“โลว์คอสต์แอร์ไลน์” ใครจะรอดตาย?

“สายการบินต้นทุนต่ำ” หรือ “โลว์คอสต์แอร์ไลน์” ในเมืองไทยมีผู้โดยสารอยู่ประมาณ 10-12 ล้านคน มูลค่าสูงถึง 6 พันล้านบาท เป็น “ตลาด” ที่เหลืออยู่ของธุรกิจสายการบิน และเป็นจุดวัดความสามารถว่าใครจะเป็น “ผู้อยู่รอดสุดท้าย” เพราะโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ได้ลดต้นทุนมาแล้วทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ แต่ “ต้นทุน”น้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาตลอดนั้นยากที่จะทำให้เป็น “โลว์คอสต์” ได้

ปรากฏการณ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 สำหรับธุรกิจโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ซึ่งมีผู้เล่น 3 สายการบินหลัก คือ วันทูโก นกแอร์ และไทยแอร์เอเชีย

“วันทูโก”ซึ่งมีผู้โดยสารเดือนละกว่า 1-2 แสนที่นั่ง เกิด “แพ้ภัยตัวเอง” เพราะซิกแซก พยายามลดต้นทุนจ้างนักบินโลว์คอสต์ และปลอมเอกสารการบินจนถูกสั่งพักใบอนุญาต

“นกแอร์” ซึ่งมีการบินไทยถือหุ้น 39% แม้จะชูจุดขาย “มาตรฐาน”การบินไทย แต่เพราะมาตรฐานสูง ก็ต้องจ่ายสูงกว่าความเป็นโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ทำให้ยากที่อยู่ได้ และยิ่งเจอน้ำมันแพงอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมากก่อน

“ไทยแอร์เอเชีย” สามารถบินได้ โดยอาศัย “จุดแข็ง” ความเป็นเครือข่ายเดียวกับ “แอร์เอเชีย” มาเลเซีย และยึดโมเดล “โลว์คอสต์” ลดต้นทุนทุกทางจนดูเหมือนจะเป็นรายเดียวที่ยังบินได้

แต่อีกไม่นานจะได้รู้ว่าใครจะเป็นผู้อยู่รอดในธุรกิจนี้

ก่อนวิกฤต หลังวิกฤต
1. ไทยแอร์เอเชีย 40% 1. ไทยแอร์เอเชีย 80%
2. นกแอร์ 30% 2. นกแอร์ 20%
3. วันทูโก 30%