ผู้เล่น
เมื่อลงสนามแล้ว ต้องสวมเสื้อคอโปโล กางเกงสแล็ก และรองเท้าหนัง เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่าเป็นสุภาพชน แต่ Tiger Woods เป็นนักกอล์ฟคนแรกที่ใส่เสื้อ “คอเต่า” ลงแข่งขัน และเรียกเสียงฮือฮาไปทั่วโลก
โปรกอล์ฟ
การเรียนการสอน “กอล์ฟแมนเนจเมนต์” เพื่อฝึกโปรกอล์ฟ ที่อเมริกาบางแห่ง เช่น Professional Golfer Career College, California, USA บังคับให้นักศึกษาแต่งกายให้เรียบร้อย ห้ามใส่ยีนส์และเสื้อยืด ทุกวันศุกร์ต้องใส่สูท เพื่อปลูกฝังบุคลิกภาพความเป็นโปรกอล์ฟ ซึ่งต่างจากระบบการเรียนทั่วไปในสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่หนวดเครา ผม ก็ต้องจัดแต่งให้ดูเรียบร้อย
แคดดี้
“นายค่ะ” ลมแรงแบบนี้ใช้ไม้นี้ดีกว่า… แคดดี้ที่รู้ใจนาย มีประสบการณ์ที่ดี บางครั้งก็อาจเป็นที่ปรึกษาให้ “นาย” และได้ “เงินทิป” ก็หนักขึ้น ซึ่งโดยเฉลี่ยจะเริ่มต้นให้ทิปที่ 200-500 บาท
แต่ถ้าแคดดี้หยิบไม้ช้า เดินตาม “นาย” ไม่ทัน ก็อดได้งาน หรือถูกเปลี่ยนตัวกลางกรีน
“แคดดี้” ของสนามระดับ 5 ดาว ต้องผ่านการฝึกอบรมทั้งเรื่องกฎกติกาของกอล์ฟ บุคลิกภาพ รวมไปถึงการแต่งหน้าที่ต้องไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป และที่สำคัญคือการสื่อสารกับ “นาย”
ปิดดีลที่สนาม
“ที่สนามกอล์ฟคุยเรื่องธุรกิจ ที่ห้องประชุมคุยเรื่องกอล์ฟ” เป็นประโยคที่สะท้อนให้เห็นว่า “กอล์ฟ” ไม่ใช่แค่กีฬา แต่ธุรกิจพันล้าน หมื่นล้านก็สามารถตกลงกันได้ที่นี่ หรือแม้แต่ตกลงกันทางการเมือง
ไม่เพียงเท่านั้น หากต้องการรู้นิสัยที่แท้จริงของคู่ค้า ผู้ร่วมงาน ก็สามารถเห็นชัดได้จากที่นี่
เพราะที่สนามกอล์ฟหากคุณออกรอบแล้ว ต้องใช้เวลาอยู่ในสนามไม่ต่ำ 4-5 ชั่วโมง บางครั้งคู่ค้าของคุณอาจหงุดหงิดเพราะตีไม่ดี สบถ หรือขว้างไม้ใส่แคดดี้ หรือแม้แต่หากเล่นแล้วเจ้าเล่ห์ โกงสกอร์ “งาน” ที่คุณคาดหวังก็อาจพลาดได้ ในทางกลับกันหากคุยกันถูกคอ ร่วมก๊วนแล้วรู้สึกสนุก ธุรกิจหมื่นล้านพันล้านก็อาจเซ็นได้ภายในพริบตา
มารยาทที่ต้องมี
1. ถ้าหลุมที่ผ่านมาตีได้ Score น้อยกว่า แท่นต่อไปต้องให้เกียรติผู้ที่ชนะตีก่อนในหลุมถัดไป
2. การตีไปหนึ่งไดรฟ์วอด ต้องมีการกลบรอยไดรฟ์วอด เพื่อไม่ให้หญ้าตาย
3. เวลาขึ้นไปบนกรีน ต้องรู้จักจังหวะการยกธงออกปักธงคืนที่เดิม เวลาคนที่จะขึ้นกรีนจะมองไม่เห็น เพราะถ้าไม่มีธงจะไม่รู้ว่าหลุมอยู่ที่ไหน
ไทย-เทศ ที่แตกต่าง
พฤติกรรมที่แตกต่างกันเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่นนักกอล์ฟไทยเป็นนักกอล์ฟที่ค่อนข้างสบายที่สุดในโลก ต่างจากเมืองนอก ถ้าคุณไปไม่จองสนาม คุณจะไม่ได้ตี แต่ละครั้งที่ไปคุณต้องพก Score Cab และ Handy Cab เพื่อจะสามารถเลือกสนามได้ว่าคุณสามารถเล่นในสนามระดับไหนได้ บางสนามเขาจะไม่รับ Handy Cab ที่ต่ำกว่า 18 ซึ่งเป็นระบบการจัดการที่มีระบบมากกว่าในบ้านเรา ทำให้พฤติกรรมนักกอล์ฟก่อนจะไปเล่นก็ไปอยู่ที่สนามไดรฟ์ ซ้อมก่อนเพื่อที่จะได้ให้สกอร์ เก็บเรคคอร์ดไว้เพื่อจะได้ไปเล่นในสนามที่ดีขึ้นไป และเกิดพฤติกรรมการดูแลสนามแตกต่างกันเพราะคนไทยมีแคดดี้ดูแลให้หมด ส่วนต่างประเทศ ต้องแบกถุงเอง เช็ดไม้เอง กลับบ้านไปทำความสะอาดไม้เอง มีไดรฟ์วอดกลบเองและยกธงเอง เป็นกีฬาที่ฝึกการให้และวินัยของตัวเอง ทำให้มีคำกล่าวว่า “การเล่นกอล์ฟสามารถดูมารยาทและพฤติกรรมของคนได้”
พูดจาภาษากอล์ฟ
“ป๋า” คือคำเรียกคนเล่นกอล์ฟที่บ่งบอกถึงการยอมจ่ายสไตล์ “ป๋า”
“นาย” สรรพนามตั้งแต่รีเซฟชั่นจนถึงแคดดี้ เรียกผู้ที่มาเล่นกอล์ฟ เพราะตั้งแต่อดีตแล้วภาพลักษณ์ของกีฬากอล์ฟ คือคนระดับเจ้านายเท่านั้นที่มีโอกาสได้เล่น
“ปลาร้า” “ปล้าร้ามาก” หลุมนั้น หรือช็อตนั้นตีไม่ดี
“ขุดดิน” ตีหลังลูกจนหญ้าเปิด ตีไม่ถูกลูก หรือไปได้ไม่ไกล
“ผัดก๋วยเตี๋ยว” เล่นลูกข้างกรีนไปมา
“กะเทย” หัวกอล์ฟผสมโลหะกับไม้ หรือภาษาอย่างเป็นทางการว่า Hybrid