TTB – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 09 May 2024 03:13:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไอคอนสยามจัดบิ๊กโปรโมชั่น ICONSIAM Big Bang Sale โปรใหญ่ที่ใครก็ห้ามใจไม่อยู่ ช็อปครบทุก 12,000 บาท รับสิทธิ์จับกาชาปองรางวัลใหญ่มูลค่า 100,000 บาท ปลุกกำลังซื้อเศรษฐกิจไทย ตอกย้ำการเป็นจุดหมายปลายทางของการช้อปปิ้งระดับโลก https://positioningmag.com/1472582 Thu, 09 May 2024 09:32:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472582

ไอคอนสยาม จัดโปรโมชั่นแคมเปญสุดยิ่งใหญ่คลายร้อนรับซัมเมอร์ “ICONSIAM BIG BANG SALE โปรใหญ่ ที่ใครก็ห้ามใจไม่อยู่” มอบความคุ้มค่าทุกการซื้อสินค้ารวมถึงบริการในไอคอนสยาม, สยาม ทาคาชิมายะ, ไอซีเอส และการซื้อออนไลน์ผ่าน ONESIAM SuperAPP  ให้เหล่านักช็อปได้สัมผัสประสบการณ์ช็อปแบบเต็มที่ ไม่มีลิมิต ช็อปเยอะได้เยอะ กับ Global Shopping Destination ที่เดียวที่จะมอบสิทธิพิเศษมากมายให้กับสมาชิก ONESIAM รับสิทธิประโยชน์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ รวมมูลค่าของรางวัลรวมกว่า 18.72  ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม – 9 มิถุนายน 2567 ที่ไอคอนสยามเท่านั้น!!

นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด เปิดเผยว่า ไตรมาสแรกของปี 2567  ไอคอนสยาม สร้างรายได้และทราฟฟิกเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการตอบรับที่ล้นหลามของลูกค้าทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ ที่หลั่งไหลเข้ามาซื้อสินค้าและใช้บริการในไอคอนสยาม ตั้งแต่ช่วงเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน  วาเลนไทน์ และเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา  โดยประสบความสำเร็จตั้งแต่ปี 2023 มียอดขายสูงกว่าปี 2022 ถึง 30% และคาดว่ารายการส่งเสริมการขายนี้ จะสนับสนุนให้ยอดขายปี 2024 นี้เติบโตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า  30% เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปีที่๋ผ่านมา และทราฟฟิกเติบโตขึ้นกว่า 25% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566  ส่งผลให้ยอดขายของกลุ่มลูกค้าสมาชิก ONESIAM เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีก่อน โดยสามารถเติบโตในทุกกลุ่มสินค้า สะท้อนถึงความสำเร็จของกลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้าใหม่ และการเพิ่มความถี่ในการซื้อสินค้าและใช้บริการของลูกค้าประจำ ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ

จากกระแสการท่องเที่ยวในประเทศไทยที่กลับมาคึกคัก ซึ่งเป็นผลทั้งจากมาตรการส่งเสริมของภาครัฐ และการผนึกกำลังของพันธมิตรจากทุกภาคส่วนที่ร่วมกันผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หลั่งไหลเดินทางท่องเที่ยวยังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี รวมถึงไอคอนสยาม ในฐานะเป็นแม่เหล็กของการท่องเที่ยวที่ทรงพลัง  อีกทั้งยังเป็น Global Shopping Destination ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และจากทั่วประเทศไทยให้เดินทางมาเยี่ยมชมและช็อปปิ้งอีกด้วย

นายสุพจน์ กล่าวต่อว่า ไอคอนสยาม จับมือกับบัตรเครดิต TTB  เพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้าและมอบประสบการณ์เหนือความคาดหมาย แก่ลูกค้าสมาชิก ONESIAM  โดยแคมเปญนี้ จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย พร้อมทั้งดึงดูดลูกค้านักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เข้ามาซื้อสินค้าและบริการที่ไอคอนสยามมากยิ่งขึ้น  

สำหรับ แคมเปญรับซัมเมอร์  “ICONSIAM BIG BANG SALE โปรใหญ่ ที่ใครก็ห้ามใจไม่อยู่” ตั้งแต่วันที่  9 พฤษภาคม – 9 มิถุนายน 2567 รวมระยะเวลา 32 วัน กับโปรโมชั่นสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ให้นัก      ช็อปได้สัมผัสประสบการณ์การช็อปแบบเต็มที่ ไม่มีลิมิต ยิ่งช็อปเยอะ ยิ่งได้เยอะ และที่เดียวที่จะมอบสิทธิพิเศษมากมายให้แก่สมาชิก ONESIAM  กับโปรโมชั่นสุดคุ้ม 4 ต่อ  ได้แก่

ต่อที่ 1 เพียงสมัครสมาชิกใหม่ ONESIAM ผ่าน ONESIAM SuperApp รับทันที Cash Coupon มูลค่ารวม 300 บาท

ต่อที่ 2  ทุกการช็อป 12,000 บาท หรือใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต TTB ทุกๆ 10,000 บาท รับสิทธิ์จับกาชาปองทุกวันรางวัลใหญ่  100,000 ONESIAM COINS หรือคิดเป็นมูลค่า 100,000 บาท

ต่อที่ 3 ในส่วนของสมาชิก ONESIAM  รับแบบไม่ต้องลุ้น เพียงช็อปและสะสมดาวผ่าน LINE OA @ICONSIAM เมื่อสะสมครบ 5 ดวง แลกรับ SIAM Gift Card มูลค่า 500 บาท โดยสามารถรวบรวมใบเสร็จเมื่อซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ภายในไอคอนสยาม รวมสยาม ทาคาชิมายะ หรือ ไอซีเอส ครบตามยอดที่กำหนด (ไม่รวมยอดใช้จ่ายผ่านออนไลน์)  แสดงใบเสร็จจากการใช้จ่ายเพื่อรับดาวภายในวันเดียวกันเท่านั้น รวมถึงการแลกรับของสมนาคุณได้ ณ จุดแลกของสมนาคุณ เคาน์เตอร์ Information ไอคอนสยาม ชั้น G, M และ 1, เคาน์เตอร์ Information ไอซีเอส ชั้น G และ ชั้น 2 (เวลา 12.00 -20.00 น.)

ต่อที่ 4 ยังมอบสิทธิประโยชน์สุดพิเศษมากมายให้แก่สมาชิก ONESIAM และลูกค้าบัตรเครดิต TTB  เมื่อช็อปครบตามเงื่อนไข  ยิ่งช็อปยิ่งได้กับโปรแรง พร้อมแลกรับของรางวัล อาทิ STARBUCKS E-Coupon มูลค่า 150 บาท, ONESIAM COINS มูลค่า 500 บาท และ Blue by Alain Ducasse Gift Card มูลค่า 2,000 บาท

ในส่วนยอดการใช้จ่ายในไอซีเอส ไลฟ์สไตล์ คอมเพล็กซ์  ตรงข้ามไอคอนสยาม  สำหรับสมาชิก ONESIAM ที่มี ONESIAM SuperApp ช็อปครบ 1,200  บาท แลกรับคูปองส่วนลดร้านค้า มูลค่า 100 บาท เพื่อใช้เป็นส่วนลดสำหรับการซื้อสินค้าครั้งต่อไป ครบ 200 บาทขึ้นไป/ ใบเสร็จ  และช็อปครบ 5,000  บาท แลกรับ SIAM GIFT CARD มูลค่า 350 บาท สำหรับการซื้อสินค้าครั้งต่อไปครบ 700.- ขึ้นไป / ใบเสร็จ สอบถามเงื่อนไขเพิ่มเติม ณ จุดขาย

ห้ามพลาด! กับโปรโมชั่นแคมเปญสุดยิ่งใหญ่แห่งปี “ICONSIAM BIG BANG SALE  โปรใหญ่ ที่ใครก็ห้ามใจไม่อยู่” รับสิทธิประโยชน์สุดพิเศษมากมาย รวมมูลค่ารางวัลกว่า 18.72 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม – 9 มิถุนายน 2567 ไอคอนสยาม, สยาม ทาคาชิมายะ และไอซีเอส สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.1338 หรือ www.iconsiam.com และ Facebook : ICONSIAM

]]>
1472582
ttb reserve ชูเป้าปี 67 เจาะลูกค้ากลุ่ม Young Wealth กลุ่ม SME และดีลเลอร์รถยนต์ คาด AUM ปีนี้โตได้ 40% https://positioningmag.com/1471716 Wed, 01 May 2024 05:26:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471716 ttb reserve โดย ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยกลยุทธ์ธุรกิจในปี 2567 โดยตั้งเป้าเจาะลูกค้ากลุ่ม Young Wealth กลุ่ม SME และดีลเลอร์รถยนต์ ขณะเดียวกันในด้านการลงทุนก็จะเน้นในเรีื่องการจัดพอร์ตให้กับลูกค้าเพื่อที่จะปกป้องความมั่งคั่ง คาดว่าปีนี้ AUM จะเติบโตได้ 40%

ฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ทีเอ็มบีธนชาต ได้กล่าวถึงกลุ่มลูกค้า Wealth เพิ่มมากขึ้น และต้องการให้ฐานลูกค้านั้นเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมา และเขายังได้กล่าวถึงลูกค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สถาบันการเงินหลายแห่งได้ให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันลูกค้า ttb reserve มี 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าที่มีสินทรัพย์ 5 ล้านบาทขึ้นไป กับลูกค้าที่มีสินทรัพย์ 30 ล้านบาทขึ้นไป ในปี 2566 ที่ผ่านมาธนาคารมีฐานลูกค้ากลุ่มนี้รวมกัน 39,000 คน และมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ประมาณ 600,000 ล้านบาท

