วัตสัน ประเทศไทย เผยผลสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้บริโภคไทยใส่ใจสุขภาพต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสากล เกินครึ่งออกกำลังกายน้อย หาความรู้เรื่องสุขภาพจากอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียสูงเป็นอันดับแรกของโลก แต่สนใจเรื่องลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักมากที่สุด
ผลสำรวจนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา “แนวโน้มสุขภาพในประเทศไทย 2560” หรือ “Thailand Health & Well Being Trend 2017” จัดทำในช่วง 3 เดือน ระหว่าง พฤศจิกายน 2559 ถึง มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ใน 11 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ ยูเครน อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ในกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 15 – 60 ปี จำนวนทั้งหมด 10,589 คน โดยรวบรวมข้อมูลจากการประเมินด้วยตนเองทางออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มสำหรับการสำรวจ WISE : ซึ่งย่อมาจาก Watsons Insights on Shoppers Experience หรือ ข้อมูลเชิงลึกของวัตสันเรื่องประสบการณ์ของผู้ซื้อสินค้า ซึ่งเป็นแผนกวิจัยของ A.S. Watsons Group
โดยผลสำรวจพบว่า มีเพียง 37% ที่ประเมินว่าตนเองมีความรู้ดีเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก อยู่ที่ 51% และมีมากถึง 98% ที่ทราบดีว่าการออกกำลังกายเป็นประจำทำให้มีสุขภาพดี แต่มีเพียง 48% เท่านั้นที่ลงมือปฏิบัติจริง นอกจากนี้ 74% รับประทานวิตามินเสริมเพื่อช่วยให้สุขภาพดี
ในด้านการหาข้อมูล พบว่าอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข้อมูลหลักด้านสุขภาพและสุขภาวะของคนไทย ซึ่งสูงที่สุดในโลก โดยค้นหาจากอินเทอร์เน็ต มากถึง 91% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 63% ขณะที่โซเชียลมีเดีย 58% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ 32%
สำหรับนิยามหลักของการมีสุขภาพดีของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ แข็งแรงและได้สัดส่วน, ไม่เจ็บป่วย และมีอารมณ์ดี ไทย ประเมินให้การมีอารมณ์ดีคือนิยามหลักของสุขภาพที่ดีอยู่ที่ 35% ซึ่งมากมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก 23%
หัวข้อด้านสุขภาพที่คนไทยสนใจและให้ความสำคัญเป็น 3 อันดับแรก ได้แก่ การลดน้ำหนัก/การควบคุมน้ำหนัก 49% อาหารเพื่อสุขภาพ 42% ปัญหาด้านผิวหนัง 40% ซึ่งเป็นคะแนนประเมินสูงที่สุดในโลก
ผลิตภัณฑ์ที่คนไทยให้ความสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดี 3 อันดับแรก ได้แก่ วิตามิน 74% อาหารเสริมโปรตีน 27% และผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร 14%
นวลพรรณ ชัยนาม ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด วัตสัน ประเทศไทย ให้ความคิดเห็นว่า