อี-มันนี่ เถื่อนไม่เถื่อน ? มาดูกัน

จากกระแสข่าวร้อน เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งความดำเนินคดี บริษัท เพย์ออล กรุ๊ป จำกัด ซึ่งมีดารานักแสดงชื่อดัง ฟิล์ม รัฐภูมิ โตคงทรัพย์เป็นประธานบริษัท หลังพบว่าให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อีมันนี่) โดยไม่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย     

มาทำความรู้จักกับเงินอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Money หรือ e-Money (อีมันนี่) มูลค่าเงินที่บันทึกในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้ใช้บริการได้ชำระเงินล่วงหน้าแก่ผู้ให้บริการ e-Money เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าบริการได้ตามร้านค้าที่รับชำระโดยไม่ต้องพกเงินสด

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ e-Money มากหน้าหลายตา ไม่ใช่แค่ธนาคาร แต่มีทั้งบริษัทสื่อสาร เกม ทั้งรายเก่า รายใหม่ เพราะต่างก็มองเห็นโอกาสจากการที่ไทยกำลังเดินเข้าสู่ยุคใช้จ่ายผ่านดิจิตอล ไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องทอนเงินให้ยุ่งยาก รวมทั้งการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ จะทำให้การใช้บริการ e-Money เพิ่มสูงขึ้น

แต่การให้บริการ e-Money ใช่ว่าจะทำได้ทันที จำเป็นต้องขออนุญาตจากทางแบงก์ชาติ เพื่อประกอบธุรกิจบริการ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

บัญชี ก ใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพียงรายเดียว

ยกเว้น ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคโดยไม่ได้แสวงหากำไรจากการออกบัตร เช่น บัตรศูนย์อาหาร บัตรโดยสารสาธารณะ บัตรโทรศัพท์สาธารณะ หรือบัตรชำระค่าผ่านทางสาธารณะ

ปัจจุบัน มีบริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. เป็นผู้ได้รับอนุญาตบัญชี ก เพียงรายเดียว

บัญชี  เป็นบริการ ใช้ซื้อสินค้า หรือบริการ จากผู้ขายหลายรายภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและบริการเดียวกัน หรือกิจการในเครือ เช่นธุรกิจแฟรนไชส์ปัํ๊มน้ำมันระบบขนส่งมวลชนศูนย์การค้า

ปัจจุบัน มีผู้ขอใบอนุญาต 7 ราย

  1. บริษท จีพีซีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด
  2. บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด
  3. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
  5. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  6. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด
  7. บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

 บัญชี เป็นบริการ ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการ จากผู้ขายหลายราย โดยไม่จำกัดสถานที่ และไม่อยู่ภายใต้การจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน เช่น การนำไปใช้ชำระค่าสินค้า/ค่าบริการที่จำหน่ายผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต หรือตามร้านค้าที่รับชำระด้วย e-money

รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money บัญชี ) ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน

  1. บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด (บริษัทย่อยของกลุ่มทรู เครื่องหมายการค้า TrueMoney)
  2. บริษัท ทีทูพี จำกัด (เครื่องหมายการค้า DeepPocket)
  3. บริษัท ทูซีทูพี พลัส (ประเทศไทย) จำกัด (เครื่องหมายการค้า 2C2P)
  4. บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (เครื่องหมายการค้า Smart Purse)
  5. บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (เครื่องหมายการค้า Rabbit)
  6. บริษัท เพย์สบาย จำกัด (บริษัทย่อยของดีแทค เครื่องหมายการค้า Paysbuy)
  7. บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เครื่องหมายการค้า บุญเติม)
  8. บริษัท แรบบิทไลน์ เพย์ จำกัด (เครื่องหมายการค้า Rabbit LinePay)
  9. บริษัท เอ็มโอแอล เพย์เมนท์ จำกัด (เครื่องหมายการค้า MOL)
  10. บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำกัด (บริษัทย่อยของเอไอเอส จำหน่ายบัตรแทนเงินสดวันทูคอล)
  11. บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด (บริษัทย่อยของเอไอเอส เครื่องหมายการค้า mPAY)
  12. บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (เครื่องหมายการค้า AirPay)
  13. บริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด (เครื่องหมายการค้า PayforU)
  14. บริษัท เฮลโลเพย์ จำกัด (เครื่องหมายการค้า Go!Hub)

เมื่อผู้ให้บริการมีมากหน้าหลายตาซึ่งได้โฆษณาเชิญชวนให้ลูกค้าและร้านค้าใช้บริการด้วยการหาเครือข่ายสมาชิก และให้ผลตอบแทนในอัตราสูง แบงก์ชาติเลยต้องออกมาได้เตือนถึงความเสี่ยงของการใช้บริการที่ไม่ได้รับอนุญาต

โดยบริษัทที่จะได้ใบอนุญาตได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติและต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกำหนด เช่นต้องมีทุนจดทะเบียนตามกำหนด มีสภาพคล่องทางการเงิน มีการเก็บรักษาเงินที่เติมเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยฝากไว้ที่สถาบันการเงินและแยกบัญชีไว้ต่างหาก และการรักษาความลับของลูกค้า และคืนเงินให้ลูกค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย http://astv.mobi/AmoWxbm