แรงงานเมียนมาเนื้อหอม “ทรูมันนี่” เปิดบริการทรานเฟอร์

วงการอีเพย์เมนต์ยังมีการเคลื่อนไหวในตลาดให้เห็นอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้จำกัดอยู่แค่เติมเงิน จ่ายบิล หรือเป็นกระเป๋าเงินออนไลน์แล้วทรูมันนี่ได้เปิดบริการโอนเงินระหว่างประเทศ หรือทรูมันนี่ ทรานเฟอร์ เริ่มต้นที่ประเทศเมียนมา จัดกลุ่มแรงงานเมียนมาในไทยที่มี 2 ล้านคน

ทรูมันนี่ทรานเฟอร์เป็นหนึ่งในบริการอีเพย์เมนต์ที่เข้ามาเติม หรือตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคดิจิทัลโอนเงินโดยที่ไม่ต้องอาศัยบัญชีธนาคาร เพียงแค่ใช้แอปพลิเคชั่นทรูมันนี่ผูกกับกระเป๋า Wallet ด้วยการเติมเงิน หรือใครจะผูกกับบัญชีธนาคารก็ได้ ส่วนผู้รับปลายทางก็รับเงินที่เคาน์เตอร์

2_true

ทรูมันนี่ได้เริ่มต้นที่ประเทศเมียนมาเป็นที่แรก เหตุผลแรกเพราะด้วยการได้ใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจโอนเงินข้ามประเทศที่รับบาลได้รับรองธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร ด้วยจังหวะเวลาเรื่องความมั่นคงของการเมืองจึงทำให้เกิดการพูดคุยได้อย่างรวดเร็ว

แต่เหตุผลที่สำคัญก็คือ ในประเทศไทยมีผู้ใช้แรงงานจากประเทศเมียนมาสูงถึง 2 ล้านคน จากจำนวนผู้ใช้แรงงานทั้งหมด 3.91 ล้านคน และคนเมียนมามีการโอนเงินกลับประเทศมูลค่าสูง 77,000 ล้านบาท/ปี เฉลี่ยโอนเงิน 30,000 บาท/คน/ปี และมีการโอนเงินแต่ละครั้งเฉลี่ย 6,650 บาท

แต่ด้วยวิธีการโอนเงินส่วนใหญ่ของชาวเมียนมายังนิยมแบบโพยก๊วนหรือเป็นนายหน้ารับเงิน และจะมีค่าธรรมเนียมแตกต่างกันออกไป เริ่มต้นที่ 30 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินและพื้นที่ ซึ่งชาวเมียนมายังมีข้อจำกัดเรื่องไม่มีบัญชีธนาคาร คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก มีคนที่มีบัญชีธนาคารเพียงแค่ 10% ของจำนวนประชากร หรือถ้าต้องทำธุรกรรมในธนาคารก็ติดเรื่องการสื่อสารทางภาษา และค่าธรรมเนียมที่สูงด้วย

ทรูมันนี่จึงให้ทรูมันนี่ทรานเฟอร์มาอุดช่องว่างต่างๆ เหล่านั้น สามารถโอนเงินผ่านแอปพลิเคชั่น มีค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่ 50-300 บาท โดยที่จำนวนเงินที่ชาวเมียนมาโอนเงินมากที่สุดคือ 6,650 บาท ก็คิดค่าธรรมเนียม 100 บาท สามารถโอนเงินได้สูงสุด 30,000 บาท/ครั้ง และไม่เกิน 200,000 บาท/คน/วัน ซึ่งจะมีจุดให้บริการในประเทศไทย 250 แห่ง เน้นในโซนที่มีชาวเมียนมาอาศัยอยู่เยอะอย่าง กทม., สมุทรสงคราม, สมุทรปราการ, ระนอง, กาญจนบุรี, ภูเก็ต และตาก ส่วนที่เมียนมาได้เป็นพาร์ตเนอร์กับธนาคารท้องถิ่น AGDBANK มีจุดให้บริการ 681 ที่สามารถรับเงินได้

1_true

สราญรัตน์ ศรีจิรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด กล่าวว่ากลุ่มแรงงานชาวเมียนมาเป็นกลุ่มที่มีโอกาสสูงมากในเรื่องการโอนเงินข้ามประเทศ เพราะในตอนนี้ในประเทศไทยมีแรงงานชาวเมียนมาเยอะที่สุดที่ 2 ล้านคน แต่ส่วนใหญ่ชาวเมียนมายังใช้วิธีโอนเงินแบบเดิมๆ คือผ่านนายหน้าที่เรียกว่าโพยก๊วน มีค่าธรรมเนียมไม่คงที่ และไม่รับรองความปลอดภัย ทรูมันนี่จึงทำบริการให้ตอบโจทย์ทุกช่องว่าง

ถึงแม้ว่าชาวเมียนมาจะมีบัญชีธนาคารเป็นส่วนน้อย แต่อย่างที่กลาวไปว่าชาวเมียนมาเป็นผู้บริโภคยุคดิจิทัล มีการใช้สมาร์ทโฟน และชอบใช้แอปพลิเคชั่น Viber ในการโทรศัพท์หากันจึงเป็นจุดที่สร้างโอกาสได้มาก

อีกพฤติกรรมหนึ่งของชาวเมียนมาก็คือ จะเชื่อการบอกต่อในกลุ่มคนรู้จักมากที่สุด การที่โอนเงินผ่านโพยก๊วนก็เป็นเพราะคนรู้จักแนะนำ หรือการใช้เครือข่าวโทรศัพท์มือถือก็เพราะคนรู้จักแนะนำ เราเลยต้องใช้ Influencer ของชาวพม่า คุณเพ่ยเพ่ย ที่เทียบเท่าใหม่ ดาวิกาในบ้านเรา เป็นผู้สื่อสารกับเขา จะมีปล่อยโฆษณาบนโลกออนไลน์อย่าเงดียวเท่านั้น เพราะเป็นช่องทางที่เขาใช้มากที่สุด

ภายในปีหน้าทรูมันนี่ตั้งเป้ามีชาวเมียนมาใช้งาน 2-4 ทรานแอคชั่น ประเทศต่อไปที่จะมีการเปิดทรูมันนี่ทรานเฟอร์จะเป็นกัมพูชา และลาว มีจำนวนผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยเยอะเหมือนกัน เพียงแต่ว่าจะติดเรื่องที่ทางรัฐบาลยังไม่อนุมัติ

info_truenew