Salesforce – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 09 Mar 2023 06:43:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มาอีกเจ้า! Salesforce เปิดตัว ‘Einstein GPT’ ตัวช่วยในระบบ CRM บริการลูกค้าได้ง่ายขึ้น https://positioningmag.com/1422555 Thu, 09 Mar 2023 06:23:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422555 กระแส Generative AI กำลังมาแรงอย่างยิ่งในโลกเทคโนโลยี ล่าสุดบริษัท Salesforce เป็นอีกหนึ่งแห่งที่เปิดบริการนี้บ้างภายใต้ชื่อ Einstein GPT แชตบอตที่คล้ายคลึงกับ ChatGPT แต่จะมุ่งเน้นช่วยเหลือการทำงานของพนักงานในสาย CRM เป็นหลัก

Einstein GPT พัฒนามาเพื่อทำงานกับระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์หรือระบบ CRM ซึ่งเป็นโปรดักส์ที่มีการใช้งานสูงมากของ Salesforce

วิธีการทำงานคือ แชตบอตตัวนี้จะให้พนักงานป้อนคำสั่งเพื่อขอข้อความสรุปเกี่ยวกับประวัติลูกค้า สั่งให้เขียนอีเมลหาลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง (personalized) ไปจนถึงการสร้างข้อความโฆษณาทางการตลาดแบบเฉพาะ ยิ่งไปกว่านั้น AI ตัวนี้สามารถสร้างภาพโฆษณาสำหรับใช้ในแคมเปญต่างๆ ทางธุรกิจได้ด้วย

การพัฒนาในครั้งนี้ Salesforce ร่วมมือกับบริษัท OpenAI (เจ้าของ ChatGPT) ทำให้ Einstein GPT เข้าถึงทรัพยากรของ ChatGPT มารวมกับดาต้าที่ทาง Salesforce มีอยู่ จากนั้นเมื่อลูกค้านำไปใช้ในบริษัท ลูกค้าสามารถฝึกฝน Einstein GPT ให้ทำงานไปในทิศทางที่บริษัทต้องการได้

นอกจากนี้ Salesforce ยังประกาศการพัฒนา Gen-AI ในรูปแบบเดียวกับ ChatGPT ที่จะเข้ามาประกบกับแพลตฟอร์ม Slack ของบริษัท ซึ่งระบบนี้เป็นเครื่องมือการทำงานที่นิยมมากในหลายองค์กรทั่วโลก

ตั้งแต่ ChatGPT เริ่มเปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022 ทำให้เกิดแรงกระเพื่อม บริษัทเทคโนโลยีจำนวนมากหันมาเร่งพัฒนา Gen-AI เพื่อนำมาต่อยอดเข้าไปในโปรดักส์ที่ตัวเองมี อย่างเช่น Microsoft ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์กับ OpenAI อยู่แล้ว ก็รีบประกบ ChatGPT เข้าไปใน Bing ขณะที่ Google ก็เปิดตัว AI ในชื่อ Bard เพื่อมาแข่งขันกัน รวมถึงอีกฟากหนึ่งของโลกอย่าง “จีน” หลายบริษัทเทคจีนก็มีแชตบอตแบบเดียวกันออกมา

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแชตบอตให้ให้ข้อมูลที่เหมาะสมถูกต้องไม่ใช่เรื่องง่ายเลย Bard ของ Google เคยทำพลาดมาแล้วกับการให้ข้อมูลผิดเกี่ยวกับองค์การ NASA หรือเมื่อ ChatGPT เข้าไปอยู่ใน Bing ก็เริ่มเรียนรู้ที่จะให้คำตอบที่หยาบคายรุนแรงมากขึ้น

