เปิดวาร์ป ! 10 ข้อต้องรู้ รถไฟฟ้า BTS ล็อตใหม่! ลดนั่งเพิ่มพื้นที่ยืน จุเพิ่ม 10%

กำลังเป็นที่ฮือฮาสำหรับการสั่งซื้อขบวนรถไฟฟ้ามาเพิ่มเติม เพื่อรองรับกับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มสูงขึ้น ที่สำคัญรอบนี้เป็นตู้แบบลดที่นั่ง เพิ่มพื้นที่ยืนมากขึ้น

1. บีทีเอส สั่งซื้อรถไฟฟ้าจาก 2 บริษัท 1. บริษัท ซีเมนส์ จำกัด จำนวน 22 ขบวน 2. บริษัท ซีอาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล จำนวน 24 ขบวน รวมทั้งสองบริษัท 46 ขบวน 148 ตู้ งบลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท

2. ในส่วนของซีเมนส์ จะมารองรับผู้โดยสารในเส้นทางเดินรถในปัจจุบัน และส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กม. กำหนดเปิดเดือน ธ.ค. 2561

3. ขบวนแรกจำนวน 4 ตู้ ได้ขนส่งจากกรุงอังการา สาธารณรัฐตุรกี จะนำเข้าทดสอบตามขั้นตอนจะถูกส่งไปศูนย์ซ่อมบำรุง จ.สมุทรปราการ เพื่อติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมประมาณ 2 สัปดาห์ จากนั้นจะเป็นกระบวนการทดสอบภายในศูนย์ซ่อม

4. จากนั้น จะทยอยขนส่งรถเข้ามาเพิ่มรถไฟฟ้า 2 ขบวนต่อเรือ 1 ลำ โดยในเดือน ธ.ค. 61 จะเข้ามาประมาณ 10 ขบวน และครบทั้ง 22 ขบวนในเดือน เม.ย. 2562

5. ส่วนรถที่ซื้อจากบริษัท ซีอาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล จำนวน 24 ขบวนนั้น ขบวนแรกจะเข้ามาในเดือน ธ.ค. 2561 และครบทั้งหมดใน ธ.ค. 2562

6. รถไฟฟ้าขบวนใหม่นี้ปรับรูปโฉมให้ทันสมัยมากขึ้น มีจอ LED บอกเส้นทาง มีกล้อง CCTV

7. เพิ่มความจุต่อขบวน ภายในตัวรถ เพิ่มราวจับ ปรับขนาดที่นั่งให้เหมาะไม่กีดขวาง และปรับที่นั่งเป็นแบบที่พิง หรือ Perch seat ตู้ละ 2 แถว และเป็นที่นั่งปกติ 4 แถว  ทำให้เหลือพื้นที่ว่าง เพิ่มความจุผู้โดยสารในแต่ละขบวนอีก 10% จาก 1,490 คนต่อขบวน หรือ 372 คนต่อตู้ เป็น 1,573 คนต่อขบวน รูปแบบนี้มีใช้ในรถไฟฟ้าลอนดอน และสิงคโปร์

8. เวลานี้บีทีเอสมีผู้โดยสารเฉลี่ยกว่า 7 แสนคนต่อวัน รถขบวนใหม่จะช่วยเพิ่มความถี่ในสายสุขุมวิท จาก 2.40 นาที เป็น 2.20 นาที

9. ส่วนสายสีลมยังคงความถี่ 3.45 นาทีเท่าเดิม เพราะติดปัญหาคอขวดที่สถานีสะพานตากสิน (S6) ที่อยู่ระหว่างขออนุมัติ EIA เพื่อขยายทางวิ่ง หากอนุมัติจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี

10. บีทีเอสยังอยู่ระหว่างจัดซื้อตู้จำหน่ายบัตรโดยสารอีก 52 ตู้ และปรับเปลี่ยนตู้จำหน่ายบัตรโดยสาร ทั้งหมดเป็นระบบสัมผัส (touch screen) ใช้เงินลงทุน 400 ล้านบาท  และหารือกับธนาคารกรุงเทพ เพื่อพัฒนาในการชำระค่าโดยสารผ่านการสแกน QR Code และแล้วเสร็จปลายปี 2561

Source