Telemedicine – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 14 Aug 2022 09:55:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก Jio Health สตาร์ทอัพเวียดนามที่ KBank ร่วมลงทุน เตรียมบุกตลาด HealthTech ไทยปีหน้า https://positioningmag.com/1396064 Sat, 13 Aug 2022 13:24:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396064 Jio Health สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งในเวียดนามโดยมี KBank ร่วมลงทุนในการระดมทุนรอบ Series B กำลังกรุยทางสู่การเป็น HealthTech แถวหน้าของประเทศ พร้อมขยายตัวเข้าสู่ประเทศไทยและอินโดนีเซียปลายปี 2023 สตาร์ทอัพรายนี้ใช้โมเดลผสมผสานระหว่างการเป็นแพลตฟอร์มปรึกษาแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ร่วมกับการลงทุน “คลินิก” ออฟไลน์ด้วยตนเอง

ชั้น 1 ของศูนย์การค้า mPlaza กลางเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ เป็นที่ตั้งคลินิกแห่งแรกของ Jio Health (จีโอ เฮลธ์) สตาร์ทอัพด้าน HealthTech ในเวียดนาม สตาร์ทอัพรายนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2018 เริ่มจากการเป็นแพลตฟอร์มปรึกษาแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ก่อนจะมาก่อตั้งคลินิกออฟไลน์แห่งแรกเมื่อปี 2020

“รากู ไร” ซีอีโอ Jio Health ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย เขาเลือกเข้ามาก่อตั้งสตาร์ทอัพในเวียดนามเพราะเห็นโอกาสการเติบโต รากูเล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังระหว่างทัวร์ชมคลินิกว่า โอกาสของ HealthTech ในเวียดนาม เกิดจากระบบสาธารณสุขที่ไม่สะดวกสำหรับ ‘ชนชั้นกลาง’ ที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้น คนกลุ่มนี้แม้จะพร้อมจ่ายเพื่อรับการรักษาในขั้นตอน ‘จ่ายเอง’ ของโรงพยาบาลรัฐ ไม่ใช้สิทธิประกันสังคม ก็ยังต้องรอพบแพทย์ 3-4 ชั่วโมง เพื่อได้คุยกับแพทย์แค่ไม่กี่นาที

โฮจิมินห์ ซิตี้ เมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเวียดนาม

ขณะที่เวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพุ่งทะยาน แม้แต่ในช่วง COVID-19 ระบาดซึ่งทำให้เศรษฐกิจประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ในโลกติดลบ แต่เศรษฐกิจเวียดนามก็ยังโต 2% ทางธนาคารกสิกรไทยยังประเมินด้วยว่า ช่วงปี 2021-2030 เศรษฐกิจเวียดนามจะโตเฉลี่ยปีละ 7% นั่นหมายความว่า ชนชั้นกลางเวียดนามจะยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ และเป็นประเทศคนหนุ่มสาวที่พร้อมเปิดรับเทคโนโลยีอีกด้วย

พื้นฐานตลาดเช่นนี้ทำให้ Jio Health เกิดขึ้น โดยเป็นระบบปรึกษาแพทย์ผ่านทางวิดีโอแชท สามารถจองนัดและเข้าพบออนไลน์ จากนั้นแพทย์จะออกใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ให้ในแอปพลิเคชัน ซึ่งคนไข้จะเลือกรับยาเดลิเวอรีหรือสามารถนำไปรับยาได้ตามคลินิกที่เป็นพันธมิตรก็ได้

 

ออนไลน์ไม่พอ ขอพบแพทย์หน้า “คลินิก”

รากูอธิบายต่อว่า หลังจากเริ่มก่อตั้งและฟัง feedback จากลูกค้า แม้ว่าการพบแพทย์ทางไกลจะสะดวกแต่โรคบางโรคนั้นคนไข้ก็ต้องการ end-to-end service เพราะต้องมีการใช้เครื่องมือตรวจโรคบางอย่างที่ทำออนไลน์ไม่ได้ เช่น เอ็กซเรย์ ตรวจเลือด ตรวจสายตา ทำฟัน รวมถึงการปรึกษาแพทย์แบบตัวต่อตัวเป็นบางครั้งที่จำเป็น ทำให้เริ่มก่อตั้งคลินิก Jio Health สาขาแรกในโฮจิมินห์ คลินิกแห่งนี้จะมีเฉพาะการตรวจโรค เน้นคนไข้ OPD จะต่างจากโรงพยาบาลที่รับคนไข้ IPD ได้