จากปัญหาเหล่านี้ Salesforce บอกว่าบริษัทพยายามจะป้องกันการเรียนรู้ที่ผิด ด้วยการมีมนุษย์ทำงานกลั่นกรองคำตอบของ Einstein GPT อีกชั้นหนึ่งก่อน ตัวอย่างเช่น ถ้าพนักงานต้องการจะใช้แชตบอตเขียนอีเมลให้ การใช้งานอาจต้องทำหลายขั้นตอน เริ่มจากสั่งให้เขียนอีเมล และสั่งเพิ่มเติมเช่นว่า ‘เขียนให้โทนดูเป็นทางการน้อยลง’ สั่งไปได้เรื่อยๆ จนกว่าผู้ใช้จะพอใจแล้วจึงคัดลอกข้อความไปส่งอีเมลจริงๆ ดังนั้น Gen-AI ตัวนี้จะไม่ทำงานแบบอัตโนมัติรวดเดียวจบ คือสั่งให้เขียนอีเมลแล้วส่งออกไปทันที ซึ่งอาจจะเกิดความผิดพลาดได้

ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมานี้ Salesforce ยังมีการประกาศงบลงทุนผ่าน Salesforce Ventures เพิ่มอีก 250 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย (ประมาณ 8,700 ล้านบาท) โดยกองทุนนี้เป็นหน่วยการลงทุนเพื่อเจาะในกลุ่มสตาร์ทอัพด้าน Gen-AI โดยเฉพาะ กองทุนเคยลงทุนไปแล้วกับบริษัทสตาร์ทอัพต่างๆ เช่น Anthropic, Cohere, Hearth และ You.com

Source

]]>
1422555
ส่องนโยบายบริหาร “ที่ทำงาน” ของบริษัทเทคสหรัฐฯ หลังผ่านพ้น COVID-19 https://positioningmag.com/1326457 Mon, 05 Apr 2021 03:46:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326457 บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลกคือหนึ่งในต้นแบบของการบริหารจัดการที่ทำงาน บริษัทเหล่านี้เป็นกลุ่มแรกๆ ที่ออกนโยบาย Work from Home ระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาโรคระบาด COVID-19 หลังจากสถานการณ์ในสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทิศทางวิธีการบริหาร “ที่ทำงาน” ของบริษัทเหล่านี้จึงชัดเจนขึ้นว่าจะให้ “ตัวเลือก” พนักงานอย่างไรบ้าง

การออกนโยบาย Work from Home หรือจะทำงานระยะไกลจากที่ไหนก็ได้ ทำให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกทรัพยากรบุคคล ธุรกิจสำนักงานให้เช่า ฯลฯ ต้องอภิปรายกันถึงความเป็นไปได้ที่วิธีทำงานแบบนี้จะกลายเป็นวิถีระยะยาวของมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอื่น ตั้งแต่อาคารสำนักงาน บ้านพัก คมนาคม ไปจนถึงธุรกิจร้านสูทเลยทีเดียว

เมื่อสถานการณ์โรคระบาดในสหรัฐฯ เริ่มเห็นแสงสว่าง โดยมีผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ไปเกือบครบ 100 ล้านคนแล้ว ทำให้บริษัทเทคฯ เริ่มปรับนโยบายอีกครั้งและกลับมา “เปิดออฟฟิศ”

ลองมาชมตัวอย่างวิธีบริหาร “ที่ทำงาน” ของบางบริษัทดูว่าวางนโยบายไว้อย่างไรบ้าง

 

Facebook – ขออนุญาตทำงานระยะไกลได้

สำนักงานใหญ่ Facebook ที่ซิลิคอน วัลเลย์ (Photo : Shutterstock)

Facebook เพิ่งประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่า บริษัทจะเริ่มเปิดออฟฟิศสำนักงานใหญ่ที่ซิลิคอน วัลเลย์ ให้พนักงานกลับเข้างานได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2021 แต่จะทยอยเปิดให้พนักงานเข้าเพียง 10% ในช่วงเริ่มต้น ก่อนจะค่อยๆ เปิดไปจนถึง 50% ของทั้งหมดภายในต้นเดือนกันยายน 2021

