เคล็บลับสำหรับเอสเอ็มอี: “หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์” คือคำตอบของการเพิ่มผลผลิต

โดย เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เอสเอ็มอีขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย

มีบริษัทไม่น้อยกว่า 2.7 ล้านบริษัทที่มีส่วนในว่าจ้างงานกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศไทยด้าน การบริการ การค้าขาย และด้านการผลิต1 และในกลุ่มบริษัทเหล่านี้ วิสาหกิจขนาดเล็กและกลางหรือเอสเอ็มอี (SMEs) ประเมินได้ว่าคิดเป็นร้อยละ 37 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศ ตามข้อมูลของบมจหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง2

ภาคส่วนการผลิตเติบโตรุดหน้า

ภาคส่วนการผลิตของประเทศไทยมีอัตราสูงที่สุดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศโดยคิดเป็นร้อยละ 403 จากการที่มีคู่แข่งสินค้านำเข้าจากจีน และอุปสงค์จากตลาดท้องถิ่นที่ค่อนข้างต่ำ4 ภาคส่วนการผลิตของประเทศ รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวมจึงมีความเปราะบางต่อการสูญเสียรายได้ หากผู้ผลิตไม่เริ่มต้นที่จะเพิ่มผลิตผลจากโรงงาน และลดค่าใช้จ่าย

ความท้าทายและโอกาสสำหรับเอสเอ็มอี

วิสาหกิจขนาดเล็กและกลางในภาคส่วนการผลิตนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลายประการ อาทิ ข้อจำกัดของพื้นที่และงบประมาณ รวมทั้ง ความขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ อย่างไรก็ตาม ก็มีความเป็นไปได้สำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและกลางที่จะประสบความสำเร็จ โดยอาศัยประโยชน์จากการนำออโตเมชั่นมาใช้ในกระบวนการทำงานประจำวันในโรงงานผลิต

ในระดับโลก ร้อยละ 56 ของบริษัททั่วโลกกำลังใช้ออโตเมชั่น หรือวางแผนที่จะนำมาใช้งานภายในปีนี้ จากการสำรวจเมื่อปีพ.. 2558 ใน 36 เขตเศรษฐกิจ5 อย่างไรก็ตาม การสำรวจเดียวกันนี้ชี้ว่าประเทศไทย เพียงร้อยละ 36 ของธุรกิจในไทยที่นำเอาออโตเมชั่นมาใช้งาน ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

สถิติข้างต้นเป็นตัวกระตุ้นเตือน ขณะที่สภาพการทำงานในสภาวะที่เป็นโรงงานนั้นอาจจะต้องกินเวลาหลายชั่วโมงปฏิบัติงานซ้ำๆ เดิมๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดที่เลี่ยงไม่ได้ขึ้นมา ดังนั้น วิสาหกิจขนาดเล็กและกลางสามารถพิจารณาตัวเลือกที่จะใช้ออโตเมชั่น เช่น หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ (collaborative robots หรือ co-bots) เข้ามาใช้ในสายการผลิตเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปฏิบัติงานในการทำชิ้นงานที่ต้องอาศัยความบากบั่นอุตสาหะ

หุ่นยนต์ Cobots เหมาะสำหรับโรงงาน

Co-bots เป็นหุ่นยนต์ที่มีแขนกลที่เคลื่อนไหวคล่องตัว และเคลื่อนย้ายได้สะดวก ทำให้เหมาะสำหรับโรงงานที่มีแผนผังงานโปรดักชั่นตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ โดย co-bots ส่วนมากจะมีขนาดกะทัดรัดและนำหนักเบา ซึ่งทำให้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ซึ่งมักจะมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ และต้องทำชิ้นงานที่มีความซ้ำซากจำเจ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรูปหล่อแบบไปจนถึงงานประกอบชิ้นส่วน ในปัจจุบัน สิ่งสำคัญในสภาพแวดล้อมการผลิตที่ต้องอาศัยความรวดเร็วคือความยืดหยุ่นคล่องตัวนั่นเอง

จากภาวการณ์แข่งขันในหมู่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่ทวีความเข้มข้น บริษัทจึงหันมาพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อให้เป็นตัวที่สร้างความแตกต่างโดดเด่นจากคู่แข่ง โดยอิงจากประเภทของแอพพลิเคชั่น พบว่าหนึ่งหรือหลาย co-bots สามารถที่จะทำงานเคียงข้างกับมนุษย์ในโนโรงงานได้ เมื่อได้สรุปชิ้นงานให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ปฏิบัติงานสามารถตั้งค่าโปรแกรมให้หุ่นยนต์ทำกิจกรรมตามที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมยุ่งยากด้านวิศวกรรมใดๆ เลย

ข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่ง คือ co-bots มีช่วงคืนทุนที่รวดเร็วกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งทำให้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่มีข้อจำกัดด้านการเงิน ซึ่งนอกจากนี้แล้ว การยกระดับทักษะด้านการปฏิบัติงานก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องไม่มองข้าม

เมื่อ co-bots มาทำงานบนสายการผลิต ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำชิ้นงานอื่นที่ต้องอาศัยความประณีตละเอียดอ่อนมากกว่า เช่น การวางแผนงานหรือรับผิดชอบคุมงาน แรงงานที่มีทักษะนั้นสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิผลได้ และส่งผลอย่างยิ่งต่อการเติบโตของธุรกิจ

อนาคตที่สดใสสำหรับเอสเอ็มอีไทย

เจ้าของธุรกิจมีตัวเลือกที่จะเพิ่มประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ และสานสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในองค์กรของตน ออโตเมชั่นของกระบวนการผลิตเป็นตัวเลือกหนึ่งนั้น ที่จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในพื้นที่การผลิต เพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นการสำคัญมากที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่จะสร้างแนวความคิดที่มีความสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น co-bots ที่จะช่วยผลักดันธุรกิจให้เติบโตขึ้นอีกระดับในระยะยาว

เกี่ยวกับยูนิเวอร์แซล โรบอทส์

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นผลแห่งความสำเร็จในการวิจัยค้นคว้าด้านหุ่นยนต์อย่างหนักหน่วงติดต่อกันหลายปี ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทประกอบด้วย หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ UR3 UR5 และ UR10 หุ่นยนต์แขนกลเหล่านี้ตั้งชื่อรุ่นตามน้ำหนักที่รับในหน่วยกิโลกรัม

ตั้งแต่ UR ตัวแรกก้าวเข้าสู่ตลาดเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.2551 บริษัทก็ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำตลาดได้ในประเทศต่างๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกที่ให้ความสนใจในการนำหุ่นยนต์มาใช้งาน ระยะเวลาในการคืนทุนโดยเฉลี่ยสำหรับหุ่นยนต์ UR นี้เพียง 195 วันเท่านั้นถือเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทยูนิเวอร์แซล โรบอทส์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก พร้อมด้วยงานพัฒนาวิจัยและผลิต เป้าหมายการจำหน่ายทั่วโลกอยู่ที่ การเติบโตยอดรายได้เท่าตัวทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.2557 ถึง พ.. 2560 สนใจเยี่ยมชมเว็บไซต์ ได้ที่ www.universal-robots.com

1 http://www.nationmultimedia.com/business/SMEs-hold-key-to-economic-future-30277081.html

2 http://www.straitstimes.com/business/thailand-approves-812-bln-measures-to-aid-small-firms-as-economy-falters

3 http://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/—ed_dialogue/—sector/documents/publication/wcms_161290.pdf

4 http://www.wsj.com/articles/thailands-industrial-production-remains-weak-in-february-1459239293

5 http://www.grantthornton.global/en/insights/growthiq/automation/