Reels – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 16 Jun 2022 08:06:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ก๊อปอีกแล้ว? ‘Facebook’ เล็งปรับฟีดใหม่ให้เหมือน ‘TikTok’ โชว์โพสต์น่าสนใจแม้ไม่ได้เป็นเพื่อน https://positioningmag.com/1388973 Thu, 16 Jun 2022 07:41:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388973 ก่อนหน้านี้ ‘Facebook’ เคยถูกเรียกว่าเป็น ‘นักก๊อป’ แต่ดูเหมือนว่าจะหาได้แคร์ไม่ เพราะล่าสุด มีการเปิดเผยเอกสารภายในที่พูดถึงแผนการเปลี่ยนอัลกอริทึมการแสดงฟีดใหม่ให้ดูมีความเหมือน TikTok มากขึ้น โดยจะแสดงโพสต์แนะนำจากคนที่ไม่ได้เป็นเพื่อน

จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ TikTok ที่แรงจนแซง Facebook ขึ้นแท่นเป็นแอปโซเชียลมีเดียที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในโลก และแม้แต่ Adam Mosseri หัวหน้า Instagram ยังออกมายอมรับว่า TikTok เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดเท่าที่เคยมีมา

โดยทาง Facebook ก็ไม่ยอมแพ้พร้อมพัฒนาฟีเจอร์ Reels ลงใน Instagram และ Facebook อย่างไรก็ตาม แม้จะพยายามปั้นฟีเจอร์วิดีโอสั้นมาชนแต่ก็ดูเหมือนจะไม่ปังอย่างที่คิด เพราะวิดีโอสั้นที่ลงใน Reels ก็ยังเป็นวิดีโอที่จากสร้าง TikTok จนทำให้แพลตฟอร์มต้อง ลดเกรดครีเอเตอร์ที่ยังดูดคลิปจากนอกแพลตฟอร์มมาลง

พี่จะไม่ทน! Instagram เตรียม ‘ลดการมองเห็น’ ครีเอเตอร์ที่ดูดคลิป TikTok มาลง Reels

แม้จะพัฒนาฟีเจอร์วิดีโอสั้นที่ได้ แรงบันดาลใจ จาก TikTok แล้ว ล่าสุด ก็มีการเปิดเผยเอกสารภายในที่มีเนื้อหาว่า Tom Alison ผู้บริหาร Meta ที่ดูแล Facebook ได้วางแผนที่จะ ปรับเปลี่ยนการแสดงหน้าฟีดให้คล้ายกับ TikTok โดยจากที่แสดงฟีดโพสต์จากความสำคัญของบัญชีที่ผู้คนติดตาม แต่จะเริ่ม แนะนำโพสต์จากคนที่ไม่ใช่เพื่อน

นอกจากนี้ ฟีเจอร์ส่งข้อความอย่าง Messenger ที่เดิมแยกแอปจาก Facebook ก็จะถูกนำมารวมกันอีกครั้ง เพื่อให้เหมือนกับฟีเจอร์การรับส่งข้อความของ TikTok โดยการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ ผู้บริหารหวังว่าจะทำให้การเติบโตที่ซบเซาของแอปจะเริ่มกลับมาสดใสอีกครั้ง อีกทั้งอาจดึงดูดกลุ่มวัยรุ่นให้กลับมาใช้งาน

Instagram ลดการมองเห็น TikTok
คลิปที่ดึงจาก TikTok และมาลง Reels มีให้เห็นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการรีโพสต์เอง หรือดูดคลิปของบุคคลอื่นมาลง

การเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ คล้ายกับเมื่อ Facebook ได้เพิ่มฟีเจอร์ Stories ที่คล้ายกับของ Snapchat ซึ่งในตอนนั้นแพลตฟอร์มกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเดิมพันสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะนักลงทุนต่างสงสัยในความสามารถของ Meta ที่กำลังเผชิญความท้าทายในตลาดโฆษณา และด้วยราคาหุ้นที่ตกต่ำไปแล้ว บริษัทจำเป็นต้องแสดงให้เห็นว่ามันสามารถเติบโตได้

อย่างเจ็บ! เมื่อ ‘Facebook’ ถูกเรียก ‘นักก๊อป’ มูลค่า 7.7 แสนล้านเหรียญ

ที่ผ่านมา Alison เคยยอมรับว่า บริษัทมองเห็น ภัยคุกคามจาก TikTok ช้าเกินไป แต่ตอนนี้ Meta เล็งเห็นแล้วว่าแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นนี้กำลังรุกล้ำเข้าไปในเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์กของตนมากขึ้น และ Meta ตระหนักดีว่าการจะแข่งขันกับ TikTok ได้ต้องสร้างประสบการณ์ที่น่ามหัศจรรย์ในหน้าฟีดหลัก ดังนั้น จะเห็นว่าก่อนหน้านี้ Facebook ได้ตัดคำว่า News จนเหลือแค่ Feed

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Sensor Tower ระบุว่า TikTok มีการดาวน์โหลดมากถึง 3.6 พันล้านครั้งในปีที่ผ่านมา สูงกว่าของ Facebook 20% และมากกว่า Instagram 21% และในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ผู้ใช้ iPhone ใช้เวลาเฉลี่ยบน TikTok มากกว่าบน Facebook ถึง 78%

Source

]]>
1388973
พี่จะไม่ทน! Instagram เตรียม ‘ลดการมองเห็น’ ครีเอเตอร์ที่ดูดคลิป TikTok มาลง Reels https://positioningmag.com/1382312 Thu, 21 Apr 2022 11:27:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382312 Instagram ต้องการให้ครีเอเตอร์เน้นการทำคลิป “ต้นฉบับ” บน Reels มากกว่าการนำคลิปจากคนอื่นหรือที่อื่น เช่น TikTok มารีโพสต์ โดยแพลตฟอร์มนี้จะลดเกรดครีเอเตอร์ที่ยังดูดคลิปจากนอกแพลตฟอร์มมาลง

“อดัม มอสเซรี” หัวหน้าของแพลตฟอร์ม Instagram อัดคลิปอธิบายฟีเจอร์ใหม่ที่มีขึ้นแล้วในแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นการใส่ Product Tags แท็กเพื่อขายสินค้า ที่ทุกคนสามารถติดแท็กได้แล้ว จนถึงไฮไลต์สำคัญในการอัปเดตรอบใหม่นี้คือ “การจัดลำดับตามความเป็นต้นฉบับ” ของโพสต์ที่ลง โดยเขากล่าวว่า แพลตฟอร์มต้องการ “สร้างความมั่นใจว่าคนที่เหมาะสมเท่านั้นที่จะได้ ‘เครดิต’ ไป”

Instagram มีนโยบายใหม่ที่ต้องการจะสนับสนุน Original Content หรือคอนเทนต์ที่เป็นต้นฉบับอยู่ที่นี่ที่เดียว (หรืออย่างน้อยก็ลงเป็นที่แรก) ทำให้ฟีเจอร์นี้จะมีการจัดคะแนนใหม่สำหรับโพสต์ที่ถือว่ามีคุณค่าต่อคนดู

“ถ้าคุณสร้างสรรค์บางอย่างขึ้นมาตั้งแต่ต้น” มอสเซรีกล่าวในวิดีโอ “คุณก็ควรจะได้เครดิตมากกว่าคนที่รีโพสต์บางอย่างที่คุณไปเจอมาจากคนอื่น เรากำลังพยายามที่จะให้ค่าความสำคัญกับ Original Content มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคอนเทนต์ที่เป็นการรีโพสต์

แม้มอสเซรีจะไม่ได้พูดตรงๆ แต่ก็เห็นได้ชัดว่านี่เป็นคำขอร้องให้ครีเอเตอร์หยุดนำคลิปที่ลงบน TikTok มาลงใน Reels เสียที!

