เเม้วิกฤต COVID-19 จะทำให้ผู้คนซื้อสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภคมากขึ้น เเต่ภาพรวมของธุรกิจ FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย
วันนี้ “เนสท์เล่” (Nestlé) ผู้ผลิตอาหารเเละเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก ฉายภาพธุรกิจในไทย เทรนด์ผลิตภัณฑ์ที่ยังเติบโต กลยุทธ์รุกตลาดอีคอมเมิร์ซ พร้อมประกาศเเผนลงทุนปีนี้และปีหน้า ด้วยการขยาย 3 โรงงานในไทย เป็นเม็ดเงินถึง 4,500 ล้านบาท เสริมพอร์ตสินค้ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง ไอศกรีม เเละยูเอชที
อะไรเป็นเหตุผลที่ “เนสท์เล่” ตัดสินใจลงทุนครั้งใหญ่ในรอบหลายปีกับสินค้าเหล่านี้…เราจะมาหาคำตอบกัน
“เนสท์เล่” เข้ามาทำตลาดไทยได้ 126 ปีเเล้ว ปัจจุบันมีโรงงานในไทยทั้งสิ้น 7 เเห่ง มีพนักงานราว 3,300 คน (จากทั่วโลก 3 เเสนคน) โดยเเผนขยายโรงงาน 3 เเห่งดังกล่าวจะเป็นการสร้างใหม่ 2 เเห่ง เเละขยายจากโรงงานเดิม 1 เเห่ง
วิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า ให้สัมภาษณ์ว่า เนสท์เล่ ก็เป็นเหมือนหลายบริษัททั่วโลกที่ต้องปรับตัวเพราะสถานการณ์ COVID-19 โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบหลักๆ คือ สินค้ากลุ่มบริโภคนอกบ้าน อย่างเช่น น้ำดื่ม ไอศกรีมเเละขนม
ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มสินค้าที่เติบโตได้ดี เเละช่วยพยุงรายได้ของบริษัทไว้ได้ คือกลุ่มสินค้าในครัวเรือน เช่น กาแฟ นม ซอสปรุงรส เพราะผู้คนต้องใช้เวลาอยู่บ้านเเละทำอาหารกินเองมากขึ้นนั่นเอง
“ผลประกอบการยังเป็นไปตามเป้า ภาพรวมยังเป็นที่น่าพอใจ เพราะเหมือนเป็นการปรับพอร์ตสินค้าในการเติบโต โดยคาดว่ารายได้ของเนสท์เล่ในไทยปีนี้ จะเติบโตราว 1 digit”
แม้ว่าการทำธุรกิจในช่วงนี้ จะเจอกับความท้าทายหลายด้าน แต่ผู้บริหารเนสท์เล่บอกว่ายังเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย เเละมองว่างบลงทุนกว่า 4.5 พันล้านบาทครั้งนี้ จะเป็นการสร้างการเติบโตในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลดีไปยังธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างกัมพูชา ลาว และเมียนมาด้วย
ประกอบกับ “เนสท์เล่” มีการทำสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค พบว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงใน 5 ด้าน ได้แก่
- เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และมองหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
- ให้รางวัลกับตัวเองด้วยการมองหาของกินเล่น เพื่อเป็นความสุขเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างวัน
- ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของสินค้าจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เเน่นอน
- ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนทั้งด้านบรรจุภัณฑ์ที่ต้องรีไซเคิลได้ มีกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นพิษต่อโลก
- นิยมใช้บริการอีคอมเมิร์ซ สั่งอาหารเเละซื้อสินค้าเเบบเดลิเวอรี่ เพิ่มขึ้นมากหลังวิกฤต COVID-19
อินไซต์เทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้ ทำให้บริษัทต้องออกสินค้าใหม่ เเละขยายกำลังผลิตในสินค้าที่จะเติบโตได้ดี โดยเนสท์เล่เลือกที่จะขยายการลงทุนใน 3 โรงงาน กับ 3 กลุ่มสินค้าด้วยกันคือ อาหารสัตว์เลี้ยง ไอศกรีม เเละยูเอชที
“อาหารสัตว์เลี้ยง” คนซื้อราคาพรีเมียม เเม้ต้องประหยัด
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากหันมาดูเเลสัตว์เลี้ยงเพื่อคลายเหงามากขึ้น ทำให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในไทยเติบโต 9% จากปีที่ผ่านมา
“เเม้ในช่วง COVID-19 ที่หลายครอบครัวเริ่มลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เเต่กำลังซื้อในตลาดสัตว์เลี้ยงยังไม่มีตก”
สอดคล้องกับเทรนด์โลกที่พบว่า ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงเเบบ “พรีเมียม” ขยายตัวสูงเช่นกัน เเละมีประชากรสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะเเมวเเละสุนัข โดยคนไทยนิยมดูเเลสัตว์เลี้ยงเหมือนคนในครอบครัว ซึ่งการที่คนรุ่นใหม่เเต่งงานช้า มีลูกน้อยลงเเละใช้ชีวิตคนเดียวมากขึ้นก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดนี้เติบโต
