LPP – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 25 Mar 2024 01:11:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “LPP” พัฒนานวัตกรรมลดจำนวนพนักงาน “นิติบุคคล” ต่อโครงการ แก้ปัญหาคอนโดฯ เล็กค่าส่วนกลางบวม https://positioningmag.com/1467386 Fri, 22 Mar 2024 15:09:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1467386 “LPP” ผู้ทำธุรกิจหลักรับจ้างบริหาร “นิติบุคคล” วางเป้าเติบโตแตะ 350 โครงการภายในปี 2569 ล่าสุดอยู่ระหว่างพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อทำให้จำนวนพนักงานนิติฯ ต่อหนึ่งโครงการลดลง แก้ปัญหาค่าส่วนกลางคอนโดฯ ไซส์เล็ก

บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด หรือ LPP บริษัทลูกของ บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอป    เมนท์ จ่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) เร็วๆ นี้ โดยวางแผนจะยื่นไฟลิ่งภายในเดือนเมษายน 2567 ทำให้ช่วงนี้ LPP ต้องเปิดตัวต่อสาธารณะมากขึ้นถึงแผนงานที่บริษัทวางไว้ว่าจะเติบโตอย่างไรในอนาคต

“สมศรี เตชะไกรศรี” กรรมการผู้จัดการของ LPP แจกแจงโครงสร้างรายได้ปัจจุบันของ LPP สัดส่วน 65% มาจากธุรกิจบริหารชุมชนหรือก็คือ “นิติบุคคล” ที่เป็นฐานธุรกิจหลักของบริษัท อีก 20% มาจากธุรกิจบริการวิศวกรรม และ 15% มาจากธุรกิจบริการ รปภ. และแม่บ้าน

นอกจากนี้ บริษัทยังมีธุรกิจอื่นๆ ที่เริ่มกรุยทางเมื่อปี 2566 เช่น รับสัมปทานบริหารหอพัก บริหารงานขายและการตลาด (sole agent) เพื่อสร้างฐานรายได้ให้หลากหลาย

LPP
เป้าหมายการเติบโตรายได้ LPP

สมศรีเปิดเผยเป้าหมายรายได้ของบริษัทในปี 2567 ตั้งเป้าไว้ที่ 1,880 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีก่อนหน้า และต้องการผลักดันรายได้ LPP ให้โตต่อเนื่อง จนถึงปี 2569 คาดจะทำรายได้แตะ 2,545 ล้านบาท

โดยธุรกิจหลักของบริษัทคือการบริหารนิติบุคคล ณ สิ้นปี 2566 รับบริหารอยู่ 261 โครงการ รวมลูกบ้านกว่า 4 แสนคน ธุรกิจนี้วางเป้าจะเติบโตอีกปีละประมาณ 30 โครงการ รวมแล้ว ณ สิ้นปี 2569 เชื่อว่าจะมีโครงการที่บริหารชุมชนไม่ต่ำกว่า 350 โครงการ

 

พัฒนานวัตกรรมเพื่อลดจำนวนพนักงานต่อไซต์ ลดค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

ปัจจุบันสัดส่วนโครงการที่ LPP รับบริหารนิติบุคคล แบ่ง 60% เป็นโครงการของ แอล.พี.เอ็น. และ 40% เป็นโครงการนอกเครือ (Non-LPN) ที่ได้รับความไว้วางใจให้บริหาร เช่น อนันดาฯ, พฤกษา, แลนด์แอนด์เฮ้าส์, แอส เซทไวส์, โนเบิล

ในกลุ่มโครงการ Non-LPN คือส่วนสำคัญมากที่ LPP จะต้องเจาะตลาดให้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการได้บริหารตั้งแต่เริ่มส่งมอบโครงการ หรือการเข้าไปรับช่วงต่อเมื่อมีโครงการต้องการเปลี่ยนบริษัทบริหารนิติบุคคล

สมศรีระบุว่า จากประวัติที่รับบริหารมา 80% ของโครงการที่ LPP เข้าบริหารจะได้ต่อสัญญาต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี แน่นอนว่าส่วนที่เหลืออาจจะ ‘หลุดมือ’ ไปบ้าง เพราะลูกบ้านอาจเกิดความไม่ประทับใจใน LPP หรือต้องการราคาที่ถูกลง

LPP

ในด้านราคานี่เองที่สมศรีระบุว่า LPP ไม่เน้นการแข่งขันกดราคาให้ถูกที่สุด แต่แน่นอนว่าปัญหาเรื่อง “ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง” ของลูกบ้านเป็นโจทย์ที่ LPP ต้องการแก้