 

Instagrammers + Facebookers คำที่ Meta อยากปั้นให้ติดปาก

Meta มีกลยุทธ์ที่ชัดเจนมากว่าจากนี้ Facebook และ Instagram จะเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นการสร้างครีเอเตอร์ มากกว่าเป็นพื้นที่เพื่อให้เพื่อนๆ คนรู้จักได้อัปเดตชีวิตกันและกันอย่างแต่ก่อน ดังนั้นทั้งสองแพลตฟอร์มจึงลงทุนไปมากกับการสร้างความสะดวกให้ครีเอเตอร์ และหวังว่าวันหนึ่งคำว่า Instagrammers กับ Facebookers จะติดปากคนเหมือนกับคำว่า YouTubers หรือ TikTokers (หรือ ‘ดาวติ๊กต่อก’ ในเวอร์ชันภาษาไทย)

Reels ถือเป็นศูนย์กลางความหวังในการปั้นสิ่งเหล่านี้ โดยมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta บอกว่า Reels เป็นรูปแบบการลงคอนเทนต์ที่โตเร็วที่สุดนับตั้งแต่เปิดบริษัทมา

Instagram ลดการมองเห็น TikTok
คลิปที่ดึงจาก TikTok และมาลง Reels มีให้เห็นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการรีโพสต์เอง หรือดูดคลิปของบุคคลอื่นมาลง

แต่ถ้าใครดูคอนเทนต์ใน Reels ก็จะรู้สึกได้ว่าช่องทางนี้เหมือนกับเป็นการโคลนนิ่งจาก TikTok เพราะครีเอเตอร์หลายคนแค่ดึงคลิปที่ตัดต่อลง TikTok มาลงในนี้ โดยมีโลโก้ติดมาด้วยอย่างเด่นชัด ทำให้มอสเซรีกำลังจะดันคลิปเหล่านี้ออกไปผ่านการ ‘ลดการมองเห็น’

หากมองไปในโลกโซเชียล Facebook และ Instagram รวมกันภายใต้ร่มของ Meta ยังคงเป็นโซเชียลที่มีคนดูมากที่สุด แต่คอนเทนต์กลับเป็นการลอกเลียนแบบหรือดึงมาจากแหล่งอื่นเสียมาก กลับกันกับโซเชียลน้องใหม่แบบ TikTok หรือโซเชียลอีกแบบหนึ่งอย่าง Twitter ที่มักจะสร้างมีมใหม่หรือสร้างเทรนด์ใหม่ๆ ขึ้นมา

ถ้า Meta อยากจะเป็นแหล่งสร้างครีเอเตอร์จริงๆ ก็คงจะต้องแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ได้ และการสร้างอัลกอริธึมมาลดการมองเห็นคอนเทนต์ของก๊อป ก็น่าจะเป็นไอเดียที่ช่วยได้มากขึ้น

Source

]]>
1382312
วิเคราะห์สาเหตุหุ้น ‘Facebook’ ร่วงกว่า 20% ที่มากกว่าแค่ ‘ผู้ใช้ลดลง’ ในรอบ 17 ปี https://positioningmag.com/1372853 Fri, 04 Feb 2022 05:37:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372853 ช่วงนี้เหล่า Big Tech ออกมารายงานผลประกอบการรัว ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีทิศทางที่สดใส แต่ไม่ใช่กับ Meta หรือ Facebook ที่แม้ผลประกอบการจะยังเติบโต แต่จำนวนผู้ใช้กลับไม่โตตามที่หวัง ทำหุ้นร่วงกว่า 20% มูลค่าบริษัทหายถึง 2 แสนล้านเหรียญหรือราว 6 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว และภาพรวมทั้งปีหุ้นของบริษัทร่วงแล้ว 4% แต่ไม่ใช่แค่เพราะจำนวนผู้ใช้ที่ลดลงจนทำให้นักลงทุนไม่เชื่อมั่น แต่ยังมีเหตุผลอะไรอีกบ้างไปดูกัน

สัญญาณผู้ใช้อิ่มตัว

แม้ในไตรมาส 3 จำนวนผู้ใช้งานต่อวัน (Daily Active Users) จะเพิ่มขึ้น 22 ล้านบัญชี ส่วนยอดผู้ใช้งานต่อเดือน (Monthly Active Users) เพิ่มขึ้น 15 ล้านบัญชี แต่ในไตรมาส 4 จำนวนผู้ใช้กลับไม่เติบโตขึ้นเลย โดยผู้ใช้รายวันลดลงจาก 1.93 พันล้านบัญชี ลดลงเหลือ 1.929 พันล้านบัญชี ส่วนผู้ใช้งานรายเดือนทรงตัวอยู่ที่ 2.91 พันล้านบัญชี

จำนวนผู้ใช้ที่ลดลงนั้นมาจาก ตลาดอเมริกาเหนือ จากที่เคยมี 196 ล้านบัญชี เหลือ 195 ล้านบัญชี แม้จะดูเล็กน้อยเมื่อเทียบจำนวนผู้ใช้ระดับพันล้าน แต่ตลาดดังกล่าวถือว่าเป็นตลาดที่ทำเงินได้สูงสุดของ Facebook ซึ่งจำนวนผู้ใช้ที่ลดลงก็แสดงให้เห็นถึง ‘จุดอิ่มตัว’ ของแพลตฟอร์ม

โจทย์ใหญ่ของ Facebook ตอนนี้หากจะเพิ่มการใช้งานของผู้ใช้ ทางออกเดียวก็คือการมัดใจ ‘วัยรุ่น’ เพราะหากจะขยายตลาดก็ไม่มีที่แล้ว (เหลือแค่จีน) ซึ่งจากการสำรวจล่าสุดช่วงเดือนตุลาคม 2021 ที่เผยแพร่โดย Piper Sandler พบว่า กลุ่มวัยรุ่นใช้ Facebook น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับโซเชียลมีเดียอื่น ๆ โดยจากการสำรวจพบว่าวัยรุ่นเพียง 27% ใช้ Facebook ขณะที่ผู้ใช้กว่า 71% เป็นกลุ่ม Baby Boomers ซึ่งมีอายุมากกว่า 54 ปี

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังมองว่า เทรนด์ของโลกกำลังสวนทางจากจุดแข็งของแพลตฟอร์มที่เน้นพื้นที่สาธารณะและการแสดงเนื้อหาในวงกว้าง เนื่องจากการบริโภคเนื้อหาเปลี่ยนเน้นความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เริ่มแชร์สิ่งต่าง ๆ สู่สาธารณะน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลระยะยาวในอนาคต

Reels ไม่ทำรายได้ iOS ทำพิษ

ในส่วนของผลประกอบการ Facebook สามารถทำรายได้ถึง 33,670 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 33,400 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทมีกำไรสุทธิ 10,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้ (ARPU) อยู่ที่ 11.57 เหรียญสหรัฐ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 11.38 เหรียญสหรัฐ

แม้ผลประกอบการจะดูสดใส แต่บริษัทกลับออกมาคาดว่ารายได้ในไตรมาสแรกของปี 2022 ว่าจะมีการเติบโตเหลือเพียง 3-11% เพราะจำนวนผู้ใช้ที่ทรงตัวส่งผลกระทบต่อยอดว่าที่น่าจะไม่เติบโตแล้ว นโยบายความเป็นส่วนตัวของ iOS 15 หรือฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้สามารถปิดการติดตามของแอปต่าง ๆ ได้ ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของแพลตฟอร์มเช่นกันเพราะแปลว่าจะ ลดประสิทธิภาพการเข้าถึงของโฆษณา

ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน iOS 15 ที่ครอบคลุมถึง 72% ของผู้ใช้ iPhone ทำให้ Dave Wehner CFO ของ Meta ออกมายอมรับว่า ผลกระทบของ iOS โดยรวมเป็นอุปสรรคต่อธุรกิจในปี 2022 และอาจทำให้สูญเสียรายได้ทั้งปีถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3 แสนล้านบาท เลยทีเดียว

