ถอดอินไซต์ ใช้ Twitch แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของคนไทย “สายเปย์ กับ รักแล้วรักเลย”

หากเอ่ยถึงแพลตฟอร์มที่สามารถ Live Streaming Video แน่นอนหลายคนคงรู้จัก Facebook, YouTube, Instagram หรือ Twitter ที่ต่างเปิดให้ถ่ายทอดสดกันหมดแล้ว จริงๆ แล้วยังมีอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ถามคนทั่วไปอาจจะไม่รู้จัก แต่คนที่สนใจเรื่อง E-Sport ไม่ว่าจะเป็นคนชอบเล่น หรือคนชอบดูต้องรู้จัก Twitch อย่างแน่นอน

Twitch (ทวิช) คือแพลตฟอร์มถ่ายทอดสดการเล่นเกมและการแข่งขัน E-Sport ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2010 โดยระบุว่า ตัวเองนั้นแต่ต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ ตรงที่ผู้ชมใช้เวลาอยู่นานมากกว่า ตัวอย่างเช่น เกม LOL (League of Legend) ใช้เวลาชมเฉลี่ย 40 – 45 นาที ที่สำคัญไม่มีกดข้ามของที่อื่น

ขณะเดียวกันยังมี Engagement ที่มากกว่า เพราะเปิดโอกาสให้ผู้ชมสนับสนุนผู้ที่ตัวเองชื่นชอบผ่านการติดเป็นผู้ติดตาม เพื่อจะได้รับชมการ Streaming มีราคาตั้งแต่ 150 – 780 บาท ซึ่งหากชื่นชอบมากๆ ก็สามารถให้ Bits ราคาตั้งแต่ 100 Bits ราคา 50 บาท ไปถึง 25,000 Bits ราคา 10,580 บาท โดยราคานี้ลดแล้ว 15%

จุดนี้ Twitch บอกว่าถือเป็นช่องทางหลักในสร้างรายได้ให้กับสตรีมเมอร์ ซึ่งที่อื่นจะไม่ได้เท่านี้ แต่ Twitch ก็ไม่ขอเปิดเผยว่ามีการแบ่งกับสตรีมเมอร์ในสัดส่วนเท่าไหร่บ้าง โดยขณะนี้การไลฟ์สตรีมมิ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การสตรีมเกม และการสตรีมที่ไม่เกี่ยวกับเกม หรือ Non-game เช่น การถ่ายทอดชีวิตประจำวัน การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

ปี 2018 ที่ผ่านมา Twitch ระบุมีจำนวนสตรีมเมอร์ที่สามารถสร้างรายได้จากช่องของตนเองพุ่งสูงขึ้นถึง 86% จากปีก่อนหน้า และยังมีสตรีมเมอร์ซึ่งได้ก้าวขึ้นมาเป็นสมาชิกระดับ Affiliate (สตรีมอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อเดือนกว่า 248,000 คน และระดับ Partner (สตรีมอย่างน้อย 25 ชั่วโมงต่อเดือน) อีก 7,800 คน

จำนวนสตรีมเมอร์ต่อเดือนก็เพิ่มขึ้นจากจำนวน 2 ล้านคนในปีก่อนหน้า มาเป็น 3 ล้านคน และยังมีสตรีมเมอร์เกือบ 5 แสนคนยังทำการไลฟ์สดทุกวัน ส่งผลให้มียอดผู้เข้าใช้งานบนทวิชเฉลี่ยมากกว่า 1 ล้านคนในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ระยะเวลาที่ผู้เข้าชมใช้บนแพลตฟอร์มทก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยมีมากถึง 434 พันล้านนาที นับตั้งแต่ต้นปี 2018 จนถึงปัจจุบัน

ตัวเลขที่ว่านี้เป็นภาพรวมทั่วโลกส่วนตัวเลขเฉพาะเมืองไทยนานดู มัธวาผู้จัดการระดับภูมิภาค ทวิช ดูแลภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ ไต้หวัน และอินเดีย ระบุไม่สามารถเปิดเผยได้ บอกได้แต่เพียงเมืองไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับความสำคัญมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ถึงขนาดที่มีทีมงานคนไทย 2 คนไว้ดูแล

ส่วนสิ่งที่สามารถเปิดเผยได้คือพฤติกรรมฝั่งผู้ชมของคนไทยซึ่งส่วนใหญ่อายุ 17 – 35 ปี ประกอบด้วยวัยมัธยม มหาวิทยาลัย และวัยทำงานตอนต้น 75% เป็นผู้ชาย ที่เหลือ 25% เป็นผู้หญิง นิยมดูและสตรีมในช่วง 19.00 – 23.00 . รองลงมาจะดูไปถึงช่วงเช้า

พฤติกรรมที่คนไทยไม่เหมือนที่อื่นประกอบไปด้วย 2 เรื่องหลัก คือ 1.คนไทยคุ้นเคยกับการจ่ายเงินในเกม ดังนั้นในแง่ของการซัพพอร์ตสตรีมเมอร์ทั้งเป็นผู้ติดตามหรือให้ Bits จึงพร้อมที่จะจ่าย และ 2.รักแล้วรักเลยไม่ค่อยเลิกติดตามเท่าไหร่

ความท้าทายในตอนนี้ของ Twitch คือการขยายฐานสตรีมเมอร์จิรัฐติกาล สุทธิวรรณารัตน์ผู้อำนวยการด้านคอนเทนต์ ทวิช ประจำประเทศไทย กล่าวว่าจากข้อมูลที่พบคือ สตรีมเมอร์ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

เป็นที่มาของการเตรียมเปิด Twitch Academโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ที่มีการเปิดการเรียนการสอนในสาขามัลติมีเดีย และกีฬาอีสปอร์ต เผยแพร่ความรู้สู่การพัฒนาเป็นสตรีมเมอร์มืออาชีพ และ Twitch Camp การเตรียมความพร้อมให้กับสตรีมเมอร์หน้าใหม่และสตรีมเมอร์ปัจจุบันได้เรียนรู้ ฝึกฝน และมีทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 กิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่ได้มีทำเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้นแต่จะจัดพร้อมกันในหลายพื้นที่ทั่วโลก