เมื่อใครๆ ก็อยากมี Digital Distribution Channel ของตัวเอง

ปฏิเสธไม่ได้ ว่า ปัจจัย 1 ในความสำเร็จของ iPhone คือ “แอพ” ที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สำหรับโทรศัพท์มือถือ

iPhone ไม่ใช่โทรศัพท์ตัวแรกที่สามารถลง “แอพ” ได้

เพราะก่อนหน้านี้ ทั้ง Nokia โดยระบบปฏิบัติการ Symbian และ Microsoft โดยระบบปฏิบัติการ Windows Mobileต่างก็สามารถลง “แอพ” เพิ่มในมือถือของตนได้ทั้งนั้น

แม้ว่า Apple จะไม่ใช่ผู้บุกเบิกตลาดซอฟต์แวร์มือถือ แต่กลับกลายเป็นผู้ปฏิวัติวงการ ด้วยการสร้าง Ecosystem สำหรับ “แอพ” บนมือถือ ทั้งระบบ Catalog ระบบจ่ายเงิน ระบบการจัดอันดับ ระบบการตรวจสอบแอพก่อนเปิดให้ดาวน์โหลด การสร้างนักพัฒนา หลักการตั้งราคาและการทำตลาด ทั้งหมดถูกห่ออย่างสวยงาม ใช้งานง่าย กลายมาเป็น “App Store” ที่เป็นเหมือน “Blue Print” ให้บรรดาผู้ผลิตมือถือแบรนด์อื่นๆ นำไปศึกษาเป็นต้นแบบ

จากการปฏิวิติครั้งนี้ มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่น่าสนใจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเป็นการถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกของ “ตลาดนัดแอพมือถือ” แบบระบบปิด ที่รวมทุกๆ “แอพ” มาอยู่ในที่เดียวกันมีการซื้อผ่านระบบ Billing ของ iTunes ที่ผูกกับบัตรเครดิต นับร้อยล้าน Account

การตั้งระดับราคาของ “แอพ” แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน คือ ในราคาเพียง $0.99

การเกิดขึ้นของ “แอพฟรี” เป็นจำนวนมาก นับหมื่นๆ แอพ ยอดดาวน์โหลดมหาศาลกว่า 5 พันล้านครั้ง

Business Model แบบใหม่ ที่เรียกว่า In-app Purchase หรือการซื้อในตัวแอพรูปแบบของ Try & Buy ที่เอามาใช้กันอย่างแพร่หลาย
มีจำนวน “แอพ” กว่า 294,802 ตัว สร้างโดยนักพัฒนากว่า 49,000 ราย
ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นความ “Amazing” ของ “App Store”

ความสำเร็จของ “App Store” เป็นการจุดประกายให้กับผู้สร้างแพลตฟอร์มสำหรับมือถือ ทั้ง Nokia, Palm, Microsoft, Google และ RIM ผู้สร้าง BlackBerry เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่ นอกเหนือไปจากการขายตัวมือถือเอง
รวมไปถึงการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่สร้างประโยชน์ให้ทั้งกับเจ้าของแพลตฟอร์ม นักพัฒนา หรือแม้กระทั่งการขายโฆษณาและผู้ที่ต้องการลงโฆษณาเองก็ตาม
ผมขอกล่าวถึงแต่ละแพลตฟอร์มคร่าวๆ เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมในตลาดโทรศัพท์มือถือครับ

Google ส่ง “Android Market” ลงสู้ศึก

ogle ยักษ์ใหญ่ด้าน Search Engine เข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือ โดยการชูธงด้วยแพลตฟอร์ม “Android” โดยมียุทธศาสตร์การต่อสู้ที่คนละแนวทางกับ Apple นั่นคือ การเน้น “ระบบเปิด” และไม่มีการควบคุมดูแลที่เข้มงวดอย่าง “App Store”

แม้ว่า “Android Market” จะถือกำเนิดในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ด้วยความไม่ชัดเจนในเรื่องของ Business Model และความหลากหลายของตัวมือถือในตอนนั้น และจำนวนผู้ใช้งานมือถือ “Android” ที่ยังไม่สูงนัก ทำให้ “Android Market” มีพัฒนาการค่อนข้างช้า
อีกทั้ง Business Model ที่ยังไม่ลงตัว ทำให้การซื้อ “แอพ” ยังจำกัดแค่ไม่กี่ประเทศ ที่ Google เจรจากับผู้ให้บริการเครือข่ายเท่านั้น ความแพร่หลายของ “Market” จึงยิ่งจำกัด
ทำให้ “Paid Users” หรือผู้ใช้ที่สามารถจ่ายเงินได้ มีจำนวนน้อย นักพัฒนาจึงไม่ได้ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ
เพราะทำแอพดีๆไป แต่จำนวนคนที่ซื้อได้ มีน้อย โอกาสซื้อก็ยิ่งน้อยลง เหมือนตลาดเล็กลงไปด้วย แอพดังๆ หลายตัวจึงมีบน “iPhone” ก่อนบน “Android” นับปี

