วันแรกของการประชุม World Economic Forum ที่ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ องค์กรไม่แสวงหากำไร “Oxfam” รายงานสถิติพบว่า หลังจากโลกเผชิญโรคระบาด COVID-19 ทุกๆ 30 ชั่วโมงจะมี “มหาเศรษฐีพันล้าน” เพิ่มขึ้น 1 คน ในขณะที่มี “คนจน” เกือบ 1 ล้านคนเสี่ยงเข้าสู่ภาวะยากจนสุดขีดในช่วงเวลาเดียวกัน
หรือเท่ากับมีคนรวยเพิ่มขึ้น 573 คนนับตั้งแต่เกิด COVID-19 (ข้อมูลเก็บสถิติเมื่อเดือนมีนาคม 2022) ขณะที่มีคน 263 ล้านคนกำลังจะยากจนสุดขีด
ณ เดือนมีนาคม 2021 (หลังผ่านโรคระบาดมาแล้ว 1 ปี) มหาเศรษฐีทั่วโลกมีสินทรัพย์รวมกันกว่า 12.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 14% ของจีดีพีโลก
สาเหตุเป็นเพราะเศรษฐกิจตกต่ำหลังจากเผชิญโรคระบาด ซ้ำร้ายยังมีสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้ราคาอาหารพุ่งสูง ความเหลื่อมล้ำยิ่งถ่างออก
กาเบรียลล่า บูเชอร์ ผู้อำนวยการบริหาร Oxfam International กล่าวว่า เศรษฐีทั่วโลกมารวมกันที่ดาวอสเพื่อ “เฉลิมฉลองให้กับสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ของตนเอง”
“โรคระบาด และราคาพลังงาน-อาหารที่พุ่งสูงขึ้นกลายเป็นแหล่งขุมทรัพย์สำหรับพวกเขา” บูเชอร์กล่าว “ขณะที่หลายทศวรรษแห่งความพยายามที่จะกำจัดความยากจนสุดขีดกลับเดินถอยหลัง และกำลังเผชิญค่าครองชีพที่พุ่งสูงจนแทบเป็นไปไม่ได้แม้เพียงแค่จะมีชีวิตรอด”
Oxfam กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์มากที่สุดคือกลุ่มอาหาร พลังงาน และยา มหาเศรษฐีในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น 4.53 แสนล้านเหรียญในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา หรือเท่ากับมีสินทรัพย์เพิ่ม 1 พันล้านเหรียญทุกๆ 2 วัน
ตัวอย่างเช่น Cargill ยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมอาหาร เป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ควบคุมตลาดเกษตรกรรมทั่วโลกมากกว่า 70% บริษัทนี้ยังบริหารโดยครอบครัว Cargill สามารถทำกำไรสุทธิเกือบ 5 พันล้านเหรียญเมื่อปีที่แล้ว เป็นกำไรที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ ทำให้ครอบครัว Cargill มีมหาเศรษฐีพันแล้วถึง 12 คน เพิ่มจากจำนวน 8 คนเมื่อก่อนเกิดโรคระบาด
ส่วนอุตสาหกรรมยา มีมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้น 40 คน เพราะเป็นผู้ควบคุมผูกขาดการผลิตวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อจากบริษัทของตัวเอง
เพื่อป้องกันไม่ให้ความเหลื่อมล้ำมากไปกว่านี้ Oxfam แนะนำให้รัฐบาลแต่ละประเทศเก็บภาษีเพิ่มจากกำไรที่ได้เพิ่มพิเศษเพราะโรคระบาด และนำไปช่วยเหลือคนจนที่ต้องประสบปัญหาค่าครองชีพสูงทั้งจากค่าพลังงานและอาหาร
องค์กรไม่แสวงหากำไรรายนี้ยังแนะให้รัฐบาล “หยุดการทำกำไรจากวิกฤต” โดยให้เก็บภาษีกำไรส่วนเกินที่ได้มาเพราะวิกฤต COVID-19 เป็นการชั่วคราว โดยเน้นเก็บกับองค์กรขนาดใหญ่ทุกอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์
ส่วนกรณีมหาเศรษฐี ผู้กุมอำนาจผูกขาดคลาด และกลุ่มคนรวยที่ปล่อยคาร์บอนสูง แนะนำให้เก็ฐภาษีเพิ่มแบบถาวร
องค์กรระบุว่าการเก็บภาษีคนรวยโดยเริ่มต้นเพียง 2% สำหรับกลุ่มเศรษฐีร้อยล้าน (สินทรัพย์ประมาณ 3 พันล้านบาท) และ 5% สำหรับกลุ่มเศรษฐีพันล้าน (สินทรัพย์ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท) จะทำให้โลกนี้เก็บภาษีคนรวยเพิ่มได้ 2.52 ล้านล้านเหรียญต่อปี