Jio Health
ตัวอย่างหน้าแพลตฟอร์มพบแพทย์ออนไลน์ของ Jio Health

ปัจจุบัน Jio Health มีกลุ่มการรักษาหลักๆ ที่ลูกค้าใช้บริการคือ การตรวจโรคทั่วไป กุมารเวช การผดุงครรภ์ การตรวจสุขภาพตามวงรอบ และ การรักษาโรคเรื้อรัง

เป้าหมายการขยายคลินิกปี 2022 รากูระบุว่าจะมีการขยายไปอีก 3 สาขา ให้ครบ 4 สาขา เพราะพบว่าการมีบริการคลินิกออฟไลน์ร่วมด้วยทำให้บริการได้ดีขึ้นจริง

 

เตรียมขยายเข้าไทยปลายปี 2023

Jio Health นั้นเพิ่งระดมทุนรอบ Series B ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้รับเงินลงทุนรวม 20 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 706 ล้านบาท) มีผู้ร่วมลงทุน ได้แก่ Heritas Capital จากสิงคโปร์, Monk’s Hill Venture จากสิงคโปร์, Fuchsia Venture ในเครือเมืองไทย กรุ๊ป และ KVision จากธนาคารกสิกรไทย

Jio Health
ห้องทำฟันในคลินิก Jio Health

รากูกล่าวว่า คาดว่าภายในปลายปี 2023 บริษัทน่าจะเริ่มขยายตัวเข้าสู่ประเทศไทยและอินโดนีเซียได้ โดยเลือกทั้งสองตลาดนี้เพราะมองว่าตลาดมีความต้องการ และประชากรมีความคล่องแคล่วทางเทคโนโลยีสูงแล้ว

บริษัทยังไม่เปิดเผยว่าจะเข้าสู่ตลาดอย่างไรและจับมือกับใครหรือไม่ แต่ถ้าดูจากโมเดลธุรกิจในเวียดนามนั้น Jio Health จะทำงานในลักษณะ B2B2C คือเน้นหาดีลกับบริษัท/องค์กรที่ต้องมีสวัสดิการให้กับพนักงาน ให้หันมาเลือกใช้สวัสดิการสุขภาพผ่านทางแพลตฟอร์มของตน จากนั้นเมื่อพนักงานทดลองใช้และชื่นชอบก็จะมีการใช้งานต่อและบอกต่อกัน ทำให้เติบโตได้ในกลุ่มรายย่อยทั่วไป

ในไทยนั้นตลาด HealthTech ในกลุ่มบริการ Telemedicine นับว่าเป็นธุรกิจที่กำลังบูมเช่นกัน มีสตาร์ทอัพหรือบริษัทต่างๆ ที่เริ่มทำตลาดแล้ว เช่น Good Doctor แอปจาก GDTT บริษัทร่วมทุนระหว่าง Ping An, Grab และ Softbank หรือแอปฯ MorDee ซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มทรู Raksa แอปฯ ที่ก่อตั้งโดยคนไทยแต่ปัจจุบันกลุ่มทุนสิงคโปร์ Doctor Anywhere เข้าซื้อแล้ว หรือเครือโรงพยาบาลบางแห่งก็มีบริการพบแพทย์ออนไลน์ให้กับคนไข้แล้ว เช่น รพ.สมิติเวช, รพ.ศิริราช เป็นต้น

