เบื้องหลัง แซนด์วิชสไตล์ญี่ปุ่น แฟมิลี่มาร์ทมั่นใจจัดอาหารยึดชั้นในร้าน 90%

นี่ไม่ใช่ร้านอาหารนะ แต่เป็นร้านสะดวกซื้อ หรือนี่เป็นร้านสะดวกซื้อ ไม่ใช่ร้านอาหาร หลายคนที่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อบางสาขาเวลานี้ จะรู้สึกงงไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นลอว์สัน 108 แฟมิลี่มาร์ท เซเว่นอีเลฟเว่น ก็ไม่ใช่มีแค่อาหารกล่อง หมูปิ้ง เฉาก๊วย แค่นั้น แต่ยังมีของทอด โอเด้ง อุด้ง ไข่พะโล้ ไข่ต้มยำ สลัด ข้าวปั้นโอนิกิริ ที่สำคัญแซนด์วิช ที่ทุกแบรนด์มี  

เมื่อแฟมิลี่มาร์ทอยากรุกหนักขายอาหาร (อีกครั้ง) ก็ยังมั่นใจเลือก แซนด์วิช เป็นคำตอบล่าสุดเพื่อเพิ่มสัดส่วนยอดขาย 

ที่สาขาข้างลานจอดรถเซ็นทรัลชิดลม แฟมิลี่มาร์ทปักธงให้เป็นร้านแรกที่มีสินค้ากลุ่มอาหาร และเครื่องดื่ม 90% ของสินค้าในร้านทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เน้นเมนูอาหาร เครื่องดื่ม รสชาติสไตล์ญี่ปุ่น นอกเหนือจากมีเมนูไทย ส่วนที่เหลือ 10%เป็นของใช้ทั่ว ไป ต่างจากสาขาปกติแฟมิลี่มาร์ทมีสัดส่วนอาหารประมาณ 60-70% หากสำเร็จ จะขยายสาขาที่มีสัดส่วนอาหาร เครื่องดื่ม 90% โดยเน้นจุดที่มีออฟฟิศคนทำงาน และนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่แฟมิลี่มาร์ทมีแผนขยายสาขาในปีหน้าประมาณ 100 สาขา

จิรนันท์ ผู้พัฒน์กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด กล่าวว่า คนส่วนใหญ่นิยมทานอาหารนอกบ้าน จึงมองว่าแซนด์วิชตอบโจทย์กลุ่มคนทำงานและนักท่องเที่ยวได้ โดยได้นำสูตรจากญี่ปุ่นมาเป็นจุดขาย มีผู้ผลิตขนมปังคือไทยยามาซากิ ที่ผลิตตามสูตรที่แฟมิลี่ มาร์ทนำมาจากญี่ปุ่นห้ผลิตโดยเฉพาะ ส่วนเนื้อสัตว์ ไข่ในแซนด์วิช ก็มีเบทาโกรเป็นผู้จัดสรรให้ คาดว่าจะสามารถทำยอดขายเมนูนี้ได้เพิ่ม 100%

อย่าไรก็ตาม แค่แซนด์วิช ไม่ใช่ว่าจะเคาะออกมาวางขายได้ง่าย ผู้บริหารคนหนึ่งของแฟมิลี่มาร์ท เปิดเผยว่า ทีมงานได้ใช้เวลาในการทำแผนขายแซนด์วิชสไตล์ญี่ปุ่นเป็นปี เพราะต้องศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างละเอียด โดยพบว่าปัจจุบันคนนิยมกินอาหารเช้ามากขึ้น มองหาอาหารที่มีประโยชน์ เพราะดูแลสุขภาพมากขึ้น หลายคนเริ่มคิดว่าจะกินข้าวเหนียว หมูปิ้ง หรือกินซีเรียลทุกวันก็ไม่เพียงพอ และหลายคนก็ไม่นิยมกินหวานตั้งแต่เช้า หรือจะกินโจ๊กในรถก็อาจหกเลอะเทอะได้ จึงมาลงตัวที่แซนด์วิช ที่กินได้สะดวก และต้องชูจุดเด่นสูตรญี่ปุ่น เพราะแฟมิลี่มาร์ทมีผู้ถือหุ้นญี่ปุ่น ที่สามารถนำโนว์ฮาวอาหารญี่ปุ่นมีจุดเด่น และการรับรู้จากคนไทยอย่างดีว่า เป็นอาหารที่เน้นรสชาติตามธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งมาก เพื่อสุขภาพที่ดี 

นอกจากนี้แซนด์วิชในความรู้สึกของคนไทย ยังเป็นเพียงแค่อาหารว่าง แฟมิลี่มาร์ทจึงยังมีโจทย์ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าแซนด์วิชเป็นอาหารหลักใน 1 มื้อได้ และซื้อกินได้สะดวกกว่าเมนูอื่น ขณะที่ราคาต้องไม่แพง จึงเริ่มต้นขายที่ชิ้นละ 29 บาท กินเย็นได้ ไม่ต้องอุ่น เพราะมีคนจำนวนมากที่ชอบกินอาหารเย็นมากกว่าร้อน

สำหรับกลยุทธ์ของการเพิ่มเติมเมนูอาหารต่าง ในร้านแฟมิลี่มาร์ท ล่าสุดยังมีเมนูไทย อย่างข้าวกะเพราไก่ ไข่ดาว ข้าวราดไก่กระเทียม ข้าวน้ำพริกลงเรือ เป็นต้น โดยทำตอนเช้ามืดจากซัพลลายเออร์เอสเอ็มอี ส่งขายแค่วันเดียว แต่ละกล่องหมดอายุช่วง 17.00 . หรือ 19.00 . แล้วแต่เมนู ราคาเริ่มต้นที่ 50 บาท

แฟมิลี่มาร์ท กับการบุกเพิ่มสัดส่วนอาหารในร้าน ถือว่า มาช้ากว่าคู่แข่งเล็กน้อย แต่ก็ยังดีกว่าไม่มา หลังจากร้านสะดวกซื้อทุกราย ต่างต้องการเพิ่มสัดส่วนสินค้ากลุ่มอาหาร เพราะมีส่วนต่างกำไรสูงกว่าสินค้าทั่ว ไป และมีโอกาสขายได้ทุกวัน และตลอดวัน โดยเฉพาะร้านใหญ่อย่างเซเว่น อีเลฟเว่น ที่เป็นผู้นำในการเพิ่มสัดส่วนสินค้าอาหารโดยเฉพาเบเกอรี่ และกาแฟ จนปัจจุบันมีสัดส่วนอาหารและเครื่องดื่มในร้านเป็น 70.5% สินค้าอื่น มีสัดส่วน 29.05% ขณะที่ร้านลอว์สัน 108 ที่กลุ่มสหพัฒน์ และลอว์สัน ญี่ปุ่นร่วมถือหุ้น 50% และ 49% ก็มีสัดส่วนสินค้าอาหารประมาณ 80% จากปีที่แล้วมีประมาณ 70%

กลุ่มร้านสะดวกซื้อที่มีผู้ถือหุ้นจากญี่ปุ่น ทั้งลอว์สัน 108 และแฟมิลี่มาร์ท ต่างมีเมนูเหมือน กัน เช่น โอเด้ง ไข่พะโล้ ไข่ต้มยำ ลูกชิ้น ไส้กรอกลวก ข้าวปั้นโอนิกิริ  

ทั้งนี้แฟมิลี่มาร์ทเปิดเผยข้อมูลผลวิจัย FoodTrip ของบริษัทนีลเส็น ประเทศไทย ว่า ผู้บริโภคเข้าร้านสะดวกซื้อเฉลี่ยเดือนละ 21 ครั้ง เพราะสามารถซื้ออาหารบรรเทาความหิวได้ และจะทานอาหารมากกว่า 3 มื้อต่อวัน โดยเน้นอาหารพร้อมทาน (RTE : Ready to Eat) กลุ่มที่ได้รับความนิยมมากคือ อาหารแช่เย็น เพราะประหยัดเวลา ไม่ต้องเตรียมวัตถุดิบ และล้างหลังทำอาหาร