สื่อโรงหนังโตสวนเศรษฐกิจซบ

ภาวะเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นปีจนกลายเป็นภาวะอึมครึมในวงการโฆษณา ที่เจ้าของสินค้าและบริการส่วนใหญ่ตัดสินใจไม่ถูกว่า ควรจะใช้งบหรือเลือกใช้สื่อโฆษณาไหนดี จนเกิดกระแสภาวะหดตัวของสื่อโฆษณากระแสหลักทั้งทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์

ประเด็นนี้ดูเหมือนจะไม่ใช่ปัญหาที่เจ้าของสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ต้องกังวล เพราะเพียงแค่ครึ่งปีแรกของปี 2550 สื่อในโรงภาพยนตร์กำลังกลายเป็นดาวรุ่งตัวใหม่ในธุรกิจสื่อที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยมูลค่าการโฆษณาที่เติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันเกือบ 2 เท่าตัว และมีมูลค่าเกือบเท่ากับมูลค่าการโฆษณาของปี 2549 ทั้งปี

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สื่อในโรงภาพยนตร์กลายเป็นดาวรุ่งแห่งปี เป็นผลจากภาวะเครียดจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ทำให้คนส่วนใหญ่หันหาสิ่งคลายเครียดมากขึ้น ซึ่งอาจจะดูเป็นเหตุผลส้มหล่น แต่ความจริงแล้ว ตัวโรงภาพยนตร์ก็มีการปรับตัวและมีเทคนิคที่ช่วยให้สื่อในโรงภาพยนตร์เติบโตขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้และศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด

ขณะที่ฝ่ายเอเยนซี่ก็เริ่มมองเห็นศักยภาพการลงโฆษณาในโรงภาพยนตร์มากขึ้น ยิ่งช่วยเสริมให้สื่อโรงภาพยนตร์เป็นสื่อที่น่าสนใจมากขึ้น จากสินค้าเพียงไม่กี่ชนิดที่เลือกใช้โฆษณาในสื่อโรงภาพยนตร์ในอดีต วันนี้แม้แต่สินค้านอกเหนือจากกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มหลักของนักดูหนัง ก็เริ่มหันมาใช้สื่อโรงภาพยนตร์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร อาหารเสริม ร้านค้าปลีก สินค้าไอที มอเตอร์ไซค์ บ้าน ประกัน หรือแม้กระทั่งนม

การเติบโตของตัวเลขสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ จึงเติบโตแบบก้าวกระโดดดังนี้

สื่อในโรงหนัง ครึ่งปีโต 2 เท่า

มูลค่าการโฆษณาในสื่อโรงภาพยนตร์
ปี มูลค่า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2545 596 –
2546 896 50
2547 1,310 46
2548 1,443 10
2549 2,086 45
2549 (ม.ค.-มิ.ย.) 679 –
2550 (ม.ค.-มิ.ย.) 1,978 191

10 อันดับหมวดสินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในสื่อโรงภาพยนตร์ปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.)
ประเภท จำนวนเงิน (ล้านบาท)
เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 430*
สื่อสาร 411
เวชภัณฑ์ 136
รถยนต์ 130
จักรยานและมอเตอร์ไซค์ 112
ผลิตภัณฑ์ในช่องปาก 80
ของใช้ประจำวัน 66
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว 64
ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเท้า 57
วิตามินและอาหารเสริม 55

*เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ หรือบรรดาซอฟต์ดริ้งก์ โดยเฉพาะน้ำดำสองค่ายใหญ่ ต่างเทงบมาลงที่สื่อในโรงภาพยนตร์ ด้วยความเชื่อมั่นว่าเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ขณะเดียวกันซอฟต์ดริ้งก์กลายเป็นสินค้าที่เข้ามาแทนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เคยยึดสื่อในโรงภาพยนตร์สร้างแบรนด์จนประสบความสำเร็จเป็นที่จดจำมาแล้วทั้งไฮเนเก้นและสิงห์ แต่ต้องล่าถอยไปเพราะเหตุผลทางกฎหมาย

ปัจจัยบวกของสื่อในโรงภาพยนตร์
-มีหนังใหม่มาแรงจำนวนมากตั้งแต่ต้นปี รวมถึงหนังฟอร์มใหญ่อย่างตำนานสมเด็กพระนเรศวร
-ความกดดันจากสภาพเศรษฐกิจและการเมือง ทำให้คนหันมาคลายเครียดด้วยการดูหนังมากขึ้น
-เจ้าของสินค้าหันมาทำกิจกรรมกับโรงภาพยนตร์มากขึ้น
-การขายสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ มีการขายเป็นแพ็กเก็จแบบเหมารวม ได้แก่ ดิสเพลย์ บูธกิจกรรม และการแจกตัวอย่างหน้าโรง
-มีสินค้าและบริการให้ภาพยนตร์เป็นกิจกรรมในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
-จำนวนโรงภาพยนตร์ และยอดขายตั๋วที่เพิ่มสูงขึ้น

เทคนิคการขายสื่อโรงหนังให้ได้ผล

ภาวะเศรษฐกิจเป็นผลกระทบจากภายนอกที่ทำให้สินค้าหลายชนิดเบนเข็มมาซื้อสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ ในส่วนของโรงภาพยนตร์เองก็มีการปรับตัวเพื่อตอบสนองผู้ซื้อสื่อเพื่อช่วยการันตีว่า สื่อโฆษณาที่ต้องการฉายในโรงภาพยนตร์เข้าถึงกลุ่มผู้ชมจริงๆ โดยใช้วิธีปรับ สลับ และจัดเรียงขั้นตอนการฉายสื่อต่างๆ ในโรงภาพยนตร์เสียใหม่ รูปแบบคล้ายโฆษณาขั้นรายการในทีวี ดังนี้
ปี 2549 ปี 2550
โฆษณาโรงภาพยนตร์ โฆษณาโรงภาพยนตร์
โฆษณาของลูกค้าที่ซื้อสื่อ โฆษณาภาพยนตร์ตัวอย่าง
โฆษณาภาพยนตร์ตัวอย่าง โฆษณาของลูกค้าที่ซื้อสื่อ
โฆษณาสื่อที่ซื้อโพสิชั่น โฆษณาภาพยนตร์ตัวอย่าง ที่จะเข้าฉายเร็วๆ นี้ โฆษณาสื่อที่ซื้อโพสิชั่น

จากนั้นตามด้วย

โฆษณาให้ปิดโทรศัพท์มือถือ เพลงสรรเสริญพระบารมี ซาวด์เช็ก และภาพยนตร์

จำนวนโรงภาพยนตร์
ปี จำนวน (โรง)
2544 178
2545 229
2546 288
2547 321
2548 575
2549 570
2550 617

ยอดขายตั๋วเปรียบเทียบครึ่งปีแรก 2549 กับ ครึ่งปีแรก 2550
โรงภาพยนตร์ ปี2549 ปี2550 เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
อีจีวี 4,582 4,921 7.4
เมเจอร์ 9,744 12,129 24.5
เอสเอฟ 6,201 7,748 25.1
พารากอน 787 1,073 36.3
เอสพลานาด 0 679 –

ที่มา : Carat และ บริษัทนีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช์ (ประเทศไทย), ก.ค. 2550