กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองการกระชับนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นไปอย่าง ‘เหมาะสม’ ส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต เเต่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ต้องพึ่งพาเงินดอลลาร์
โดยประเทศต่าง ๆ อาจเผชิญกับความยากลำบากเพิ่มขึ้น จากผลกระทบจากนโยบายของเฟด เนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวแตกต่างกันหลังการระบาดใหญ่ รวมถึงผลกระทบจากความขัดเเย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน
การแถลงของ Gerry Rice โฆษก IMF มีขึ้นหลังจากที่เฟดประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอีก 0.25% สู่ระดับ 0.50% เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี พร้อมส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 6 ครั้งในปีนี้
นักวิเคราะห์ประเมินว่า อัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลางสหรัฐ จะเพิ่มขึ้นเป็นช่วงระหว่าง 1.75% ถึง 2% ภายในสิ้นปี 2022 หรือเท่ากับเพิ่มในอัตราครั้งละ 0.25% ในการประชุมนโยบายที่เหลือ 6 ครั้งในปีนี้
โดยประเทศต่างๆ อาจจะเผชิญกับความยากลำบากเพิ่มขึ้น เมื่อประเมินถึงผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของเฟด เนื่องจากมีบริบทการฟื้นตัวด้านเศรษฐกิจที่แตกต่างกันหลังโรคระบาด รวมถึงผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
การแนวทางที่ชัดเจนเเละต่อเนื่อง พร้อมตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่คาดไว้
“การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด เพิ่มความเสี่ยงสำหรับประเทศอื่นๆ ที่ต้องพึ่งพาเงินทุนในสกุลดอลลาร์ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา“
- ‘IMF’ คาด ‘เงินเฟ้อ’ จะชะลอตัวในปีหน้าเหลือ 4.7% สำหรับประเทศกำลังพัฒนา
- หากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อ ‘เงินเฟ้อไทย’ ปีนี้อาจพุ่งเกิน 4% สูงสุดในรอบ 14 ปี
ที่มา : Reuters