ฐานลูกค้าของ ttb reserve ในปีนี้ที่ต้องการเจาะตลาดได้แก่ กลุ่มลูกค้า Young Wealth อายุ 40 ขึ้นไป เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีครอบครัวกำลังต้องการส่งไปศึกษาต่อในต่างประเทศ หรือโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ซึ่งกลุ่มลูกค้าดังกล่าวมีศักยภาพสูง

เพื่อที่จะสื่อสารภาพลักษณ์ดังกล่าว ทาง ttb reserve ยังได้เปิดตัว Brand Ambassador คนแรก คือ โสภิตนภา ชุ่มภาณี (เจี๊ยบ) มาเป็นตัวแทนกลุ่มลูกค้าครอบครัวที่ให้ความสำคัญเรื่องการวางแผนการศึกษาส่งต่ออนาคตที่ดีที่สุดให้ลูก

นอกจากนี้ ttb reserve ยังเตรียมเจาะกลุ่มลูกค้า SME ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ดีลเลอร์รถยนต์ ซึ่งลูกค้าเหล่านี้อยู่ใน Ecosystem ของ ทีเอ็มบีธนชาต อยู่แล้ว เพื่อต่อยอดความสำเร็จสู่ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

บุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ในปีนี้ธนาคารได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์ใหม่เพื่อที่จะตอบโจทย์ลูกค้า ttb reserve ในกลุ่มดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นบริการธุรกรรมสกุลเงินต่างประเทศ (FX Solution) ผ่านแอป ttb touch ไปจนถึงบริการ FX Advisory ที่แนะนำบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยผู้เชี่ยวชาญ

และยังรวมถึงบริการบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศ (FCD) เพื่อลูกค้าที่มีบุตรหลานที่เรียนในต่างประเทศ หรือเพื่อค่าใช้จ่ายการศึกษาในอนาคต สามารถเก็บเงินในสกุลต่างประเทศได้ ซึ่งรองรับ 10 สกุลเงินสำคัญๆ ของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร ปอนด์ เยน สวิสฟรังก์ สิงคโปร์ดอลลาร์ ออสเตรเลียนดอลลาร์ เป็นต้น

ณัฐวรรณ อภิรัตนพิมลชัย ประธานกลุ่ม กลยุทธ์ลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ttb reserve ได้เสนอโซลูชันการปรับพอร์ตลงทุน (Wellness Solution) เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก โดยที่เน้นรักษาเงินต้น และจำกัดความเสี่ยงในช่วงตลาดผันผวน บริการดังกล่าวจะมาพร้อมกับทีม Private Banking ที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนส่วนบุคคลที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้หลายช่องทาง

ประธานกลุ่ม กลยุทธ์ลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต ได้กล่าวว่า ในการจัดพอร์ตให้กับลูกค้าจะเน้นในเรื่องของพอร์ตการลงทุนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น การจัดสรรน้ำหนักการลงทุน เช่น ใน 10 ล้านบาท จะมีเงินฝากกี่ % กองทุนรวมกี่ % หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ตามความเสี่ยงที่ลูกค้ารับได้

ขณะเดียวกันเธอยังกล่าวว่าจะมีการร่วมมือกับทาง บลจ. อีสท์สปริง ในการเสนอและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้กับลูกค้า ttb reserve เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเน้นในเรื่องของ Open Architecture ในการเสนอผลิตภัณฑ์จาก บลจ. รายอื่นด้วยเช่นกัน

สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจของ ttb reserve ในปี 2567 คือมี AUM เพิ่มขึ้น 40% มาอยู่ที่ราวๆ 700,000 ล้านบาท มีฐานลูกค้าที่ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 44,000 คน

]]>
1471716
‘ทีทีบี’ ตั้งเป้าผู้ใช้งาน ttb touch เพิ่มอีก 1 ล้านราย ชูการใช้ AI ช่วยเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น https://positioningmag.com/1466187 Thu, 14 Mar 2024 14:31:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466187 ทีเอ็มบีธนชาต ตั้งเป้าผู้ใช้งาน ttb touch ปี 2024 นี้เพิ่มอีก 1 ล้านราย ชูการใช้ AI ช่วยเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีทางธนาคารมีความกังวลในเรื่องของหนี้ครัวเรือน และพบว่ามีการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งธนาคารได้หาวิธีในการแก้ปัญหา เช่น การรวบหนี้ เพื่อลดดอกเบี้ยของลูกค้า

ฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ได้กล่าวว่า ทีทีบี มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อส่งมอบชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงชีวิต โดยเฉพาะ 4 กลุ่มลูกค้าหลักที่ธนาคารเชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด Ecosystem Play ได้แก่ กลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth

สำหรับในปี 2023 ที่ผ่านมา ttb นั้นมีผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน ttb touch เพิ่มขึ้น 800,000 ราย ขณะเดียวกันนั้นเงินฝากของทางธนาคารก็ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ทางธนาคารนั้นต้องมีการบริหารต้นทุนทางการเงินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมา

ในปี 2024 นี้ความท้าทายของ ttb นั้น ฐากร มองว่าไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจประกันชีวิตที่มีช่องทางขายผ่านธนาคาร หรือแม้แต่เรื่องของเงินฝาก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจที่เติบโตช้า รวมถึงตลาดทุนที่ผันผวนก็ได้ส่งผลต่อการลงทุนไม่น้อย

ส่วนของกลุ่มเงินฝาก ttb ได้นำเสนอลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์เงินฝากที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกความต้องการด้านการออม ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นมีความเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม และยังรวมถึงเงินฝากในสกุลต่างประเทศที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ต้องใช้ หรือฝากเงินในสกุลต่างประเทศไว้ใช้ หรือให้ลูกหลานเวลาเรียนต่อในต่างแดน

การให้บริการด้านสินเชื่อ ทางธนาคารได้เน้นในเรื่องการรีไฟแนนซ์บ้าน การปล่อยสินเชื่อรถยนต์ใหม่ โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้านั้นธนาคารตั้งเป้าหมายเติบโตถึง 20% ในปีนี้ และยังรวมถึงมีแผนเปิดธุรกิจ Nano Finance ซึ่งใช้อัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่เน้นช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก

อย่างไรก็ดี ฐากร ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือนในประเทศไทย จากปัญหาเศรษฐกิจเรื้อรัง ทำให้ปี 2023 ที่ผ่านมามีผู้ที่เป็นหนี้ค้างชำระระหว่าง 1-3 เดือนสูงขึ้น รวมถึงมีการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น ทำให้ธนาคารได้หาวิธีในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการรวบหนี้ เพื่อที่จะลดภาระดอกเบี้ยของลูกค้าลง

เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ttb ยังได้กล่าวถึงเรื่องของ การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยที่มีสัดส่วนสูง ซึ่งเขามองว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และเรียกร้องให้หลายภาคส่วนเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาดังกล่าว

ในส่วนของประกัน ทาง ttb จะเน้นที่ประกันสุขภาพ ขณะเดียวกันก็จะเร่งการเติบโตประกันรถยนต์ ซึ่งจะทำให้ธนาคารได้รายได้จากค่าธรรมเนียมจากประกันเพิ่มมากขึ้น

ขณะที่ลูกค้ากลุ่มความมั่งคั่งสูง หรือลูกค้ากลุ่ม Wealth ทาง ttb ได้ตั้งเป้าที่จะเน้นรุกลูกค้ากลุ่มที่มีความั่งคั่งสูง โดยมี AUM มากกว่า 30 ล้านบาท ธนาคารยังได้มีการจัดทีม Private Banking ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญการลงทุนเพื่อยกระดับการให้บริการ

และจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการลงทุนของลูกค้ากลุ่ม Wealth ไม่น้อย ttb จึงเน้นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งรักษาเงินต้นและปิดความเสี่ยง เช่น หุ้นกู้อนุพันธ์แฝงอ้างอิงดัชนี (Index Linked Note) เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น พร้อมคุ้มครองเงินต้นในเวลาเดียวกัน และในปีนี้ทางธนาคารจะมีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้กับลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น

นอกจากนี้สำหรับลูกค้าที่ใช้แอปฯ ttb touch ฐากร ได้ชูถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ได้ช่วยลดภาระต้นทุนของธนาคาร เขาได้ชูถึงจุดเด่นของแอปฯ ดังกล่าวสามารถทำธุรกรรมของสาขาได้ถึง 94% และหลังจากนี้ถ้าหากลูกค้าไปสาขาจะให้ทำธุรกรรมผ่าน Tablet แทน โดยมีพนักงานช่วยดู ไม่มีทำผ่านกระดาษอีกแล้ว

ฐากรชี้ว่าถ้าหากการทำธุรกรรมผ่านสาขาลดลงไป 10% จะส่งผลต่อต้นทุนธุรกรรมที่สาขาลดลงไป 40% เลยทีเดียว

ไม่เพียงเท่านี้เขาชี้ว่าในส่วนของแอปฯ ttb touch ยังมีการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และจะมีสิทธิประโยชน์ที่ลูกค้าแต่ละคนต้องการ และยังมีการนำเทคโนโลยีวิเคราะห์ให้กับ Call Center ของธนาคารเพื่อลดการโทรหาลูกค้าซ้ำซ้อนลง

เป้าหมายทางการเงินของกลุ่มลูกค้าบุคคลของ ttb ในปี 2024 นี้การเติบโตของสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ เติบโต 1-2% ขณะที่การเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การดูแล AUM ของลูกค้าเติบโต 15-20% และเบี้ยประกันภัยเติบโต 30-35% เบี้ยประกันชีวิตเติบโต 15-20% รวมถึงผู้ใช้งาน ttb touch เพิ่มอีก 1 ล้านราย

]]>
1466187
‘ทีทีบี’ ชูคอนเซ็ปต์ Humanized Digital Banking เจาะ 4 กลุ่มลูกค้าของธนาคารผ่านแอป ttb touch https://positioningmag.com/1465083 Tue, 05 Mar 2024 06:20:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465083 ทีเอ็มบีธนชาต ประกาศกลยุทธ์ในปี 2024 โดยชูคอนเซ็ปต์ Humanized Digital Banking เจาะ 4 กลุ่มลูกค้าของธนาคาร โดยผู้บริหารสูงสุดมองว่ามนุษย์และเทคโนโลยีสามารถที่จะเดินทางร่วมกันได้ ขณะเดียวกันธนาคารไม่สนใจที่จะขอใบอนุญาต Virtual Banking แต่อย่างใด

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ได้กล่าวถึง แผนการของธนาคารเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นแล้ว แม้ว่าตอนนี้จะเจอสิ่งที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหาหนี้ในครัวเรือน หรือแม้แต่ความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาของคนไทย คำถามคือแบงก์จะไปทางไหนต่อ

เขาได้กล่าวว่าถ้าหากหันมามองดูการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ธนาคารได้เร่งทรานส์ฟอร์ม (Transform) องค์กรในหลายมิติ และได้นำเทคโนโลยีมาดูแลลูกค้าโดยเฉพาะ 4 กลุ่มลูกค้าหลักที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ กลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth 

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ttb ยังได้กล่าวถึงคอนเซ็ปต์ Humanised Digital Banking ทำยังไงให้แต่ละลูกค้าแต่ละคนได้รับบริการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งความต้องการของลูกค้าแต่ละคนต่างกัน ขณะเดียวกันเขายังมองว่าการอยากมีความสามรถด้านดิจิทัลไม่ใช่แค่ไปจ้างคน แต่ต้องเกิดจาก DNA ขององค์กรด้วย

กลยุทธ์ในการ Transform ธนาคารในปี 2024

  1. Digital Transformation โดย ttb ได้จัดตั้งทีมดิจิทัลขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อเดินหน้าพัฒนาแอป ttb touch และ ttb business one เพื่อยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าทั้งรายย่อยและธุรกิจ และยังสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลขององค์กรเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ
  2. Revenue Model Transformation เริ่มต้นจากการนำผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของธนาคารขึ้นมาอยู่บนแอป ttb touch และปัจจุบันธนาคารได้นำ Personalized AI Engine มาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์พิเศษแบบเฉพาะบุคคล
  3. Channel & Process Transformation ธนาคารต้องการยกระดับความสะดวกสบายของลูกค้าในการใช้บริการมากยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการส่งมอบ Digital-First Experience ซึ่งวันนี้ 94% ของธุรกรรมที่สาขา ลูกค้าสามารถเปลี่ยนมาทำธุรกรรมได้ผ่านแอป ttb touch และที่ผ่านมาธนาคารมุ่งเน้นให้พนักงานสาขาเป็น Digital Ambassador แนะนำให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านแอปฯ เพื่อความสะดวก ลดเวลาการเดินทางไปสาขา และปรับเปลี่ยนบทบาทพนักงานให้เป็นที่ปรึกษาและให้บริการในธุรกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น
  4. Organizational Transformation โดย ttb ได้ปรับเปลี่ยนองค์กรในช่วงที่ผ่านมา โดยสร้างทีมดิจิทัลที่แข็งแกร่ง หรือ ttb spark เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพทางด้านดิจิทัลอย่างเต็มที่ รวมถึงการพัฒนาและยกระดับทักษะให้กับบุคลากรทั้งองค์กรให้มีความเชี่ยวชาญในทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน
ปิติ ตัณฑเกษม – ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต / ภาพจากบริษัท

สำหรับบริการที่เจาะกลุ่ม คนมีรถ คนมีบ้าน พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth นั้นจะมีฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าแต่ละกลุ่ม หรือแม้แต่สิทธิประโยชน์รวมถึงความร่วมมือจากพันธมิตรหลายองค์กร เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เต้นท์รถ ประกันภัย เป็นต้น ซึ่งทุกอย่างจะอยู่บนแอป ttb touch

ปิติ ยังได้กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้นองค์กรจะต้องยึดเรื่อง Data เป็นของลูกค้าไม่ใช่ของแบงก์ ทำให้ธนาคารต้องยึดหลักความปลอดภัยเป็นเรื่องหลัก ขณะที่งบลงทุนด้านไอทีถือว่าเยอะพอสมควร โดยเม็ดเงินมาจากการลดละเลิกต่างๆ มาลงทุนเรื่องเหล่านี้ รวมถึงประโยชน์จากการควบรวมกิจการ เขายังชี้ว่าหลังจากลงทุนด้านเทคโนโลยีต้นทุน (Cost To Income Ratio) ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ในขณะที่การชวนพันธมิตรมาร่วมในแอป ttb touch ปิติได้กล่าวว่า ต้องค่อยๆ ทำให้เห็น และชวนมาสร้างความแตกต่าง และเขาชี้ว่าการการชวนพันธมิตรมาร่วมทำสิ่งเหล่านี้ได้สร้างความแตกต่าง ขณะเดียวกันเขาอยากเชิญชวนพันธมิตรหรือองค์กรหลายแห่งมาร่วมมือกันในปีนี้คือการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยที่มีสัดส่วนสูง ซึ่งเขามองว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต ยังกล่าวว่า ธนาคารไม่สนใจที่จะขอใบอนุญาต Virtual Banking จากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมองว่า Virtual Bank ไม่ใช่คำตอบของทุกเรื่อง แต่มองว่าอยากอยู่โลกทั้ง 2 ใบไม่ว่าจะเป็นโลกดิจิทัลและโลกมนุษย์ เพราะมีความสำคัญเท่าๆ กัน

]]>
1465083
“ttb” กับการขึ้นเป็นธนาคารขนาดใหญ่ วางแบรนด์ให้ต่างด้วยกลยุทธ์ The Bank of Financial Well-being https://positioningmag.com/1378308 Mon, 21 Mar 2022 12:30:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378308

การรวมกิจการของ “ทีเอ็มบี” และ “ธนชาต” เกิดเป็นธนาคารขนาดใหญ่แห่งใหม่ คือ “ttb” หรือ   ทีเอ็มบีธนชาต ขึ้นมาเบียด Top 6 กับธนาคารใหญ่แห่งอื่นๆ เมื่อเป็นธนาคารสเกลใหญ่ขึ้น ทำให้การวางตัวตนของ “แบรนด์” ต้องมีความแตกต่าง โดยทีเอ็มบีธนชาตเลือกที่จะวางคอนเซ็ปต์ธนาคารให้เป็น The Bank of Financial Well-being เพื่อฉีกแนวออกไป

ในบรรดาธนาคารขนาดใหญ่ของไทยแต่ละแห่งมีการวางแบรนด์และทิศทางธุรกิจแตกต่างกัน แต่ละค่ายมี     คาแรกเตอร์และฐานลูกค้าของตนเองในตลาด ทำให้การรวมกิจการของ “ttb” ถูกจับตามองว่าจะขึ้นมาวางตนเองในทิศทางไหนเพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงแบรนด์ใหม่ และเกิดความน่าสนใจขึ้น

เกริ่นย้อนไปถึงก่อนการรวมกิจการว่า แต่ละธนาคารที่จะมารวมกันนี้ต่างก็มีจุดแข็งของตัวเองอยู่ก่อนแล้ว อย่าง “ทีเอ็มบี” มีความโดดเด่นเรื่องบัญชีเงินฝาก และภาพลักษณ์ดิจิทัลที่ทันสมัย ส่วน “ธนชาต” นั้นเป็นแบงก์ที่เด่นด้านการให้สินเชื่อรถยนต์ และมีความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึกจากการปล่อยสินเชื่อรายย่อย

เมื่อมารวมกัน จึงต้องไม่ทิ้งจุดแข็งของทั้งสองแบรนด์ และหาจุดร่วมใหม่ที่จะสร้างความ ‘ว้าว’ ขึ้นมาได้

ก่อนหน้านี้ ทีมทีเอ็มบีธนชาตได้ทำการศึกษาตลาด และค้นพบว่ายังมีช่องว่าง ทำให้ธนาคารเลือกวางตนเองเป็น “ผู้นำการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” หรือ The Bank of Financial Well-being โดยได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าว่าเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากธนาคารอื่น และนี่จะเป็นคอนเซ็ปต์หลักที่ทำให้ธนาคารแข่งขันได้


ไม่ได้เป็นแค่สโลแกน แต่เป็นแกนหลักของการพัฒนาโซลูชันทางการเงิน

ผ่านไปมากกว่าครึ่งปี ttb ได้วางรากฐานให้เราเห็นว่า คอนเซ็ปต์ “The Bank of Financial Well-being” ของธนาคาร ไม่ได้ต้องการให้เป็นแค่สโลแกน แต่เป็นแกนกลางในการพัฒนาโซลูชันทางการเงินต่าง ๆ ทั้งหมด ttb ต้องการให้คุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ออกมา มีคุณค่าหลักคือต้องทำให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้น