]]>
1396064
ฉีกแนวธุรกิจ! ByteDance ซื้อกิจการ “โรงพยาบาล” ในจีน เข้าสู่วงการ HealthTech เต็มตัว https://positioningmag.com/1395714 Wed, 10 Aug 2022 04:04:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395714 ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ฉีกแนวการขยายธุรกิจ เข้าซื้อ “โรงพยาบาล” ระดับไฮเอนด์ของจีน คาดเป็นการลุยธุรกิจ HealthTech ที่บริษัทเริ่มลงทุนมาแล้ว 2 ปี การซื้อกิจการครั้งนี้ถือว่าเป็น “ดีลใหญ่” ครั้งแรกที่ได้รับอนุมัตินับตั้งแต่จีนเริ่มกวาดล้างอิทธิพลเทคคัมปะนีเมื่อปลายปี 2020

บริษัทแม่ของ TikTok เข้าลงทุน 100% ใน Amcare เชนโรงพยาบาลแม่และเด็กระดับไฮเอนด์ และถือเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลรายใหญ่ของจีนที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ โดยใช้เงินลงทุนไป 10,000 ล้านหยวน (ประมาณ 52,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลได้รับการยืนยันจากโฆษกของ Xiaohe Health ในเครือ ByteDance ว่ามีการเข้าซื้อจริง แต่ขอสงวนความเห็นต่อมูลค่าดีลดังกล่าว

การลงทุนครั้งนี้ทำให้คนในวงการเทคโนโลยีประหลาดใจพอสมควร ประการแรกเป็นเพราะจีนมีนโยบายควบคุมการขยายกิจการของเทคคัมปะนีมานาน 2 ปี โดยจะห้ามไม่ให้บริษัทเทคซื้อกิจการที่นับเป็นดีลขนาดใหญ่ เพราะต้องการไม่ให้เกิดการกินรวบของเทคคัมปะนีรายใหญ่เหล่านี้ โดยเฉพาะการข้ามสายอุตสาหกรรมไปยังธุรกิจใหม่ผ่านการควบรวมกิจการ ดีลนี้จึงนับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่อนุญาตให้เทคคัมปะนีซื้อกิจการขนาดใหญ่ในประเทศ

อีกประการหนึ่งคือ ความเชี่ยวชาญของ Amcare ซึ่งก็คือธุรกิจโรงพยาบาล ดูเหมือนจะไม่อยู่ในวงโคจรธุรกิจของ ByteDance สักเท่าไหร่ ดังที่ทราบกันว่าธุรกิจหลักของ ByteDance คือแพลตฟอร์มคอนเทนต์ และมีการลงทุนในธุรกิจเกม รวมถึงแอปพลิเคชันต่างๆ ทำให้การฉีกแนวมาลงทุนกับธุรกิจสุขภาพเป็นเรื่องน่าแปลกใจในระดับหนึ่ง

โรงพยาบาล Amcare ในจีน เป็นโรงพยาบาลแม่และเด็กระดับบน

อย่างไรก็ตาม ความพยายามเข้าสู่ธุรกิจสุขภาพของบริษัทเทคขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นฝั่งจีนหรือสหรัฐฯ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยมี เพราะมักจะอยู่ในแผนการสร้างความหลากหลายทางธุรกิจ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีแกนหลักสำคัญคือ “ฐานลูกค้า” จากการใช้แอปฯ ในจีนเอง Tencent พยายามจะเปิดคลินิกตรวจโรคแบบมีหน้าสาขาออฟไลน์ ส่วน Alibaba และ JD.com ก็มีร้านขายยาออนไลน์

สำหรับ ByteDance นั้น เท่าที่มีข้อมูลสาธารณะ บริษัทนี้เริ่มเข้าสู่วงการ HealthTech ในปี 2020 จากการเข้าซื้อบริษัทผู้ให้บริการข้อมูลด้านสุขภาพแก่คนทั่วไป ซึ่งต่อมาถูกตั้งชื่อว่า Xiaohe Health และจริงๆ แล้วบริษัทมีการลงทุนในบริษัทด้านไบโอเทคอื่นๆ ด้วย

สำนักข่าว Techcrunch คาดการณ์ว่าบริษัทจะไม่ไปเกี่ยวข้องกับการบริหารเดิมของ Amcare ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงในกลุ่มอีลีทและคนระดับบนของจีน แต่น่าจะหาทางหาจุดร่วมระหว่างแพลตฟอร์มความบันเทิงที่เป็นธุรกิจหลัก กับธุรกิจสุขภาพและไบโอเทคเหล่านี้

ธุรกิจสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังในการทำงานมากเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ครั้งหนึ่งบริษัท Baidu เสิร์ชเอ็นจิ้นยักษ์ใหญ่ของจีนก็เคยพลาดมาแล้วกับเรื่องนี้ เมื่อปี 2016 บริษัทถูกโจมตีจากประชาชนจีน เพราะพบว่าเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่เป็นมะเร็งไปเห็นโฆษณารักษามะเร็งบน Baidu จากนั้นจึงไปกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อรักษาโรคแต่ก็ไม่หายและเสียชีวิตไปในที่สุด

Source: Techcrunch, The Standard HK

]]>
1395714
“บู๊ทส์” ตอกย้ำผู้นำด้านสุขภาพครบวงจร ให้คำปรึกษาเรื่องยา เวชภัณฑ์แบบ ONE-STOP SERVICE https://positioningmag.com/1358782 Fri, 05 Nov 2021 04:00:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358782

ต้องบอกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ คนไทยมีการดูแลสุขภาพร่างกายเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากเทรนด์การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ อีกทั้งผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ก็ต่างพากันออกสูตรใหม่ที่ลดน้ำตาล เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย รวมไปถึงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยิ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้คนไทยตื่นตัวที่จะดูแลตัวเองมากขึ้นไปอีกหลายระดับ นอกจากดูแลแล้ว ยังไปถึงระดับปกป้อง และสร้างภูมิคุ้มกันมากขึ้นด้วย

ทำให้บู๊ทส์เห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา เวชภัณฑ์ อาหารเสริม รวมไปถึงร้านค้าปลีก และโรงพยาบาลต่างๆ

เมื่อไม่นานมานี้ “บู๊ทส์ ประเทศไทย” ได้ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ รับเทรนด์การดูแลสุขภาพของคนไทย ได้ประกาศปรับ Brand Value ใหม่สู่การเป็น “Health & Wellness Solutions Provider” โดยชูจุดเด่นด้วยบริการ New Medicine Service อัปเกรดการให้คำปรึกษาเรื่องยา และเวชภัณฑ์ แบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เรียกว่าดูแลแบบ ONE-STOP SERVICE พร้อมดูแลคนไทยให้สุขภาพดีครบวงจร


คนไทยกังวลทั้งสุขภาพกาย และใจ

เหตุผลที่ธุรกิจด้าน Health & Wellness มีการเติบโต และเป็นที่สนใจมากขึ้นในประเทศไทย หรือแม้กระทั่งทั่วโลกเลยก็ตาม เพราะผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องสุขภาพมากขึ้น สุขภาพในที่นี้มีทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจนั่นเอง

ในเรื่องของสุขภาพกายนั้น พบว่าคนไทยมีปัญหาด้านสุขภาพ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค เผยว่า 5 อันดับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของคนไทยในยุคปัจจุบัน ได้แก่ 1. โรคความดันโลหิตสูง 2. โรคเบาหวาน 3. โรคหลอดเลือดสมอง 4. โรคหลอดเลือดหัวใจ และ 5. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคต่างๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไลฟ์สไตล์ อาหารการกิน การดูแลตัวเอง อาจมีกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เมื่อสะสมมากขึ้นก็กลายเป็นภัยเงียบและปัญหาโรคเรื้อรังในที่สุด

นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คนไทยมีการค้นหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ อ้วน ไต และซึมเศร้ามากที่สุด(ข้อมูลจาก Google trends, Thailand Disease concerns, 1-30 August 2021) สะท้อนได้ว่าในช่วงล็อกดาวน์ คนไทยมีความกังวลใจเรื่องอ้วน และซึมเศร้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากการกักตัวอยู่บ้าน แล้วกินอาหารมากขึ้น รวมถึงการกินอาหารไม่เป็นเวลา

ประกอบกับในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น นอกจากจะส่งผลกระทบในด้านร่างกายอย่างหนักหน่วง แต่ก็ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจไม่แพ้กัน หลายคนได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม บางคนต้องตกงาน เพราะผู้ประกอบการแบกภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว เกิดความไม่แน่นอนทางการเงิน เกิดความเครียดจนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าอีกด้วย

อย่างไรก็ดี การขอคำปรึกษาบางแห่งมีค่าบริการสูง หรือต้องจองคิวนาน แต่สำหรับบู๊ทส์สามารถให้คำปรึกษาได้แบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดยปัญหาสุขภาพหลักๆ ที่คนมาปรึกษากับเภสัชกรบู๊ทส์ ได้แก่ ข้อมูลโรค COVID-19, ปัญหา Office Syndrome หรือ Work From Home Syndrome, ความเครียดจากการทำงาน และเรื่องการซื้อยาที่ตัวเองใช้ประจำเพื่อรักษาอาการของโรคเรื้อรัง รวมไปจนถึงปรึกษาเกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ปัญหาทางด้านการเงินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยเข้าถึงบริการทางด้าน Health & Wellness ได้ยากขึ้น


Telemedicine ทางเลือกใหม่ในยุค 4.0

การมาของเทคโนโลยี 5G ยิ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในหลายๆ อุตสาหกรรม ที่ต้องปรับตัวเพื่อให้เท่าทันต่อเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ในวงการการแพทย์เองก็ได้เกิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า Telemedicine ขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกในการพบแพทย์ และปรึกษาด้านสุขภาพ

ยิ่งในช่วงล็อกดาวน์ ยิ่งต้องมีการรักษาระยะห่างกันมากขึ้น เทคโนโลยีนี้จึงเข้ามาตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด ที่ผ่านมาจะได้เห็นหลายเจ้าที่ลงมาพัฒนา Telemedicine อย่างจริงจัง ทั้งผู้เล่นโอเปอเรเตอร์ โรงพยาบาล และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งแต่ละรายก็จะมีลักษณะของบริการที่แตกต่างกันไป รวมถึงค่าบริการด้วย

ทางด้านบู๊ทส์เองได้เปิดตัว Boots Mobile App แอปสุขภาพครบวงจรตั้งแต่ปี 2563 และเมื่อไม่นานมานี้ได้เปิดฟีเจอร์ใหม่ ‘Talk to Pharmacist’ เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลสุขภาพของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญคือ สามารถใช้บริการได้ฟรีอีกด้วย

‘Talk to Pharmacist’ คือบริการให้คำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพที่เชื่อถือได้จากเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากบู๊ทส์ พร้อมดูแลสุขภาพคนไทยแบบ O2O (Online to Offline) เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปัจจุบัน บู๊ทส์มีจำนวน 240 สาขาทั่วประเทศ มีเภสัชกรของบู๊ทส์จำนวน 288 คน ที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ และตอบปัญหาแบบส่วนตัว ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับ COVID-19 โรคประจำตัว ความกังวลใจเรื่องสุขภาพ ผิวพรรณ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพต่างๆ

เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากบู๊ทส์ ได้ผ่านการอบรมความรู้ด้านสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มั่นใจได้เลยว่า เภสัชกรบู๊ทส์สามารถให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความกังวลใจด้านสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับ COVID-19 วัคซีน และการดูแลตนเอง โดยพร้อมให้บริการคนไทยครบครันทุกช่องทาง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


ปรับลุคสู่ Health & Wellness Solutions Provider

เนื่องจากบู๊ทส์ประเทศไทยมีพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญระดับโลก คือ วอลกรีนส์บู๊ทส์อลิอันซ์ (หรือดับเบิ้ลยูบีเอ) กิจการระดับโลกแห่งแรกที่ดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีชั้นนำ จึงได้นำมาตรฐานระดับโลกมาดูแลให้คนไทยทั้งประเทศเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่าย พร้อมมีสุขภาพกายและใจที่ดียิ่งขึ้น