“ลูกบ้านในโครงการขนาดเล็กที่มีไม่เกิน 300 ยูนิตจะประสบปัญหามากที่สุดด้านค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เพราะตัวหารน้อยกว่าโครงการใหญ่ที่มีหลักพันยูนิต แต่จำนวนพนักงานนิติบุคคลไม่ได้ต่างกันมาก โครงการใหญ่อาจจะใช้พนักงาน 7-8 คน แต่โครงการเล็กก็ยังต้องมีขั้นต่ำ 5 คนในการบริหาร” สมศรีกล่าว

LPP

โจทย์นี้ทำให้ LPP ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง พบว่าในต่างประเทศมีการใช้ระบบ “แพลตฟอร์มกลาง” เพื่อบริหาร จนทำให้ลดพนักงานดูแลอาคารเหลือแค่ 1 คนต่ออาคารได้

ภาพคร่าวๆ ของการใช้ “แพลตฟอร์มกลาง” คือการรวมศูนย์บางบริการให้เป็นการใช้ร่วมกันหลายโครงการในหนึ่งพื้นที่ เช่น การซ่อมบำรุง/ตรวจสอบอาคารตามรอบใช้ทีมช่างส่วนกลาง การรับแจ้งซ่อม/คอมเพลนจากลูกบ้านใช้ระบบออนไลน์ในการแจ้ง จะเหลือเพียงงานบางอย่างที่ต้องมีพนักงานประจำตึก เช่น หน้าที่รับพัสดุ/จดหมาย

เมื่อตัดบริการบางอย่างให้รวมศูนย์กันได้หลายโครงการ ก็จะทำให้พนักงานนิติบุคคลต่อหนึ่งโครงการลดลงได้ โดยสมศรีระบุว่าปีนี้ LPP จะเริ่มทดลองใช้ระบบนี้ในบางโครงการก่อน และจะเน้นที่โครงการขนาดเล็กซึ่งมีปัญหาแบกรับค่าส่วนกลางมากที่สุด

 

“คน” ยังเป็นหัวใจธุรกิจ เตรียมสวัสดิการดูแลจิตใจพนักงาน

สมศรีกล่าวว่า แม้จะหานวัตกรรมลดจำนวนพนักงานต่อไซต์ แต่ในธุรกิจนิติบุคคล “คน” คือสิ่งที่สำคัญที่สุด การสร้างความไว้วางใจในงานบริการจะต้องผ่านการอบรมตามมาตรฐานของ LPP โดยบริษัทมีกุญแจหลักที่มอบเป็นข้อปฏิบัติให้พนักงานทุกคน คือ “ใส่ใจ” และ “อดทน”

ความอดทนเป็นเรื่องสำคัญมากของพนักงานนิติบุคคล เพราะเนื้องานเป็นงานบริการที่ต้องเจอผู้คนหลากหลายและส่วนใหญ่มาติดต่อเมื่อมีเรื่องเดือดร้อนใจ

“ปีนี้เราจึงเตรียมเพิ่มสวัสดิการใหม่ให้กับพนักงานของเราด้วย คือ ที่ปรึกษาจิตวิทยาออนไลน์ ช่วยให้เขาได้ตรวจสุขภาพจิตของตนเองเป็นประจำ และได้ปรึกษาปัญหาหนักใจจากการทำงานที่ต้องอดทนสูง” สมศรีกล่าวปิดท้าย

]]>
1467386
จับตากฎหมายจ่ายค่า “โอที” รปภ. “LPP” ชี้ลูกบ้าน “คอนโดฯ” เตรียมรับแรงกระแทก “ค่าใช้จ่ายพุ่ง” https://positioningmag.com/1455087 Mon, 11 Dec 2023 08:09:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455087 กฎหมายจ่ายค่า “โอที” ให้กลุ่มอาชีพ “รปภ.” จ่อเสนอเข้า ครม. ทำงานเกิน 8 ชั่วโมงต้องได้ค่าล่วงเวลา ด้านบริษัทบริหารอาคาร “LPP” ชี้กฎหมายนี้จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการอาคารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม “คอนโดฯ” ค่าจ้าง รปภ. อาจขึ้นถึง 50%

จากกระแสข่าวที่ “พิพัฒน์ รัชกิจประการ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้เตรียมเสนอร่างกฎหมายใหม่เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 ธันวาคมนี้ โดยเป็นกฎหมายเพื่อคุ้มครองค่าล่วงเวลา หรือ “โอที” ของพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) เพื่อดูแลสวัสดิการของผู้ประกอบอาชีพ รปภ. กว่า 400,000 คนทั่วประเทศ

