นักวิเคราะห์มอง ‘เศรษฐกิจเอเชีย’ อาจไม่ดีอย่างที่คาด หลังหลายประเทศเจอ COVID-19 รอบใหม่

(Photo by Nicolas Datiche/LightRocket via Getty Images)

เมื่อใกล้หมดปี 2020 นักลงทุนจำนวนมากมองว่า ‘เอเชีย’ เป็นภูมิภาคที่มีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในปีหน้าเนื่องจากการควบคุมการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ค่อนข้างดี แต่การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในบางประเทศอาจทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจของภูมิภาคอาจลดลง เพราะต้องต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 รอบสอง

บางประเทศกำลังต่อสู้กับการสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่าที่เกิดการระบาดครั้งแรก แม้แต่ดินแดนที่ประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ในการควบคุมการระบาดก็หนีการระบาดรอบสองไม่พ้น อาทิ ‘ไต้หวัน’ ที่พบผู้ติดเชื้ออีกครั้ง นับตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงความยากลำบากในการกำจัด COVID-19

“สำหรับยักษ์ใหญ่ในเอเชียบางรายความหายนะของ COVID -19 ในปีนี้ไม่น่าจะดีขึ้นภายในปีนี้” บริษัท วิจัย Pantheon Macroeconomics กล่าว

อย่างประเทศ ‘ญี่ปุ่น’ ที่ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ยืนยันแล้วสะสม 207,007 รายและผู้เสียชีวิต 2,941 ราย โดยจำนวนผู้ติดเชื้อในญี่ปุ่นเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเจอผู้ติดเชื้อทะลุ 3,000 รายเป็นครั้งแรก ส่งผลให้กลุ่มแพทย์ในประเทศเตือนว่าระบบการดูแลสุขภาพกำลังจะอยู่ในขั้นวิกฤต แต่นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ สุงะของญี่ปุ่นก็ยังไม่ประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ แม้ว่าเขาจะบอกว่าจะระงับโครงการที่สนับสนุนให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อชะลอการแพร่กระจายของไวรัสก็ตาม

นักเศรษฐศาสตร์จาก Pantheon Macroeconomics เขียนไว้ในรายงานเมื่อวันพุธว่า มาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ ‘ค่อนข้างอ่อน’ ของรัฐบาลญี่ปุ่นดูเหมือนจะไม่ได้ผลและอาจส่งผลให้มาตรการที่เข้มงวดขึ้นในอีกไม่กี่เดือน

“ด้วยเหตุนี้สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศครั้งที่สองในต้นปีหน้าของญี่ปุ่นอาจเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสแรกของปี 2564”

ด้าน ‘เกาหลีใต้’ มีผู้ป่วยที่ยืนยันแล้วสะสม 53,533 รายและเสียชีวิต 756 ราย โดยเกาหลีใต้มีผู้ป่วยรายใหม่ถึงกว่า 1,000 ราย/วัน ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการระบาด ทำให้เกาหลีใต้ออกมาตรการเข้มงวดมากขึ้นกว่าญี่ปุ่น ทั้งห้ามการรวมตัวกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปทั่วประเทศ และสั่งให้ปิดสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ลานสกีและสถานที่เล่นกีฬาฤดูหนาวอื่น ๆ ซึ่งการทำตามขั้นตอนดังกล่าวก็ต้องแลกกับความเสียหายทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้

ส่วน ‘มาเลเซีย’ มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันแล้ว 98,737 รายและเสียชีวิต 444 ราย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มเจอผู้ติดเชื้อรายใหม่ช่วงเดือนตุลาคม ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการปิดกั้นพื้นที่บางส่วนรอบใหม่ นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทที่ปรึกษา Capital Economics กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสนี้มีความเคลื่อนไหวน้อยลง โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชน

โดยข้อมูลการเคลื่อนไหวของ Google ชี้ให้เห็นว่าการเว้นระยะห่างทางสังคมยังคงเป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมต่าง ๆ แต่ส่วนอื่น ๆ ของเศรษฐกิจ เช่น การส่งออกยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างแข็งแกร่ง ดังนั้นผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมจากการระบาดครั้งล่าสุดน่าจะน้อยกว่าการระบาดครั้งก่อนหน้า

Source