ยกตัวอย่าง บัญชีเงินฝากของธนาคาร ttb all free เป็นบัญชีที่ให้ฟรีรอบด้าน ฝาก ถอน โอน จ่ายแล้ว ยังให้ฟรีประกันชีวิตและอุบัติเหตุ ลูกค้าจะได้การคุ้มครองพื้นฐานฟรีทันที เมื่อลูกค้าได้ประโยชน์มากขึ้น จึงทำให้ยอดเงินฝากของบัญชี ttb all free เพิ่มขึ้น 15%

หรือกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง ttb ก็ออกบัตรเครดิต ttb reserve ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ความสำเร็จต่อยอดได้ไม่มีที่สิ้นสุด” มาต่อยอดด้านการเงิน การลงทุนด้วยการให้คะแนนสะสม ตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้จ่าย และสามารถนำไปแลกเป็นส่วนลดในการลงทุนหรือซื้อประกันได้ การพัฒนาโปรดักส์นี้ได้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้เป็นอย่างดี ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธนาคารให้การตอบรับถือบัตรนี้กว่า 60% ภายในเวลา 6 เดือน

รวมไปถึง “วิธีคิด” ของธนาคารที่ต้องการให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ttb ได้ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบไปกว่า 750,000 ราย ทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้


ขยับโครงสร้างองค์กรเพื่อตอบโจทย์

ตัวอย่างข้างต้นเป็นโปรดักส์ปลายทางที่เราได้เห็น แต่จะออกโปรดักส์ที่ตอบโจทย์ได้ ต้องย้อนกลับขึ้นไปจัดโครงสร้างองค์กร เพื่อที่อนาคตจะพัฒนาโซลูชันทางการเงินให้ลูกค้าได้ครบและคล่องตัวตามเป้าหมาย ซึ่ง ttb ได้ดำเนินการจัดโครงสร้างองค์กรไปแล้ว เช่น การซื้อหุ้น 10% ใน บริษัท ธนชาตประกันภัย และ บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านประกันและการลงทุน สร้างทางเลือกที่หลากหลายให้กับลูกค้า รวมไปถึงการที่ ttb broker ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรบริษัทประกันภัยรวมกว่า 20 บริษัท

ขณะที่ผลิตภัณฑ์ด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล มีแผนการจัดตั้งบริษัทลูกแยกออกมาในชื่อ ttb consumer พร้อมลุยตลาดนี้โดยเฉพาะ ตั้งเป้าขึ้นเป็น Top 4 ของตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล

ที่สำคัญที่สุด คือ ttb ได้จัดตั้งทีม ‘ttb spark’ แยกออกมาดูแลด้านดิจิทัลโซลูชัน เป็นการปรับโครงสร้างสำคัญของ ttb เพราะการแยกทีมทำงานด้านดิจิทัล จะเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ทีมนี้มี Digital DNA ที่กล้าที่จะคิดนอกกรอบและไม่กลัวที่จะทดลองวิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาดิจิทัลโซลูชันที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็น Way of working ที่แข็งแรง อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา


ttb spark รับภารกิจดิจิทัลแบงก์กิ้งที่รู้ใจ

หลายปีที่ผ่านมา ทุกธนาคารเริ่มมุ่งสู่ถนนสายเดียวกัน คือ ถนนแห่งการปรับเปลี่ยนเป็น “ดิจิทัลแบงก์กิ้ง” บางธนาคารอาจแตกแยกสายออกไปอีกเส้นทางด้วยการสร้างบริษัทลูกด้านเทคโนโลยีในด้านอื่น ๆ แต่สำหรับ ttb แล้ว จุดโฟกัสจะยังอยู่กับการสร้าง ‘Humanized Digital Banking’ หรือ ดิจิทัลแบงก์กิ้งที่เป็นมิตรและรู้ใจ เน้นเรื่องการส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นตามคอนเซ็ปต์หลักของธนาคาร

ความหมายคือ สิ่งที่ ttb spark พัฒนานั้นจะไม่ใช่การวิ่งตามเทรนด์ดิจิทัลใด ๆ ก็ได้ แต่โซลูชันนั้นต้องมา แก้ปัญหา’ ให้กับลูกค้า แก้ปัญหาได้ทั้ง Ecosystem และทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

ตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาของทีม ttb spark มีการปั้นแพลตฟอร์ม “ปันบุญ” www.panboon.org ขึ้นมาแก้ปัญหาโมเดลธุรกิจการรับบริจาคของมูลนิธิ เมื่อมารวมศูนย์กันทำให้ผู้บริจาคทำบุญออนไลน์ง่ายขึ้น มูลนิธิเองก็ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการลง เพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้บริจาคมากขึ้น ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ทำให้มีมูลนิธิเข้าร่วมแพลตฟอร์มแล้วกว่า 180 แห่ง และมีการบริจาคผ่านแพลตฟอร์มมากกว่า 200 ล้านบาท ใน 1 ปี

ทีมนี้ยังสร้างโซลูชัน ttb business one มาแก้ปัญหาให้ลูกค้าธุรกิจ ทำให้ลูกค้าบริหารจัดการธุรกิจทางดิจิทัลได้ง่ายขึ้น ความสะดวกในการใช้งานส่งผลทำให้รายการธุรกรรมที่ทำผ่านช่องทางนี้เติบโต 160% นับตั้งแต่เปิดตัว

ล่าสุดทีมยังปรับโฉมใหม่ให้กับ แอปพลิเคชัน ttb touch ต่อจากนี้จะไม่ใช่แค่แอปฯ โอนเงิน แต่มีการใช้ระบบ Data Analytics วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและนำเสนอแต่สิ่งที่คาดว่าจะตรงใจลูกค้ามากที่สุด ทำให้แอปฯ เป็นเหมือนผู้ช่วยส่วนตัวทางการเงินให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้นรอบด้าน พร้อมนำเสนอข้อมูล แนะนำ ช่วยเหลือ และส่งมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงแจ้งเตือนธุรกรรมให้กับลูกค้าได้ในระดับบุคคล (Personalization)

เพียงระยะเวลา 7 เดือนหลังการรวมกิจการ ttb สามารถวางฐานการเป็นแบรนด์ใหม่ในใจผู้บริโภคได้สำเร็จ วัดจากการสำรวจ Brand Survey ของธนาคารเองพบว่า มากกว่า 50% ของผู้ถูกสำรวจมองว่า ttb เป็นธนาคารที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าธนาคารกำลังเดินมาถูกทางแล้ว

ถือเป็นการเริ่มต้นที่น่าสนใจของธนาคารแบรนด์ใหม่ในสนามแข่งขันของกลุ่มแบงก์ยักษ์ และต้องติดตามต่อจากนี้ว่า ttb จะเดินหน้าคอนเซ็ปต์ The Bank of Financial Well-being ด้วยการส่งต่อโซลูชันอะไร เพื่อครองใจลูกค้า และทำให้ชีวิตทางการเงินของคนไทยดีขึ้นได้ทั้งในวันนี้ และอนาคต

]]>
1378308
เปิดแผน ‘ttb’ บุกดิจิทัลแบงก์กิ้ง ปรับโฉมแอปฯ ใหม่ ตั้งบริษัทลูกจับตลาดบัตรเครดิต-สินเชื่อ https://positioningmag.com/1375908 Tue, 01 Mar 2022 11:55:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375908 เปิดเเผนกลยุทธ์ปี 65 ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ ปรับโครงสร้างธุรกิจ ตั้งหน่วยงาน “ttb spark” บุกดิจิทัลแบงก์กิ้งเต็มสูบ เปิดตัวบริษัทลูก “ttb consumer” เพื่อความคล่องตัว หวังดันขึ้น TOP 4 ในตลาดบัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล พร้อมปล่อยแอปพลิเคชัน ‘ttb touch’ โฉมใหม่ เม.ย.นี้ 

หลังการรวมกิจการของ 2 ธนาคารใหญ่ในไทยทั้งทีเอ็มบีและธนชาตสู่การเป็น ทีเอ็มบีธนชาตหรือ ttb เสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อเดือนก..ปีที่ผ่านมา วันนี้ปิติ ตัณฑเกษมประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) มาอัปเดตถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ พร้อมกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจ ปี 2565

ทีเอ็มบีธนชาตแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือลูกค้าได้รอบด้านขึ้น ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินหลากหลายรูปแบบกระแสตอบรับจากลูกค้าและสังคมที่มีต่อธนาคาร เริ่มเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ

ที่ผ่านมา ธนาคารได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ เช่น บัญชี ttb all free ที่เพิ่มความคุ้มครองด้านการประกันชีวิตและอุบัติเหตุฟรี ช่วยให้ลูกค้ากว่า 1.9 ล้านราย มีความคุ้มครองพื้นฐานโดยไม่เสียเงิน และส่งผลให้ธนาคารมียอดเงินฝากจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เติบโตสูงถึง 15%

บัญชีเงินฝากประจำ ttb up and up ที่ถอนได้ก่อนกำหนด โดยไม่ถูกลดดอกเบี้ย ตอบโจทย์การออมของลูกค้าที่ต้องการดอกเบี้ยสูง มีลูกค้าเปิดใช้บัญชีเพิ่มขึ้นถึง 120,000 ราย ผลิตภัณฑ์การลงทุน ttb smart port สามารถทำยอด IPO สูงสุดในประวัติศาสตร์ ด้วยยอดขายในสัปดาห์แรกกว่า 1 หมื่นล้านบาท และเติบโตเป็น 2 เท่า ภายในเวลา 6 เดือน

รวมถึงบัตรเครดิต ttb reserve มีผลตอบรับการถือบัตรจากลูกค้ากลุ่มที่มีความมั่งคั่งสูงของธนาคารกว่า 60% ภายในเวลาเพียง 6 เดือน ตลอดจนการเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 รวมกว่า 750,000 ราย 