เมื่อนำภาษีไปช่วยคนจน จะทำให้คน 2.3 พันล้านคนทั่วโลกพ้นขีดความยากจน สามารถแจกจ่ายวัคซีนได้เพียงพอแก่คนทั้งโลก และสร้างระบบสาธารณสุขให้กับคนที่อาศัยในประเทศยากจนและประเทศระดับกลางล่างได้ทั้งหมด
]]>รายงานที่อ็อกซ์แฟมเผยแพร่วันที่ 17 ม.ค. ระบุว่า มหาเศรษฐีระดับท็อป 10 ของโลกมีทรัพย์สินรวมกันเพิ่มขึ้นจาก 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มเฉลี่ยถึง 1,300 ล้านดอลลาร์ต่อวัน
อ็อกซ์แฟมเป็นสมาพันธ์องค์กรการกุศลที่มุ่งบรรเทาปัญหาความยากจนทั่วโลก ระบุด้วยว่า มหาเศรษฐีกลุ่มนี้มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในช่วง COVID-19 เร็วที่สุดในรอบ 14 ปี ในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญภาวะถดถอย (recession) ครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่กรณีตลาดหุ้นวอลล์สตรีทล่มเมื่อปี 1929
รายงานฉบับนี้เตือนว่า ความไม่เท่าเทียมดังกล่าวถือเป็น “ความรุนแรงทางเศรษฐกิจ” (economic violence) และมีส่วนทำให้ประชากรเฉลี่ย 21,000 คนต่อวันต้องเสียชีวิตจากการเข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพ เผชิญความรุนแรงบนฐานของเพศสภาพ เผชิญความหิวโหย และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
อ็อกซ์แฟมระบุด้วยว่า COVID-19 ทำให้ประชากรโลกเข้าสู่วงจรความยากจนเพิ่มขึ้นถึง 160 ล้านคน โดยชาติพันธุ์กลุ่มน้อยต่างๆ ที่ไม่ใช่คนผิวขาว (non-white ethnic minorities) และสตรีเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
องค์กรเพื่อการกุศลแห่งนี้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปภาษี เพื่อนำมาเป็นทุนอุดหนุนการผลิตวัคซีนสำหรับทั่วโลก รวมถึงสนับสนุนบริการด้านสุขภาพ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศ และการต่อต้านความรุนแรงบนฐานของเพศสภาพ เพื่อรักษาชีวิตผู้คน
อ็อกซ์แฟมอ้างอิงรายชื่อมหาเศรษฐีโลกประจำปี 2021 ที่จัดทำโดยนิตยสารฟอร์บส และคำนวณมูลค่าทรัพย์สินโดยอาศัยแหล่งข้อมูลที่ทันสมัย และครอบคลุมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สำหรับ 10 สุดยอดมหาเศรษฐีโลกตามการจัดอันดับของฟอร์บส ได้แก่
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุถึงรายงานของ Fiscal Monitor เผยเเพร่ในเดือนเมษายน 2021 ที่ชี้ให้เห็นว่า การเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ลุกลามไปทั่วโลกนั้น ทำให้ ‘ความไม่เท่าเทียม’ ในสังคม ทวีความรุนเเรงขึ้น
โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการดูเเลสุขภาพ การศึกษา เเละโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ส่งผลให้เกิด ‘ช่องว่างระหว่างรายได้’ ที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ส่งต่อไปยังรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นรัฐบาลในประเทศต่างๆ จึงต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อนำมาพัฒนาในด้านต่างๆ เหล่านี้ หลังผ่านพ้นวิกฤตไปเเล้ว
IMF เเนะนำว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือประเทศร่ำรวย อาจจะต้องใช้มาตรการปรับเพิ่ม ‘อัตราภาษีก้าวหน้า’ ของเงินได้เพิ่มการเก็บภาษีมรดกให้สูงขึ้นรวมถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย
ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) นั้น ควรเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาด้านสังคม เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้ประชาชนมีความสามารถจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น
