Ride-sharing – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 13 Aug 2020 05:50:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ศาลแคลิฟอร์เนียสั่ง Uber ให้เปลี่ยนสถานะคนขับจาก “ผู้รับจ้างอิสระ” เป็น “พนักงาน” https://positioningmag.com/1292275 Thu, 13 Aug 2020 04:38:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292275 ศาลแคลิฟอร์เนียมีคำตัดสินให้ Uber และ Lyft สองผู้ให้บริการแพลตฟอร์มร่วมขับขี่ (ride-sharing) รายใหญ่ ปรับสถานะคนขับที่ทำงานให้แพลตฟอร์มเป็น “พนักงาน” ในบริษัท ซึ่งจะทำให้บริษัทต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาและสวัสดิการสุขภาพตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองยังมีเวลาอีก 10 วันในการยื่นอุทธรณ์ก่อนที่คำตัดสินนี้จะถูกบังคับใช้

อีธาน ชูลแมน ผู้พิพากษาศาลสูงแห่งซานฟรานซิสโก ได้ให้คำตัดสินเบื้องต้นต่อคดีที่ ฮาเวียร์ บีเซอร์รา อัยการรัฐแคลิฟอร์เนียฟ้องร้อง Uber และ Lyft โดยมีคำสั่ง “ไม่ให้” ทั้งสองบริษัทจัดสถานะคนขับรถในแพลตฟอร์มเป็น “ผู้รับจ้างอิสระ” ในระหว่างที่ศาลจะมีการพิจารณาเพิ่มเติม คำสั่งนี้จะมีผลภายใน 10 วัน แต่ระหว่างช่วงเวลานี้ทั้งสองบริษัทสามารถยื่นอุทธรณ์คำตัดสินได้ และทั้งสองบริษัทออกแถลงการณ์แล้วว่าจะยื่นอุทธรณ์ในทันที

ข้อกล่าวหาที่มีต่อ Uber และ Lyft นั้นฟ้องร้องตามข้อกฎหมายที่ชื่อว่า Assembly Bill 5 เป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งบังคับใช้ในรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2018 มีชื่อเล่นว่า “กฎหมายฟรีแลนซ์” เพราะจุดประสงค์หลักของกฎหมายต้องการขีดเส้นแบ่งแยกผู้ที่ทำงานให้กับบริษัทว่าเป็น “ผู้รับจ้างอิสระ” หรือ “พนักงาน”

กฎหมายนี้ได้กำหนดว่า ถ้าหากบุคคลผู้นั้นทำงานให้บริษัทในสิ่งที่ไม่ใช่แกนหลักของธุรกิจ เป็นอิสระจากการควบคุมและทิศทางนโยบายของบริษัท รวมถึงมีการรับจ้างทำงานลักษณะเดียวกันแก่องค์กรอื่นด้วย จึงจะถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้รับจ้างอิสระหรือฟรีแลนซ์

Lyft อีกหนึ่งบริษัท ride-sharing สำคัญของสหรัฐฯ (Photo : Shutterstock)

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากบริษัทใดๆ รวมถึง Uber และ Lyft ถูกตัดสินให้เปลี่ยนสถานะผู้รับจ้างงานเป็นพนักงานในบริษัท บริษัทจะต้องจ่ายเงินค่าล่วงเวลา สวัสดิการสุขภาพ และสวัสดิการอื่นๆ ที่จำเป็นให้พนักงานตามกฎหมาย

ในกรณีของบริษัท ride-sharing ปัจจุบัน “ผู้รับจ้างอิสระ” หรือที่มักเรียกกันว่าพาร์ตเนอร์คนขับ ต้องจ่ายค่าเชื้อเพลิงและบำรุงรักษารถยนต์ด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะต้องกลายเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทแทนในอนาคต เป็นเหตุให้แพลตฟอร์ม ride-sharing เหล่านี้คัดค้านกฎหมายฟรีแลนซ์มาโดยตลอด เพราะจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นทั้งที่ยังไม่เริ่มทำกำไรเลย

 

บริษัทค้าน : “คนขับ” ก็ไม่อยากเป็น “พนักงาน”

มาฟังมุมมองของฝั่งแพลตฟอร์มกันบ้าง ทั้ง Uber และ Lyft ต่างออกแถลงการณ์ว่าจริงๆ แล้วคนขับรถเองก็ต้องการจะเป็นฟรีแลนซ์มากกว่าเป็นพนักงานในเครือ เพราะคนขับจำนวนมากไม่สะดวกเข้าเป็นพนักงานเต็มเวลา

แถลงการณ์ของ Uber ยังโจมตีกลับฝั่งเจ้าหน้าที่รัฐด้วยว่า “เมื่อคนแคลิฟอร์เนียมากกว่า 3 ล้านคนไม่มีงานทำ ผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งของเราควรจะมุ่งเน้นกับการสร้างงานสร้างอาชีพ ไม่ใช่พยายามทำลายอุตสาหกรรมท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้”

