“ฟุตบอล” ถือเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 ทั่วโลก หลาย “ลีกดัง” ของต่างประเทศทำรายได้มหาศาลจากผู้ติดตามชมและธุรกิจขายลิขสิทธิ์ นักฟุตบอลดังระดับโลกเป็นหนึ่งในอาชีพที่สร้างรายได้สูงไม่แพ้อาชีพอื่นๆ
อุตสาหกรรมฟุตบอลไทย มีการเติบโตมาต่อเนื่องในแง่ของรายได้ ปี 2560 รายได้รวมของทีมฟุตบอลที่อยู่ใน “ไทยลีก” ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของไทย ซึ่งมีข้อมูลงบการเงิน อยู่ที่ราว 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ราว 1,900 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ย 16.5% ต่อปี
เมื่อดูรายได้ของทีมฟุตบอลกับอันดับผลงานในไทยลีกของแต่ละฤดูกาล พบว่า ทีมฟุตบอลที่ทำอันดับได้ดีมีแนวโน้มทำรายได้สูง รายได้ของทีมที่อยู่ใน 3 อันดับแรก ในปี 2560 คิดเป็น 55% ของรายได้รวม
แต่โดยรวมทีมฟุตบอลในไทยลีก ยังคงมีผลประกอบการขาดทุน ปี 2560 มีกว่า 50% ของทีมฟุตบอลไทยไทยลีก “ขาดทุน”
ขณะที่มูลค่า “นักฟุตบอลไทยลีก” มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มักจะอยู่ในทีมที่มีอันดับในลีกดี จากการวิเคราะห์ของ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชน พบว่า ปี 2562 มูลค่านักฟุตบอลชาวไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 1.16 แสนยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 9.97 หมื่นยูโร (ประมาณ 3.4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.3% ต่อปี
ส่วนมูลค่านักฟุตบอลชาวต่างชาติ (ไม่รวมชาติอาเซียน) ในปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.52 แสนยูโร (ประมาณ 15.6 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 3.61 แสนยูโร (ประมาณ 12.5 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 25.1% ด้วยเหตุนี้
ความแตกต่างของมูลค่านักฟุตบอลไทยกับต่างชาติเพิ่มขึ้นจาก 3.6 เท่าในปี 2558 เป็น 3.9 เท่าในปี 2562
หากเปรียบเทียบกับระดับ “ที่สุดของโลก” ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับฟุตบอลพบว่าไทยยังมีความแตกต่างอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นกำลังการรองรับจำนวนผู้ชมในสนาม จำนวนแฟนคลับของแต่ละทีม ที่ไทยยังตามหลังที่สุดของโลกอยู่ที่ 4 และ 47 เท่า ตามลำดับ
โดยเฉพาะเมื่อดูมูลค่าทีมและมูลค่านักฟุตบอลรายบุคคล ความแตกต่างจะเพิ่มเป็นหลายเท่าตัว โดยมูลค่าทีมสูงที่สุดในไทยลีกห่างจากมูลค่าทีมสูงที่สุดในโลก 157 เท่า ด้านมูลค่านักฟุตบอล พบว่า มูลค่านักฟุตบอลแพงที่สุดในไทยห่างจากมูลค่านักฟุตบอลแพง