ปรากฏการณ์แพนด้าน้อยฟีเวอร์นับว่าน่าจับตาทั้งในทางสังคม ทางการตลาด และทางด้านสื่อ เพราะได้มีการผสานการสื่อสารเก่าอย่างไปรษณียบัตรจนมาถึงทีวี และ SMS เป็น Talk of the town ในโลกไซเบอร์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นข่าวทาสีช้างเป็นแพนด้าที่ถูกส่งต่อและวิพากษ์วิจารณ์ในอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว
ชลิต ลิมปนเวช คณบดี คณะนิเทศศาสตร? มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิเคระห์ปรากฏการณ์แพนด้าน้อยว่า “การ PRให้คนไปเที่ยวสวนสัตว์ที่เชียงใหม่มากขึ้น ในทางการตลาดเราเรียกว่า เป็นการสร้างกระแสเพื่อให้เกิด Traffic หากจะให้กระแสอยู่นานก็ต้องมีกิจกรรมต่อเนื่อง จึงต้องตั้งชื่อ การทำแคมเปญต้องมีค่าใช้จ่าย จึงต้องหารายได้ด้วยการร่วมกับรายการทีวีเปิดรับ SMS ตั้งชื่อ และจับมือกับไปรษณีย์ไทยขายไปรษณีย์บัตรทายชื่อ”
ไฮไลต์สำคัญที่ทำให้กระแสแพนด้าน้อยฟีเวอร์รุนแรง เพราะการจับกระแสเรียลลิตี้โชว์
ที่สวนสัตว์ลงทุนติดตั้ง CCTV และ Monitors เพื่อถ่าย Rreality การเติบโต แบบ Real Time”
ทั้งหมดส่งต่อให้ข่าวทีวีทุกช่องถ่ายทอดสด เรตติ้งข่าวพุ่งกระฉูดอย่างมีสีสัน โฆษณา เอเยนซี่ต่างแฮปปี้ที่จะจ่ายเงินซื้อเวลาเพราะคนเฝ้าดูความน่ารักของแพนด้าน้อย
“หากมองแพนด้าน้อยเป็นสินค้า การออกตัวครั้งนี้ถือว่าสำเร็จด้าน Awareness แบบ 100% ส่วนด้านรายได้รายจ่ายนั้น แม้จะไม่เหลือกำไร แต่ก็ได้ผลตามเป้าหมาย คือคนตื่นตัวในเรื่องหมีแพนด้า กระตุ้นกระแสการท่องเที่ยวท้องถิ่น สินค้าของที่ระลึกถูกซื้อมากมาย”
ปรากฏการณ์จึงแรง สำเร็จทั้งความดังและเงินสะพัดอย่างน่าจับตา
Timeline : “Panda Marketing”
27 พ.ค. 2552 วันเกิดแพนด้าน้อย องค์การสวนสัตว์โปรโมตแคมเปญให้ประชาชนตั้งชื่อ
15 มิ.ย. คณะกรรมการคัดรายชื่อที่ผ่านการประมวลผลจาก 3 แสนชื่อที่ประชาชนส่ง SMS เหลือชื่อที่ซ้ำกัน 300 ชื่อ และคัดเลือก 10 ชื่อ และ 4 ชื่อ แจกรางวัลรอบแรกสำหรับผู้เสนอชื่อนี้คนละ 1 แสนบาท
19 มิ.ย. ไปรษณียบัตรพิเศษชุดหมีแพนด้าเริ่มจำหน่ายแผ่นละ 5 บาท แบ่ง 2 บาทเข้ากองทุน มียอดผลิต 30 ล้านใบ หมดเขตส่ง 5 ส.ค.
12 ส.ค. จับรางวัลผู้เลือกชื่อแพนด้าน้อย มี 4 รางวัล รางวันที่ 1 เงิน 1 ล้านบาท รถยนต์ 1 คัน และแพ็กเกจทัวร์ กรุงเทพ-เฉินตู