นอกจากนี้ ธนาคารได้ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยผลักดันโครงการพักทรัพย์พักหนี้ และการรวมหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อให้กลุ่มธุรกิจ เช่น โรงแรม และภาคประชน สามารถผ่านวิกฤตไปได้

ด้วยสถานการณ์โควิด เเละสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ธนาคารต้องปรับตัว คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการลูกค้า สนับสนุนลูกค้าทุกด้าน โดยช่วงนี้ลูกค้ารายใหญ่กำลังเผชิญกับความผันผวนจากสงครามที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ส่วนลูกค้า SMEs ดีขึ้นกว่าปีก่อน เเต่ก็ยังมีความไม่เเน่นอนอยู่ ส่วนลูกค้าบุคคลทั่วไปยังเจอปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยที่อยู่ในระดับสูง เราก็ต้องเข้าไปดูแลลูกค้ากลุ่มต่างๆ ให้ตรงจุด

ส่ง ttb consumer ลุยตลาดบัตรเครดิต-สินเชื่อ 

เมื่อปลายปี 2564 ttb ได้เข้าซื้อหุ้น 10% ในบริษัทธนชาตประกันภัยและบริษัทหลักทรัพย์ธนชาตสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านประกันและการลงทุนสร้างทางเลือกที่หลากหลายให้กับลูกค้า

รวมไปถึงการที่ ttb broker ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรบริษัทประกันภัยรวมกว่า 20 บริษัท เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและคุ้มครองความเสี่ยงให้กับลูกค้าของธนาคารได้ครบทุกรูปแบบในราคาที่เหมาะสม

ล่าสุด ธนาคารได้วางแผนจัดตั้งบริษัทใหม่ คือ ‘ttb consumer’ เพื่อเพิ่มศักยภาพการนำเสนอบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่ครบวงจรและการเข้าถึงลูกค้าได้ในวงกว้าง พร้อมนำเสนอและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

“เราวางเป้าหมายว่า ttb consumer จะสามารถก้าวขึ้นติดอันดับ 1 ใน 4 ของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล” 

โดย ttb consumer จะทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวแทนจำหน่ายที่กระจายผลิตภัณฑ์ต่างๆของ ttb ออกไปให้เข้าถึงผู้คนกลุ่มที่กว้างขึ้น เช่นเดียวกันหลายธนาคารที่มักจะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นเพื่อความยืดหยุ่นในการทำธุรกิจ 

ส่วนแนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปีนี้ ttb มองว่าความต้องการซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามภาวะของเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว แต่ยังมีความท้าทายในเรื่องซัพพลายเชนการผลิตและส่งมอบรถยนต์ที่เกิดความล่าช้า

ปั้นทีม ttb spark พัฒนาดิจิทัลโดยเฉพาะ

ttb มีการปรับโครงสร้างภายใน เพื่อพัฒนาด้านดิจิทัล ภายใต้แนวคิด ‘Humanized Digital Banking’ โดยได้จัดตั้ง ‘ttb spark’ ทีมงานที่มีเป้าหมายในการสร้างสรรค์ไอเดียและพัฒนาดิจิทัลโซลูชันโดยเฉพาะขึ้นมา แยกโครงสร้างการทำงานออกมาอย่างชัดเจนเพื่อเพิ่มความคล่องตัว 

รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ทีทีบี สปาร์ค เล่าว่า หน่วยงานใหม่นี้จะที่ทำงานรูปแบบ Agile คิดนอกกรอบและทดลองวิธีการใหม่ๆ พัฒนา Ecosystem ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มปันบุญ หรือ www.punboon.org ที่ช่วยให้มูลนิธิปรับ Business Model เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริจาคใหม่ๆ ได้

รวมไปถึงโซลูชัน ttb business one ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้กับลูกค้าธุรกิจ “มีจำนวนการทำรายการผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่า 160% ตั้งแต่เปิดตัว

เปิดตัว ‘ttb touch’ โฉมใหม่ 

จากกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้แนวคิด ‘The Bank of Financial Well-being’ ปีนี้ธนาคารเตรียมที่จะพลิกโฉมแอปพลิเคชัน ‘ttb touch’ ให้กลายเป็นผู้ช่วยส่วนตัวและ ที่ปรึกษาที่รู้ใจ ช่วยให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้นได้อย่างรอบด้าน สำหรับ 4 ฟีเจอร์เด่นของ ttb touch ได้เเก่

  •  ผู้ช่วยส่วนตัว

ให้ข้อมูลและแจ้งเตือนเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับลูกค้าโดยเฉพาะ ด้วยการใช้ Data Analytics วิเคราะห์พฤติกรรม นำเสนอ และ ช่วยแจ้งเตือนในธุรกรรมสำคัญต่าง ๆ

  • ให้คำแนะนำและทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

เช่น บริการด้านประกันที่จะช่วยรวบรวมข้อมูล และแสดงผลภาพรวมความคุ้มครองทั้ง 3 ด้าน คือ ดูแลสุขภาพ ออมเพื่อเกษียณ และ ดูแลคนข้างหลัง โดยแสดงให้เห็นว่าประกันที่มีครอบคลุมและเพียงพอกับ Lifestyle และ Life Stage ของลูกค้าหรือไม่ ทำให้เรื่องประกันที่ซับซ้อนกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย

  • รวบรวมและจัดระเบียบเอกสารทางการเงินไว้บน ttb touch

สะดวกในการค้นหา เรียกดูง่าย และ ขอเอกสารได้ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสาขาอีกต่อไป เช่น เอกสารรับรองสถานะทางการเงิน และเอกสารข้อมูลเครดิตบูโร

  • รวบรวมสิทธิประโยชน์ไว้ในที่เดียว

พร้อมเลือกสรรแคมเปญโปรโมชันที่เหมาะสำหรับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าไม่พลาดทุกความคุ้มค่าที่ธนาคารมอบให้

ในอนาคต ‘ttb touch’ จะเป็นมากกว่าผู้ช่วยและที่ปรึกษาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการธนาคารโดยจะเข้ามาช่วยจัดการด้านอื่นๆ เช่นการบริหารจัดการเรื่องการจ่ายค่างวดสินเชื่อรถต่อประกัน รวมไปถึงการขายรถและการหาซื้อรถคันใหม่มาทดแทน

ธนาคารหวังจะผลักดันให้  ttb touch เป็น Mobile Banking ที่มีฐานผู้ใช้งานระดับ Top 3 ของอุตสาหกรรม จากปัจจุบันที่มีฐานลูกค้าใช้งาน ttb touch อยู่ราว 4 ล้านราย โดยคาดว่าแอปพลิเคชันโฉมใหม่ จะเปิดตัวได้ภายในเดือนเม.. นี้นริศ อารักษ์สกุลวงศ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ทีทีบีสปาร์ค กล่าว

เมื่อถามถึงกระแสที่ตอนนี้หลายธนาคารในไทยเริ่มจับมือกับแพลตฟอร์มคริปโตเคอร์เรนซี ทาง ttb มีแผนจะรุกกลุ่มนี้หรือไม่ และมีความเห็นเกี่ยวกับการลงทุนด้านนี้อย่างไรนั้น ซีอีโอ ttb ตอบว่า

สูตรของ ttb ง่ายมาก เวลาจะทำอะไร เราจะถามคำถามเดียวว่า ลูกค้าจะได้อะไร เพราะแบงก์มีอยู่ก็เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า ถ้าการจับมือนั้นจะนำไปสู่โซลูชันหรือโปรดักต์ที่ทำให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้น ไม่ว่าจะลูกค้ารายใหญ่ ลูกค้า SMEs หรือรายย่อย เราก็มีความสนใจ 

แต่ถ้าการจับมือไม่ได้นำไปสู่จุดนั้น เราก็คงไม่ได้ทำไปตามกระแสที่ว่าเมื่อทุกคนทำเราต้องทำบ้าง เพราะถ้าเกิดว่า สิ่งนั้นทำแล้วไม่ได้ตอบรับกับกลยุทธ์ของเราที่จะได้เครื่องมือใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ แนวคิดใหม่ หรือพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ ที่จะมาช่วยเราพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับชีวิตทางการเงินของลูกค้า เราก็คงจะไม่สนใจ เพราะว่าแค่โปรดักต์ไลน์อัพที่เราจะต้องพัฒนากันอยู่ตอนนี้ ก็ทำกันแทบไม่ทันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราคงไม่ไปทำอะไรที่ทำให้สูญเสียโฟกัสตรงนี้ออกไป” 

]]>
1375908
มูฟใหม่ ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ เเข่งตลาด Wealth ส่ง ‘ttb reserve’ เจาะลูกค้ารายได้สูง 3 เเสน/เดือน https://positioningmag.com/1335743 Mon, 07 Jun 2021 12:07:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335743 ทีเอ็มบีธนชาต ขยับมูฟใหม่หลังรวมกิจการ เปิดตัว ‘ttb reserve’ (ทีทีบี รีเซิร์ฟ) ลงสนามตลาด Wealth เจาะลูกค้ามั่งคั่ง รายได้สูง 3 เเสนบาทต่อเดือน ด้วยคอนเซ็ปต์ Earn Fast – Burn Smart ตั้งเป้าสิ้นปีมีลูกค้าบัตร 3 หมื่นใบ เเนะจัดพอร์ตเน้นตราสารทุนหุ้น มุ่งกระจายลงทุนไปต่างประเทศ

อนุวัติร์ เหลืองทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เล่าว่า ภายหลังการรวมกิจการของทั้ง 2 ธนาคารอย่างทีเอ็มบีเเละธนชาต สำเร็จลุล่วง ทำให้ ttb มีฐานลูกค้ารายย่อยรวมกว่า 10 ล้านราย และมีจำนวนสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) อยู่ที่ 1.3 ล้านล้านบาท 