นอกจากปัญหาของ iOS แล้ว ฟีเจอร์ใหม่อย่าง Reels ที่จะเอามาชนกับ TikTok ก็ยังไม่ทำเงินอย่างที่คาด โดยรายได้หลักยังมาจากฟีเจอร์ ฟีดข่าว และ Story ซึ่งกลายเป็นว่าฟีเจอร์ที่ไม่ทำเงินยังมาแย่งเวลาของฟีเจอร์ที่ทำเงินอีก ซึ่งยังไม่รวมการแข่งขันจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่มาแย่งเวลาไปอีก และนอกจากนี้ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจทั้งเงินเฟ้อ และซัพพลายเชน ก็ยังส่งผลต่อการใช้งบโฆษณาของแบรนด์อีกด้วย

Metaverse ลงทุนมหาศาล

เมื่อธุรกิจโฆษณาคิดเป็น 99.5% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทซึ่งกำลังเจอปัญหาถาโถม ในส่วนธุรกิจของ Reality Labs ที่ผลิตแว่น VR, AR รวมไปถึงการพัฒนา Metaverse ซึ่งบริษัทได้วางไว้ว่า โลกเสมือนจะกลายอนาคตของธุรกิจ ในไตรมาสสี่ก็ยัง ทำรายได้น้อยกว่าเงินลงทุน ที่มหาศาลมาก

โดยไตรมาส 4 ที่ผ่านมากลุ่ม Reality Labs สามารถทำรายได้ 877 ล้านดอลลาร์ แต่ ขาดทุนจากการดำเนินงานถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์ และหากย้อนดูรายได้จากส่วนนี้ แม้จะเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ขาดทุนหนักเช่นกัน

  • ปี 2019 มีรายได้ 501 ล้านดอลลาร์ ขาดทุน 5 พันล้านดอลลาร์
  • ปี 2020 มีรายได้ 1.4 พันล้านดอลลาร์ ขาดทุน 6.62 พันล้านดอลลาร์
  • ปี 2021 มีรายได้ 2.7 พันล้านดอลลาร์ ขาดทุน 1 หมื่นล้านดอลลาร์

นักวิเคราะห์มองว่าไม่ใช่แค่การลงทุนที่สูงแพงในการปั้น Metaverse แต่อาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ผล และไม่รู้ว่ามันจะ ‘เวิร์ก’ จริงไหม ซึ่งตรงกันข้ามกับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Apple, Amazon และ Google ที่มีรายได้มหาศาลจากธุรกิจใหม่ ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

และหากเทียบกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำแล้ว Facebook ถือว่าทำผลงานได้น่าผิดหวัง โดยหุ้นของ Alphabet บริษัทแม่ของ Google ก็สามารถเติบโตได้ 8% เนื่องจากผลประกอบการเติบโต 33% ส่วน Apple และ Microsoft ก็ยังได้เพิ่มประมาณการกำไรและรายได้ โดยสรุปภาพทั้งปีหุ้นของ Facebook ลดลงประมาณ 4%

ก็รอดูว่า Facebook จะมีอะไรใหม่ ๆ มาแก้ปัญหาผู้ใช้ที่ตกต่ำ รวมถึงสร้าง Metaverse ให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างได้เร็วแค่ไหน

CNBC / CNBC / CNN / theverge

]]>
1372853
TikTok ดิ้นสู้ศึกวิดีโอสั้น! ‘แจกเงิน – ปั้นออริจินอลซีรีส์’ https://positioningmag.com/1347684 Thu, 19 Aug 2021 08:32:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347684 ต้องยอมรับว่าหากพูดถึงแพลตฟอร์ม ‘วิดีโอสั้น’ ชื่อแรกที่คนจะพูดก็คือ ‘TikTok’ ซึ่งไม่น่าแปลกใจนักเพราะในปี 2020 TikTok ได้กลายเป็นแอปโซเชียลมีเดียที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในโลก แซงหน้า Facebook และ Instagram ไปเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดดสิ่งที่ตามมาก็คือ ‘คู่แข่ง’ 

คู่แข่งใหม่เพียบ

ในปี 2020 ที่ผ่านมา โลกต้องเจอกับวิกฤต COVID-19 ทำให้ต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านเป็นหลักเพื่อสกัดการระบาด และนั่นทำให้แพลตฟอร์มคอนเทนต์ต่าง ๆ เติบโตขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอสตรีมมิ่ง รวมถึงแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ข้อมูลจาก SteamElement ระบุว่า Live-streaming กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมาก

เมื่อเทียบระหว่างปี 2019 และ 2020 มีการเพิ่มขึ้นของคอนเทนต์จากการ Live-steaming ถึง 99% อย่าง TikTok ที่แค่ต้นปี 2020 ก็มียอดดาวน์โหลดกว่า 2,000 ล้านครั้งใน 150 ประเทศทั่วโลก และจากการรวิเคราะห์โดย Nikkei พบว่า TikTok ได้แซงหน้า Facebook เป็นโซเชียลมีเดียที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในโลก

จากการเติบโตดังกล่าว เจ้าตลาดไม่ว่าจะ Facebook, Google หรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีในจีนและอินเดีย ต่างก็พยายามปั้นฟีเจอร์วิดีโอสั้นออกมาแบ่งเวลาจากผู้ใช้บ้าง อาทิ Reels ของ Instagram หรือ Shorts ใน YouTube และ ไคว่โส่ว (Kuaishou) แพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้นของจีนคู่แข่งคนสำคัญของ Douyin (โต่วอิน) หรือ TikTok เวอร์ชันจีน

โดย YouTube เองได้ตั้งกองทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับใช้อัดฉีดอินฟลูเอนเซอร์ยอดฮิตบนแพลตฟอร์ม Shorts สำหรับให้ผู้ที่มียอดวิวและ engagement สูงสุดในแต่ละเดือนจะได้รับเงินทุนส่วนนี้ไป เรียกได้ว่าพยายามจะดึงคนดังให้ย้ายข้างเลยทีเดียว

แจกเงินดึงผู้ใช้ใหม่

แม้จะเป็นผู้นำ แต่หากอยู่เฉยคงไม่ส่งผลดีแน่นอน ดังนั้น ในปี 2021 TikTok เองก็ขยับตัวในหลายส่วน โดยที่เห็นล่าสุดก็คือแคมเปญ TikTok Bonus โดยผู้บริหารของ TikTok ระบุว่าไม่ใช่แค่ไทยแต่มีหลาย ๆ ประเทศทำ โดยให้ผู้ใช้เดิม ‘แนะนำเพื่อน’ เพื่อดึงผู้ใช้หน้าใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน โดยแบ่งเป็นการเชิญเพื่อน 5 คน ที่ไม่เคยมีบัญชี TikTok มาก่อนให้สมัครและดาวน์โหลดใช้งาน ซึ่งสามารถได้เงินสูงสุด 2,500 บาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลสะสมแต้มสำหรับการดูวีดีโออีกด้วย

แม้ผู้บริหาร TikTok จะระบุว่าแคมเปญดังกล่าวเป็นการคืนกำไรให้ผู้ใช้เป็นเรื่องหลัก แต่ก็ยอมรับว่าผลลัพธ์ที่ตามมาคือผู้ใช้ใหม่ ๆ

“เราเห็นว่าพฤติกรรมผู้ใช้ TikTok จะชอบแชร์คลิปของ TikTok ให้เพื่อน ๆ เป็นปกติอยู่แล้ว ดังนั้น เราจึงอยากจะคืนกำไรให้ผู้ใช้ของเรา เราไม่ได้มองว่าเป็นแคมเปญอะไร แค่อยากให้ผู้ใช้” สุรยศ เอี่ยมละออ Head of Consumer Marketing กล่าว