กฎหมายนี้เกิดจากทางกระทรวงเล็งเห็นว่า รปภ. ส่วนใหญ่จะทำงานกะละ 12 ชั่วโมง แต่ในส่วนที่เกิน 8 ชั่วโมงมานั้นจะไม่ได้ค่าโอทีเหมือนกับอาชีพอื่นๆ ทำให้ต้องการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองให้ รปภ. ได้ค่าจ้างที่เท่าเทียมกัน

หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านมติ ครม. ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ กระทรวงแรงงานตั้งใจจะให้เป็นของขวัญปีใหม่ 2567 ให้กับกลุ่ม รปภ. ทันที

LPP นิติบุคคล
“สุรวุฒิ สุขเจริญสิน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ LPP

“สุรวุฒิ สุขเจริญสิน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด หรือ LPP ซึ่งทำธุรกิจด้านบริหารจัดการอาคาร และมีบริการด้านการรักษาความปลอดภัย ให้ความเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ถือเป็นปัจจัยท้าทายของธุรกิจให้บริการ รปภ. เนื่องจากจะทำให้ต้นทุนค่าจ้างพุ่งขึ้นอย่างมาก

โดยกฎหมายนี้ระบุให้ค่าจ้างในส่วนที่ล่วงเวลามา จะต้องจ่ายค่าแรงเป็น 1.5 เท่าของอัตราปกติ นั่นหมายความว่าค่าจ้างรปภ.จะสูงขึ้นมาก

ตัวอย่างเช่น ค่าจ้างปกติคิดเป็นชั่วโมงตกชั่วโมงละ 50 บาท ในส่วนที่เป็น “โอที” จะต้องเพิ่มเป็นชั่วโมงละ 75 บาท ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว รปภ. จะทำงานกะละ 12 ชั่วโมง (ค่าจ้างปกติ 8 ชั่วโมง + โอที 4 ชั่วโมง) ทำให้ค่าจ้างจากเดิมสมมติว่าเคยจ่ายวันละ 600 บาท ก็จะเพิ่มเป็น 700 บาท และหากมีการเพิ่มระยะเวลาทำงานในหนึ่งกะขึ้นไปมากกว่านั้น ก็จะต้องจ่ายเป็นอัตราล่วงเวลาทั้งหมด

สุรวุฒิกล่าวว่า จากกฎหมายนี้อาจทำให้ค่าจ้าง รปภ. ต่อคนเพิ่มขึ้นได้ถึง 50% เช่น จากจ่ายค่าจ้างเดือนละ 20,000 บาท ก็อาจจะขึ้นเป็น 30,000 บาทได้

 

ลูกบ้าน “คอนโดฯ” แบกภาระ – ต้องหาทางปรับตัว

หนึ่งในทรัพย์สินประเภทที่มีการจ้างงาน รปภ. จำนวนมากคือกลุ่มคอนโดมิเนียมและหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งค่าจ้าง รปภ. จะมาจากค่าส่วนกลางที่เก็บรวบรวมจากลูกบ้านทุกคน ดังนั้น สุรวุฒิมองว่าการปรับขึ้นค่าแรงโอทีของ รปภ. จะมีผลต่อภาระค่าส่วนกลางของลูกบ้านในอนาคตอย่างแน่นอน

รปภ.
(photo by Jethro C. / Pexels)

ความเป็นไปได้ในการรับมือเพื่อทุ่นภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ สุรวุฒิมองว่าหมู่บ้านและคอนโดฯ ต่างๆ อาจเริ่มพิจารณาเพื่อหาทางลดจำนวน รปภ. ลงเท่าที่เป็นไปได้ และหากเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่คุ้มค่าการลงทุน ก็อาจจะติดตั้งระบบเทคโนโลยีกล้องรักษาความปลอดภัยทดแทน

อีกแนวทางหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นคือ เนื่องจาก รปภ. เป็นอาชีพที่ต้องสอบรับใบอนุญาต ทำให้ค่าจ้างมักจะได้สูงกว่าแรงงานทั่วไป แต่เนื้องานจริงในบางคอนโดฯ หรือหมู่บ้านจะมีพื้นที่ทำงานที่ รปภ. ดูแลงานลักษณะที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย เช่น อำนวยความสะดวกการจอดรถ ช่วยยกของ ตำแหน่งหน้าที่ในส่วนนี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปใช้แรงงานทั่วไปแทนการใช้ รปภ. ที่มีใบอนุญาต

สุรวุฒิกล่าวต่อว่า ไม่ใช่แค่ค่า “โอที” รปภ. เท่านั้นที่จะเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้กับโครงการจัดสรร แต่การพิจารณาเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายของอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาคาร เช่น แม่บ้าน ช่างอาคาร นิติบุคคล ขยับขึ้นตามในไม่ช้าเช่นกัน

]]>
1455087