จับตา อีเพย์เมนต์บนโมบาย สุดฮอต 3 ค่ายยักษ์ส่ง Apple Pay, Samsung Pay Android Pay บุกเอเชีย

ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย จับตา “เงินอิเล็กทรอนิกส์” หรือ รูปแบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment หรือ e-Payment) กำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล และลดใช้เงินสดมีต้นทุนมหาศาลในการบริหารจัดการ ทั้งการพิมพ์ การขนส่ง การนับคัด และการทำลาย

ข้อมูลจาก Visa Consumer Payment Attitudes Study 2015 กว่า

  • 6 ใน 10 (57%) ของคนไทย คิดว่า การพกเงินสดไม่ปลอดภัย
  • คนไทยพกเงินสดเฉลี่ย 2,094 บาท

info_1_payment

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สัดส่วนมูลค่าการชำระเงินด้วยช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทย จะเพิ่มขึ้นจาก 40% ไปอยู่ระดับที่สูงกว่า 50% ในอีก 10 ปีข้างหน้า

คนไทยใช้อีเพย์เมนต์น้อย

เมื่อดูถึงอัตราการใช้บริการการชำระเงินทางของประเทศไทย ในปี 2557 มีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ย 35 รายการต่อคน ต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ

เมื่อเทียบสัดส่วนการทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์กับประเทศอื่นๆ จะพบว่าจำนวนรายการต่อประชากรต่อปีเป็นดังนี้

2_payment

เป้า 3 ปี อีเพย์เมนต์เพิ่ม 150 รายการ/คน/ปี

คณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) กำหนดเป้าหมายเพิ่มปริมาณการใช้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อประชากรเป็น 50 และ150 รายการ/คน/ปี ในปี 2559 และ 2563 ตามลำดับ

3_payment

รับมือมิจฉาชีพยุคดิจิทัล

จากข่าวมิจฉาชีพพยายามโจรกรรมข้อมูลและเงินในบัญชี ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต่างเดินหน้าลงทุนระบบไอที เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าในการใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ (Digital Banking) โดยเฉพาะในอนาคตที่หลายธนาคารหันมาให้ความสำคัญกับการให้บริการผ่านดิจิทัลเพิ่มขึ้น ซึ่งความปลอดภัยในการให้บริการถือเป็นหัวใจ

เพื่อเป็นการป้องกันตนเองในเบื้องต้น ในฐานะเจ้าของเงิน ต้องละเอียดรอบคอบ อย่าเผลอกดรัวๆ ด้วยความเคยชิน โดยไม่อ่านข้อมูลใดๆ โดยมีทริคง่ายๆ คือ

  • ข้อมูลส่วนตัว เก็บไว้กับตัว อย่าไปบอกใคร
  • รหัสผ่าน ตั้งให้ยากเข้าไว้ โจรเดาไม่ได้
  • เว็บไซต์ ดูให้ดี เว็บจริงหรือเว็บหลอก ก่อนกรอกข้อมูลส่วนตัว
  • โปรแกรมป้องกันไวรัส ติดตั้งไว้เถอะ ช่วยตรวจเจอโทรจันร้าย
  • ซอฟต์แวร์และเว็บเบราเซอร์ อัพเดตให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด อุดช่องโหว่ความปลอดภัย
  • ทำธุรกรรมออนไลน์ ตรวจ SSL ของเว็บไซต์ก่อนจ่าย-โอน
  • Cyber Banking > Log in ใหม่เสมอ อย่าเผลอกดระบบช่วยจำรหัสผ่าน
  • Wi-Fi สาธารณะ อยู่นอกบ้านใช้ 4G ดีกว่า Wi-Fi สาธารณะ

การปรับตัวของร้านค้ารองรับ “เงินอิเล็กทรอนิกส์”

เมื่อคนไทยลดการใช้เงินสด และหันมาใช้จ่ายเงินผ่านบัตรและช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ประกอบกับโครงการ Expansion of Card and Card Acceptance ภายใต้นโยบาย National e-Payment ที่กำหนดให้ทุกร้านค้าที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ต้องมีเครื่อง EDC เพื่อเพิ่มการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งเหล่านี้ทำให้ร้านค้าต่างๆ ต้องปรับตัวสู่การค้าขายในอนาคต เพื่อให้พร้อมรองรับการจ่ายทุกรูปแบบ

ปัจจุบันมีเครื่อง EDC ในประเทศไทยอยู่ 396,257 เครื่องและภาครัฐมีนโยบายตั้งเป้าติดตั้งเครื่องรูดบัตร (อีดีซี) เพิ่มเป็น 2 ล้านเครื่อง ข้อมูล: ธนาคารแห่งประเทศไทย ครึ่งปีแรก 2559