ปัจจุบัน “Android Market” มีแอพอยู่ประมาณ 106,000 ตัว ยอดดาวน์โหลดกว่า 1 พันล้านครั้ง มีสัดส่วน “แอพฟรี” สูงที่สุดกว่า 57% (เมื่อเทียบกับ “App Store” มีที่แอพฟรีเพียง 28%)

การกลับมาของ Nokia ด้วย “Ovi Store” แต่ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า

การที่ Nokia เป็นเจ้าตลาดโทรศัพท์มือถือมาอย่างยาวนาน แต่กลับถูก Apple เข้ามาท้าทายในตลาดมือถือระดับบน จนสูญเสียความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมไป และถูกทำให้รับบทบาทผู้ตามด้วยความไม่เต็มใจนัก
การกลับมาครั้งนี้ของ Nokia เต็มไปด้วยความคับแค้นใจเป็นอย่างยิ่ง

“Ovi Store” จึงถูก Nokia ส่งเข้ามาเพื่อเป็นไม้เด็ดในการปราบ “App Store” ของ Apple โดยชูทีเด็ด ที่นอกจากจะสามารถซื้อ “แอพ” ได้
ยังสามารถซื้อ เพลง วิดีโอ ริงโทน Wallpaper ต่างๆ ได้จาก “Ovi Store” ทันที
ทำหน้าที่ คล้าย “App Store” รวมร่างกับ “iTunes Store”
แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นไปอย่างที่ Nokia คาดหวัง เพราะ “Ovi Store” ล้มเหลวไม่เป็นท่า
สร้างความเจ็บแค้นรอบ 2 เนื่องจากตัวระบบยังขาดความเสถียร
กลายเป็นสร้าง User Experience ที่แย่ให้กับลูกค้าตัวเอง จนเกิดการบอกต่อและนำไปสู่ความล้มเหลว
ยอดแอพเพียง 7 พันกว่าแอพ และยอดดาวน์โหลดเพียง 20 ล้านครั้ง
เทียบกับ 200,000 กว่าแอพ และจำนวนดาวน์โหลด 5 พันล้านครั้งของ “App Store”
ยิ่งกลายเป็นการตอกย้ำถึงความล้มเหลวของ Nokia Ovi Store

RIM ไม่น้อยหน้า ด้วย “BlackBerry App World” แต่ยังห่างไกลกับความสำเร็จ

BlackBerry อาจจะถือกำเนิดมาสำหรับผู้ใช้องค์กรที่ใช้งาน Push Email, Calendar เป็นหลัก
แต่เมื่อวิสัยทัศน์ของ CEO ของ Research in Motion (RIM) เปลี่ยนไป หลังจากประกาศ ปลายปี 2008 ว่า BlackBerry จะต้องเป็นผู้นำในตลาด Smart Phone ของผู้ใช้ทั่วไป

ในวันที่ 1 เดือน เมษายน 2009 (ซึ่งตรงกับ April Fools) RIM ก็ได้ทำงานเปิดตัว “ร้านขายแอพออนไลน์” ของตัวเองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “BlackBerry App World”
การขาย “แอพ” โดยการจ่ายเงินด้วยระบบของ Paypal เป็นการต่อยอดบนฐานลูกค้าที่มีความสามารถในการซื้อนับร้อยล้านคน
เทียบได้กับจำนวนของ “iTunes” และ “Amazon.com” เลยทีเดียว

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ RIM พลาดก็คือ เรื่อง Guideline ของการตั้งราคาแอพ และการเก็บเงินค่าเอาแอพขึ้นไปอยู่บน “App World” ก็ส่งผลต่อต้นทุนของแอพ ทำให้นักพัฒนาต้องตั้งราคาแอพให้สูง
แม้ว่าวิสัยทัศน์ของผู้บริหารต้องการทำให้ BlackBerry กลายเป็น Smart Phone ของ Consumer
แต่ราคาขายของแอพกลับไม่ใช่ราคาสำหรับ Consumer
ยอดขายแอพบน “App World” จึงนิ่งสนิท และแทบไม่มีผลใดๆ กับรายได้ของ RIM

“Web App Store” ก้าวเดินต่อไปของ “Distribution Channel”

