IKEA กดปุ่มสตาร์ทขาย Online เป็นทางการ พบช่วงทดลอง 2 เดือนสั่งซื้อกว่า 4,900 ครั้ง ซื้อเฉลี่ย 7,000 บาท/ใบเสร็จ สูงกว่าเดินเข้าสโตร์ 2 เท่า

หลังจากเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2000 ในประเทศอังกฤษ ก่อนจะขยายไปอีก 52 ประเทศ ในที่สุดเมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา IKEA ก็ได้เปิดให้คนไทยช้อปเฟอร์นิเจอร์ออนไลน์ได้เสียที

หากนับในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ IKEA Online ได้เปิดให้ช้อปแห่งแรกที่สิงคโปร์ในปี 2017 โดยพบว่าภายใน 6 เดือนแรกมียอดสั่งกว่า 9,000 ครั้ง ถือเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในโลก ปัจจุบันรายได้ 10% มาจากออนไลน์

ถัดมาในปี 2018 ได้เปิดที่มาเลเซียภาย 3 เดือนยอดขายคิดเป็นสัดส่วน 5% เมื่อครบ 1 ปีมียอดสั่งซื้อกว่า 42,000 ครั้ง และเข้าชมเว็บไซต์ 44.7 ล้านครั้ง

ส่วนในเมืองไทยระยะเวลา 2 เดือนที่ทดลองเปิดให้บริการ มีการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ IKEA.co.th ถึง 1,344,700 ครั้ง มียอดสั่งซื้อออนไลน์ 4,900 ครั้ง

โดยสินค้ายอดนิยมได้แก่ กรอบรูป ชั้นติดผนัง โต๊ะทำงาน ผ้าห่ม และไม้แขวน ส่วน 5 จังหวัดที่นิยมสั่งได้แก่ กรุงเทพฯ, ภูเก็ต, ชลบุรี, เชียงใหม่ และ นนทบุรี

ลาเชีย เชอร์ล็อครอง ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจค้าปลีก อิเกียไทย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ กล่าวว่า

นอกจากคนไทยจะใช้อินเทอร์เน็ตเยอะแล้ว ยังช้อปสินค้าออนไลน์ที่เยอะด้วย ข้อมูลจาก IKEA Online พบว่า ยอดสั่งซื้ออยู่ที่ 7,000 บาทต่อใบเสร็จ สูงกว่ามาซื้อที่สโตร์ถึง 2 เท่า หรือราว 2,000 – 3,000 บาทต่อใบเสร็จ คาดว่าทั้งปีจะมียอดสั่งซื้อทั้งสิ้น 17,000 ครั้ง

การเปิดสโตร์ออนไลน์มี IKEA ใช้เวลาเตรียมตัวกว่า 2 ปี และก่อนที่จะเปิดได้มีการดึงตัว ทอม ซูเทอร์ ให้เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการสโตร์ อิเกีย บางใหญ่ ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ด้วยตัวเขามีประสบการณ์ในการเปิดสโตร์ออนไลน์ในแคนนาดา สหรัฐ และทวีปอเมริกาเหนือ

(ซ้าย) นางลาเชีย เชอร์ล็อค รองผู้บริหารฝ่ายธุรกิจค้าปลีก อิเกีย ไทย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ : (ขวา) ทอม ซูเทอร์ ผู้จัดการสโตร์ อิเกีย บางใหญ่

จากประสบการณ์ของทอมในแคนนาดาแตกต่างจากเมืองไทยพอสมควร โดยที่แคนนาดาสินค้าจะถูกจัดส่งจากคลังสินค้า และค่อยกระจายไปตามจุดต่างๆ ลูกค้าบางรายอาจจะต้องรอกว่า 1 สัปดาห์กว่าที่สินค้าจะไปถึง อีกทั้งชาวแคนนาคาต้องการความง่ายในการสั่ง ยิ่งคลิกน้อยยิ่งดี