สำหรับพนักงานที่ได้รับอนุญาตให้ Work from Home ยาวมาตั้งแต่ปีก่อน จะได้รับผ่อนผันให้ทำงานจากบ้านต่อไปได้อีก 1 เดือนหลังจากออฟฟิศของบุคคลนั้นมีพนักงานกลับเข้าออฟฟิศแตะ 50% แล้ว (แต่ละแห่งอาจเรียกพนักงานกลับออฟฟิศเร็วช้าต่างกัน)

อย่างไรก็ตาม พนักงานจะยังต้องทำตามระบบรักษาสุขอนามัย เช่น สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และมีสุ่มตรวจ COVID-19 ทุกสัปดาห์

แต่ก็มิใช่ว่า Facebook จะบังคับให้พนักงานกลับมาทุกคน ตามวิสัยทัศน์ของ Mark Zuckerberg ซีอีโอบริษัท มองว่าประมาณ 50% ของพนักงาน Facebook จะทำงานจากระยะไกลภายในทศวรรษหน้า และบริษัทอนุญาตพนักงานบางส่วนให้ย้ายไปทำงานระยะไกลถาวรแล้วด้วย เพียงแต่ต้องยอมรับการตัดเงินเดือน เพราะถือว่าพนักงานได้ย้ายออกจากพื้นที่ค่าครองชีพสูงอย่างซิลิคอน วัลเลย์ไปแล้ว

 

Google – เข้างาน 3 วันต่อสัปดาห์

Photo : Shutterstock

ผู้นำแห่งการจัดการออฟฟิศ Google ศึกษาผลของการ Work from Home ในช่วงโรคระบาด และพบว่า พนักงาน 62% ต้องการจะเข้าออฟฟิศ “บ้าง” เพื่อพบปะกับพนักงานคนอื่น ดังนั้น รูปแบบออฟฟิศแบบไฮบริดจึงน่าจะตอบโจทย์มากที่สุด

ในที่สุด เมื่อเดือนธันวาคม 2020 ซีอีโอ Sundar Pichai ก็ออกแถลงการณ์คร่าวๆ ว่าต้องการให้พนักงานวางแผนพักอาศัยในระยะที่ไปกลับออฟฟิศได้สะดวก เพราะบริษัทจะให้พนักงานเข้าออฟฟิศอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ส่วนอีก 2 วันสามารถทำงานที่บ้านหรือที่ใดก็ตามที่ต้องการ

ทั้งนี้ หากเป็นพนักงานที่ทำหน้าที่ตอบสนองลูกค้าโดยตรง หรือต้องดูแลดาต้า เซ็นเตอร์ หรือต้องเข้าแล็บเพื่อใช้อุปกรณ์พิเศษ ยังจำเป็นต้องเข้าสถานที่ทำงานทุกวัน

สำหรับช่วงแรกของการกลับเข้าออฟฟิศซึ่งยังต้องระวังเรื่องสุขอนามัย ออฟฟิศจะจัดให้มีระบบจองห้องประชุมที่ให้คนเข้าร่วมได้ไม่เกิน 12 คน หากต้องการประชุมคนเยอะกว่านั้นสามารถจัดได้ในพื้นที่กลางแจ้ง

Pichai ยังกล่าวในแถลงการณ์ด้วยว่าบริษัทจะพัฒนาโปรแกรม Meet และ Workspace อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงลดช่องว่างระหว่างเพื่อนร่วมงานที่ทำงานในออฟฟิศและทำงานจากบ้านให้มากที่สุด

Google ยังประกาศเปิดออฟฟิศเร็วขึ้นเป็นเดือนเมษายน 2021 แต่จะทยอยเปิดตามสถานการณ์ของแต่ละรัฐ โดยยังไม่บังคับให้กลับมาทุกคน เพราะกำหนดการเดิมคือจะเริ่มให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิศตั้งแต่เดือนกันยายน 2021 เป็นต้นไป

