- โนเกีย เผยผลสำรวจ “Smart City Playbook” โดย มาคิน่า รีเสิร์ช 22 ประเทศทั่วโลก พบว่ากรุงเทพฯ มีระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะและความปลอดภัย ระดับปานกลาง
- ในแง่ของความสมาร์ทและซีเคียวริตี ขณะที่เรื่องความยั่งยืนอยู่ในระดับน้อย
- ความยั่งยืนในการใช้แอปพลิเคชั่นได้รับคะแนนระดับน้อย
- แต่กรุงเทพฯ ก็ยังมีโอกาสในการก้าวสู่เมืองอัจฉริยะในระดับขั้นก้าวหน้าได้
- รัฐบาลไทยก็มีแผนดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือแผนดีอี ในการสร้างจังหวัดหัวเมืองสำคัญ เช่น ภูเก็ต ขอนแก่นและเชียงใหม่ เป็นเมืองอัจฉริยะด้วย
- กระบวนการสร้างเมืองอัจฉริยะใน 22 ประเทศ มี 3 แนวทางในการเลือกใช้
แนวทางแรก เปรียบเสมือนการทอดสมอ กล่าวคือ เมืองใช้วิธีจัดทำแอปพลิเคชั่นหนึ่งตัวเพื่อนำมาจัดการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งในเมืองก่อน เช่น ปัญหาการจราจรติดขัดและภายหลังจึงเพิ่มแอปพลิเคชั่นอื่นๆ
แนวทางที่สอง เริ่มต้นด้วยการสร้างแพลตฟอร์ม หรือโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับแอปพลิเคชั่น และบริการอัจฉริยะต่างๆ
แนวทางที่สาม นำหลายแอปพลิเคชั่นมาทดลองเป็นระบบนำร่องก่อนที่จะตัดสินใจมาปฏิบัติใช้ในระยะยาว ซึ่งประเทศไทยใช้วิธีนี้
เมืองอัฉริยะจะสำเร็จได้ต้องมี
- กฎระเบียบที่โปร่งใสในการใช้ฐานข้อมูลที่จำเป็นจากรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเปิดเผยสู่สาธารณชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือมีค่าใช้จ่าย
- ผู้ใช้งานทั้งจากใน และนอกภาครัฐสามารถเข้าถึงข้อมูล และเทคโนโลยีการสื่อสาร และ IoT
- ควรหลีกเลี่ยงการสร้างการแบ่งแยกระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในภาครัฐส่งเสริมให้ประชากรเข้าไปมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเมืองสู่เมืองอัจฉริยะ มักจะประสบความสำเร็จมากกว่า เช่น ที่จอดรถอัจฉริยะและแสงสว่าง
- มีแพลตฟอร์มเทคโนโลยีเปิดที่ป้องกันการผูกขาด จะมีความได้เปรียบในการพัฒนาสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ
ที่มา : http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000117260