‘Big (BJ) C’ เรื่องบิ๊กๆ ของ “อัศวิน เตชะเจริญวิกุล”

ชื่อของอัศวิน เตชะเจริญวิกุลเริ่มปรากฏบ่อยครั้งมากขึ้นในสื่อต่างๆ ช่วง 2-3 ปีมานี้

หลังเขาเป็นหัวเรือใหญ่ในดีลประวัติศาสตร์ของ บีเจซี กับการเข้าซื้อกิจการ บิ๊กซี มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท เมื่อปี 2559

ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักครั้งแรกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ใน 2 สถานะ สถานะแรกคือ ซีอีโอเลือดใหม่ ที่เข้ามากุมบังเหียนบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเจซี ชื่อที่คุ้นหูในทุกวันนี้

กับสถานะที่สองเป็นเขยเล็กของตระกูล สิริวัฒนภักดี โดยเขาแต่งกับฐาปณีน้องนุชสุดท้องของเจ้าสัวเจริญ กับคุณหญิงวรรณา

ถือเป็น บิ๊กสองเด้ง ของผู้ชายตัวเล็ก ที่ชีวิตนี้ไม่ใหญ่ไม่ได้แล้ว

ในเวลาต่อมายิ่งได้มาเป็นซีอีโอและเอ็มดีห้างค้าปลีกบิ๊กซี นี่ถือเป็น แลนด์สเคปความบิ๊ก ส่วนต่อขยายของผู้นำรุ่นใหม่คนนี้

อัศวินเข้ามาบริหารบิ๊กซีได้ 2 ปีเศษ หลังได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 .. 2559 ถือเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของบิ๊กซีจาก ห้างเกรดตก เพราะความระอุเดือดของการแข่งขัน มาเป็น ห้างทำเกรด โดยอาศัยทุกสรรพกำลังที่บีเจซีมี เอามาสร้างความแตกต่าง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

สิ่งที่ลูกค้าสัมผัสได้ว่าบิ๊กซีเริ่มส่งสัญญาณไปในทางที่ดี คือ การปรับปรุงแผนกอาหารสดลดบทบาทคนกลาง เน้นความใหม่สดจากฟาร์มจนถึงพื้นที่ค้าปลีก การรักษาความสะอาดของสถานที่ และการสร้างประสบการณ์การจับจ่ายที่ดีเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าทีมผู้บริหารบิ๊กซีจะทุ่มสุดตัวเพื่อให้บิ๊กซีกลับมาท็อปฟอร์มอัศวินก็ยืนยันว่า การยกเครื่องบิ๊กซีถือเป็นภารกิจต่อเนื่อง และเขาไม่มีวันโอเคง่ายๆ ว่า บิ๊กซีอยู่ตัวแล้ว

คุณพ่อเจริญท่านบอกอยู่เสมอว่า ธุรกิจหยุดวันไหนเจ๊งวันนั้น จะหยุดไม่ได้ มันเหมือนวิ่งมาราธอน เพราะฉะนั้นต้องปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ

เขยเล็กอย่างเขาก็เลยต้องฟุตเวิร์กตลอด

อัศวินประเมินรายได้ในภาพรวมของบีเจซีปี 2561 นี้ ยังคงเติบโตตามเป้า 5% และมีตัวเลขกำไร 2 หลัก ขณะที่ยุทธศาสตร์การเคลื่อนตัวของบิ๊กซีในปี 2562 จะเน้นสร้างความแข็งแกร่งในระดับภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะหัวเมืองที่มีรอยต่อติดกับชายแดน ทั้งเหนือ ใต้ และอีสาน เพื่อเชื่อมต่อการค้ากับตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ของกลุ่มบีเจซี

ตอนนี้ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เรามีบิ๊กซีสาขาขนาดใหญ่ 50 แห่ง และไม่สามารถเปิดสาขาได้อีกแล้ว เราจึงเบนเข็มมาเน้นพื้นที่ค้าปลีกรายภาค เพราะมันจะชัดเจน และรู้ว่าเป้าหมายของเราคืออะไร เราต้องเอาชนะคู่แข่งให้ได้ในภาคนั้นๆ ทั้งอำเภอหลักอำเภอรอง อย่างการเปิดสาขาล่าสุดที่เชียงราย 2 ก็เป็นการยึดสมรภูมิภาคเหนือ ด้วยสาขาขนาดใหญ่ 5,000 ตร.. เราเชื่อมั่นในเศรษฐกิจภูมิภาค และเชียงรายก็เป็นจุดเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ จีน ลาว กัมพูชา เมียนมา ไว้ด้วยกันอัศวินกล่าว

แต่ละปีบิ๊กซีจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทในการขยายสาขา และเดินหน้าขยายอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่มาไกลเกินจุดเดือด ปัจจุบันบิ๊กซีมีสาขาทุกรูปแบบรวมกัน 1,500 แห่ง แบ่งเป็นในประเทศ 1,000 แห่ง และต่างประเทศ 500 แห่ง

ภายหลังจากวางจุดยืนธุรกิจว่าเป็นห้างคนไทย บิ๊กซีก็พยายามสร้างมาตรฐานการจับจ่ายให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั่วประเทศ โดยวางกลยุทธ์ดึงคนให้มาจับจ่ายในบิ๊กซีด้วยการสร้างประสบการณ์ และการใช้ชีวิตของลูกค้าคนไทย อยู่ดีกินดี สินค้ามีคุณภาพปลอดสารพิษ

อะไรที่คนกรุงเทพฯ ได้ทานอะไรดีๆ ช้อปปิ้งดีๆ ก็จะนำมาอยู่ต่างจังหวัดมากขึ้น และขยายตลาดไปกลุ่มเสื้อผ้า เราอยากให้คนไทยทั้งหมดได้แต่งตัวดูดี ในราคาที่คุ้มค่า ทำให้คนไทยดูดี ไม่เชยอย่างที่แล้วมา

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของคนเล็กต้องใหญ่กับภารกิจบิ๊กๆ ของห้างค้าปลีกไม่เล็ก ที่เรียกตัวเองว่าบิ๊กซีพี่ใหญ่แห่งพอร์ตธุรกิจบีเจซี.