ในจำนวนนี้ น่าสนใจว่าเป็นกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งกว่า 80,000 ราย เเม้จะคิดเป็นเพียง 1% ของลูกค้ารายย่อยทั้งหมด เเต่กลับมี AUM สูงถึง 7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 55% ของ AUM ในภาพรวมเลยทีเดียว

นับเป็นโอกาสธุรกิจสำคัญ ที่ธนาคารจะพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนี้เอาไว้ โดยกว่า 36% ของกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง มีอายุราว 35-55 ปี เเละอีก 57% อยู่ในช่วงอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป จากข้อมูลยังพบว่า 60% อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารถึง 40% 

ดังนั้น ttb reserve จึงจะมุ่งให้บริการโซลูชันทางการเงิน ที่จะมาช่วยตอบโจทย์ลูกค้าตามช่วงชีวิต เเบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้เเก่

ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ

เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการสะสมความมั่งคั่งอยากให้เงินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เเละอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี เผื่ออนาคตวัยเกษียณ จึงยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากกว่า อย่าง ตราสารทุนและกองทุนรวม ที่มีการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันตลอดเวลา

วัยใกล้เกษียณเกษียณเเล้ว

เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการรักษาความมั่งคั่งและส่งต่อความสำเร็จไปให้ลูกหลาน มีไลฟ์สไตล์เฉพาะตัว อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่อยากอยู่เเบบมีความกังวล จึงจะเน้นลงทุนเเบบปลอดภัยไว้ก่อน เพื่อรักษาเงินต้นและมองหาผลิตภัณฑ์ประกันประเภทต่างๆ 

Earn Fast – Burn Smart

โดยบริการเเรกที่ออกจะมาเจาะกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง (Wealth) คือ บัตรเครดิต ‘ttb reserve’ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีให้เลือก 2 ประเภทคือ

  • บัตรเครดิต ttb reserve Signature สำหรับลูกค้าที่มียอดเงินฝาก เงินลงทุน ประกันชีวิตรวม 5 ล้านบาทขึ้นไป
  • บัตรเครดิต ttb reserve Infinite สำหรับลูกค้าที่มียอดเงินฝาก เงินลงทุน ประกันชีวิตรวม 30 ล้านบาทขึ้นไป

ลูกค้ากลุ่มมั่งคั่งของ ttb มีรายได้รวมที่ประมาณ 300,000 บาทต่อเดือน

นันทพร ตั้งเจริญศิริ หัวหน้าบริหารการตลาดลูกค้าบุคคลและประสบการณ์ลูกค้า ทีเอ็มบีธนชาต ระบุว่า บัตรเครดิต ttb reserve มีจุดเด่นเรื่องความเร็วของคะแนนสะสม และการนำคะแนนสะสมที่ได้รับไปต่อยอด ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Earn Fast-Burn Smart’ เช่น รับคะแนนพิเศษรายปีสูงสุด 180,000 คะแนน โดยไม่ต้องมีการใช้จ่ายผ่านบัตร และสะสมคะแนนเพิ่มจากทุกการใช้จ่าย 10 บาท รับ 1 คะแนนทุกหมวด 

ส่วนการใช้จ่ายในหมวดโรงพยาบาลและช็อปออนไลน์ ลูกค้าจะได้รับคะแนน 2 เท่า หรือเทียบเท่า 5 บาทเท่ากับ 1 คะแนน และเมื่อใช้จ่ายหมวดประกันชีวิตที่ร่วมรายการ จะได้รับคะแนนสูงสุด 10 เท่า หรือเทียบเท่า 1 บาทเท่ากับ 1 คะแนน

ขณะเดียวกัน ลูกค้ายังสามารถแลกรับเครดิตเงินคืนเป็นมูลค่าหน่วยลงทุนได้ถึง 1,200 บาท สำหรับการซื้อกอง
ทุนทุกๆ 100,000 บาท 

สำหรับเป้าหมายการขยายฐานลูกค้า ในช่วงเเรกธนาคารจะมุ่งให้บริการกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง ที่มีอยู่เเล้ว 8 หมื่นรายก่อน จากนั้นจะค่อยๆ ขยายฐานลูกค้าใหม่ต่อไป โดยคาดว่าจะมีลูกค้าบัตรเครดิต ttb reserve จำนวน 30,000 รายภายในสิ้นปี 2564

ในช่วงที่การเดินทางระหว่างประเทศยังลำบาก สถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงินท้องถิ่นมากขึ้น เมื่อตลาด Wealth โตพุ่ง ธุรกิจ Private Banking ก็เติบโตตามไปด้วย

ท่ามกลางหลายธนาคารที่ลงสนามมาบุกตลาดนี้ อะไรคือจุดเเข็งของ ttb reserve ?

ในตลาดส่วนใหญ่ จะเน้นไปที่การให้สิทธิพิเศษหรือพรีวิลเลจที่เกี่ยวกับด้านไลฟ์สไตล์เป็นหลัก ในขณะที่ tbb จะเน้นเรื่องให้สิทธิพิเศษที่สามารถต่อยอดความมั่งคั่งทางการเงินผ่านคะแนนสะสมรายปีที่ให้ความคุ้มค่าเป็นหลัก

เน้นตราสารทุนหุ้น มุ่งกระจายไปต่างประเทศ

เเนวโน้มการลงทุนของกลุ่มลูกค้าระดับเศรษฐีเติบโตขึ้นมาก’ ในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางโรคระบาดเมื่อสภาพคล่องล้นตลาดเเละอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ การออมเงินฝากหรือพันธบัตรไม่ได้ให้ผลตอบเเทนที่ดีมากนัก เหล่านักลงทุนจึงต้องหาทางลงทุนอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลตอบเเทนมากขึ้น เเม้จะต้องรับความเสี่ยงจากตลาดที่ผันผวน

โดย ttb แนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนในช่วงนี้ว่า

เรายังคงมีมุมมองบวกต่อตลาดทุน โดยให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารทุน หรือหุ้นมากกว่าตราสารหนี้ และจะเน้นกระจายการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศมากกว่าในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตลาดสหรัฐฯ หรือตลาดเอเซียอย่างจีน และญี่ปุ่นเนื่องจากเรายังมองว่าเศรษฐกิจในหลายประเทศ น่าจะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างมีนัยสำคัญ จากปัจจัยเรื่องกระจายวัคซีน การทยอยเปิดเมือง หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มดีขึ้น

โดยลูกค้า Wealth ของ ttb มีพอร์ตการลงทุนประมาณ 2 แสนล้านบาท เทียบกับภาพรวมของทั้งธนาคารที่ 2.5 แสนล้านบาท

 

]]>
1335743
ก้าวต่อไปของทีเอ็มบีและธนชาต เมื่อรวมกันเป็น ‘ttb’กับเป้าหมายสร้างชีวิตการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย https://positioningmag.com/1331937 Mon, 17 May 2021 11:30:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331937

เหลือเวลาอีกเเค่หนึ่งเดือนกว่าๆ ดีลประวัติศาสตร์เเห่งวงการเเบงก์เมืองไทยที่หลายคนจับตามอง อย่างการรวมกิจการของ 2 ธนาคารใหญ่ ‘ทีเอ็มบี’ และ ‘ธนชาต’ สู่การเป็น

‘ทีเอ็มบีธนชาต’ หรือ ttb กำลังจะเสร็จสมบูรณ์เเบบ 100% ครบสูตร ‘One Dream, One Team, One Goal’ ในต้นเดือนกรกฎาคมนี้

การเดินทางครั้งสำคัญของ ttb กับเป้าหมายใหญ่ที่หวังจะช่วยให้คนไทยมี ‘Financial Well-being’ ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น จะมีทิศทางต่อไปอย่างไร เเผนธุรกิจเเละกลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้าในทุกช่วงชีวิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เเละการเปลี่ยนเเปลงที่จะเกิดขึ้น ลูกค้าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง วันนี้ Positioning จะพามาหาคำตอบกัน

ภารกิจใหญ่ของการรวมธนาคารครั้งนี้ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 เป็นการรวมจุดแข็งของสองธนาคารมาไว้ที่เดียว

เมื่อรวมกันแล้วจะทำให้ธนาคารใหม่ มีขนาดธุรกิจเพิ่มขึ้น ‘เท่าตัว’ โดยมีสินทรัพย์รวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท ขึ้นเเท่นเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ อันดับ 6 ของไทย มีพนักงานรวมกันมากกว่า 15,000 คน

“เราไม่ต้องการเป็นเเค่ธนาคารใหม่ เเต่จะสร้างรากฐานองค์กรใหม่ให้มีความเป็นหนึ่งเดียว สู่เป้าหมายเดียวกันคือ การช่วยให้คนไทยมีสุขภาพการเงินที่เเข็งเเรงในระยะยาว นำเสนอโซลูชั่นต่างๆ เพื่อตอบโจทย์คนไทยในทุกช่วงชีวิต” ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) กล่าว

รีเเบรนด์ให้ทันสมัย การ ‘เชื่อมต่อ’ คือหัวใจสำคัญ

ไม่กี่วันที่ผ่านมาเราคงได้เห็น ‘ภาพลักษณ์ใหม่’ ของ ttb ออกมาให้ตื่นตาตื่นใจกันเเล้ว ทั้งช่องทางการสื่อสารทางออฟไลน์เเละออนไลน์