“ดารา โคสโรว์ชาฮี” ซีอีโอ Uber

“ดารา โคสโรว์ชาฮี” ซีอีโอ Uber ยังพยายามหาทางออกให้กับประเด็นนี้มาตั้งแต่ต้นปี โดยเขามองว่าเรื่องนี้ควรจะมี “ทางเลือกที่สาม” ให้กับคนขับ ทำให้ผู้รับจ้างอิสระยังคงมีอิสระและยืดหยุ่นในอาชีพการงาน พร้อมๆ กับได้รับสวัสดิการและการปกป้องทางกฎหมายที่มากขึ้น

ทางเลือกที่สามที่เขาเสนอคือ บริษัทจะตั้งกองทุนสวัสดิการที่จ่ายให้ในสัดส่วนสอดคล้องกับจำนวนชั่วโมงที่ผู้รับจ้างอิสระทำงานให้กับบริษัท เขายังระบุว่าถ้าหากมีโมเดลนี้เกิดขึ้นจริงใน 50 รัฐของสหรัฐอเมริกา Uber จะจ่ายเข้ากองทุนนี้ไปแล้ว 655 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเฉพาะปี 2019 เท่านั้น

สำหรับความเห็นของผู้พิพากษาชูลแมนมองว่า ในยามนี้ที่ไวรัสโคโรนาระบาดหนัก ทำให้ความต้องการใช้บริการของ Uber และ Lyft ลดลงอย่างรุนแรง ในภาวะที่จำนวนการใช้บริการลดลงต่ำที่สุด อาจจะเป็น ‘เวลาที่ดีที่สุด’ ที่จำเลยจะต้องเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยไม่ให้เกิดผลกระทบข้างเคียงเป็นวงกว้างแก่คนขับของตนเอง

Source: Forbes, CNBC

]]>
1292275
สัญญาณบวก! Didi บริการร่วมขับขี่ในจีน “ฟื้นตัว” เท่ากับช่วงก่อน COVID-19 ระบาดแล้ว https://positioningmag.com/1282589 Mon, 08 Jun 2020 09:48:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282589 Didi Chuxing บริการร่วมขับขี่ (ride-sharing) รายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน เปิดเผยว่าจำนวนเที่ยวเรียกรถต่อวันของเดือนมิถุนายนกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้ว สะท้อนสัญญาณบวกของสภาพเศรษฐกิจแดนมังกร

เฉิง เว่ย ซีอีโอบริษัท Didi Chuxing บริการร่วมขับขี่แบบเดียวกับ Grab และ Uber และเป็นผู้เล่นที่ใหญ่ที่สุดในตลาดจีน เปิดเผยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2020 ว่า ขณะนี้จำนวนเที่ยวเรียกรถต่อวันของ Didi กลับมาเท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้ว โดยมีจำนวนเที่ยวเรียกรถมากกว่าวันละ 30 ล้านเที่ยว ส่วนบริการเช่าจักรยาน Didi Bike มีจำนวนเที่ยวการใช้งานแตะ 10 ล้านเที่ยวต่อวัน

ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนสัญญาณการฟื้นตัวทางธุรกิจและเศรษฐกิจจีน หลังเผชิญสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ก่อนใครตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคม และเข้าสู่จุดวิกฤตหนักในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และค่อยๆ ฟื้นตัวหลังจากนั้น

นอกจากในประเทศจีน Didi ยังมีบริการในอีก 8 ประเทศทั่วโลก คือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอีก 6 ประเทศกลุ่มละตินอเมริกา Didi ประกาศเมื่อสองเดือนก่อนว่า ภาพรวมธุรกิจบริษัททั่วโลกกำลังฟื้นตัวขึ้นจากช่วงที่หนักที่สุดคือกลางเดือนมีนาคม และแม้ว่าจะเพิ่งผ่านวิกฤตมา แต่บริษัทยังคงตั้งเป้าผลักดันเที่ยวเดินทางไปสู่ 100 ล้านเที่ยวต่อวัน มีผู้ใช้งาน 800 ล้านคนทั่วโลก ภายในปี 2022

บริการร่วมขับขี่เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่เผชิญวิกฤตหนักจากการระบาดของไวรัสโคโรนา เนื่องจากผู้บริโภคลดการเดินทางลง แม้ว่าบริการเดลิเวอรี่อาหารจะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถครอบคลุมส่วนที่หายไปของการเรียกรถได้

