ทีวีไดเร็ค ยังคงครองแชมป์ ทุ่มงบโฆษณาอันดับ 1 ไตรมาสแรกปี 61 ที่ได้เม็ดเงินโฆษณารวมไป 24,691 ล้านบาท ติดลบ 6.86% ทีวีดิจิทัลเบียดใกล้ช่องทีวีเดิม ด้วยงบ 6,538 ล้านบาท โตเพิ่ม 21.21%
นีลเส็น ประเทศไทย สรุปงบโฆษณาไตรมาสแรกปี 2561 (มกราคม–มีนาคม) พบว่า มียอดใช้จ่าย 24,691 ล้านบาท ตกลง -6.86%
สื่อที่ใช้เม็ดเงินโฆษณามากสุด ยังคงเป็น ช่องทีวีเดิม (ช่อง 3, 7,9) 9,239 ล้านบาท แต่อัตราการใช้ตกลง -18.69% ตามมาด้วย ทีวีดิจิทัล ชิงเม็ดเงินโฆษณามาได้ 6,538 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.21%
ไตรมาสแรกของปีนี้ สื่อในโรงภาพยนตร์ ยังมาแรงรั้งอันดับ 3 ได้เม็ดเงินไป 1,712 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.46% เนื่องจากการขยายโรงหนังเพิ่มของศูนย์การค้า และไฮเปอร์มาร์เก็ต ในต่างจังหวัด
ตามมาด้วย สื่อนอกบ้าน (OUTDOOR) ยังใช้เงินต่อเนื่อง 1,635 ล้านบาท เติบโต 9.81% ส่วนสื่อบนรถประจำทางได้เม็ดเงิน 1,538 ล้านบาท ลดลง 7.90%
สื่อหนังสือพิมพ์ 1,455 ล้านบาท ลดลงไป 28.85% ส่วนสื่อวิทยุยังโตเพิ่มได้เม็ดเงินไป 1,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.71%
เคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 585 ล้านบาท ลดลง 26.60% อินเทอร์เน็ต 351 ล้านบาท ลดลง 5.14% นิตยสาร 323 ล้านบาท ติดลบ 37.42% และสื่อในห้างหรือ สื่อณ.จุดขาย 244 ล้านบาท ลดลง 2.79%
ทีวีไดเร็ค อัดงบขึ้นอันดับ 1 แบรนด์ใช้งบสูงสุด ไตรมาสแรก 61
สำหรับ 10 แบรนด์ ใช้งบโฆษณาสูงสุด ไตรมาสแรก ปี 2561 ใช้เพิ่มขึ้นทุกแบรนด์ยกเว้นกระทะโคเรียคิงและเทสโก้โลตัส
อันดับ 1 เป็นของ ทีวีไดเร็ค ใช้งบโฆษณามากสุด 680 ล้านบาท เพิ่มจากเดือนไตรมาแรกปีที่แล้วมาก ใช้ไปแค่ 72 ล้านบาท เพราะถือเป็นกลยุทธ์หลักในการซื้อสื่อโฆษณาทีวี เพื่อสร้างการรับรู้
อันดับ 2 ธนาคารออมสิน 246 ล้านบาท ใช้งบโปรโมทบริการและแบรนด์สู้ศึกธนาคารในยุคดิจิทัล
อันดับ 3 โค้ก 227 ล้านบาท เพิ่มเล็กน้อย
อันดับ 4 โคเรียคิง 202 ล้านบาท ใช้ลดลง อันดับ 5 อีซูซุ ปิกอัพ 172 ล้านบาท อันดับ 6 โทรศัคพท์มือถือ ซัมซุง 159 ล้านบาท อันดับ 7 เทสโก้ โลตัส 151 ล้านบาท ใช้ลดลงเล็กน้อย อันดับ 8 เป๊ปซี่ 143 ล้านบาท
อันดับ 9 ดีแทค 143 ล้านบาท เพิ่มขึ้นค่อนข้างเยอะ ไตรมาสที่แล้วใช้ 36 ล้านบาท อันดับ 10 รถยนต์นั่ง ซูซูกิ 143 ล้านบาท
10 องค์กรใช้งบโฆษณาสูงสุด ยูนิลีเวอร์ กลับมารั้งเบอร์ 1
สำหรับองค์กรที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดไตรมาสแรก 61 อันดับ 1 บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ไทย) 935 ล้านบาท ใช้เพิ่มจากไตรมาสแรกปี 61 ใช้ไป 862 ล้านบาท
อันดับ 2 ทีวี ไดเร็ค ทุ่มเม็ดเงินโฆษณา ขึ้นเป็นอันดับ 2 ใช้ไป 680 ล้านบาท สูงกว่าไตรมาสที่แล้วเยอะมาก
อันดับ 3 บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) 531 ล้านบาท ใช้ลดลงเล็กน้อย
อันดับ 4 โคคา โคลา (ประเทศไทย) 363 ล้านบาท
อันดับ 5 สำนักงานนายกรัฐมนตรี 352 ล้านบาท อันดับ 6 บริษัท ตรีเพ็ชร อีซูซุ 345 ล้านบาท อันดับ 7 โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 320 ล้านบาท
อันดับ 8 เนสเล่ (ไทย) 313 ล้านบาท อันดับ 9 แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส 300 ล้านบาท อันดับ 10 บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด (นีเวีย) 300 ล้านบาท
หมายเหตุสำคัญ
สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่(transit):มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560
นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่นสื่อเคลื่อนที่(transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี2559 เป็นต้นมา
อินเตอร์เน็ท – ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่อ อินเตอร์เน็ทโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ
สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ททั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจากDAAT
สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559
ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้างTesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น
ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่, และสื่อในห้าง