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะย้อนไปปี 2012 เคยมี TikTok Tickets ที่ร่วมกับ Major Cineplex มอบบัตรชมภาพยนตร์ ให้กับผู้ใช้งานใหม่ และปี 2020 ก็มี TikTok Rewards โปรแกรมสะสมแต้มที่สามารถใช้แลกของรางวัลจากแบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ ในไทย โดยให้ชวนเพื่อนมาสมัคร TikTok เช่นกัน

ปั้นออริจินอลคอนเทนต์เอง

นอกจากแคมเปญการตลาดดังกล่าวแล้ว สิริประภา วีระไชยสิงห์ Users and Content Operations Lead ของ TikTok ประเทศไทย ระบุว่า TikTok มี 4 กลยุทธ์สำหรับดึงดูดผู้ใช้ ได้แก่

  • Original Content ของ TikTok เช่น ภาพยนตร์ออนไลน์ Songkran Stranger #รักไม่ซ้ำหน้า ในรูปแบบ interactive film การสร้างสรรค์ Partnership Content IP ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์รูปแบบใหม่ ๆ เช่น การออดิชั่นนักร้องบน TikTok ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ TikTok และค่ายเพลง White Fox
  • TikTok LIVE ที่ต่างจากคู่แข่ง โดยจะเป็นคอนเทนต์บันเทิงในรูปแบบใหม่ ได้แก่ Fun Fight การแข่งขันไลฟ์แบทเทิลของศิลปินดังจาก GMM TV และดาว TikTok ผ่านฟีเจอร์ LIVE Match และ ฟีเจอร์ Multi Guest ที่คนที่เปิดห้องไลฟ์สามารถดึงคนที่ดูมาร่วมพูดคุยกันได้ด้วยสูงสุด 3 คน
  • อัพเกรดปฏิสัมพันธ์ในคอมมูนิตี้ โดย TikTok ได้มีการจัดแคมเปญเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่ง เช่น แคมเปญ For Your Pride, แคมเปญ Black Lives Matter
  • เพิ่มเครื่องมือ TikTok Tools ต้องยอมรับว่าลูกเล่นต่าง ๆ ของ TikTok นั้นมีความหลากหลายและเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้ชื่นชอบและครีเอตวิดีโอออกมา ดังนั้น เมื่อมีเครื่องมือใหม่ ๆ ก็จะทำให้สร้างสรรค์ได้มากขึ้น ไม่น่าเบื่อ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น Trending Now เป็นต้น

จะเห็นว่า TikTok ไม่ได้แค่เป็นแพลตฟอร์มแบบ user generated content หรือแค่ให้ผู้ใช้งานสร้างสรรค์คอนเทนต์อีกต่อไป แต่เริ่มมีออริจินอลคอนเทนต์ของตัวเอง ทั้งเป็นซีรีส์ และรายการเกมโชว์ ซึ่งจุดสำคัญคือ ยูสเซอร์สามารถมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ได้ ขณะที่จุดแข็งเก่าอย่าง Tools ก็มีเพิ่มใหม่ ๆ มาตลอด

มั่นใจ it starts on tiktok

ทาง TikTok เองยอมรับว่าการแข่งขันของแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังเชื่อมั่นในจุดแข็งของแพลตฟอร์มว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ ไวรัล เนื่องจาก TikTok มีความ Authenticity คือ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องทำอะไรมาก คนที่เข้ามาไม่รู้สึกเคอะเขิน รู้สึกสบาย ๆ ต่างจากแพลตฟอร์มอื่น มีความ Creativity ที่เป็นหัวใจหลักของแพลตฟอร์ม และผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความ Positivity คือมีแต่คอนเทนต์ในเชิงบวก คนส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อคลายเครียด

โดยที่ผ่านมา 3 ใน 4 ของผู้ใช้ TikTok รู้สึกดี มีแรงบันดาลใจ ความมั่นใจ และรู้สึกได้รับความบันเทิงเมื่อใช้ TikTok และรู้สึกว่า TikTok เป็นพื้นที่ที่พวกเขาสามารถแสดงความเป็นตัวตนได้อย่างอิสระและเปิดกว้าง 60% ของผู้ใช้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับชุมชนบน TikTok

“ตอนนี้ต้องยอมรับว่าการแข่งขันสูงมากจริง ๆ แต่ทุกแคมเปญทุกอย่างพยายามย้ำว่าทุกอย่างเริ่มที่ TikTok ยังเชื่อเราแตกต่าง และเราพยายามพัฒนาฟีเจอร์ Base On การใช้งาน”

ผลิตภัณฑ์บิวตี้เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการแรงกระตุ้นทั้งราคาและรีวิว และรีวิวมีอิทธิพลมากกว่าเล็กน้อย

ปัจจุบัน trending บนแพลตฟอร์ม TikTok ไม่ได้มีแค่ความบันเทิงแต่หลากหลายมากขึ้น อาทิ คอนเทนต์การศึกษา, ข่าว, เกม, สอนทำอาหาร อย่างไรก็ตาม คอนเทนต์ทุกประเภทก็จะสอดแทรกความบันเทิงเป็นในลักษณะ Edutainment ดังนั้น เนื้อหาของคอนเทนต์ในอนาคตจะมีเนื้อหาแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่มีสาระสอดแทรกไปกับความบันเทิง

จะเห็นว่าการแก้เกมของ TikTok ไม่ได้มีจุดประสงค์แค่ ดึงผู้ใช้ใหม่ แต่ยังสามารถ หารายได้ เพิ่มเติมจากค่าโฆษณาได้ผ่านการ ขายบัตร เข้าชม ในขณะที่เทรนด์ที่ขยายกว้างขึ้นยิ่งทำให้ TikTok มีโอกาสทางธุรกิจที่สามารถเจาะลึกลงในในแต่ละกลุ่มได้อีกด้วย จาก TikTok จะงัดอะไรมารักษาสถานะผู้นำตลาดวิดีโอสั้นอีกบ้างคงต้องรอดู เพราะคู่แข่งเยอะขนาดนี้จะอยู่เฉย ๆ คงไม่ได้เเล้ว

]]>
1347684
‘TikTok’ ขอใช้ความ ‘เรียล’ สู้ศึก ‘วิดีโอสั้น’ พร้อมดัน ‘วิดีโอยาว’ สวนกระแส https://positioningmag.com/1324733 Wed, 24 Mar 2021 10:41:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324733 ปฏิเสธไม่ได้ว่าความฮิตของ ‘TikTok’ ในปี 2020 นั้นเรียกได้ว่าถล่มทลายอย่างแท้จริง เพราะมียอดดาวน์โหลดกว่า 2,000 ล้านครั้งใน 150 ประเทศทั่วโลก! แน่นอนว่าการเติบโตดังกล่าวได้ล่อเป้าให้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียระดับโลกหันมาให้ความสนใจและพร้อมจะเปิดฟีเจอร์ใหม่ (ที่ได้แรงบันดาลใจจาก TikTok) เพื่อจะเป็น ‘ทางเลือกใหม่’ ให้กับผู้บริโภคได้ใช้งาน ดังนั้นการทำตลาดของ TikTok จากนี้คงไม่ง่ายเหมือนอดีตแน่นอน

‘วิดีโอ’ ตลาดใหญ่ที่ใคร ๆ ก็อยากเล่น

จากผลสำรวจของ Neilsen ในปี 2020 พบว่า คนไทยใช้เวลากับสื่อดิจิทัลผ่านทางสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 59% จาก 3.51 ชั่วโมงต่อวันเป็น 6.08 ชั่วโมงต่อวัน และข้อมูลจาก MediaBrix ในปี 2020 ระบุว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มีการรับชมคอนเทนท์ประเภทวิดีโอ โดย 55% มีการรับชมทุกวัน 90% ชื่นชอบวิดีโอสั้นแนวตั้ง และ 72% เรียนรู้ผลิตภัณฑ์และรู้จักบริการต่าง ๆ ผ่านคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ

ส่วนข้อมูลจาก SteamElement ระบุว่า Live-streaming กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยในปี 2020 มีการเพิ่มขึ้นของคอนเทนต์จากการ Live-steaming ถึง 99% เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 ดังนั้น จะเห็นว่าคอนเทนต์วิดีโอได้เข้ามาช่วงชิงเวลาของกลุ่มผู้ชมในโลกออนไลน์ไปเรียบร้อยแล้ว

Facebook ส่ง Reels บุกตลาดไทย

จากความสำเร็จของ TikTok ทำให้เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียรายใหญ่ของโลกต่างก็ซุ่มพัฒนาฟีเจอร์ ‘วิดีโอสั้น’ เพื่อทำตลาดแข่งขันกับ TikTok ไม่ว่าจะเป็น ‘YouTube’ ที่มีฟีเจอร์ ‘Shorts’ สำหรับทำคลิปวิดีโอสั้นแบบแนวตั้งโดยมีความยาวไม่เกิน 1 นาที โดยได้ทดลองใช้ฟีเจอร์นี้ในประเทศอินเดียเป็นที่แรกตามด้วยอเมริกา ซึ่งในอินเดีย Shorts ก็สามารถทำยอดวิวได้ถึง 3,500 ล้านครั้งต่อวัน (แต่อย่าลืมว่า TikTok โดนแบนในอินเดีย)

อีกรายก็คือ ‘Facebook’ ที่เปิดตัวฟีเจอร์ ‘Reels’ ซึ่งก็เป็นฟีเจอร์ทำคลิปวิดีโอสั้นแบบแนวตั้งเช่นกัน โดยสามารถใช้งานได้ทั้งบน Facebook และ Instagram สามารถสร้างวิดีโอความยาว 15 และ 30 วินาที โดยฟีเจอร์ดังกล่าวหลังจากได้ทดลองใช้ในอินเดียและอเมริกา ล่าสุดก็ได้เปิดตัวในไทยเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว

ฟีเจอร์ Reels

TikTok ขอใช้ความ ‘เรียล’ เข้าสู้

สุรยศ เอี่ยมละออ Head of Consumer Marketing ระบุว่า จุดแข็งของ TikTok ที่ใช้มัดใจผู้ใช้ก็คือความ Authentic หรือ ‘ความจริงใจ’ และ ‘เครื่องมือ’ ที่หลากหลาย โดยวิดีโอที่ถูกสร้างสรรค์จะทำออกมาแบบเรียลไม่ค่อยประดิษฐ์ ซึ่งแสดงถึงความเป็นตัวตนของครีเอเตอร์ ขณะที่แพลตฟอร์มอื่นอาจจะเน้นที่ ความสวยงาม อีกทั้งผู้ใช้ที่ได้รับชมวิดีโอจาก คนที่ไม่รู้จัก เพราะแพลตฟอร์มจะสุ่มวิดีโอตามความสนใจให้รับชม ขณะที่แพลตฟอร์มอื่นจะเป็นการรับชมคอนเทนต์ในวง เพื่อน หรือการ ติดตาม เท่านั้น

นอกจากนี้ ความเป็น ‘โลคอล’ และ ‘ชาเลนจ์’ ที่ก่อให้เกิด ‘ไวรัล’ ก็เป็นอีกจุดแข็งของ TikTok โดยที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีหลายไวรัลในไทยที่มีจุดกำเนิดมาจาก TikTok ทั้งสิ้น ทั้งเพลง ‘เจน-นุ่น-โบว์’ เพลง ‘สิบสอง’ เป็นต้น

“ตอนนี้มีหลายเพลตฟอร์มทำวิดีโอสั้น แต่เราก็มั่นใจและไม่ต้องปรับอะไรเยอะ เนื่องจากเรายังคงรูปแบบความครีเอตที่สูง มีชาเลนจ์ที่ทำตามได้ง่าย และมีโลคอลไรซ์แคมเปญเยอะกว่าคู่แข่ง”

สุรยศ เอี่ยมละออ Head of Consumer Marketing TikTok

สวนกระเเสเพิ่มความยาววิดีโอ

อีกกลยุทธ์ที่จะใช้เพื่อเพิ่มฐานผู้ใช้คือ ‘วิดีโอยาว’ โดยปีที่ผ่านมา TikTok ได้เพิ่มความยาวของวิดีโอจาก 15 วินาทีเป็นสูงสุด 3 นาที โดยจะจะสามารถใช้ได้ในผู้ใช้ที่มีคนติดตาม 5,000 คนขึ้นไป แต่ปีนี้จะเปิดให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถสร้างคอนเทนต์ความยาว 3 นาทีได้ อีกส่วนคือ ฟีเจอร์ ‘Live-streaming’ พร้อมด้วยฟีเจอร์เสริมอย่าง ‘Multi-Guest’ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถชวนเพื่อนมาไลฟ์พร้อมกันได้สูงสุด 3 คน เป็นต้น

นอกจากนี้ TikTok เริ่มหาพันธมิตรที่เป็น ‘ผู้ผลิตคอนเทนต์มืออาชีพ’ เช่น สำนักข่าว ค่ายเพลง ค่ายละคร เพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์รูปแบบใหม่ ๆ ล่าสุด ร่วมกับ Star Hunter เปิดตัวซีรีส์แนวตั้งเรื่อง Bad Roommate ความยาวจะอยู่ที่ตอนละ 1-3 นาที รวมการจัดเอ็กซ์คลูซีฟ ไลฟ์สตรีมมิ่ง ร่วมกับศิลปินดัง ๆ

ทั้งนี้ ประเภทคอนเทนต์ที่กำลังได้รับความนิยม คือ ‘ข่าว’ มียอดวิวรวมกว่า 1.1 พันล้านวิว ‘การศึกษา’ เช่น ฮาวทู มียอดวิว 901 ล้านวิว และสุดท้าย ‘คอมเมดี้’ 571 ล้านวิว ซึ่งการเพิ่มระยะเวลาจะช่วยให้คอนเทนต์เหล่านี้สามารถอธิบายเรื่องราวได้ดีขึ้น

ฟังดูย้อนแย้งที่เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นจะเน้นที่วิดีโอยาว แต่วิดีโอยาวจะช่วยเพิ่มให้ผู้ใช้สามารถอธิบายเรื่องราวได้มากขึ้น และฟีเจอร์ไลฟ์ก็จะช่วยให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ได้ใกล้ชิดกับแฟนคลับได้ง่ายขึ้น โดยปีที่แล้วเป็นการสร้างการรับรู้ แต่ปีนี้จะเป็นการสร้างเอนเกจเมนต์มากขึ้น

ภาพจาก Facebook TikTok Live Thailand

มั่นใจ TikTok เป็น Top of Mind

ข้อมูลจาก App Annie เปรียบเทียบการใช้แพลตฟอร์ม TikTok ระหว่างเดือนมกราคมปี 2021 กับเดือนมกราคมปี 2020 พบว่าในไทยมีการดาวน์โหลด TikTok เพิ่มขึ้น 44% และมีการเพิ่มขึ้นของการใช้เวลาบนแพลตฟอร์มของผู้ใช้แต่ละคนสูงถึง 71%

โดยมีระยะเวลาการใช้งานในแต่ละครั้งเพิ่มสูงขึ้น 47% มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 18 – 34 ปี ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนมากกว่า 54% ของจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดในประเทศไทย

ล่าสุด ได้มีการสำรวจความรู้สึกของผู้ใช้คนไทยที่มีต่อ TikTok โดย Kantar พบว่า 83% ของผู้ใช้รู้สึกว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มผู้นำกระแส 82% มองว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เป็นบวกและทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีเมื่อได้ใช้เวลาบนแพลตฟอร์ม

“เรายังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้วิกฤตโควิดจะซาลง โดยเรามั่นใจว่ายังสามารถเติบโตได้อีกโดยเฉพาะช่วงเทศกาล เช่น สงกรานต์ที่จะถึงนี้”

จะเห็นว่าเมื่อเหล่าแพลตฟอร์มใหญ่ที่มีความแข็งแกร่งในด้าน ‘วิดีโอยาว’ ก็หันมาจับตลาด ‘วิดีโอสั้น’ ส่วน TikTok ที่แข็งแรงในตลาดวิโอสั้นก็หนีไปทำวิดีโอยาว ก็ไม่รู้ว่าสงครามนี้จะจบอย่างไร คงต้องดูว่าแพลตฟอร์มใหญ่จะเปลี่ยนผู้ใช้ในมือให้หันมาใช้ฟีเจอร์วิดีโอสั้นของตัวเองได้แค่ไหน ส่วน TikTok เองก็ไม่รู้ว่าวิดีโอยาวที่จะเน้นจะได้รับการตอบรับอย่างไรบ้าง แต่ที่แน่ ๆ เวลาของผู้ใช้โดนขโมยเพิ่มอีกแล้ว

]]>
1324733
อย่างเจ็บ! เมื่อ ‘Facebook’ ถูกเรียก ‘นักก๊อป’ มูลค่า 7.7 แสนล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1320170 Fri, 19 Feb 2021 09:59:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320170 Facebook ยังคงเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่าใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก พร้อมกับครองตลาดโฆษณาออนไลน์เช่นเดียวกับ Google แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการ ‘ก๊อปฟีเจอร์ยอดนิยม’ จากคู่แข่งมากกว่าที่มีในการสร้างฟีเจอร์และผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ด้วยตัวเอง

ย้อนไป 4 ปีที่แล้ว ‘Facebook’ มักจะมีนวัตกรรมอะไรที่น่าตื่นเต้นอยู่เสมอ โดยบริษัทได้จัดตั้งแผนกฮาร์ดแวร์ใหม่ชื่อ ‘Building 8’ โดยมีทีมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรดูแลโดยผู้บริหารจาก DARPA และประกาศว่ากำลังสร้างเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้สามารถ ‘พิมพ์ด้วยสมอง’ และ ‘ได้ยินด้วยผิวหนัง’ นอกจากนี้มีข่าวว่าจะผลิต ‘สมาร์ทโฟน’ ด้วย

ในตอนนั้นยังไม่รู้ว่าสิ่งที่คิดนั้นจะสามารถเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ แต่มันให้ความรู้สึกแปลกใหม่และแตกต่างจากสิ่งที่บริษัทเคยทำมา แต่แล้วผู้บริหาร DARPA ก็ออกจาก Facebook ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา และหนึ่งปีหลังจากนั้น Building 8 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ‘Portal’ ชื่อเดียวกับ ‘Facebook Portal’ ลำโพงอัจฉริยะที่ Facebook สร้างขึ้นเพื่อแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันจาก ‘Amazon’

Computer screen showing the website for social networking site, Facebook (Photo by In Pictures Ltd./Corbis via Getty Images)

แทนที่จะใช้เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ใหม่ ๆ Facebook ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบจำนวนมากที่ยกมาจาก YouTube, Twitch, TikTok, LinkedIn, Pinterest และ Slack โดย Facebook ดำเนินการเกี่ยวกับแอปหาคู่ยอดนิยมเปิดตัวคู่แข่ง Craigslist และฉีกฟีเจอร์ Stories ยอดนิยมของ Snapchat ในปี 2559 ไม่นานก่อนที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะ และที่เพิ่งมีข่าวไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็คือ Facebook กำลังต้องการทำฟีเจอร์แบบเดียวกับ ‘Clubhouse’ ซึ่งเป็นแอปที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้

นอกเหนือจากการก๊อปแล้ว เมื่อ Facebook ไม่สามารถเอาชนะพวกเขาได้มันก็ซื้อมันเหมือนกับที่ซื้อ ‘Instagram’ ในปี 2012 เช่นเดียวกับ ‘WhatsApp’ และ ‘Oculus’

เพราะทั้งซื้อและก๊อปฟีเจอร์ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกากล่าวหา Facebook ว่าใช้ “อำนาจการครอบงำและการผูกขาดเพื่อบดขยี้คู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่า” ตามคำพูดของ Letitia James อัยการสูงสุดแห่งนิวยอร์ก ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มในการสืบสวน Facebook

ด้วยความพยายามในการก็อปที่ต่อเนื่องทำให้เกิดคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ของ Facebook ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นส่วนสำคัญของบริษัทเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม Facebook นั้นไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยีรายแรกหรือรายเดียวที่ก๊อปฟีเจอร์ แต่ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ดูเหมือนจะคัดลอก TikTok ในระดับหนึ่งรวมถึง Snapchat และ YouTube อย่างไรก็ตาม สำหรับ Facebook เองก็ยากที่จะบอกได้ว่าครั้งสุดท้ายที่ Facebook สร้างนวัตกรรมที่เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงคือตอนไหน

Tucker Marion รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น ที่มุ่งเน้นไปที่การเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม กล่าวว่า การก๊อปของคู่แข่งไม่ใช่กลยุทธ์ที่ไม่ดี แต่จำเป็นต้องควบคู่ไปกับการที่บริษัทดำเนินการตามแนวคิดดั้งเดิมของตนเองด้วย

เพื่อความเป็นธรรมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เป็นเรื่องยาก โดย Google ได้เผาผลาญเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในโครงการต่าง ๆ ตั้งแต่การร่วมทุนบอลลูนอินเทอร์เน็ตที่มีความทะเยอทะยานไปจนถึงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองและมีความขยันขันแข็งมากขึ้นเกี่ยวกับการทดลอง

Facebook ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เปิดตัว News Feed ในปี 2006 หลายเดือนหลังจากที่ Twitter เปิดตัวและช่วยเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนบริโภคข้อมูลทางออนไลน์ จากนั้นการเปิดตัวโทรศัพท์ Facebook ก็ล้มเหลว การทดลองใช้โดรนส่งมอบอินเทอร์เน็ตที่บินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ก็เงียบไป และ cryptocurrency ตัวใหม่ (TBD ก็ยังมีปัญหาในช่วงแรก ๆ)

ในทางกลับกันความพยายามบางส่วนในการเลียนแบบคู่แข่งประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล Instagram Stories ซึ่งเป็นก๊อป Snapchat กลายเป็นวิธีเริ่มต้นในการสื่อสารและเชื่อมต่อสำหรับผู้คนนับล้าน รวมถึง Facebook Marketplace กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม

ที่ผ่านมา Kevin Systrom ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีต CEO ของ Instagram เคยกล่าวไว้เมื่อถูกถามเกี่ยวกับปัญหาการลอกเลียนแบบว่า “ลองนึกภาพรถคันเดียวในโลกคือ Model T ในตอนนี้มีคนประดิษฐ์รถขึ้นมาใหม่มันเจ๋งมาก แต่คุณจะโทษไหมที่บริษัทอื่น ๆ สร้างรถยนต์ที่มีล้อพวงมาลัยและแอร์และหน้าต่างเหมือนกัน คำถามคือ คุณสร้างสิ่งที่ไม่เหมือนใครได้อย่างไร?”

