Rakuten – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 12 Mar 2021 12:25:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Rakuten ขายหุ้น 8.3% ให้ ‘ไปรษณีย์ญี่ปุ่น’ เสริมแกร่งอีคอมเมิร์ซ-ขนส่ง ดึง Tencent ร่วมลงทุน https://positioningmag.com/1323231 Fri, 12 Mar 2021 10:46:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323231 อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ ‘Rakuten’ ผนึกกำลัง ’Japan Post’ ไปรษณีย์ญี่ปุ่น รับตลาดช้อปปิ้งออนไลน์บูม วางเเผนระดมทุน 2.2 พันล้านเหรียญ ดึงพันธมิตรร่วมลงทุนอย่าง Tencent บิ๊กเทคของจีน เเละห้างค้าปลีก Walmart ในสหรัฐฯ ขยายสู่ธุรกิจ AI การเงิน เกม เเละเครือข่ายมือถือ

โดย Rakuten จะขายหุ้น 8.32% ให้กับไปรษณีย์ญี่ปุ่น เป็นมูลค่าประมาณ 150 พันล้านเยน (ราว 1.38 พันล้านเหรียญ) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ ช้อปปิ้งออนไลน์และบริการดิจิทัลอื่น ๆ

การบรรลุข้อตกลงเป็นพันธมิตรด้านเงินทุนระหว่าง Rakuten เเละไปรษณีย์ญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ Rakuten จะได้ประโยชน์จากเครือข่ายขนส่งพัสดุของไปรษณีย์ญี่ปุ่น ที่มีฐานลูกค้ากว่า 100 ล้านคน มีที่ทำการไปรษณีย์ 24,000 แห่ง เข้าถึงทุกครัวเรือนในประเทศ อีกทั้งยังมีบริษัทลูกเป็นสถาบันการเงินและบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ ที่มีลูกค้าเปิดบัญชีออมทรัพย์กว่า 120 ล้านบัญชี

ขณะเดียวกัน Rakuten ก็ตั้งเป้าจะเข้ามาพลิกโฉมไปรษณีย์ญี่ปุ่นให้มีความทันสมัย เเละปรับการทำงานไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของทั้งสองบริษัท เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคยุค New Normal ที่หันมาสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ เเละมีการส่งพัสดุไปยังที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19

หากไปรษณีย์ญี่ปุ่นรวมบริการออนไลน์ของ Rakuten เข้ากับเครือข่ายทั่วประเทศ ก็จะเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของทั้งสองบริษัท Amir Anvarzadeh นักวิเคราะห์จาก Asymmetric Advisors ระบุ

สำหรับเเผนของ ‘Rakuten’ เเละไปรษณีย์ญี่ปุ่นนั้น คาดว่าจะมีสร้างศูนย์โลจิสติกส์ร่วมกัน เเชร์ระบบจัดส่งเเละรับสินค้า พร้อมแบ่งปันข้อมูลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

โดยที่ทำการไปรษณีย์ จะเพิ่มเคาน์เตอร์ให้ผู้คนสามารถสมัครใช้บริการโทรศัพท์เครือข่ายมือถือของ Rakuten และใช้บริการอื่นๆ ได้ รวมถึงจะขยายบริการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด และบริการประกันภัย ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมของความร่วมมือดังกล่าว จะมีการเปิดเผยอีกครั้งในเดือนเมษายนนี้

ในปีที่ผ่านมา Rakuten ผู้บุกเบิกอีคอมเมิร์ซในญี่ปุ่น ได้รับประโยชน์จากการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เฟื่องฟูในช่วงระบาดใหญ่ แต่ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง จากคู่เเข่งต่างชาติที่เข้ามารุกตลาดเเดนปลาดิบอย่าง Amazon

โดยผลประกอบการของ Rakuten ในปี 2020 ยังคงขาดทุนอยู่ เนื่องจากบริษัทนำเงินจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ไปทุ่มลงทุนในบริษัทลูกที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือเเละพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งยังคงอยู่ในช่วงที่ต้องจัดโปรลดค่าบริการเพื่อขยายฐานลูกค้าเเละแข่งขันกับบริษัทรายอื่นๆ ในตลาด

นอกจาก Japan Post เเล้ว Rakuten กำลังเจรจากับพันธมิตรใหม่ๆ อย่างห้างค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ อย่าง Walmart ที่เคยร่วมโปรเจกต์จัดส่งสินค้าสดในญี่ปุ่นด้วยกันมาเเล้ว เมื่อ 3 ปีก่อน ส่วน Tencent บริษัทเทคยักษ์ใหย่ของจีนนั้นเพิ่งมีการพูดคุยกันเมื่อไม่กี่เดือนมานี้

โดยมีความเป็นไปได้ว่า Rakuten จะร่วมมือกับ Tencent ในการพัฒนาเกม เเละมองหาโอกาสในการเชื่อมโยงแบรนด์และร้านค้าเข้ากับแพลตฟอร์ม WeChat เพื่อขยายธุรกิจทั้งในจีนเเละญี่ปุ่นต่อไป

 

ที่มา : Bloomberg , Kyodonews 

]]>
1323231
จ่ายด้วยบิตคอยน์! Rakuten Pay รับชำระด้วย “เงินคริปโต” แล้วที่ร้านค้าพันธมิตรทั่วญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1321459 Tue, 02 Mar 2021 10:26:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321459 “บิตคอยน์” รุกเข้าสู่ชีวิตประจำวันไปอีกขั้นเมื่อ Rakuten Pay ระบบอีเพย์เมนต์เจ้าใหญ่ของญี่ปุ่น อนุมัติให้ลูกค้าชำระเงินด้วยเงินคริปโต 3 สกุล คือ บิตคอยน์ (BTC), บิตคอยน์ แคช (BCH) และอีเธอเรียม (ETH) ที่ร้านค้าพันธมิตรหลายพันจุดทั่วประเทศ ก้าวไปอีกขั้นจากเดิมรับชำระบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของบริษัท สู่การชำระที่หน้าร้านแบบออฟไลน์

บริษัท Rakuten อีคอมเมิร์ซเจ้ายักษ์แห่งญี่ปุ่นประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2021 ว่า บริษัทได้เริ่มอนุมัติให้ลูกค้าสามารถชำระค่าสินค้าและบริการด้วยเงินคริปโตผ่านแอปพลิเคชัน Rakuten Pay ที่จุดรับชำระของร้านค้าพันธมิตรทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยมีสกุลเงินที่ยอมรับในระบบ ได้แก่ บิตคอยน์ (BTC), บิตคอยน์ แคช (BCH)
และ อีเธอเรียม (ETH)

โดยปัจจุบันมีร้านค้าพันธมิตรที่ตอบรับชำระเงินคริปโตด้วยแอปฯ Rakuten Pay หลายพันจุด ครอบคลุมทั้งกลุ่มร้านสะดวกซื้อ เช่น 7-Eleven, Lawson, Familymart ร้านขายยา เช่น Tsuruha จนถึงร้านอาหาร เช่น McDonald’s, Mister Donut การนำเงินคริปโตไปชำระที่หน้าร้านเหล่านี้ได้โดยตรงเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา เพราะก่อนหน้านี้พื้นที่ที่รับชำระด้วยคริปโตมักจะมีแต่แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นหลัก

ร้านค้าที่รับชำระด้วยคริปโตผ่าน Rakuten Pay

พัฒนาการของ Rakuten ในวงการคริปโตนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2015 เป็นครั้งแรกที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของบริษัทรับชำระเงินด้วยบิตคอยน์ หลังจากนั้นมีการเทกโอเวอร์บริษัทรับแลกเปลี่ยนเงินคริปโต จนในที่สุดเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2019 บริษัทเริ่มให้บริการ Rakuten Wallet แลกเปลี่ยนเงินคริปโตเป็นเงินเยน รองรับ 3 สกุลดังกล่าวคือ BTC, BCH และ ETH

ดังนั้น การยกระดับในครั้งนี้คือการที่ลูกค้าสามารถผูกบัญชี Rakuten Wallet กับ Rakuten Pay เพื่อแลกเงินคริปโตเป็นสกุลเงินเยนในแอปฯ (R Cash) และใช้ชำระที่ร้านค้าได้เลย เสมือนกับเป็นการใช้คริปโตจ่ายโดยตรง

ทั้งนี้ ระบบการชำระด้วยคริปโตผ่าน Rakuten Pay จะไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมใดๆ แต่จำกัดการใช้วงเงินไว้ที่ 1,000 – 100,000 เยนต่อเดือน (ประมาณ 284 – 28,400 บาท) เทียบกับปกติเมื่อลูกค้าใช้ Rakuten Wallet แลกคริปโตเป็นเงินเยนจะมีการคิดค่าธรรมเนียม (อัตราคิดค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับมูลค่าเงินที่แลก)

JPMorgan รายงานว่า Rakuten มีฐานผู้ใช้ในกลุ่มอีคอมเมิร์ซซึ่งเป็นธุรกิจหลักอยู่ 95 ล้านคน ดังนั้น การขยับของยักษ์แดนปลาดิบครั้งนี้ น่าจะทำให้แวดวงเงินคริปโตแข็งแรงยิ่งขึ้น

