำมาเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจส่งอาหาร ขยายไปสู่บริการใหม่ ๆ ขยายทีมงานด้านเทคโนโลยี และยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี บริษัทตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพนักงานฝ่ายเทคโนโลยีให้มากกว่า 450 คนภายในสิ้นปี 65
“ความสำเร็จของการระดมทุนครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ LINE MAN Wongnai ต้องขอขอบคุณ GIC, LINE และนักลงทุนรายอื่น ๆ ที่ให้โอกาสพวกเราสร้างการเปลี่ยนแปลงสำคัญ และขึ้นเป็น National Champion ในอุตสาหกรรมส่งอาหารของประเทศไทย อาหารถือเป็นรากเหง้าของเรามาตั้งแต่เมื่อร่วมก่อตั้ง Wongnai และตอนนี้พวกเราบรรลุความฝันในการเชื่อมต่อลูกค้าหลายล้านคนกับร้านอาหารจำนวนมาก เรายังภูมิใจที่สามารถสร้างงานให้กับไรเดอร์มากกว่า 1 แสนตำแหน่งทั่วประเทศ โดยไรเดอร์จำนวนมากมีรายได้มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 2 เท่า เรามุ่งมั่นที่จะผลักดันประเทศไทยไปข้างหน้า ด้วยการพัฒนาบริการที่ยอดเยี่ยมสำหรับคนไทย เพื่อให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น”
สำหรับ LINE MAN Wongnai ก่อตั้งในปี 63 จากการควบรวมระหว่างแพลตฟอร์มออนดีมานด์ LINE MAN และแพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหาร Wongnai โดยมีเป้าหมายเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซด้านบริการ (E-commerce Platform for Services) ที่มีนวัตกรรมมากที่สุด โดยปัจจุบัน LINE MAN Wongnai มีธุรกิจในเครือ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
พบประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
เงินเฟ้อและต้นทุนวัตถุดิบ ทำให้ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวทั่วไทยปี 2565 แพงขึ้น 3.66 บาท หรือ 6.7% (เทียบระหว่าง พ.ค. 64 และ พ.ค. 65)
LINE MAN Wongnai รายงานความเปลี่ยนแปลงราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียว เช่น ก๋วยเตี๋ยว สุกี้ ข้าวผัดกะเพรา อาหารตามสั่ง ข้าวผัด ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู ราดหน้า ฯลฯ ที่ขายในแต่ละเดือนระหว่างปี 2563-2565
พบว่า ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวในปี 2563 อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2564 โดยตัวเลขของปี 2564 น้อยกว่าของปี 2563 อยู่เล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19
ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวของปี 2565 กลับเพิ่มขึ้นจากปี 2564 อย่างชัดเจน ราคาเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2565 อยู่ที่ 55.33 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2564 ที่ 53.33 บาท (แพงขึ้น 2 บาท) และถ้าดูตัวเลขในเดือนพฤษภาคม 2565 อยู่ที่ 57.87 บาท เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ 54.21 บาท เพิ่มขึ้น 3.66 บาท หรือประมาณ 6.7% ใกล้เคียงกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ที่ประเมินไว้ราว 7.1% เดือนพฤษภาคม 2565 (อ้างอิง)
ภาคตะวันออก เป็นภาคที่มีราคาเฉลี่ยของอาหารจานเดียวแพงที่สุดอยู่ที่ 59.96 บาท ส่วนภาคตะวันตก มีราคาเฉลี่ยถูกที่สุดอยู่ที่ 49.92 บาท (มิถุนายน 2565) โดยภาคกลางเป็นภาคที่มีราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 3.97 บาท (เทียบระหว่างมกราคมและมิถุนายน 2565)
ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวแยกตามภูมิภาค ในเดือนมิถุนายน 2565 (ราคาที่เพิ่มขึ้นจากมกราคม 2565)
ราคาอาหารในต่างจังหวัดยังต่ำกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่เฉลี่ย 7 บาท แต่มีอัตราราคาอาหารเพิ่มขึ้นเร็วกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
LINE MAN Wongnai รายงานราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียว เปรียบเทียบ ระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด (กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม) กับจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทยที่ขายบนแพลตฟอร์ม LINE MAN เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าครองชีพของกรุงเทพฯ และปริมณฑลกับต่างจังหวัด
อาหารเมนูหมูยังราคาใกล้เคียงเดิม แต่เมนูไก่ราคาแพงขึ้นมากตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 เป็นต้นมา
LINE MAN Wongnai รายงานการเปรียบเทียบราคาอาหารเฉลี่ย (นับรวมอาหารทุกประเภท ทุกระดับราคา) โดยแยกตามประเภทของเนื้อสัตว์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบของอาหาร พบว่าเมนูอาหารที่มีไก่เป็นส่วนประกอบมีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด สอดคล้องกับข่าวเนื้อไก่แพงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบ 20 ปี (อ้างอิง)
ราคาเฉลี่ยของอาหารที่ใช้ไก่เป็นส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2565 และพุ่งขึ้นสูงสุดในเดือนเมษายน 2565 ก่อนที่จะค่อยๆ ปรับลดลงมาในเดือนพฤษภาคม แต่ก็ยังถือว่าสูงขึ้นจากช่วงก่อนหน้า
ราคาเฉลี่ยอาหารเมนูไก่ ในช่วงครึ่งปีแรก 2565
ส่วนเมนูอาหารที่ใช้หมูเป็นส่วนประกอบ คงอยู่ที่ราว 64-69 บาทตลอดทั้งช่วงครึ่งปีแรก 2565 อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาอาหารเฉลี่ย (รวมเนื้อสัตว์ทุกประเภท) ที่อยู่ราว 64-80 บาท
ข้าวผัดกะเพราราคาพุ่ง จากราคาเฉลี่ยจานละ 56 บาทช่วงต้นปี 2565 เป็นราคาเฉลี่ยจานละ 59 บาท เฉลี่ยแพงขึ้น 3 บาท
LINE MAN Wongnai ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงราคาเฉลี่ยของ “ข้าวผัดกะเพรา” อาหารยอดนิยมของคนไทย (นับทั้งข้าวผัดกะเพรา ข้าวราดกะเพรา ใส่เนื้อสัตว์ทุกประเภท แต่ไม่รวมตัวเลือกเสริม เช่น ไข่ดาว ไข่เจียว ที่เลือกสั่งเพิ่มเป็น top-up แยกต่างหาก) ระหว่างปี 2563-2565
พบว่า ราคาเฉลี่ยของข้าวผัดกะเพราในไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาช่วงต้นปี 2564 อยู่ที่จานละ 52.78 บาท และค่อยๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ จนอยู่ที่ 54.73 บาทในช่วงปลายปี (เพิ่มขึ้นประมาณ 2 บาท)
แต่ในปี 2565 สถานการณ์ราคาปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยช่วงต้นปี ราคาเฉลี่ยของข้าวผัดกะเพราหนึ่งจานคือ 55.9 บาท และเพิ่มมาเป็น 59 บาทในเดือนพฤษภาคม (แพงขึ้น 3 บาทภายใน 4 เดือน)
ภาคตะวันออก เป็นภาคที่มีราคาเฉลี่ยของข้าวผัดกะเพราแพงที่สุดอยู่ที่ 62.24 บาท ส่วนภาคตะวันตก มีราคาเฉลี่ยถูกที่สุดอยู่ที่ 50.08 บาท
ราคาเฉลี่ยข้าวผัดกะเพราแยกตามภูมิภาค