คงจะจริงอย่างที่ว่า เพราะผู้บริโภคทั่วไปไม่สนใจว่าใครจะนึกถึงแนวคิดนี้ก่อน พวกเขาสนใจว่าใครเป็นผู้ดำเนินการได้ดีที่สุด อย่าง Apple ไม่ได้คิดค้นสมาร์ทโฟนขึ้นมา แต่เพียงแค่สร้างเครื่องที่ดีที่สุดในเวลานั้น นั่นเป็นเหตุผลที่ Instagram Stories ทำให้ฐานผู้ใช้ทั้งหมดของ Snapchat ลดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีแม้ว่า Facebook จะไม่ใช่คนที่คิดค้น และด้วยเหตุนี้ Reels ซึ่งเป็นฟีเจอร์วิดีโอรูปแบบสั้นจึงพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้รับแรงการตอบรับและแข่งขันกับอัลกอริทึมการแนะนำที่มีประสิทธิภาพของ TikTok

แม้แต่เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยสมองก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เมื่อไม่ถึงหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ Elon Musk มีแผนจะใช้สมองกับคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เฟซคอมพิวเตอร์สมองอื่น ๆ มีการใช้งานมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นก็อดไม่ได้ที่จะหวังว่าวันหนึ่งจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ ๆ จาก Facebook และแม้จะมีนักวิจารณ์พูดถึง Facebook แบบนี้ แต่ตัวแทนของบริษัทก็ยังไม่ตอบกลับคำร้องขอความคิดเห็นในเรื่องนี้ทันที

Source

]]>
1320170
‘Instagram’ ยอมรับ ‘TikTok’ เป็นคู่แข่งที่ ‘น่ากลัวที่สุด’ ที่บริษัทเคยเจอ https://positioningmag.com/1311307 Sun, 20 Dec 2020 11:54:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311307 แพลตฟอร์มสำหรับแชร์รูปภาพอย่าง ‘Instagram’ ได้ประกาศว่า บริษัทได้นำสองสิ่งที่สำคัญที่สุดมารวมกันนั่นคือ การช้อปปิ้งออนไลน์และฟีเจอร์วิดีโอแบบสั้นของ ‘Reels’ เพื่อที่จะแข่งขันกับ ‘TikTok’ เครือข่ายโซเชียลมีเดียที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

ย้อนไปปี 2012 ‘Facebook’ ได้ซื้อ ‘Instagram’ ด้วยมูลค่าถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 30,000 ล้านบาท ส่งผลให้ปัจจุบัน Facebook ได้ถูกโจมตีอย่างหนักด้วยข้อหาการผูกขาดตลาด ‘Social Media’ โดย Adam Mosseri หัวหน้า Instagram ได้ออกให้สัมภาษณ์ว่า ‘ไม่ได้ผูกขาด’ เพราะ ‘TikTok’ ก็เป็นคู่แข่งของ Instagram แถมยัง ‘น่ากลัว’ ที่สุดเท่าที่เคยเจอมากอีกด้วย

TikTok เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวอย่างไม่น่าเชื่อ อาจเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดเท่าที่เราเคยเห็นมา พวกเขามีสมาธิมากมุ่งมั่นตั้งใจทำงานได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ นี่คือบริษัทที่โคลน Musical.ly เติบโตขึ้นมากจนพวกเขาสามารถซื้อสิ่งที่พวกเขาโคลนได้และ มุ่งมั่นที่จะให้บริการคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอที่สนุกสนานในรูปแบบสั้น ๆ” Adam Mosseri หัวหน้า Instagram กล่าว

และเพื่อแข่งขันกับ TikTok บริษัทได้เปิดตัวฟีเจอร์ ‘Reels’ ที่มีลักษณะเป็นคอนเทนต์คลิปวิดีโอสั้น ๆ เหมือนกับ TikTok แต่จะมีฟีเจอร์เพิ่มเติมคือ สามารถแท็กสินค้าที่ขายในคลิปวิดีโอสั้นได้เลย เพื่อให้เหล่าครีเอเตอร์สามารถสร้างรายได้ในระยะยาวได้ แถมยังสามารถนำไปสู่แหล่งรายได้ด้านอีคอมเมิร์ซใหม่สำหรับ Facebook ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

“เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราที่เราต้องสร้างวิธีที่มีความหมายสำหรับครีเอเตอร์ในการหาเลี้ยงชีพบน Instagram และเราคิดว่าส่วนสำคัญของอนาคตของการช้อปปิ้งคือการช้อปปิ้งผ่าน Eyeball ของผู้คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของครีเอเตอร์”

Source

]]>
1311307
เปิดมหากาพย์บุญมีแต่กรรมบังของ ‘TikTok’ จากแอปฯ ดาวรุ่งพุ่งแรง สู่การถูกแบนในอินเดียและสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1290788 Mon, 03 Aug 2020 09:54:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290788 เปิดปี 2020 มาอย่างสวยงาม สำหรับ ‘TikTok’ แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยมของคนทั่วโลกที่มียอดดาวน์โหลดกว่า 2,000 ล้านครั้งใน 150 ประเทศทั่วโลก! แต่แล้วฝันก็สลายไปในพริบตา เมื่อประเทศอินเดียประกาศแบน และตอนนี้กำลังจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้วยข้อหา ‘ภัยคุกคามต่อความมั่นคง’ เลยกลายเป็นว่าแอปฯ ที่กำลังมาแรงกลับต้องถูกเบรกซะงั้น ดังนั้น Positioning จะพาไปย้อนไทม์ไลน์ของ TikTok ในปี 2020 ว่าเกิดอะไรขึ้นกันบ้าง

รู้จัก ‘TikTok’

TikTok เป็นแอปพลิเคชันสัญชาติจีน ก่อตั้งในปี 2012 โดย ByteDance โดยหลักการใช้ก็ง่าย ๆ คือ เป็นแอปฯ สร้างวิดีโอสั้นความยาว 15-60 วินาที โดยผู้ใช้สามารถสร้างสรรค์วิดีโอได้โดยการใส่เพลงและเล่นกับเอฟเฟกต์ต่าง ๆ บางคอนเทนต์ที่ทำออกมาโดนใจก็จะถูกแชร์จนเกิดเป็น ‘Viral’ ได้ง่าย ๆ อย่างเช่น เพลง ‘เจน นุ่น โบว์’ ของวง Super วาเลนไทน์ก็น่าจะเป็นหนึ่งในตัวอย่างชั้นดี

เมื่อส่วนผสมทั้งหมดถูกปั่นรวมกันอย่างลงตัว จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไม TikTok ถึงได้เติบโตอย่างรวดเร็วขนาดนั้น โดยภายในเดือนมกราคมปี 2020 TikTok ก็สามารถทะยานเป็นแอปพลิเคชันที่มียอดดาวน์โหลดอันดับ 1 ของโลกด้วยยอด 104.7 ล้านครั้ง รวมยอดดาวน์โหลดกว่า 1,500 ล้านครั้ง ผู้ใช้งานกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก และสามารถทะยานเป็น 2,000 ล้านครั้งในปัจจุบัน เติบโตถึง 2 เท่าจากปีที่แล้ว ซึ่ง ‘Covid-19’ ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องกักตัวอยู่แต่บ้าน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ TikTok สามารถเติบโตได้เร็วขนาดนี้

ปัญหา ‘ความมั่นคง’ ข้อกล่าวหายอดนิยม

หากย้อนไปเมื่อช่วงกลางปี 2019 ‘หัวเว่ย’ (Huawei) ได้ถูกกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาเพิ่มชื่อใน ‘Entity List’ หรือบัญชีดำการซื้อขาย ก็เพราะประเด็นด้านความมั่นคง เนื่องจากมีความกังวลว่ารัฐบาลจีนจะบังคับให้หัวเว่ยเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้งาน แม้หัวเว่ยจะปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ก็ตาม

จากนั้นปัญหาดังกล่าวก็ลามมาถึง TikTok โดยเริ่มจากช่วงต้นปีที่กองทัพสหรัฐฯ ได้ประกาศสั่งห้ามไม่ให้ทหารใช้เเอปฯ นี้ เพราะข้อหา ‘ภัยต่อความมั่นคง’ โดยระบุว่า TikTok ถูกจัดให้เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมมีคำสั่งห้ามทหารเรือทุกนายติดตั้งเเอปฯ TikTok ลงบนโทรศัพท์ที่ใช้งานราชการ อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวค่อนข้างเป็นเรื่องเฉพาะในกองทัพ เรื่องจึงเงียบไป