Source: Coinbase, Rakuten, Medium

]]>
1321459
สู้ไม่ไหว ‘Walmart’ ถอนตัวจากญี่ปุ่นโดยขายหุ้นของ ‘Seiyu’ ให้ ‘KKR’ และ ‘Rakuten’ https://positioningmag.com/1306479 Tue, 17 Nov 2020 11:04:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306479 จากความพยายามเกือบ 20 ปีของ ‘Walmart (วอลมาร์ต)’ บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่สัญชาติอเมริกา ในการบุกตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตในญี่ปุ่น ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกได้สิ้นสุดลงแล้ว เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้

ย้อนไปปี 1956 เครือซูเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่น ‘Seiyu’ ได้ถือกำเนิดโดย Seibu Group จนกระทั่งมาเจอกับปัญหาหนี้สินบวกกับวิกฤตเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงปี 1990 หลังจากนั้น 12 ปี ‘Walmart’ ที่กำลังถึงทางตันกับตลาดบ้านเกิดจึงได้เริ่มเดินหน้าขยายธุรกิจไปในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็น อินเดีย จีน และ ‘ญี่ปุ่น’ โดย Walmart ได้ทุ่มเงินถึง 1 พันล้านดอลลาร์ใน Seiyu เมื่อปี 2002 และได้กลายเป็นเจ้าของกิจการเต็มตัวในปี 2008

(Photo by Al Bello/Getty Images)

แต่ด้วยการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตซึ่งมีผู้เล่นท้องถิ่นในตลาดหลายราย อาทิ Aeon และ Seven & I Holdings เจ้าของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven นอกจากนี้ยังมีการรุกคืบของ e-commerce รายใหญ่อย่าง ‘Amazon’ ส่งผลให้ธุรกิจของ Seiyu ขาดทุน 200 ล้านเยนในปี 2016 และในปี 2017 ทำได้แค่เท่าทุนเท่านั้น ดังนั้น Walmart จึงตัดสินใจขายกิจการของ Seiyu โดยประเมินมูลค่าไว้ที่ 3-5 แสนล้านเยน

ปัจจุบัน Walmart ได้ขายหุ้นส่วนใหญ่ของ Seiyu ให้กับ KKR และ Rakuten ในข้อตกลงที่ให้มูลค่า Seiyu ที่ 1.725 แสนล้านเยนหรือประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์ โดยข้อตกลงดังกล่าวกองทุนหุ้นเอกชน KKR เป็นเจ้าของส่วนใหญ่ ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 65% ส่วน Rakuten ถือ 20% และ Walmart ถือ 15% ส่งผลให้ Walmart กลายเป็นต่างชาติรายล่าสุดที่พ่ายให้ตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตของญี่ปุ่น โดยก่อนนี้มี ‘คาร์ฟูร์’ ของฝรั่งเศสที่ออกจากตลาดในปี 2005 และ ‘เทสโก้’ ของอังกฤษที่ออกจากตลาดในปี 2011

ปัจจุบัน Seiyu มีสาขามากกว่า 300 แห่งทั่วญี่ปุ่น โดยข้อตกลงกับ Rakuten และ KKR อยู่ภายใต้การอนุมัติตามกฎข้อบังคับและคาดว่าจะปิดดีลสำเร็จในต้นปีหน้า ทั้งนี้ Rakuten และ KKR กล่าวว่า พวกเขาจะเร่งการลงทุนในการดำเนินงานดิจิทัลของ Seiyu เนื่องจากการระบาดใหญ่กระตุ้นความต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ในญี่ปุ่น

Source

]]>
1306479
‘หน่วยต่อต้านการผูกขาดยุโรป’ เตรียมสอบ ‘Apple’ หลังถูกร้องเรียนว่าทำการค้าอย่าง ‘ไม่เป็นธรรม’ https://positioningmag.com/1283864 Wed, 17 Jun 2020 04:04:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283864 หน่วยงานกำกับดูแลในยุโรปได้ประกาศการสอบสวนการผูกขาดอย่างเป็นทางการใน Apple App Store และระบบ Apple Pay หลังจากที่ Spotify และ Rakuten อ้างว่า Apple ละเมิดกฎการแข่งขันของสหภาพยุโรป โดยกำหนดให้ใช้ระบบซื้อภายในในการซื้อเพลงและหนังสือ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงวิธีที่ถูกกว่าในการซื้อเนื้อหานั้นนอก App Store ขณะที่ Apple เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นจากผู้พัฒนาแอปถึง 30% สำหรับเนื้อหาดิจิทัลทั้งหมดที่ซื้อผ่านระบบภายในแอป

เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปมีความกังวลว่าการปฏิบัติของ Apple อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ที่ป้องกันไม่ให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากทางเลือกที่มากขึ้นในราคาที่ลดลง การตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าคู่แข่งของ Apple ได้ผลักภาระค่าธรรมเนียมในรูปแบบของการ ‘ขึ้นราคา’ ให้กับลูกค้าหรือปิดการใช้งานระบบซื้อในแอปทั้งหมด

Margrethe Vestager เจ้าหน้าที่ต่อต้านการผูกขาดของคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวในแถลงการณ์ว่า Apple มีบทบาท “Gate Keeper” ในการเผยแพร่แอปและเนื้อหาไปยังผู้ใช้ iPhone และ iPad

“เราจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ากฎของ Apple ไม่บิดเบือนการแข่งขันในตลาดที่ Apple แข่งขันกับผู้พัฒนาแอปอื่น เช่น บริการสตรีมเพลง Apple Music หรือ Apple Books” Vestager กล่าว

Spotify ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนในเดือนมีนาคม 2562 โดยอ้างว่า Apple ทำให้คู่แข่งเสียเปรียบโดยกำหนดให้ผู้ให้บริการเนื้อหารายอื่นจ่ายค่าคอมมิชชั่น 30% ขณะที่ Apple Music ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ขณะที่ Rakuten บริษัท อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นได้ยื่นเรื่องร้องเรียนคล้ายกันในเดือนมีนาคมปีนี้ ในส่วนของ ebooks และหนังสือเสียง

ทั้งนี้ การสอบสวนการต่อต้านการผูกขาดครั้งที่สอง จะพิจารณาผลกระทบของพฤติกรรมของ Apple ต่อการแข่งขันในการชำระเงินผ่านมือถือ คณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวว่า เป็นกังวลว่าข้อกำหนดและเงื่อนไขของ Apple Pay สำหรับการซื้อสินค้าและบริการในแอปและเว็บไซต์บนอุปกรณ์ Apple “อาจบิดเบือนการแข่งขันและลดทางเลือกและนวัตกรรม”

นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลว่า Apple กำลัง จำกัด การเข้าถึงฟังก์ชัน “tap and go” บน iPhone สำหรับการชำระเงินในร้านค้าและอาจปฏิเสธการเข้าถึงคู่แข่งของ Apple Pay

อย่างไรก็ตาม Apple ได้ออกมาแถลงการณ์เพื่อตอบสนองต่อการสอบสวนทั้งสองด้าน โดยกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ น่าผิดหวัง” ที่ได้เห็นคณะกรรมาธิการล่วงหน้า “การร้องเรียนที่ไม่มีมูลความจริงจากบริษัทจำนวนหนึ่งที่ต้องการขายของฟรีและไม่ต้องการเล่นตามกฎเดียวกันกับคนอื่น ๆ “

“เป้าหมายของเรานั้นง่าย คือ เพื่อให้ลูกค้าของเราสามารถเข้าถึงแอปหรือบริการที่ดีที่สุดที่พวกเขาเลือกในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เรายินดีต้อนรับโอกาสที่จะแสดงให้คณะกรรมาธิการยุโรปทราบ เพื่อให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง” โฆษกของ Apple กล่าว

ปัจจุบัน Apple กำลังเผชิญกับแรงกดดันต่อต้านการผูกขาดทั่วโลก โดยเดือนมีนาคมที่่ผ่านมา องค์กรต่อต้านการผูกขาดในการดำเนินธุรกิจประจำประเทศฝรั่งเศส มีคำสั่งให้ปรับเงินบริษัท Apple เป็นมูลค่า 1.1 พันล้านยูโร หรือราว 39,500 ล้านบาท ฐานเลี่ยงการแข่งขันทางธุรกิจ โดยเฉพาะประเด็นการจำกัดการให้ผู้ค้านำสินค้าและผลิตภัณฑ์ของ Apple ไปจำหน่ายอย่างไม่เป็นธรรม และในสหรัฐอเมริกามีหน่วยงานหลายแห่งที่กำลังทำการไต่สวน Apple และคาดว่าจะมีการประชุมต่อต้านการผูกขาดในช่วงฤดูร้อนปีนี้ซึ่งมีซีอีโอ อาทิ Amazon, Facebook และ Google ร่วมด้วย

Source

]]>
1283864