สถิติโลกต้องจำ! “เฟซบุ๊ก” จ่ายค่าปรับ 1.5 แสนล้าน สอบต่อยักษ์ไฮเทคผูกขาด

ในที่สุดกรณีอื้อฉาว Cambridge Analytica ที่ข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊ก” หลายสิบล้านคน ถูกละเมิดนำไปใช้งาน ก็มาถึงบทสรุป สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 .. 2562 คณะกรรมการการค้าสหรัฐฯ (FTC) และ Facebook ของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กได้บรรลุข้อตกลงไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และ เฟซบุ๊กยอมจ่ายค่าปรับสูงเป็นประวัติการณ์

คณะกรรมาธิการการค้าสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับตรวจสอบให้การค้าดำเนินไปอย่างเป็นธรรม มีมติด้วยเสียงส่วนใหญ่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ด้วยการประนอมยอมความกับบริษัทเฟซบุ๊ก โดยที่บริษัทสื่อสังคมยักษ์ใหญ่แห่งนี้ยินยอมจ่ายค่าปรับสูงลิ่วเป็นประวัติการณ์ 5,000 ล้านดอลลาร์ (1.54 แสนล้านบาทสำหรับความผิดฐานละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน

คำแถลงของ FTC ระบุว่า ค่าปรับคราวนี้นับว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยบังคับลงโทษแก่บริษัทแห่งใดๆ ในความผิดฐานะละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค อีกทั้งเป็นหนึ่งในค่าปรับก้อนโตที่สุดเท่าที่รัฐบาลสหรัฐฯ เคยกำหนดขึ้นมาไม่ว่าสำหรับการละเมิดใดๆ ก็ตาม

นอกจากยอมจ่ายค่าปรับแล้ว ข้อตกลงยอมความคราวนี้ยังกำหนดให้เฟซบุ๊กต้องจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อความเป็นส่วนตัวขึ้นมาภายในบอร์ดบริษัทของตน โดยสมาชิกของคณะกรรมการนี้จะได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการเสนอชื่อ ซึ่งมีความเป็นอิสระชุดหนึ่ง ขณะเดียวกัน ซีอีโอและคณะทำงานของเฟซบุ๊ก จะต้องยื่นคำรับรองต่อ FTC ทุกไตรมาสและทุกปี ว่าบริษัทดำเนินการอย่างสอดคล้องกับโปรแกรมความเป็นส่วนตัว

เฟซบุ๊กยังจะต้องดำเนินการทบทวนเรื่องความเป็นส่วนตัวสำหรับทุกๆ ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือการปฏิบัติ ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์ บริการ การปฏิบัติ ใหม่ๆ และที่ดัดแปลงจากของเดิม โดยรวมถึงบริการอย่าง วอตส์แอปป์ และ อินสตาแกรม อีกด้วย

มะกันสอบบริษัทไฮเทคยักษ์ “ผูกขาด

ขณะที่คำแถลงของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เมื่อวันอังคารที่ 23 .. ระบุว่า กระทรวงจะดำเนินการตรวจสอบว่า พวกแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำ ได้อำนาจทางการตลาดมาอย่างไร เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติที่เป็นการผูกขาด จำกัดการแข่งขัน ขัดขวางนวัตกรรม หรือส่งผลลบต่อผู้บริโภคหรือไม่

แม้คำแถลงไม่ได้เจาะจงชื่อบริษัทใดๆ แต่ระบุว่า การตรวจสอบอาจพิจารณาข้อกังวลที่มีการร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวกับบริการค้นหา โซเชียลมีเดีย และบริการค้าปลีกออนไลน์บางแห่ง ซึ่งพาดพิงชัดเจนถึง อัลฟาเบต ที่เป็นบริษัทแม่ของกูเกิลแอมะซอนเฟซบุ๊ก และอาจรวมถึงแอปเปิล

กูเกิลและแอปเปิลปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำแถลงนี้ ขณะที่เฟซบุ๊กและแอมะซอนยังไม่ออกมาเคลื่อนไหวใดๆ

โดยสัปดาห์ที่แล้ว คณะอนุกรรมการต่อต้านการผูกขาดของคณะกรรมาธิการการยุติธรรมสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เชิญผู้บริหาร 4 บริษัทไปซักถามเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการแข่งขัน และตั้งข้อสังเกตว่า กูเกิลเฟซบุ๊ก และแอมะซอนมีส่วนแบ่งในตลาดสำคัญเพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีกำลังเผชิญกระแสต่อต้านทั้งในอเมริกาและทั่วโลก จากความกังวลในหมู่คู่แข่ง สมาชิกรัฐสภา และกลุ่มผู้บริโภคว่า บริษัทเหล่านั้นมีอำนาจมากเกินไป และกำลังใช้อำนาจอันใหญ่โตของตนทำร้ายผู้ใช้และคู่แข่ง โดยเมื่อเร็วๆ นี้สหภาพยุโรป เพิ่งสั่งปรับกูเกิล จำนวนมหาศาล จากข้อกล่าวหาละเมิดตำแหน่งผู้นำตลาด รวมทั้งเปิดการสอบสวนอย่างเป็นทางการต่อแอมะซอน.

source