ด้านมูลนิธิ Oxfam ระบุว่า ในช่วงเดือนมี.ค. – ธ.ค. 2020 มหาเศรษฐีทั่วโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่คนจนมีรายได้ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัวขึ้น
โดยเมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาดมารวมกัน จะพบว่ามีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย
อ่านเพิ่มเติม : COVID-19 เร่ง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ให้ร้าวลึก เศรษฐีรวยเเล้วรวยอีก คนจนยิ่งจนลง
ขณะที่กลุ่มมหาเศรษฐี 1,000 อันดับเเรกของโลก กลับมามีสภาพคล่องทางการเงิน ‘เทียบเท่า’ ช่วงก่อนเกิดโรคระบาดได้ (Pre-pandemic) เร็วภายใน 9 เดือน ส่วนคนยากจนต้องใช้เวลามากกว่านั้นถึง 14 เท่า หรือคิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยจำนวนนี้ ที่เป็นผู้ชายผิวขาว (White Male) จะกลับมาฟื้นตัวทางการเงินได้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วย
Oxfam ให้ความเห็นว่า ทั้ง IMF และรัฐบาลประเทศต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงดำเนินนโยบายทางการเงินที่จะ ‘ซ้ำรอย’ กับวิกฤตการเงินปี 2008-2009 ด้วยการผลักภาระภาษีจากคนรวยและบริษัทยักษ์ใหญ่ไปสู่ครัวเรือน
]]>
จากรายงานขององค์การ Oxfam ระบุว่า เกือบทุกประเทศในโลก มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
เมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาด พบว่าจะมีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย
ขณะที่กลุ่มมหาเศรษฐี 1,000 อันดับเเรกของโลก กลับมามีสภาพคล่องทางการเงิน ‘เทียบเท่า’ ช่วงก่อนเกิดโรคระบาดได้ (Pre-pandemic) เร็วภายใน 9 เดือน ส่วนคนยากจนต้องใช้เวลามากกว่านั้นถึง 14 เท่า หรือคิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยจำนวนนี้ ที่เป็นผู้ชายผิวขาว (White Male) จะกลับมามีฟื้นตัวทางการเงินได้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วย
ผลการสำรวจขององค์การ Oxfam ครั้งนี้ จัดทำขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ 295 คนจาก 79 ประเทศทั่วโลก พบว่า 87% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดว่าจะเกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศของตน ‘เพิ่มขึ้น’ หรือ ‘เพิ่มขึ้น อย่างมาก’ อันเป็นผลมาจาก COVID-19
โดยวิกฤตนี้ ทำให้เกิดปัญหาการจ้างงานที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 90 ปี ส่งผลให้ประชาชน ‘หลายร้อยล้านคน’ ทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะไม่มีงานทำ เวลาทำงานลดลงและตกงาน ส่วนผู้คนอีก ‘หลายพันล้านคน’ เเละผู้ที่อยู่แนวหน้าในการเผชิญกับโรคระบาด อย่าง พนักงานร้านค้า ผู้ค้าขายในตลาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อชีวิตเเละรายได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ด้านปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศก็ยังมีเพิ่มขึ้นต่อไป โดยผู้หญิง เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบชัดเจนที่สุด เพราะได้ค่าจ้างต่ำกว่าที่จะเป็น เเละยังต้องตกงานในช่วงล็อกดาวน์มากกว่าผู้ชาย
Oxfam ระบุอีกว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังเเสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติอีกด้วย โดยกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ มีแนวโน้มที่จะถูกผลักให้ต้องเผชิญกับความยากจนมากขึ้น และถูกกีดกันออกจากระบบทางสาธารณสุข