จุดเล็กๆ เเต่น่าสนใจคือ เป็นครั้งเเรกของสถาบันการเงินไทยที่เลือกใช้ ชื่อโลโก้ใหม่ เป็นอักษรพิมพ์เล็ก ประกอบด้วยอักษร t ตัวแรกคือ TMB (ทีเอ็มบี) t ตัวที่สองคือ Thanachart (ธนชาต) และอักษร b มาจากคำว่า Bank (ธนาคาร)

ความหมายของโลโก้ของ ttb สื่อให้เห็นความตั้งใจของธนาคารที่จะใกล้ชิดและเข้าใจผู้คน ซึ่งการเชื่อมประสานกันของตัวอักษรทั้งสามตัว ยังมีความหมายถึง ‘การเชื่อมต่อ’ ของสองธนาคารเพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่จะช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย


ส่วนโทนสีของเเบรนด์ จะมี ‘สีฟ้าเเละสีส้ม’ ซึ่งเป็นสีเดิมของทีเอ็มบีและธนชาต ที่สะท้อนถึงการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นธนาคารที่ทุกคนเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องยากหรือเป็นเรื่องที่ไกลตัว

พร้อมมีการเฉดสีใหม่ อย่างสีฟ้าเฉดใหม่ ‘Confident Blue’ ที่หมายถึงการเปี่ยมไปด้วยพลัง ความคิดสร้างสรรค์ เเละสีส้ม ‘Refreshing Orange’ หมายถึง ความสดใส มีชีวิตชีวา โดยสะท้อนให้เห็นถึง ความก้าวหน้า ความอบอุ่น และความกระตือรือร้นที่จะบริการลูกค้า

รวมไปถึงเพิ่มสีน้ำเงิน ‘Trusted Navy’ สื่อถึงความมั่นคง น่าเชื่อถือและเป็นมืออาชีพ สามารถเป็นที่พึ่งพาให้แก่ทุกคน เหมือนที่เป็นตลอดมา และเพิ่มสีขาว ‘Honest White’ คือ การเป็นตัวแทนของความโปร่งใส การเปิดเผยและซื่อสัตย์ ที่เป็นหลักการที่ธนาคารยึดมั่นอยู่เสมอ โดยจะทยอยเปลี่ยนโฉมสาขา และ ATM เป็นแบรนด์ ttb ทั่วประเทศไทย

กลยุทธ์สู่ Main Bank : ขยายฐานลูกค้า – รุกดิจิทัล – เสริม

สกิลพนักงาน

ในปีนี้ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ได้ลำดับความสำคัญทางธุรกิจที่จะเร่งดำเนินการไว้ 3 เรื่อง ได้เเก่

1) ขยายฐานลูกค้า ที่เลือกใช้ ttb เป็น ’ธนาคารหลัก’ (Main Bank) ผ่านกลยุทธ์ Financial Well-being solution พัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกช่วงชีวิต ผ่าน 4 เสาหลัก คือ

  • ฉลาดออมฉลาดใช้ (Mindful spending & start saving)
  • รอบรู้เรื่องกู้ยืม (Healthy borrowing)
  • ลงทุนเพื่ออนาคต (Investing for future)
  • มีความคุ้มครองที่อุ่นใจ (Sufficient protection)

2) สร้างศักยภาพด้าน ‘Digital-first operating model’ บนโมบายแบงก์กิ้งแพลตฟอร์ม ที่เป็นมิตรและรู้ใจตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละคน แต่ละช่วงชีวิต มอบประสบการณ์ที่ดีกว่า สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า และมีความคล่องตัวที่สูงขึ้นในการขับเคลื่อนนวัตกรรม

3) สร้างศักยภาพบุคลากร (People development) ให้สอดรับกับยุคดิจิทัล

“ธนาคารไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะเทคโนโลยี แต่จะให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์และให้ความช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาทางการเงินผ่านพนักงานของธนาคาร โดยใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่มาช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า”

โดยพนักงานทั้งหมด จะได้รับการพัฒนายกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้น (Up-skill) และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน (Re-skill) ที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนทิศทางของธนาคารที่จะสร้าง Humanized digital หรือ รูปแบบการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลที่เป็นมิตรและรู้ใจ

สำหรับการ ออกแบบ ‘โซลูชันทางการเงิน’ นั้นจะเน้นให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงชีวิต โดยยกตัวอย่างโซลูชันที่เหมาะสมกับลูกค้า 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มลูกค้าที่เพิ่งเริ่มทำงาน

เป็นวัยที่ต้องการก่อร่างสร้างตัว เพื่อหา ‘ล้านแรก’ ในชีวิต ttb จะเสนอโซลูชันด้านฉลาดออม ฉลาดใช้ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง พร้อมรับสิทธิประโยชน์รอบด้าน รวมถึงประกันอุบัติเหตุฟรี ที่ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงหากเกิดอุบัติเหตุผ่านบัญชี all free และ ออมอย่างมีวินัยเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินผ่านบัญชี no fixed

กลุ่มลูกค้าที่เริ่มสร้างครอบครัว

วัยนี้จะเป็นเสาหลักของบ้าน ที่ต้องการชีวิตอิสระในวันข้างหน้า ธนาคารจะเสนอโซลูชันเกี่ยวกับสินเชื่อสำหรับลูกค้าที่ต้องการมีบ้าน มีรถ ที่ใหญ่ขึ้นสำหรับการสร้างครอบครัวที่ใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้คนกลุ่มนี้มีระเบียบวินัยในการผ่อนชำระ พร้อมโซลูชันการรวบหนี้ด้วยทรัพย์สินที่มีอยู่ เพื่อให้ จัดการปลอดหนี้ได้เร็วที่สุด สามารถเริ่มต้นเก็บออม และลงทุนเพื่ออนาคตได้ต่อไป      

กลุ่มลูกค้าที่ประสบความสำเร็จจากหน้าที่การงาน

กลุ่มนี้ต้องการมีชีวิตที่มั่นคงและเกษียณอย่างไร้กังวล ธนาคารจึงจะเน้นการให้ความรู้ด้านการลงทุน จัดทัพตามความเสี่ยง ต่อยอดความมั่งคั่ง ผ่านผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลาย และ ttb smart port พอร์ตการลงทุน ที่ตอบทุกโจทย์การลงทุนครบวงจร โดยมืออาชีพ

กลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่ง

วัยนี้กำลังจะเตรียมเข้าสู่วัยเกษียณ เเละอยากใช้ชีวิตได้ตามใจ ‘สุขภาพเป็นหนึ่ง ลูกหลานสบาย’ ธนาคารพร้อมส่งมอบโซลูชันด้านประกันชีวิตและการลงทุนที่มอบความอุ่นใจ ในการรักษาความมั่งคั่ง พร้อมดูแลสุขภาพ และวางแผนส่งต่อมรดกให้กับทายาท


ttb DRIVE ต้องเป็นให้ได้มากกว่า ‘สินเชื่อรถยนต์’

วิกฤตโควิด-19 สะเทือนทุกหย่อมหญ้า ในปีที่ผ่านมา ttb ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งรายย่อยและธุรกิจไปกว่า 750,000 ราย และในช่วงเวลานี้ ได้เตรียมมาตรการอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้

‘สินเชื่อรถยนต์’ ก็เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวชูโรงของ ttb โดยธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้าและคู่ค้าผ่านโครงการ “ตั้งหลัก” ซึ่งช่วยลูกค้าผ่อนหนักเป็นเบาได้กว่า 600,000 ราย และมอบประกันคุ้มครองโควิด-19 ให้แก่บริษัทคู่ค้าทั้งรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้วกว่า 3,000 รายทั่วประเทศตลอดปีที่ผ่านมา

ส่วนความเคลื่อนไหวต่อไปในปีนี้ ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ของธนาคาร จะนำเสนอออกมาภายใต้แบรนด์ ‘ttb DRIVE’ ด้วยความตั้งใจที่จะเป็น “มากกว่าสินเชื่อรถ… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น”

โดย ttb DRIVE พร้อมช่วยลูกค้าเคลียร์ทุกอุปสรรคทางการเงิน รวมหนี้ ลดภาระ เพิ่มสภาพคล่องด้วย “รถแลกเงินเคลียร์หนี้” และมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าที่รักษาวินัยทางการเงินเป็นอย่างดีผ่านโครงการ “จ่ายดีมีคืน” อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยโปรแกรม auto-approve ผนวกกับ scoring model พร้อมเจ้าหน้าที่ ttb DRIVE agent ให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ได้เปิดตัว “DRIVE Connect Platform” ทำตลาดออนไลน์ผ่านทาง Facebook ให้กับกลุ่ม ดีลเลอร์รถมือสอง และยังมีระบบ “Cross-area Booking” สามารถรองรับการซื้อขายรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้วผ่านช่องทางออนไลน์ ลดข้อจำกัดด้านพื้นที่ให้แก่คู่ค้า

พร้อมยกระดับศักยภาพทีมงาน ttb DRIVE เพื่อการทำงานในยุคดิจิทัล ผ่าน DRIVE Academy  เพื่อสร้างบริการที่ดีให้กับลูกค้าและคู่ค้าทุกราย

หนุนเงินทุน เสริมดิจิทัลขับเคลื่อน SMEs – ธุรกิจใหญ่

การเติบโตของธุรกิจรายย่อยไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ttb จึงวางเเผนออกสร้างโซลูชันการเงิน เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นของลูกค้าธุรกิจ ดังต่อไปนี้

มอบแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและเพียงพอ

เน้นการสนับสนุน SMEs ที่อยู่ในซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ให้ได้รับวงเงินที่เพียงพอบนเงื่อนไขที่เหมาะสมผ่าน “สินเชื่อเพื่อเครือข่ายธุรกิจ ทีทีบี (ttb supply chain solutions)” และช่วยเสริมสภาพคล่องในภาวะวิกฤตด้วยโครงการช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอี (Special Loan) และมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset warehousing) ที่สอดคล้องนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