บู๊ทส์จึงได้ประกาศปรับ Brand Value ใหม่สู่การเป็น “Health & Wellness Solutions Provider” อัปเกรดบริการการให้คำปรึกษาเรื่องยาและเวชภัณฑ์แบบไม่มีค่าใช้จ่าย #มั่นใจ ONE-STOP SERVICE เรื่องยากับเภสัชกรบู๊ทส์ปรึกษาเรื่องสุขภาพฟรี! เพื่อดูแลสุขภาพคนไทยแบบครบวงจร

อรพรรณ พงศ์พานิช Head of Customer Experience บู๊ทส์ รีเทล ประเทศไทย เผยว่า

“เพื่อสานต่อพันธกิจ ‘บู๊ทส์มีความมุ่งมั่นในการเพิ่มการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของเราให้คนไทยทุกคน’ เราพร้อมนำเสนอโซลูชั่นการดูแลสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นใน 3 มิติได้แก่ 1. การสรรหาหรือเลือกสรรสินค้าที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานมาให้ลูกค้าทุกคน 2. การมีเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากบู๊ทส์คอยดูแลคุณในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ 3. บริการแบบครบวงจรที่ทำให้สินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี สามารถเข้าถึงได้สะดวกและง่ายมากขึ้น พร้อมความรู้ความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพที่มั่นใจได้


ดูแลครบ จบแบบ ONE-STOP SERVICE

หลายคนต้องการปรึกษาด้านสุขภาพ แต่ไม่ต้องการเดินทางไปโรงพยาบาล แต่เมื่อค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตก็พบว่า มีการวินิจฉัยโรคที่แตกต่างกันไป ซึ่งได้สร้างความตื่นตระหนกอย่างมาก การเปิดบริการใหม่ของบู๊ทส์จึงเรียกว่าตอบโจทย์ยุค New Normal อย่างเต็มตัว

ในแง่ของการให้บริการคำปรึกษานั้น บู๊ทส์พร้อมดูแลแบบครบวงจรด้วยผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พร้อมยาและเวชภัณฑ์กว่า 3,000 รายการ ที่ได้มาตรฐานครบครันที่สุด ให้ลูกค้าทุกคนอุ่นใจเรื่องยาเพียงปรึกษากับเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากบู๊ทส์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 288 คน ที่พร้อมให้คำแนะนำเฉพาะบุคคล

การให้คำปรึกษานั้นจะผ่านทั้งทางหน้าร้านบู๊ทส์ 240 สาขาทั่วประเทศ, Boots Mobile App: Talk to Pharmacist ที่ให้บริการตั้งแต่ 9.00-21.00 น.ทุกวัน รวมไปถึง LINE Chat & Shop ของร้านบู๊ทส์แต่ละสาขา

แค่การให้คำปรึกษาอย่างเดียวไม่พอ บู๊ทส์ยังดูแลครบวงจรแบบ Omnichannel โดยที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ได้ในทันที ทางร้านก็ได้จัดเตรียมสินค้า มอบความสะดวกสบายให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้นด้วยการนัดมารับที่หน้าร้าน นอกจากนี้ ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บู๊ทส์ก็ยังมีตัวช่วยให้คนไทยเข้าถึงบริการได้อย่างมั่นใจ กับบริการผ่าน Grab และเซอร์วิสอื่นๆ มาเสริมในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ไม่ต้องเดินทางออกจากบ้านเพื่อเจอกับความเสี่ยงรอบตัว

จะเห็นได้ว่าบริการ #มั่นใจ ONE-STOP SERVICE เรื่องยากับเภสัชกรบู๊ทส์ ครบวงจรแบบ Omnichannel เป็นการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ยุค New Normal จริงๆ เป็นการพัฒนาจากการเข้าใจอินไซต์ของลูกค้าว่าต้องการอะไร มี Pain Point อย่างไรบ้าง สามารถตัดความกังวลในการเข้าถึงบริการเรื่อง Health & Wellness ไปได้

มายกระดับการดูแลสุขภาพของคุณกับบู๊ทส์ประเทศไทย ที่ร้านบู๊ทส์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือผ่าน Boots Mobile App แอปพลิเคชันเพื่อสุขภาพครบวงจร ดาวน์โหลดได้ที่ https://bit.ly/3wbObtD

หรือปรึกษาเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ LINE Chat & Shop: http://bit.ly/3qgm9KY

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook.com/bootsthailand

นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา เป็นเวลา 24 ปีแล้ว ที่บู๊ทส์ ประเทศไทย ได้ดูแลสุขภาพของคนไทย และยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะคอยอยู่เคียงข้าง พร้อมนำเสนอโซลูชันที่จะช่วยให้ชีวิตของคนไทยมีสุขภาพที่ดี และมีความสุขมากขึ้น

]]>
1358782
เปิด 4 แกน ‘AIS 5G’ หนุนสาธารณสุขไทยสู้ ‘โควิดระลอก 3’ ความท้าทายของทำงานแข่งกับเวลา พาประเทศฝ่าวิกฤต https://positioningmag.com/1328796 Fri, 23 Apr 2021 13:20:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328796

ตั้งแต่ที่ ‘เอไอเอส’ (AIS) รับไลเซนส์ 5G จากกสทช. ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2020 หลังจากนั้น 1 เดือน ประเทศไทยก็เจอกับวิกฤตการระบาดของไวรัส COVID-19 ดังนั้น ช่วงปลายเดือนมีนาคมเอไอเอสจึงได้นำ 5G มาสนับสนุนทางการแพทย์ ผ่านแคมเปญ ‘5G สู้ภัยโควิด’ แน่นอนว่าการระบาดระลอกที่ 3 นี้ เอไอเอสก็ยังเดินหน้าใช้ 5G ช่วยเหลือภาคสาธารณสุขไทยฝ่าวิกฤตในครั้งนี้

ย้อนรอยใช้ 5G สู้โควิด

ย้อนไปที่การระบาดของ COVID-19 ในรอบแรก เอไอเอสมีโครงการ ‘AIS 5G สู้ภัยโควิด’ โดยให้การสนับสนุนทั้งการติดตั้งเครือข่ายสื่อสารในพื้นที่โรงพยาบาล สนับสนุนซิมการ์ด และ SMS ให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อให้บริการ Telemedicine มีการนำหุ่นยนต์ไปให้บริการเพื่อลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์

และในการระบาดครั้งที่ 2 เอไอเอสก็เป็นผู้ให้บริการสื่อสารรายแรกที่สามารถลงพื้นที่ติดตั้งเครือข่ายสื่อสารสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาลสนามแห่งแรก ณ จ.สมุทรสาครได้สำเร็จ นอกจากนี้ ยังมีการนำร่องกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ “Digital Yacht Quarantine” ด้วย NB-IoT และสายรัดข้อมืออัจฉริยะ

จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าที่ผ่านมาเอไอเอสเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณเจ้าแรกๆ ที่ลงพื้นที่ส่งมอบเน็ตเวิร์คเพื่อให้บริการแก่ทีมสาธารณสุข แพทย์ พยาบาล รวมถึงผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวภายในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม ซึ่งไม่ใช่การติดตั้งเครือข่าย แต่ยังคิดเรื่องอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับการใช้เทคโนโลยี 5G มาช่วยแก้ปัญหาควบคู่กันไปด้วย

4 แกนสู้โควิดระลอก 3

สำหรับการระบาดของโควิดระลอก 3 นั้น เอไอเอสได้นำ 5G มาช่วยเหลือผ่าน 4 แกน ได้แก่

1. ติดตั้งเครือข่าย AIS 5G ,4G, Free Wifi ในโรงพยาบาลสนามหลักกว่า 31 แห่ง มากกว่า 10,000 เตียง ทั่วประเทศ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น เชื่อมต่อระบบ CCTV เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วย, การส่งต่อข้อมูลการแพทย์ และช่วยให้ผู้ป่วยที่กักตัวสามารถสื่อสาร ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวให้คลายความกังวล มีกำลังใจในการฟื้นฟูสุขภาพ

2. ร่วมกับ “Me -More” ในการทำแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เทคโนโลยีที่ช่วยลดภาระการทำงานของแพทย์และพยาบาล ในการติดต่อสื่อสาร กับผู้ป่วย ที่ช่วยลดการสัมผัส และลดความแออัด