Gabriela Bucher ผู้อำนวยการ Oxfam International เเนะว่า การต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำเป็นหัวใจสำคัญของการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องจัดการเเละดูแลให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเงินช่วยเหลือ สวัสดิการต่างๆ รวมถึงวัคซีน โดยควรมีการ ‘จัดเก็บภาษี’ อย่างยุติธรรมเพื่อประโยชน์ของทุกคนไม่ใช่แค่เฉพาะผู้มีสิทธิพิเศษเพียงไม่กี่คนโลกเท่านั้น
]]>
อ็อกซ์แฟมได้เผยแพร่รายงานชิ้นใหม่ในวันที่ 9 เม.ย. ก่อนที่จะมีการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ในสัปดาห์หน้า โดยมุ่งศึกษาผลกระทบจากวิกฤตไวรัส COVID-19 ที่มีต่อปัญหาความยากจนทั่วโลก เนื่องจากครัวเรือนมีรายได้และการบริโภคที่ลดลง
“วิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น ถือว่าย่ำแย่ยิ่งกว่าวิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2008 เสียอีก จากการประเมินพบว่า ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร ระดับความยากจนทั่วโลกก็จะพุ่งสูงขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1990”
อ็อกซ์แฟม คาดว่า การระบาดของไวรัสจะทำให้บางประเทศมีฐานะยากจนลงจนเทียบได้กับเมื่อช่วง 3 ทศวรรษก่อน
คณะผู้วิจัยได้อ้างอิงถึงเส้นความยากจน (poverty lines) หลายระดับตามคำนิยามของเวิลด์แบงก์ ซึ่งครอบคลุมผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ขึ้นไปจนถึงต่ำกว่า 5.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน
หากรายได้ลดลง 20% ซึ่งเป็นฉากทัศน์ขั้นเลวร้ายที่สุด จำนวนประชากรที่ยากจนสุดขีด (extreme poverty) จะเพิ่มขึ้น 434 ล้านคน รวมเป็น 922 ล้านคนทั่วโลก และภายใต้เงื่อนไขเดียวกันนี้จะมีประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 5.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันเพิ่มขึ้น 548 ล้านคน รวมเป็นเกือบๆ 4,000 ล้านคน
ผู้หญิงจะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมักประกอบอาชีพแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งทำให้พวกเธอเข้าถึงสิทธิแรงงานเพียงเล็กน้อยหรืออาจจะไม่มีเลย
“ประชากรที่ยากจนที่สุดเหล่านี้ต้องทำงานหาเช้ากินค่ำ ไม่มีสิทธิ์ลางานหรือสะสมปัจจัยยังชีพ” รายงานระบุ พร้อมชี้ว่าแรงงานนอกระบบกว่า 2,000 ล้านคนไม่มีสิทธิ์ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้าง
เวิลด์แบงก์เตือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออก และแปซิฟิกจะมีคนจนเพิ่มขึ้นถึง 11 ล้านคน หากสถานการณ์ไวรัสย่ำแย่ลงกว่าที่เป็นอยู่
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากไวรัส อ็อกซ์แฟม ได้เสนอแผนปฏิบัติการ 6 ข้อ ซึ่งรวมถึงการแจกเงินสดหรือเงินอุดหนุนแก่พลเมืองและภาคธุรกิจที่มีความเดือดร้อน, การยกหนี้, การสนับสนุนจากไอเอ็มเอฟ และการยกระดับความช่วยเหลือต่างๆ นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีจากสินทรัพย์, ผลกำไรพิเศษ และสินค้าทางการเงินแบบเก็งกำไร (speculative financial products) เพื่อระดมเงินทุนที่จำเป็น
อ็อกซ์แฟม ระบุด้วยว่า รัฐบาลทั่วโลกจำเป็นต้องระดมเงินทุนอย่างน้อยๆ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาให้สามารถต่อสู้เชื้อไวรัสได้
]]>