ช่วยบริหารธุรกิจ ด้วย ttb business one

มอบโซลูชันและบริการที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจ ด้วย “ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ทีทีบี บิสซิเนสวัน (ttb business one)” ที่เป็นมากกว่าเครื่องมือการทำธุรกรรมออนไลน์

ช่วยให้ทำธุรกรรมได้ครบตั้งแต่เรื่องสินเชื่อ จนถึงธุรกรรมต่างประเทศ มีรายงานครบถ้วน เรียกดูง่าย และนำไปต่อยอดทำรายงานเชิงวิเคราะห์ได้ สามารถเชื่อมต่อกับระบบของพันธมิตรและลูกค้า เช่น ERP POS และอีกหนึ่งดิจิทัลโซลูชันที่ช่วยลดเรื่องการใช้เงินสดและเอกสารอย่างเต็มรูปแบบก็คือ “ระบบบริหารการเรียกเก็บเงิน ทีทีบี (ttb digital invoice management)”

“เป็นการนำโซลูชันของธนาคารมาเชื่อมต่อกับระบบการเรียกเก็บเงินของลูกค้าธุรกิจ ลดการใช้เงินสดและเอกสาร ลดเวลาดำเนินการ และค่าใช้จ่ายเรื่องคน”

มอบชีวิตทางการเงินที่ดีให้แก่พนักงานและคู่ค้า

มีบริการที่น่าสนใจอย่าง “การจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส (ttb payroll plus)” รวมไปถึงบริการและผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารความเสี่ยงและด้านประกัน อย่างเช่น “ประกันสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี วันไลฟ์ (ttb one life business insurance)” เป็นต้น


ttb ยุคใหม่…ลูกค้าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ?

สำหรับในช่วงเวลานี้ลูกค้าทีเอ็มบีเเละธนชาต สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้ ‘เช่นเดิม’ และยังสามารถใช้ช่องทางของ ttb ได้อีกด้วย

ลูกค้าทีเอ็มบีเดิม สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการได้เหมือนเดิมภายใต้แบรนด์ใหม่ โดยธนาคารกำลังอยู่ระหว่างการทยอยเปลี่ยนช่องทางบริการจาก ทีเอ็มบี เป็น ttb

ลูกค้าธนชาตเดิม หลังการรวมระบบในเดือนก.ค.สำเร็จ ผลิตภัณฑ์และบริการเดิมจะมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด รวมไปถึง ‘สิทธิประโยชน์’ ที่เพิ่มขึ้น

โดยลูกค้าธนชาตจะได้รับจดหมายแจ้งรายละเอียด ซึ่งจะมี ‘QR Code’ ให้สแกนเข้าไปดูข้อมูลเฉพาะของแต่ละบุคคล อย่างเลขที่บัญชีเงินฝากและเลขที่สัญญาสินเชื่อ เพื่อไว้ใช้ทำธุรกรรมตั้งเเต่วันจันทร์ที่ 5 ก.ค. เป็นต้นไป

“จดหมายนี้จะทยอยส่งออกไปหาลูกค้าตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป เพื่อให้ลูกค้าเตรียมตัวล่วงหน้า”

หากได้รับจดหมายเรียบร้อยเเล้ว ลูกค้าสามารถสเเกน ‘ดาวน์โหลดไฟล์ pdf’  เพื่อเก็บรายละเอียดผลิตภัณฑ์เเละบริการของตัวเองไว้ใช้อ้างอิงได้ หรือสามารถตรวจสอบข้อมูล หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ผ่านแอป touch ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. เป็นต้นไป

กรณีที่ผ่านไปซักพักเเต่ยังไม่ได้รับจดหมาย ลูกค้าธนชาตสามารถติดต่อไปยัง ttb contact center โทร.1428 หรือติดต่อที่สาขา ttb ได้ทั่วประเทศ

 “ธนาคารขอให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะนำไปสู่การยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน”

การเดินทางของ 2 ธนาคารใหญ่ที่มีอายุยาวนานหลายทศวรรษ สู่การรวมพลังกันเป็น ‘หนึ่งเดียว’ ก้าวไปพร้อมๆ กับฐานลูกค้ามากกว่า 10 ล้านรายในครั้งนี้ จะสร้างปรากฎการณ์ใหม่ เข้ามาช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยได้อย่างไรอีกบ้าง…ต้องติดตาม

]]>
1331937
เผยโฉมโลโก้ธนาคารใหม่ ‘ttb’ ทหารไทยธนชาต เปลี่ยนคอลเซ็นเตอร์เป็น 1428 https://positioningmag.com/1330936 Fri, 07 May 2021 06:35:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330936
หลังธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต ประกาศควบรวมกิจการ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘ทหารไทยธนชาต’ หรือ ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ มาวันนี้ถึงเวลาเผยโฉมโลโก้ใหม่ เป็น ‘ttb’ ผ่านช่องทางทั้งโซเชียลมีเดีย สาขา ตู้เอทีเอ็ม แอปพลิเคชัน และสื่อการตลาดต่างๆ ทั่วประเทศ ตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ลูกค้า

 

สำหรับชื่อย่อคือ ‘ttb’ (ทีทีบี) นั้นสื่อความหมายถึงการรวมพลังของสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียว โดยอักษร t สีน้ำเงินตัวแรกมาจาก TMB (ทหารไทย) และ t สีส้มตัวที่สองมาจาก Thanachart (ธนชาต) ส่วนอักษร b สีกรมท่ามาจากคำว่า Bank (ธนาคาร) โดยจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จดทะเบียนจาก TMB เป็น TTB ต่อไป

ในช่องทางโซเชียลมีเดีย ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ttbbankofficial ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ยูทูบ ส่วนไลน์จะใช้ TTB Bank และเว็บไซต์ทางการใช้ชื่อว่า ttbbank.com

นอกจากนี้ ยังเปลี่ยนหมายเลขคอนแทกต์เซ็นเตอร์ (Contact Center) จากหมายเลข 1558 และ 1770 ให้เป็นหมายเลขเดียวคือ ‘1428’ ส่วนเลขทะเบียนนิติบุคคล เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐาน 0-2299-1111 และที่อยู่สำนักงานใหญ่นั้น ‘ไม่มีการเปลี่ยนแปลง’

โดยลูกค้า TMB เเละธนชาต สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้เช่นเดิมภายใต้แบรนด์ใหม่ โดยเลขที่บัญชีและรหัสสาขายังคงเดิม ส่วนลูกค้าของธนาคารธนชาต จะแจ้งรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า รวมทั้งขั้นตอนที่แนะนำให้ลูกค้าปฏิบัติเพื่อความต่อเนื่องในการใช้บริการของทีเอ็มบีธนชาตต่อไป

คาดว่าทั้งสองธนาคารจะควบรวมกิจการ ‘เสร็จสมบูรณ์’ ได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ เตรียมเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในไทย เเละดำเนินงานร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL”

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2563 ทีเอ็มบีธนชาต มีสินทรัพย์รวมกันราว 1.8 ล้านล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 1.39 ล้านล้านบาท เงินฝาก 1.37 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ารวมกันประมาณ 10 ล้านราย

สำหรับการ ‘โอนย้ายพนักงาน’ กว่า 11,000 คน จากธนชาตไป ttb นั้น ได้มีการทยอยโอนย้ายมาต่อเนื่องเป็นระยะ โดยเมื่อพนักงานจากธนชาต มารวมกันกับพนักงานของ TMB ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีจำนวนพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน

อ่านเพิ่มเติม :  ภารกิจ “TMB – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง

]]>
1330936
TMB–ธนชาต เตรียมเปลี่ยน ‘ชื่อใหม่’ หลังควบรวมกิจการ เป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ ใช้ชื่อย่อว่า TTB https://positioningmag.com/1320986 Thu, 25 Feb 2021 10:20:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320986  ‘ชื่อใหม่’ ของ “TMB–ธนชาต” หลังควบรวมกิจการ เตรียมเปลี่ยนเป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ ใช้ชื่อย่อว่า TTB

ก่อนหน้านี้ หลายคนสงสัยว่าภายหลัง 2 ธนาคารใหญ่อย่างทหารไทย (TMB) และธนชาต ควบรวมกิจการกันเสร็จเเล้วนั้น จะมีการตั้ง ‘ชื่อใหม่’ ว่าอะไร

ล่าสุด TMB แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนชื่อธนาคารเป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ (TMBThanachart Bank) เป็นไปตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ ของธนาคาร โดยมีแผนจะเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก TMB เป็น ‘TTB’ ต่อไป

TMB เเละธนชาต กำลังจะก้าวสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในไทย เเละจะมีฐานลูกค้าขยายใหญ่ขึ้น แตะระดับ 10 ล้านราย หลังประกาศดีลควบรวมมูลค่า 1.4 แสนล้าน ตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2562 ที่ผ่านมา โดยเริ่มดำเนินการร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL” พร้อมตั้งเป้าจะรวมสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียวให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม ปี 2564

สำหรับการ ‘โอนย้ายพนักงาน’ กว่า 11,000 คน จากธนชาตไปธนาคารใหม่นั้น มีการทยอยโอนย้ายเป็นระยะ โดยหากพนักงานจากธนชาต มารวมกันกับพนักงาน TMB ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีจำนวนพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน
.
อ่านเพิ่มเติม : ภารกิจ “TMB – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง

 

]]>
1320986