DO : ควรทำบนทวิตเตอร์
– กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
– หา Follower ชุดแรกจากรายชื่อในฐานข้อมูลลูกค้าเดิม คนในองค์กร เพื่อนๆ ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย
– วิธีหาสมาชิกใหม่ๆ จึงควรให้มาจากการรู้จักเองของผู้ใช้ผ่านการ Retweet ข้อความของคนอื่นๆ ซึ่งทางบริษัทอาจจะทำเป็นเกมชิงรางวัลให้สมาชิกเดิมส่งต่อข้อความที่กำหนด เป็นการยืมมือสมาชิกเดิมดึงสมาชิกใหม่ที่สนใจให้เข้ามา Follow เอง
– หากมีสื่อเก่าอย่าง ทีวี นิตยสาร ให้ลงที่อยู่ทวิตเตอร์ลงไปด้วย จะเพิ่ม Follower ได้รวดเร็วมาก
– หา Follower ใหม่ๆ ไปพร้อมกับดูแล Follower เดิมๆ
– เขียน Profile บริษัทหรือแบรนด์ลงไปในหน้า “Setting” เพื่อยืนยันว่าเป็นตัวจริงเสียงจริง
– คิดแบบสร้าง Engagement หรือความผูกพันระยะยาว ให้ Follower อยากเข้ามาตามอ่านบ่อยๆ
– กระตุ้นให้ผู้อ่านส่ง Feedback ส่งคำถามและข้อคิดเห็นมา
– ตอบกลับให้ครบทุกคำถามที่เข้ามา
– ถ้าเป็นไปได้ พยายามจำชื่อเล่น/ชื่อจริงของทุกคนบนทวิตเตอร์ให้ได้ และทักทายกลับไปบ้างในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจ
– ลงข่าวสารธุรกิจหรือแบรนด์แบบที่ให้ผู้อ่านได้ความรู้ หรือได้ประโยชน์
– ลงคำคมที่เกี่ยวพันอ้อมๆ กับแบรนด์หรือสินค้าบ้าง เพื่อให้มีผู้ RT ส่งต่อ
– ลงหัวข่าวดังข่าวร้อนที่เกี่ยวพันอ้อมๆ กับแบรนด์หรือสินค้าบ้าง เพื่อให้มีผู้ RT ส่งต่อ
– แสดงความคิดเห็นบ้าง เพื่อให้ดูเป็นมนุษย์ และใกล้ชิดผู้อ่านมากขึ้น แต่ต้องเป็นความเห็นที่เหมาะสมกับสถานการณ์และไม่ก่อความขัดแย้งเกินไป
– เปิดประเด็นให้คนอยากเล่าเรื่องของตัวเองตอบกลับมา หรือส่งต่อเป็นคำถามไปหาเพื่อนๆของเขาต่อไปได้เรื่อยๆ เพื่อ Emotional Branding
– กระตุ้นให้ผู้อ่านส่งต่อข้อความของเราออกไปสู่คนอื่นๆ โดยการ Re-Tweet หรือที่เรียกย่อๆ ว่า RT
– ในข้อความที่ให้ผู้อ่านช่วย RT นั้น ควรต้องมี Key Message หรือชื่อสินค้า อยู่หลังเครื่องหมาย # ที่เรียกว่า Hashtag ให้สะดวกต่อการตรวจนับเพื่อแจกรางวัลและได้อยู่อันดับดีๆ ในผลเสิร์ชภายใน Twitter
– ในข้อความที่จะให้ผู้อ่านช่วย RT นั้น ควรมี Link ไปที่เว็บของแบรนด์หรือบริษัทด้วย
– ลงรูปประกอบข้อความด้วยทุกครั้งถ้ามี โดยฝากรูปไว้ที่ twitpic.com และนำลิงค์มาใส่ในข้อความ
– เมื่อจัดงานอีเวนต์ ให้ลงรูปหมู่ของกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย ให้นำรูปลงเฟซบุ๊ก แล้วกระตุ้นให้ทุกคนในรูป Tag ตัวเอง เพราะจะทำให้รูปของกิจกรรมนั้นๆ แปะในอัลบั้มของทุกคนในรูป ทำให้เพื่อนๆ ของกลุ่มคนเหล่านี้เห็น เกิดการแพร่กระจายออกไป
– สอดแทรกลิงค์ไปยัง facebook.com, youtube.com เพื่อเสริมในจุดอ่อนของทวิตเตอร์ที่ลงรูปลงคลิปไม่ได้ และผู้อ่านของเรายากที่จะพูดคุยกันเอง
– หากจะทวีตหากลุ่มวัยรุ่นให้ทวีตได้ตั้งแต่เย็นๆ ถึงดึก
– แต่หากจะทวีตถึงคนทำงานออฟฟิศให้เน้นช่วงหลังพักกลางวันและช่วงเย็นหลังเลิกงานใหม่ๆ ก่อนออกจากออฟฟิศ หรืออีกครั้งก็คือช่วงดึก
– หากมี Follower ที่เป็นนักข่าวสื่อมวลชน ให้คอยส่งข่าวที่ตรงกับความต้องการของสื่อแต่ละรายเป็นพิเศษด้วย
– จัดเกมชิงรางวัล 2 แบบ แบบแรกคือ “มาก่อนได้ก่อน” โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าว่าจะเล่นเมื่อไร ช่วยกระตุ้นให้ Follower หมั่นติดตามทวิตเตอร์ตลอดเวลา
– จัดเกมตั้งเวลารับคำตอบให้นานขึ้น สุ่มแจกรางวัล ช่วยให้ได้รายชื่อและข้อมูลจริงๆ ของ Follower และจูงใจให้มี Follower ใหม่ๆ เข้ามา
DON’T : ข้อห้ามบนทวิตเตอร์
– การหาสมาชิกใหม่ๆ มาเป็น Follower ในทวิตเตอร์นั้น ต้องไม่หว่านส่ง Direct Message ไปชักชวนโดยตรง เพราะมักจะไม่ได้ผลและเสียภาพลักษณ์ถูกมองเป็นนัก Spam ที่น่ารำคาญคล้ายจดหมายขยะ และไม่ได้ก่อให้เกิดสมาชิกใหม่เท่าไรนัก
– อย่าลงคำโฆษณาตรงๆ ต้องพูดภาษาแบบคนทั่วไปคุยกัน ดูไม่เป็นทางการแต่มีสาระ
– ต้องหลีกเลี่ยงการเป็น “Robot ส่งข่าว” เพราะได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าจะนำไปสู่การ “พูดคนเดียว” ความเงียบเหงา และความล้มเหลวอย่างรวดเร็ว
– ต้องจำว่า “You are what you tweet” อย่าทวีตข้อความนอกเรื่อง ไร้สาระ
– อย่าขายของแบบตรงๆ นอกจากว่าจะเป็นโปรโมชั่นที่พิเศษ เป็นผลประโยชน์ของลูกค้าจริงๆ
– อย่าทวีตข้อความในช่วง Primetime เช่นช่วงละครหลังข่าว เพราะจะมีผู้มองเห็นน้อย และไม่ค่อยสนใจคลิกตาม
– อย่าทวีตข้อความบ่อยเกินไป เพราะจะไปรกเกะกะจอของ Follower ทำให้ Follower อาจรำคาญลบเราออกไปได้ อย่างที่ Twitter ของหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวมักจะโดนเลิก Follow