ต่างจากคนไทยที่ต้องการเข้าถึงสินค้ามากกว่า ดังนั้นในออนไลน์จึงจะมีสินค้ามากกว่า 8,000 SKU จึงจะเท่ากับสาขาและไม่มีการขายเฉพาะออนไลน์แน่นอน ขณะเดียวกันคนไทยชอบบริการต่างๆ ที่พ่วงเข้ามาทั้ง บริการหยิบ ประกอบสินค้า ด้วยคนไทยไม่ได้ชินกับการประกอบเองเหมือนคนแคนนาดา

และสิ่งที่แตกต่างอีกอย่างคือการส่งสินค้าที่คนไทยสามารถกำหนดวันส่งได้ว่า ต้องการให้มาส่งในวันไหน โดยมีบริการจัดส่ง 2 รูปแบบได้แก่ สินค้าที่มีน้ำหนักรวมไม่เกิน 25 กิโลกรัม

และ ความยาวของกล่องไม่เกิน 1.5 เมตร คิดค่าบริการ 149 บาท ส่วนสินค้าที่มีน้ำหนักรวมและความยาวกล่องเกิน จะจัดส่งด้วยรถบรรทุก ค่าบริการเริ่มต้นที่ 770 บาท

นอกจากนั้นพฤติกรรมของคนไทยที่ซื้อจากออนไลน์ ในระยะแรกเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใหม่และลูกค้าเก่าผสมกันไป ด้วยสโตล์ของ IKEA ยังมีเพียงแค่ 2 สาขาหลักที่บางนาและบางใหญ่ ไม่เหมือนกับสิงคโปรที่เปิดมากว่า 40 ปี ประชากรไม่ได้มีมาก ลูกค้าที่ซื้อออนไลน์ส่วนใหญ่จึงเป็นลูกค้าเก่าเกือบทั้งหมด

ภายใน 12 เดือนแรก IKEA ตั้งเป้ายอดขายจากออนไลน์คิดเป็นสัดส่วน 3% ทั้งนี้ IKEA ยังต้องเรียนรู้อีกหลายเรื่องเกี่ยวกับช่องทางขายนี้ เพราะพื้นที่ขายได้ถูกขยายไปทั่วประเทศ ไม่ได้จำกัดเหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม IKEA ยืนยันการเปิดสโตล์ออนไลน์ไม่ได้กระทบกับการเปิดสาขาใหม่ เพียงแต่สิ่งที่จะเปลี่ยนไปคือการฟอร์แมตสาขา จะมีขนาดเล็กลงเหลือราว 3,000 – 12,000 ตารางเมตร แล้วแต่พื้นที่ที่ได้จากศูนย์การค้า หากได้น้อยบางแห่งอาจจะมีมีคลังสินค้าด้วยซ้ำ

ส่วนที่ก่อนหน้านี้ IKEA ฝรั่งเศส ได้ไปเปิดโชว์รูปอยู่ในรถไฟฟ้าใต้ดิน ทางเมืองไทยยังไม่สนใจโมเดลนี้ จะเน้นเปิดสาขาปรกติกมากกว่า ส่วนจะไปเปิดที่ไหน ขยายไปต่างจังหวัดไหม จะใช้ข้อมูลจากการสั่งซื้อออนไลน์มาประกอบ เพื่อวัดศักยภาพของพื้นที่

สำหรับ IKEA Online ได้วางแผนเปิดที่ ฟิลิปปินส์  เป็นประเทศถัดไป ภายในเดือนธันวาคม 2020.

เทียบฟอร์ม IKEA บางนา – บางใหญ่ – ภูเก็ต

เมนูอาหารขายดีของอิเกีย บางนา และ บางใหญ่ ได้แก่ เฟรนฟราย ฮอทดอก ข้าวไก่อบ มีทบอล ไอศกรีมโคนวานิลลา/ถั่วเหลือง.