3. 5G AI อัจฉริยะ โดยร่วมมือกับราชวิทยาลัย จุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลเครือข่าย คือ โรงพยาบาลน่าน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ โดยการนำ AI CT Scan ปอด เข้ามาให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยจะช่วยวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณจากการตรวจวินิจฉัยทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ปอดของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อ COVID-19

โดย AI สามารถวิเคราะห์ผลได้ภายในเวลาเพียง 25 วินาทีต่อ 1 เคส ความแม่นยำสูงสุดในการวินิจฉัยสูงถึง 96% ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับความปลอดภัย ลดปริมาณการตรวจสารคัดหลั่ง ลดจำนวนชุดตรวจ COVID-19 ช่วยลดการใช้ PPE และแบ่งเบาภาระให้แก่บุคลากรทางการแพทย์

4. อสม. ปัจจุบันมี อสม.มากกว่า 5 แสนรายที่ใช้งาน แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ช่วยในการรายงาน การคัดกรอง เฝ้าระวัง รวมถึงติดตามผลในกลุ่มเสี่ยง รวมถึงสำรวจสุขภาพจิตจากความเครียดที่มาจากผลกระทบของ COVID-19 โดยเฉพาะในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ที่มีการเดินทางของกลับบ้านของคนเมือง ยิ่งจะทำให้การทำงานของ อสม.ต้องยิ่งมีความเข้มข้นขึ้นมากกว่าเดิม

“ทั้ง 4 แกนไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เราทำ แต่สถานการณ์มันเปลี่ยนไปเพราะคนไข้เยอะขึ้นจนต้องมีโรงพยาบาลสนาม เราเองก็ขยายทรัพยากรและเทคโนโลยีไปยังโรงพยาบาลสนาม ซึ่งเราพยายามช่วยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ผ่านแนวคิด เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย” สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าว

ทุ่ม 50 ล้านซื้อวัคซีนฉีดพนักงาน

ตั้งแต่มีการระบาดระลอก 3 ทางเอไอเอสได้ให้พนักงาน Work From Home 100% และในส่วนของพนักงานที่ต้องลงพื้นที่ เอไอเอสก็มีมาตรการป้องกัน มีการซื้อประกันภัยและค่ารถพิเศษสำหรับบุลลากรที่ต้องออกไปทำงานภาคสนาม และหากภาครัฐเปิดให้เอกชนนำเข้าวัคซีน เอไอเอสได้วางงบไว้ 50 ล้านบาทเพื่อซื้อวัคซีน COVID-19 ให้กับพนักงานกว่า 1.2 หมื่นคนอีกด้วย

รัฐ-เอกชน-ประชาชน 3 ประสานสร้างภูมิคุ้มกัน

เอไอเอสมองว่าการระบาดระลอก 3 มีความรุนแรงกว่ารอบก่อนหน้า และเอไอเอสคนเดียวไม่สามารถก้าวผ่านได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการฟื้นฟูประเทศ ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน และประชาชน ที่ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังให้เกิดเอกภาพเพื่อเตรียมพร้อม ต่อสู้ และปรับตัว สร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ในอนาคต

“อยากฝากภาครัฐว่าให้เตรียมด้านวัคซีนให้พร้อมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงออกมาตรการที่ยั่งยืนเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ส่วนเอกชนที่หลายองค์กรเข้ามาช่วยเหลือก็ถือเป็นสัญญาณดี ดังนั้นอยากให้ร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือประชาชนแทนที่จะแข่งขันกัน สุดท้าย ประชาชนต้องปรับตัว”

ปัจจัยที่เราห่วงมาก ๆ คือ หากการระบาดรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศอย่างมาก ดังนั้น หากทั้ง 3 ส่วนร่วมมือกันจนควบคุมการระบาดของ COVID-19 ให้จบลงได้ภายในไตรมาส 2 เชื่อว่าผลกระทบที่เกิดคงจะไม่ได้มากมาย และหากผ่านพ้นวิกฤตไปได้ประเทศก็จะเดินหน้าต่อไปได้

 

 

]]>
1328796