นอกจาก “App Store” บนมือถือหลายๆ แพลตฟอร์มแล้ว ตอนนี้สมรภูมิยังมาอยู่บน Web ที่ปัจจุบัน Web 2.0 เรียกได้ว่าเป็น “เว็บแอพ” (Web Application) ได้ถือกำเนิดขึ้นมารองรับความต้องการทั้งทางด้านธุรกิจ และความต้องการส่วนบุคคล
ogle นอกจากจะเป็นผู้นำด้าน “Search Engine” และระบบโฆษณาออนไลน์แล้ว ยังถือได้ว่า เป็นผู้นำในด้าน “เว็บแอพ” เช่นกัน

หมากแต่ละตัวที่ทาง Google ปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะ “หมากล้อม” ได้เริ่มออกดอกออกผล
“หมากล้อม” แต่ละตัว ครอบคลุมการใช้งานแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็น อีเมล ปฏิทิน Google Talk การเก็บอัลบั้มภาพถ่าย (Picasa) เก็บวิดีโอ (YouTube) แผนที่ (Google Map) ระบบจ่ายเงิน (Google Checkout) หรือ Office Tools อย่าง “Google Docs” และอื่นๆ อีกมากมาย
เรียกได้ว่า เปิดคอมพิวเตอร์มา ไม่ต้องเปิด “แอพ” อะไรบนคอมเลย เพียงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และเรียกใช้งาน “เว็บแอพ” เหล่านี้ผ่าน “Web Browser” ได้เลย
ยิ่งไปกว่านั้น Google กำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ “เว็บแอพ” ต่างๆ เหล่านี้ สามารถทำงานได้ ในโหมด “Offline” โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
และเทคโนโลยีนี้จะถูกนำไปใช้ บนระบบปฏิบัติการตัวใหม่ “Chrome OS” ที่ Google หมายมั่นปั้นมือว่าจะออกมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดจาก Windows ของ Microsoft และ Mac OSX ของ Apple

ความน่าสนใจเพิ่มขึ้นแล้วใช่มั้ยครับ?

เมื่อมีระบบปฏิบัติการ ก็ต้องมี “แอพ” สำหรับใช้งาน
เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์จากความสะดวกและความง่ายในการใช้งานให้มากที่สุด
ogle จึงหยิบยืมวิธีการของ “Android Market” มาใช้บน “Chrome OS” และทำการเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น “Chrome Web Store” (ไม่รู้ว่าเป็นการตั้งเพื่อล้อ “Apple App Store” รึเปล่า)
“Chrome Web Store” จึงเป็น “ตลาดนัดสำหรับ เว็บแอพ” ที่ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง เว็บแอพ แบบเสียเงินและแบบฟรี

สำหรับนักพัฒนาเว็บแอพ ที่ต้องการหารายได้จากการใช้งาน ก็สามารถเก็บเงินจากการดาวน์โหลดได้ เหมือนกับที่ดาวน์โหลดใน “Android Market” หรือ “App Store” เอง โดยทาง Google จะหักค่าบริการ (Google เรียกว่า Processing Fee) เพียง 5% เท่านั้น จึงเป็นรูปแบบธุรกิจที่น่าสนใจ
และจะยิ่งน่าสนใจมากขึ้น เมื่ออนาคตมีอุปกรณ์ที่ใช้ “Chrome OS” และ “Android” เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ลองคิดเล่นๆ ว่า ถ้ามี Google TV เกิดขึ้นมาจริงๆ หรือว่าผู้ผลิต LED TV รายใหญ่ใช้แพลตฟอร์มของ Google
“Chrome Web Store” จะมีบทบาทสำคัญขนาดไหน
ถึงเวลานั้นการใช้งานแอพแทบไม่ต้องง้อคอมพิวเตอร์เลย ถ้า TV ของเรา มี “Chrome OS” และสามารถซื้อแอพมาใช้งานจาก “Chrome Web Store” ได้
วิสัยทัศน์ในการ “ยึดหน้าจอ” ของ Google คงไม่เป็นเพียงแค่ฝันอีกต่อไป

นอกจาก “Chrome Web Store” ของ Google แล้ว
ยังมีบริษัทชื่อ “Vitrue” ได้นำ “App Store” ของ Apple ไปลองขยายฐานบนเครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับ 1 อย่าง Facebook (http://www.facebook.com/AppStore)
เหมือนเป็นการสร้างตลาดขึ้นมาในย่านชุมชน หรือในหมู่บ้าน ที่ยังไงซะ คนในชุมชนหรือหมู่บ้านนั้นก็มีโอกาสที่จะมาซื้อของในตลาดนั้น
นับว่าเป็นไอเดียการต่อยอดที่น่าสนใจทีเดียว