ถอดบทเรียนเศรษฐกิจแบ่งปันจาก “จีนถึงไทย”

ecommerceIQ พอร์ทัลรวบรวมผลการวิจัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ถอดรหัสข้อมูลเกี่ยวกับ สังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing economy) เป็นแนวคิดทางธุรกิจที่รายได้เกิดจากการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการระหว่างบุคคลโดยมีค่าใช้จ่ายแนวคิดนี้จะเกิดขึ้นจริงและประสบความสำเร็จเนื่องจากปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหรือต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก จนทำให้การครอบครองทรัพยากรจำนวนมากเป็นไปได้

เทคโลโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญในการทำให้แนวคิดนี้เกิดขึ้น พร้อมด้วยความเชื่อใจ ความสะดวก และสำนึกรวมแห่งความเป็นชุมชน โดยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทสตาร์ทอัพอย่าง อูเบอร์ (Uber) และ
แอร์บีแอนด์บี (Airbnb) ถือเป็นสองบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการนำแนวคิดนี้มาใช้ทำธุรกิจ จึงทำให้ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียคุ้นเคยและไว้ใจบริการ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าแนวคิดนี้จะมีประสิทธิภาพต่อธุรกิจในประเทศจีน หรือประเทศไทยเสมอไป

สิ่งที่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน

เหล่าบริษัทสตาร์ทอัพในประเทศจีนต่างเชื่อว่าแบ่งปันสินค้าเกือบทุก” อย่างนั้นเป็นไปได้โดยมีหลากหลายบริษัทที่ให้บริการเช่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ในปัจจุบัน ทั้งนี้สินค้าหรือบริการที่ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเจาะไปที่ตลาดแมส เพราะประเทศจีนมีการให้เช่าสินค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น ร่ม ลูกบาส พาวเวอร์แบงก์ จักรยาน หรือแม้แต่คอนกรีต

สังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปันมีมูลค่าสูงกว่า 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่การลงทุนไม่สามารถชี้วัดได้ว่าแนวคิดนี้เป็นแนวคิดทางธุรกิจที่ดีหรือไม่

ทั้งนี้ มีชาวจีนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า Bike Hunter หรือ นักล่าจักรยาน สำรวจจักรยานให้เช่าจากแอปโอโฟ (Ofo) ในหกเมืองของประเทศจีน ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น อู่ฮัน และเฉิงตู โดยพบกว่า 19% ของจักรยานถูกทำลาย 15% ไม่ได้ถูกล็อกเก็บเข้าที่ และ 12% สูญหายหรือเอาไปใช้เป็นของส่วนตัว นอกจากนี้ยังมีการรายงานว่าแอปให้เช่าร่มอย่าง E Umbrella ขาดทุนสูงถึง 286,000 เหรียญสหรัฐ

นักวิเคราะห์รายงานกับสำนักข่าวฟอร์บส์ว่า ด้วยสภาวะซบเซาของเศรษฐกิจที่ทำให้จีดีพีของประเทศจีนตกลงไปอยู่ที่ 6% ทำให้ผู้คนไม่อยากซื้อสินค้าจึงสร้างโอกาสการแบ่งปันมากขึ้น แต่ในทางกลับกันจีดีพีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในประเทศฟิลิปปินส์ เมียนมา และเวียดนาม ทำให้ความเป็นไปได้ของสังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปันเป็นไปได้น้อยลง

สถานการณ์ของประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ สตาร์ทอัพจากประเทศสิงคโปร์และจีนอย่าง โมไบค์ (MoBike) โอไบค์ (oBike) และโอโฟ (Ofo) เข้าหารือกับรัฐบาลไทยเพื่อยื่นขออนุมัติการให้บริการการเช่าจักรยานในประเทศไทย พร้อมเริ่มทดสอบแล้วที่มหาวิทยาลัยชื่อดัง อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสคร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยโอไบค์ยังได้ร่วมมือกับเอไอเอสและกลุ่มเซ็นทรัลพัตนา เพื่อผลักดันตลาด Smart Bike ในประเทศไทย นับว่าเป็นก้าวที่กล้าหาญมากเนื่องจากบริการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการหลอกหลวงโดยกรุงเทพมหานคร

ภาพจาก : https://www.facebook.com/mobikesgp

สังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปันยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายมารองรับจึงทำให้เกิดความไม่พอใจเกิดขึ้นกับเจ้าถิ่น อย่างที่เห็นกันได้ชัดจากชุมชนแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีหลายหน่วยงานรัฐบาลที่มุ่งเน้นการสนับสนุนการพัฒนาของแนวคิดนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลเข้ามามีบทบาทในการผลักดันสังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปันในประเทศไทย โดยในขณะนี้ได้มีการจัดการอบรมและการประกวดผลงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมและโอกาสทางการตลาด