ไทคอน งัดกรุที่ดิน “เจ้าสัวเจริญ” หมื่นไร่ เกาะทำเล EEC ผุดโรงงาน-คลังสินค้าแตะ 3.5 ล้าน ตร.ม. รับอีคอมเมิร์ซโต

ประเมินกรุที่ดินเจ้าพ่อน้ำเมาเจริญ สิริวัฒนภักดีแห่งกลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น (ทีซีซี กรุ๊ป) ที่มีทั่วประเทศกว่า 6 แสนไร่ ถูกทยอยให้บริษัทในเครือทั้งอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก นำไปพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ต่อเนื่อง

ล่าสุดเป็นคิวของบริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน)” ซึ่งเจ้าสัวไปเทกโอเวอร์มาได้เพียงปีเศษ เดิน เกมรุก ก่อสร้างโรงงานและคลังสินค้าต่อเนื่อง

เกมรุกในปี 2561 ทีซีซีจะนำโฉนดที่ดินในทำเลทองระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 3 จังหวัด ทั้งชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทราเฉียด หมื่นไร่มาลุยโปรเจกต์ใหม่ ๆ

การพัฒนาที่ดินของทีซีซีนับเป็นการซีนเนอร์ยีและต่อยอดให้ไทคอนไปสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจบริการเช่าโรงงานและคลังสินค้าที่แข็งแรงกว่าเดิม

ปัจจุบันไทคอนมีพื้นที่ในภาคตะวันออกประมาณ 3,500 ไร่ พัฒนาเป็นโรงงานและคลังสินค้าไปแล้ว 800 อาคารในจำนวนนี้ มี 500 อาคาร หรือคิดเป็น 60% กินพื้นที่ EEC และบริษัทยังเหลืออีก 1,500 ไร่ พร้อมพัฒนารองรับลูกค้าใหม่ ๆ ที่มีความต้องการโรงงานและคลังสินค้าเพิ่ม โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจยานยนต์ อีคอมเมิร์ซ อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นตลาดที่ดีมานด์โตวันโตคืน

โสภณ ราชรักษา

การขยายแลนด์แบงก์เพิ่มถือเป็นหัวใจของการพัฒนาอสังหาฯ ประเภทโรงงาน คลังสินค้า เราจึงต้องใช้กลยุทธ์การซีนเนอร์ยีกับเครือทีซีซี สำรวจแลนด์แบงก์ของกลุ่มที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมมาพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ทำเล EEC แต่พื้นที่อื่นทั้งภาคเหนือ อีสาน ภาคใต้ ก็ต้องมองหาที่ดินเพิ่ม เพราะเป็นพื้นที่นำมาต่อยอดธุรกิจโลจิสติกส์ได้ โสภณ ราชรักษา ผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น กล่าว

++ 3 ปี เท 10,000 ล้าน เพิ่มพื้นที่โรงงานคลังสินค้าแตะ 3.5 ล้าน ตร..

ที่ดินพร้อมสเต็ปถัดไปกางแผน 3 ปี (2561-2563) ทุ่มงบลงทุน 10,000 ล้านบาท ลุยสร้างโรงงานและคลังสินค้าเพิ่มอีก 800,000 ตร.. เพื่อให้มีพื้นที่รวม 3.5 ล้าน ตร.. จากปัจจุบันมีกว่า 2.7 ล้าน ตร.. โดยโรงงานและคลังสินค้าใหม่จะรองรับลูกค้าไทยและต่างชาติในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ อาหาร ค้าปลีก และสินค้าอุปโภคบริโภค

รวมถึงดีมานด์ของบริษัทในเครือมีตุนไว้แล้วขั้นต่ำกว่า 100,000 ตร.. จากปัจจุบันบริษัทในเครือเป็นลูกค้าของไทคอนมีทั้ง ไทยเบฟเวอเรจ, บิ๊กซี, บีเจซี เป็นต้น ส่วนปี 2560 บริษัทได้ลูกค้ารายใหญ่ 4 รายได้แก่ยูนิลีเวอร์ อายิโนะโมะโต๊ะ ยามาฮ่า และหัวเว่ย มาเช่าคลังสินค้าเพิ่ม

พอร์ตโฟลิโอลูกค้าของไทคอน

นอกจากในไทยแล้วไทยคอนยังมองโอกาสเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือ CLMV

เพื่อให้เป็นตามการ ซีนเนอร์ยีให้กับกลุ่มทีซีซีด้วย อย่างล่าสุดไทยเบฟ เข้าไปซื้อหุ้นบริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น หรือ ซาเบโก (Sabeco) 1.56 แสนล้านบาท ก่อนหน้านี้ บีเจซี ซื้อกิจการห้างประเภทค้าขายเงินสด (แคชแอนด์แครี่เมโทรเวียดนาม และเปลี่ยนเป็นเอ็มเอ็ม เมก้า มาร์เก็ตจึงต้องเข้าไปรองรับการเติบโตด้วย

วีรพันธ์ พูลเกษ

เราสนใจประเทศที่มีประชากรเยอะ ๆ เช่น เวียดนาม และเมียนมา จะเป็นประเทศแรก ๆ ที่เราจะเข้าไปลงทุนใน 3 ปีนี้ วีรพันธ์ พูลเกษ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด กล่าว 

ที่ผ่านมาบริษัทได้ผนึกพันธมิตรอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในอินโดนีเซียเพื่อพัฒนาโรงานและคลังสินค้าเป็นประเทศแรก

Roadmap ไทคอนลุยโรงงานและคลังสินค้าในอาเซียน

++ ชูกลยุทธ์ Co-Creation รับเทรนด์อีคอมเมิร์ซ

ปีนี้บริษัทจะใช้กลยุทธ์ Co-Creation เปิดทางให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงงานและคลังสินค้ามากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้ลงลึกยิ่งขึ้น 

หลังพบเทรนด์ที่ลูกค้าอยากได้มี 2 เรื่อง คือ1.เพิ่มประสิทธิภาพ (Optimize) คลังสินค้า จากเดิมอาคารเล็ก ๆ ขายสินค้าตามคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ก็มองหาอาคารใหญ่มากขึ้น ใช้ประโยชน์จากคลังให้มากสุดเพื่อลดต้นทุนในการจัดการ

2.รวมศูนย์กลางคลังและการกระจายสินค้า (Consolidation) เดิมลูกค้าจะสร้างระบบโลจิสติกส์ เช่น คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า กระจัดกระจายทั่ว แต่ตอนนี้เทรนด์คือรวมกันไว้จุดเดียวมากขึ้น เพื่อให้รับส่งสินค้าได้คราวเดียว และคลังสินค้าที่อยากได้ ก็ปรับเปลี่ยนให้รถกระบะ รถจักรยานยนต์เข้ามารับสินค้าได้ จากเดิมทางเข้าออกรองรับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์อย่างเดียวเท่านั้น เต็มที่คือรถ 10 ล้อ 6 ล้อที่เข้าไปได้

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ค้าขายสินค้าในห้างค้าปลีกและออนไลน์ ต้องการรวมคลังสินค้าไว้ที่เดียวกัน และออกแบบพื้นที่ให้รถเล็กเข้าไปรับสินค้าได้ เพื่อนำไปกระจายต่อยังผู้บริโภครายย่อยโดยตรง (Last mile delivery)ให้ได้ เราจึงต้องทำ Co-Creation ร่วมกัน

กลยุทธ์ดังกล่าวทำให้บริษัทโฟกัสการสร้างคลังสินค้าตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย หรือ Built-to-Suit มากขึ้นด้วย จากเดิมจะเป็นการสร้างโรงงานและคลังสินค้าแบบพร้อมใช้ (Ready-to-Built) และตามทำเลที่ลูกค้าต้องการ (Custom-Built Warehouse)

ในปีนี้ บริษัทยังมีโครงการที่จะจับมือกับพันธมิตรระดับสากล เปิดตัวธุรกิจใหม่ สร้างการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ และอุตสาหกรรมในกลุ่ม New S-Curve เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้ใน 3 ปีข้างหน้าเป็น 10% ด้วย

และยังเตรียมนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Internet of Things (IoT) มาใช้ในการพัฒนาคลังสินค้าเพื่อให้แต่ละอาคารรู้ออเดอร์ การรับส่งสินค้าแบบ Realtime

จากแผนดังกล่าว บริษัทตั้งเป้ามีรายได้แตะ 5,000 ล้านบาท ในปี 2563 เติบโตปีละ 15% ต่อเนื่อง จากปี 2560 มีรายได้ 2,086 ล้านบาท เติบโต 11% และมีกำไรสุทธิ 482 ล้านบาท เติบโต 73%.