 

Microsoft – ทำงานแบบ “ไฮบริด”

Photo : Pixabay

คล้ายกับ Google เพราะ Microsoft มีการสำรวจพนักงานของตนเองเหมือนกันว่าชอบการทำงานระยะไกลแค่ไหน โดยพนักงานบริษัท 73% ตอบว่าต้องการจะทำงานระยะไกลซึ่งยืดหยุ่นกว่าต่อไป

ทำให้ Microsoft พิจารณาที่จะให้พนักงานมีเวลา Work from Home ได้เป็นมาตรฐานใหม่ของบริษัท และจะใช้เทคโนโลยีมาเชื่อมต่อให้การทำงานของคนที่อยู่บ้านกับคนที่อยู่ออฟฟิศราบรื่น โดยมีโปรแกรมหัวใจสำคัญคือ Microsoft Team ซึ่งจะถูกพัฒนาให้ล้ำสมัยยิ่งขึ้น

ขณะนี้ Microsoft ยังอยู่ระหว่างวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และมีการจัดทำฉากทัศน์หลายๆ รูปแบบเพื่อค้นหารูปแบบที่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานแบบไฮบริด

ปัจจุบัน Microsoft เริ่มเปิดออฟฟิศให้พนักงานกลับเข้างานแล้วตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2021 และยังใช้ระบบสมัครใจ สามารถเลือกเองได้ว่าจะกลับเข้าออฟฟิศหรือไม่ รวมถึงจะมาเป็นประจำ หรือจะสลับวันมาออฟฟิศกับการอยู่บ้านก็ได้

 

Twitter – ทำงานจากบ้านตลอดไป

สำนักงานใหญ่ Twitter ในซานฟรานซิสโก (Photo : Shutterstock)

หนึ่งในบริษัทใหญ่แห่งแรกๆ ที่อนุญาตให้พนักงานทำงานจากบ้านได้ “ตลอดไป” บริษัท Twitter นั้นมีแผนมาตั้งแต่ปี 2018 แล้วที่จะอนุญาตให้พนักงานทำงานจากบ้านได้แบบตลอดเวลาและตลอดไป เพราะซีอีโอ Jack Dorsey มองจากประสบการณ์ส่วนตัวว่าการทำงานจากบ้านทำให้งานมีประสิทธิภาพมากกว่า

แน่นอนว่าไม่ใช่การบังคับ แต่เป็นทางเลือกให้พนักงานที่ต้องการ Work from Home สามารถทำได้เลย

โดยแผนของ Twitter ถูกวางไว้มานาน 2 ปี เมื่อเผชิญโรคระบาดบีบสถานการณ์จึงทำให้แผนถูกนำมาใช้เร็วกว่ากำหนดเท่านั้นเอง

 

Salesforce – เปิด 3 ทางเลือก

(Photo : Shutterstock)

บริษัทซอฟต์แวร์และคลาวด์คอมพิวติ้งแห่งนี้ พิจารณาจากสถานการณ์ช่วงโรคระบาดและออกทางเลือกเป็น 3 ทางให้กับพนักงาน เรียกว่า Flex, Fully Remote และ Office-based

ตามชื่อเรียกของแต่ละแผน คือพนักงานสามารถเลือกได้ว่าอยากจะเข้าออฟฟิศตามปกติ หรือทำงานถาวรจากบ้าน หรือเข้าบ้างเป็นบางวันนั่นคือแผน Flex แปลว่าควรจะเข้าออฟฟิศประมาณ 3 วันต่อสัปดาห์เพื่อมาทำงานที่อาจจะทำแบบออนไลน์ไม่ได้

อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทเทคฯ จะเป็นผู้นำเรื่องการทำงานจากที่ไหนก็ได้ แต่ใช่ว่าทุกบริษัทจะมองแบบเดียวกันหรือทำตามได้หมด และไม่ใช่แค่เรื่องการปรับใช้เทคโนโลยี แต่ยังมีเรื่องธรรมชาติของธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น Goldman Sachs, J.P.Morgan หรือกระทั่ง Netflix ต่างต่อต้านไอเดียการทำงานจากบ้านแบบถาวร เพราะมองว่าไม่เหมาะกับองค์กรของตนเอง

Source: Bloomberg, CNBC, The Verge, Business Insider

]]>
1326457
Salesforce เข้าฮุบกิจการ Slack ปิดดีลยักษ์มูลค่า 2.7 หมื่นล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1308611 Wed, 02 Dec 2020 06:52:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308611 เซลล์ฟอร์ซ (Salesforce) ควงสแลค (Slack) ประกาศจูบปากควบรวมกิจการ ผลจากดีลจะทำให้ Slack กลายเป็นหน่วยงานภายใต้ Salesforce โดยยังคงมีซีอีโอคนเดิมเป็นหัวหน้าบริการ เพื่อเน้นพัฒนาให้บริการเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ของ Salesforce ให้มากขึ้นในระยะยาว มูลค่าดีลทะลุ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ถูกยกเป็นการเข้าซื้อกิจการครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ธุรกิจ

Slack เป็นแพลตฟอร์มสำหรับติดต่อสื่อสารในการทำงานซึ่งได้รับความนิยมมากทั่วโลก ล่าสุดบริษัทรายงานว่ามีรายรับรวม 234.5 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบปีต่อปี แถมยังมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มที่ชำระเงินค่าสมาชิกนั้นเพิ่มขึ้นกว่า 140% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

บริษัทดาวรุ่งอนาคตไกลอย่าง Slack Technologies Inc. จึงมีมูลค่าหุ้นไม่ธรรมดา ทำให้ Salesforce ต้องจ่ายเงินมูลค่าดีล 27,700 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 8.3 แสนล้านบาทเพื่อให้ดีลนี้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ โดย Salesforce จะจ่ายเป็นเงินสด 26,790 ล้านดอลลาร์ ที่เหลือจ่ายเป็นหุ้นของ Salesforce

ทั้งหมดนี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Slack ชื่นชมว่า Salesforce นั้นเป็นผู้บุกเบิกซอฟต์แวร์บนคลาวด์ การร่วมมือกันจะทำให้เกิดประวัติศาสตร์ใหม่หลังจากที่ Slack ได้เปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้คน ซึ่งนอกจาก Slack จะถูกเชื่อมต่อกับบริการ Salesforce Cloud มากขึ้น จะยังถูกพัฒนาเป็นอินเทอร์เฟซใหม่ของระบบ Salesforce Customer 360 ด้วย

สำหรับ Slack ได้เปลี่ยนธุรกิจจากช่วงเริ่มต้นที่เติบโตอย่างรวดเร็วในฐานะบริษัทเกมในปี 2009 วันนี้ Slack เป็นคู่แข่งรายใหญ่ของไมโครซอฟท์ (Microsoft) และเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 12 ล้านคนต่อวัน (ตัวเลข ณ เดือนตุลาคมปีที่แล้ว) โดย Butterfield มีดีกรีเป็นผู้ร่วมสร้างบริการดังอย่าง Flickr ซึ่งเริ่มต้น Slack จากการพัฒนาบริการทางเลือกให้ผู้ใช้ไม่ต้องพึ่งพาการส่งอีเมลอย่างเดียว ทำให้บริษัท สตาร์ทอัพ และธุรกิจสามารถจัดการการสื่อสารระหว่างสำนักงานได้ดีขึ้น ทำให้ Slack กลายเป็นระบบสื่อสารเพื่อการทำงานที่เต็มไปด้วยฟีเจอร์การประชุมทางวิดีโอ การส่งไฟล์ และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่โดนใจหลายองค์กร

Source

]]>
1308611