ตัวอย่างเช่น บริษัท Uber จากสหรัฐฯ จำเป็นต้องปลดพนักงาน 3,700 คน คิดเป็น 14% ของพนักงานทั่วโลก เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด เนื่องจากเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จำนวนเที่ยวเดินทางลดลง 80% ด้าน Grab ซึ่งเป็นผู้เล่นที่อยู่ในประเทศไทยด้วย เคยประกาศเมื่อเดือนเมษยนว่าบริษัทยังมีกระแสเงินสดสู้วิกฤตไปได้อีก 3 ปี แต่ในแง่ของพาร์ตเนอร์ผู้ร่วมขับขี่ประเภท GrabCar ต่างพบว่าลูกค้าน้อยลงอย่างเลี่ยงไม่ได้

Source

]]>
1282589
Ride-sharing สะเทือน Uber ปลดพนักงาน 3,700 คน เเม้บริการส่งอาหารโต เเต่รายได้น้อย https://positioningmag.com/1277109 Thu, 07 May 2020 04:16:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277109 ผู้คนต้องถูกจำกัดการเดินทางตามมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ส่งผลกระทบหนักต่อธุรกิจ Ride-sharing เเม้บริการส่งอาหารจะเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงนี้ เเต่ก็ไม่อาจทดเเทนธุรกิจหลักได้ ล่าสุด Uber ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกรถโดยสารรายใหญ่ จำเป็นต้องปลดพนักงานกว่า 3,700 คน หรือราว 14% เพื่อพยุงธุรกิจในผ่านวิกฤต COVID-19

โดย Uber เเจ้งต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ว่าบริษัทจะปลดพนักงานจำนวน 3,700 คน คิดเป็นราว 14% จากพนักงานทั้งหมดทั่วโลก 26,900 คน ซึ่งพนักงานที่ถูกปลดส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานประจำที่อยู่ในฝ่ายสนับสนุนลูกค้าเเละทีมงานทรัพยากรบุคคล คาดว่าจะต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างประมาณ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 650 ล้านบาท)

ขณะที่ซีอีโอ Dara Khosrowshahi ประกาศจะไม่รับเงินเดือนที่เหลือของปี 2020 เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเงินเดือนของเขาอยู่ที่ 1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในปี 2019 เเต่จะได้รับค่าตอบแทนส่วนใหญ่เป็นเงินโบนัสและหุ้นมากกว่า โดยความเคลื่อนไหวของ Uber ทำให้หุ้นของบริษัทลดลงถึง 4% ในวันพุธที่ผ่านมา

ทั้งนี้ Uber ยังจะมีมาตรการลดต้นทุนออกมาอีก โดยเริ่มจากการปิดศูนย์บริการคนขับ 180 แห่งอย่างถาวร

ธุรกิจ Ride-sharing กำลังเผชิญความยากลำบาก หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งได้ทำลายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเเละหลายประเทศออกมาตรการล็อกดาวน์ ให้ผู้คนงดเดินทางเพื่อหยุดการเเพร่ระบาด

ยอดจองรถของ Uber ทั่วโลกลดลงกว่า 80% ตามรายงานของ The Information เมื่อเดือนที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนเตรียมรับผลกระทบมากขึ้นจากรายงานผลกระกอบการไตรมาส 1/2020 ที่ Uber กำลังจะประกาศภายในสัปดาห์นี้

แม้บริการส่งอาหารของ Uber Eats จะเติบโตในวิกฤตนี้ แต่ก็ไม่อาจทดแทนธุรกิจหลักได้ เนื่องจากธุรกิจ Ride-sharing ของ Uber มีสัดส่วนรายได้มากขึ้น 81% ส่วน บริการจัดส่งอาหารอยู่ที่ 11% (ตามรายงานในไตรมาส 4/2019) ตอนนี้บริษัท จึงสนับสนุนให้คนขับรถทำงานสลับไปมาระหว่างการขับรถและบริการจัดส่งอาหาร เพื่อหารายได้หลายทาง

ด้านบริษัทคู่เเข่งอย่าง Lyft เพิ่งประกาศว่าจะเลิกจ้างพนักงานเกือบ 1,000 คน (ราว 17%) ของพนักงานทั้งหมด ขณะที่ Grab ในสิงคโปร์พนักงานหยุดงานแบบไม่ได้เงินเดือน

ก่อนจะเกิดวิกฤต COVID-19 ตัวเลขผลประกอบการของ Uber ก็ขาดทุนจำนวนมากทำให้ปีที่เเล้วบริษัทต้องปลดพนักงานเกือบ 1,000 คนจากเเผนกวิศวกรรม ผลิตภัณฑ์ และฝ่ายการตลาด

อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทพยายามลดค่าใช้จ่ายเพื่อประคองธุรกิจ เต่ก็มีรายงานว่า Uber กำลังมองหาการลงทุนเพื่ออนาคต โดยมีการเจรจาเพื่อนำเงินลงทุน 170 ล้านเหรียญ ไปลงทุนในธุรกิจสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าอย่าง Lime

 

ที่มา : CNBC, CNN , SEC

 

]]>
1277109