แต่แล้วในช่วงปลายเดือนมิถุนายน เกิดเหตุปะทะกันระหว่างทหารของอินเดียและจีนในบริเวณชายแดนจีน-อินเดีย ส่งผลให้มีทหารอินเดียเสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย จนเกิดกระแสการแบนสินค้า และบริการจีนในอินเดีย โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยี จนในที่สุด รัฐบาลอินเดียได้แบนแอปพลิเคชันต่างชาติรวม 59 แอป โดยรัฐบาลอินเดียอ้างว่าอาจเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจอธิปไตยและบูรณภาพของชาติ ซึ่งหวยก็มาออกที่ TikTok ได้กลายเป็นหนึ่งในนั้น ถือเป็นการชัตดาวน์โอกาสทางธุรกิจในอินเดียไปโดยปริยาย

ยอม ‘ขาย’ หรือถูก ‘แบน’

หลังจากที่กองทัพได้แบน TikTok แล้ว ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯ ก็สานต่อ โดยโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา ประกาศว่าจะแบน TikTok ออกจากสหรัฐฯ เนื่องจากเจ้าหน้าที่และสมาชิกสภานิติบัญญัติสหรัฐฯ แสดงความกังวลว่าแพลตฟอร์ม TikTok อาจถูกปักกิ่งนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยข่าวกรองของจีน พร้อมกับระบุว่า เขาจะสั่งดำเนินการทันที โดยใช้อำนาจทางเศรษฐกิจฉุกเฉิน หรือคำสั่งบริหาร อย่างไรก็ตาม ารแบนจะไม่เกิดขึ้นหาก TikTok ไม่ใช่บริษัทจีน หรือแปลว่า ByteDance ต้องขาย TikTok ให้กับบริษัทสัญชาติอเมริกา

ขณะที่ด้านของ TikTok ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้ โดย Hilary McQuaide โฆษกของ TikTok ยืนยันว่าข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐฯ ทั้งหมดถูกจัดเก็บในสหรัฐฯ และสำรองข้อมูลไว้ที่ศูนย์ข้อมูลใหญ่ที่สิงคโปร์ ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายและการควบคุมของรัฐบาลจีน เเละเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจีนจะเข้ามาเเทรกเเซงตามข้อกล่าวหา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ระบุว่า ข้อกล่าวหาส่วนใหญ่เป็นเพียงทฤษฎีและไม่มีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลผู้ใช้ของ TikTok นั้นถูกบุกรุกโดยหน่วยข่าวกรองของจีน

จับตา ‘เจ้าของใหม่’

อย่างไรก็ตาม จากปัญหาที่รุมเร้า ByteDance เองกำลังพิจารณาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร และมีรายงานว่าได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการขายหุ้นใหญ่ใน TikTok โดยเปิดโอกาสที่จะเจราจากับหลายบริษัท แต่ Microsoft ยักษ์ใหญ่ไอทีสัญชาติอเมริกาก็ถือเป็นเต็ง 1 ในการครอบครอง TikTok โดยล่าสุด Microsoft ได้ออกแถลงการณ์ว่า การเจรจาเข้าซื้อจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กันยายนนี้ และหากดีลสำเร็จ Microsoft จะเป็นเจ้าของและดำเนินการ TikTok ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ทั้งนี้ TikTok ถูกประเมินมูลค่าอยู่ที่ 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท โดยมีผู้ใช้สหรัฐฯ มีผู้ใช้งานมากกว่า 80 ล้านคนต่อวัน และมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 300 ล้านครั้งในสหรัฐฯ

แพลตฟอร์มใหม่รอเสียบเพียบ

แม้ว่าอนาคตในสหรัฐฯ จะยังไม่แน่นอน และสำหรับอินเดียนั้นถูกปิดไปเรียบร้อย แต่มรสุมของ TikTok ยังไม่หมด เพราะความ Hot ของแพลตฟอร์มได้ให้กำเนิดคู่แข่งรายใหม่จำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งระดับโลกและคู่แข่งในภูมิภาค อาทิ Sloy สัญชาติรัสเซีย, HiPi สัญชาติอินเดีย, Short จาก YouTube, Reels จาก Instagram และ Lasso จาก Facebook เรียกได้ว่ารอบด้านเลยทีเดียว

และต้องยอมรับว่าหาก TikTok ต้องเสียตลาดอินเดียและอเมริกาไปอย่างถาวร ต้องไม่ใช่เรื่องดีแน่ ๆ เพราะแค่ตลาดอินเดียเอง TikTok มียอดดาวน์โหลดถึง 600 ล้านครั้ง ขณะที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในอินเดียยังมีเพียงครึ่งเดียวของจำนวนประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน ซึ่งแปลว่าโอกาสยังมีอีกมาก และในสถานการณ์ที่มีคู่แข่งจำนวนมากรอเสียบอยู่แบบนี้ ดังนั้นการขาย TikTok ในเวลานี้อาจจะเป็นเรื่องดีก็เป็นได้

]]>
1290788
‘Instagram’ เตรียมส่ง ‘Reels’ ท้าชน ‘TikTok’ พร้อมเปิดทดลองใน ‘สหรัฐฯ-อินเดีย’ เป็นกลุ่มแรก https://positioningmag.com/1288355 Fri, 17 Jul 2020 11:40:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288355 ถือว่าผลงานในครึ่งปีแรกกำลังไปได้สวยเลยสำหรับ ‘TikTok’ แอปวิดีโอสั้น ๆ สุดฮิตที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 2 พันล้านครั้ง เติบโตถึง 2 เท่าจากปีที่แล้ว และตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมมีการดาวน์โหลด 315 ล้านครั้ง แต่เริ่มเข้าช่วงครึ่งปีหลัง TikTok ก็เริ่มเจอปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะการโดนประเทศอินเดีย ‘แบน’

ล่าสุด NBC ได้รายงานว่า ‘Instagram’ เตรียมปล่อยฟีเจอร์ใหม่ที่ใช้ชื่อว่า ‘Reels’ ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างคลิปวิดีโอสั้น ๆ ประมาณ 15 วินาที พร้อมใส่เสียงเพลงในวิดีโอ และมีเอฟเฟกต์อย่างการปรับความเร็วและการตัดต่อแบบง่าย ๆ ซึ่งแน่นอนว่าฟีเจอร์นี้ตั้งใจออกมาชนกับ ‘TikTok’ เต็ม ๆ แถม Instagram จะทดลองเปิดฟีเจอร์นี้ในตลาดสหรัฐฯ และอินเดียเป็นกลุ่มประเทศแรกอีกด้วย ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าอินเดียได้แบนแอป TikTok ไปแล้ว ส่วนสหรัฐฯกำลังพิจารณาที่จะเเบน TikTok เนื่องจากข้อกังวลด้านความมั่นคงเช่นกัน

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะเปิดตัวฟีเจอร์ Reels ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ โดยจะเริ่มจากสหรัฐฯ ตามด้วยอินเดีย ซึ่งทั้งคู่เป็นตลาดที่ใหญ่ของ Facebook และจากนั้นจะปล่อยที่บราซิล ฝรั่งเศส และเยอรมนี”  โฆษกของ Facebook กล่าว

ตัวอย่างฟีเจอร์ Reels บน Instagram

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ Reels ของ Instagram เท่านั้นที่ท้าชน TikTok แต่มี ‘HiPi’ แพลตฟอร์มโลคอลของอินเดีย และ Short ของ YouTube นอกจากนี้ยังมีแอปคล้าย ๆ กันอีกอย่าง Triller, Dubsmash, Likee และ Byte อีกด้วย

อ่าน >>> ก๊อป? ‘YouTube’ ซุ่มพัฒนาฟีเจอร์ ‘Shorts’ ท้าชน ‘TikTok’


Source

]]>
1288355