“ผู้คนยอมตัดค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ เเต่ไม่ยอมตัดค่าใช้จ่ายเพื่อสัตว์เลี้ยง เเถมยังยินดีจ่ายมากขึ้นเพื่ออาหารพรีเมียมให้สัตว์เลี้ยง”
จากเเนวโน้มการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุ
ปั้นรสชาติใหม่ๆ ตีตลาดไอศกรีมไทย
ไอศกรีมยังเป็นสินค้าที่ขายดี “เมื่อคนเครียด” อยากหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคหันมาที่ให้รางวัลกับตัวเองด้วยการมองหาของกินเล่น
เเม้ไอศกรีมของเนสท์เล่จะโดนผลกระทบจาก COVID-19 แต่เชื่อว่าเมื่อสถานการณ์กลับมาปกติ ยอดขายก็จะกลับมาเหมือนเดิม การทุ่มลงทุน 440 ล้านบาทเพื่อขยายกำลังผลิตไอศกรีม ณ โรงงานบางชันครั้งนี้ จึงเป็นการลงทุนเพื่อตลาดระยะยาว เพื่อออกไอศกรีมรสชาติใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาด
ปัจจุบันสินค้าประเภทไอศกรีมคิดเป็นส่วนแบ่งราว 10% ของเนสท์เล่ มียอดขายเติบโตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้มีการเจาะตลาดคนไทยด้วยการนำ “ไอศกรีมโมจิ” ที่นำเทรนด์จากเกาหลีและญี่ปุ่
นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังไม่ได้มองหาเเค่ไอศกรีมรสชาติใหม่ๆ แต่ยังมองหาสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ทำให้เนสท์เล่ต้องขยับมาทำบรรจุภัณฑ์ไอศกรีมที่ทำจากกระดาษ ไม่มีส่วนผสมของพลาสติก และสามารถรีไซเคิลได้ 100%
ยูเอชที : ต้องดีต่อสุขภาพ พกพาสะดวก
จากผลวิจัยของ Nielson พบว่า เครื่องดื่มยูเอชทีประเภทนมวัวและเครื่องดื่มช็อกโกแลตมอลต์ยูเอสที จะมีการเติบโต 3% ในอีก 3 ปีข้างหน้า ชี้ให้เห็นว่าคนไทยกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ดีกับสุขภาพเเละพกพาสะดวก
ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เนสท์เล่หันมาจับเทรนด์รักสุขภาพและต้องพกพาสะดวก โดยการออกผลิตใหม่อย่าง นมตราหมีในรูปแบบกล่อง (จากเดิมเป็นกระป๋อง) เเละออกไมโลรสชาติใหม่ สูตรไม่มีน้ำตาลทราย ตามเเนวโน้มผู้บริโภคคนไทยที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์น้ำตาล 0% มากขึ้นในอนาคต
โดยโรงงานแห่งสุดท้ายจะใช้งบลงทุนราว 1,530 ล้านบาท ซึ่งจะตั้งอยู่ที่นวนคร 7 เพื่อเพิ่มกำลังผลิตในเครื่องดื่มยูเอชที อย่างไมโลและนมตราหมี
“การลงทุนในครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและเทรนด์ของผู้บริโภคเป็นหลัก และจะช่วยสร้างการเติบโตในประเทศไทย”
ด้านการพัฒนา “อีคอมเมิร์ซ” ของเนสท์เล่นั้น ก่อนหน้าที่จะเกิด COVID-19 ไทยมีอัตราการเติ
“เราเริ่มตั้งทีมอีบิสซิเนส มาตั้งเเต่ปี 2018 ตอนนี้มีทีมงานเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า มีการลงทุนด้านระบบเเละบุคลากรต่อเนื่อง สร้างเทคโนโลยี
กำลังศึกษา “น้ำผสมวิตามิน”
อีกหนึ่งเทรนด์เครื่องดื่มที่กำลังมาเเรงในเมืองไทย ตอนนี้บริษัทใหญ่-เล็ก กระโจนลงมาเล่นตลาด “น้ำผสมวิตามิน” กันไม่หยุด จากปีที่เเล้วตีตลาดเจ้าเดียว มาปีนี้เจอผู้ท้าชิงอีก 7-8 เจ้า ปล่อยทีเด็ดส่งเสริมการขายกันอย่างหนัก ตามเทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรง ทำให้เกิดคำถามว่า ยักษ์ใหญ่ FMCG อย่าง เนสท์เล่ จะลงมาเล่นสนามนี้หรือไม่
วิคเตอร์ เซียห์ ตอบว่า เนสท์เล่ยังอยู่ “ระหว่างการศึกษา” ตลาดของน้ำวิตามิน เพราะตลาดนี้ยังมีขนาดเล็กอยู่ไม่ถึง 5% ของตลาดเครื่องดื่ม “ยังไม่รู้ว่าจะเป็นกระแสที่คงอยู่ในระยะยาว หรือจะอยู่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ แล้วหายไป” เเต่มีเเผนจะเปิดตัวสินค้าเพื่อสุขภาพเเนวๆ นี้ อยู่ในช่วงปีหน้า เเต่ตอนนี้ยังไม่สามารถระบุรายละเอียดที่เเน่ชัดได้
ต้องจับตาดูว่า หลังทุ่มงบสร้างโรงงานในไทยเเล้ว “เนสท์เล่” จะมีความเคลื่อนไหวใหญ่ๆ อะไรออกมาเขย่าตลาดอีก
- จับตาเทรนด์ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ‘ออนไลน์’ ที่อาจเป็นพฤติกรรม ‘ถาวร’ แม้หมด COVID-19
- เปิดเบื้องหลัง “เพอร์ร่า วิตามิน วอเตอร์” ช้าเเต่ชัวร์…สิงห์ส่งหมัดเด็ด ชิงตลาดน้ำผสมวิตามิน