หมายเหตุ :

EDC หรือเครื่องรับบัตรเทคโนโลยีทันสมัยที่รองรับทุกบัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตร VISA Mastercard และ UnionPay (บัตรของประเทศจีน) Alipay และ Wechat (อี-ว็อลเล็ตของประเทศจีน) ซึ่งเหมาะสำหรับธุรกิจที่เน้นการขายผ่านหน้าร้าน เช่น ร้านอาหาร โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว สปา ที่รองรับลูกค้าทั้งชาวไทย และต่างประเทศ

K-PowerP@y (mPOS) คืออุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนสมาร์ทโฟนให้เป็นเครื่องรับบัตร ซึ่งเวลานี้ mPOS ของธนาคารกสิกรไทยเป็นเจ้าเดียวที่สามารถเชื่อมต่อต่อผ่านบลูทูธ เหมาะกับธุรกิจร้านค้ารายย่อย เช่น ร้านขายเสื้อผ้า ร้านค้ารายย่อยตามตลาดนัด หรือเหมาะกับการขายนอกสถานที่ เช่น ในงานอีเวนต์ เป็นต้น

ใช้ EDC แล้วร้านค้าจะได้อะไร

  • เพิ่มโอกาสการขายได้มากกว่า ลูกค้าจ่ายง่าย กล้าซื้อมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องพกเงินสดมาเยอะๆ
  • ได้รับความสะดวกและปลอดภัย ร้านค้าไม่ต้องถือเงินสด โดยเงินที่ได้จากการขายของจะถูกโอนเข้าบัญชีในวันรุ่งขึ้นทันที และสามารถเข้าเว็บไซต์ดูรายละเอียดการขายต่างๆ ผ่านทาง e-report ได้
  • มีโปรโมชั่น และแคมเปญต่างๆ ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งร้านค้าที่ซื้อขายผ่านเงินสดจะพลาดการเข้าร่วมแคมเปญตรงนี้ไป

Contactless Payment บนโมบาย มาแรงสุดๆ!

ระบบการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) ผ่านเครื่องมือสื่อสารเคลื่อนที่ ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จาก 3 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ของโลก คือ Apple Pay, Samsung Pay และ Android Pay ที่กำลังเดินหน้าบุกตลาดในเอเชีย

  • Apple Payให้บริการในจีน สิงคโปร์ ล่าสุดคือญี่ปุ่น
  • Apple Pay บน iPhone 7, iPhone 7 Plus และ Apple Watch Series 2 ที่วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น จะฝังชิปรองรับระบบจ่ายเงิน FeliCa Type-F NFC สามารถใช้งานผ่านบัตรยอดนิยม Suica ผู้ใช้จะสามารถใช้งาน Apple Pay ในการเดินทางทั้งรถไฟ, รถไฟใต้ดิน, เฟอรี่ และรถโดยสารประจำทาง โดยมีการอัพเดตค่าโดยสารและตารางเวลา และแจ้งเตือนถ้ายอดเงินใน Suica ไม่พอ
  • Samsung Pay ให้บริการในเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ล่าสุดคือไทย
  • Samsung Pay ในประเทศไทย ใช้เทคโนโลยีการชำระเงินในแบบ Magnetic Secure Transmission หรือการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปที่เครื่องรับชำระเงิน หรือ EDC และเมื่อเครื่องได้รับรายการแล้ว ลูกค้าจะต้องเซ็นต์สลิปบัตรเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป โดยที่ลูกค้าสามารถใช้ Samsung Pay ทำรายการได้ตามเงื่อนไขของร้านค้าโดยไม่มีการจำกัดยอดซื้อสูงสุด สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ 27 ต.ค. นี้ที่ร้านค้าร่วมรายการ และห้างสรรพสินค้าเครือเดอะมอลล์ และสยามพิวรรธน์
  • Android Pay ให้บริการในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ล่าสุดคือสิงคโปร์
  • ขยายตลาดเอเชีย ประเดิมประเทศแรกในภูมิภาคนี้ คือสิงโปร์  Android Pay ในสิงคโปร์ รองรับ Android 4.4 ขึ้นไปที่มีชิป NFC ร้านค้าที่รองรับได้แก่ 7-11, BreadTalk, Cold Storage, McDonald’s, NTUC FairPrice, StarHub, Toast Box, Uniqlo, Watsons และรองรับบัตรของขวัญ บัตรสะสมแต้ม บัตรส่วนลดของร้านค้าเหล่านี้ด้วย นอกจากนี้ตัวแอป Android Pay ยังสามารถใช้จ่ายเงินกับแอปอย่าง Uber, Grab, Shopee, Zalora, Singapore Airlines ได้ด้วย