“Soft Power” เรื่องเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่

การสร้างกระแส ข้าวเหนียวมะม่วง กับคำว่า Soft Power ของศิลปินมิลลิ  ถือว่าเป็นการสร้างกระแสที่ตรงกับ Concept Soft Power ถามว่า “Soft Power” คืออะไร คือ… การขยายการเปลี่ยนแปลงความคิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในเชิงบวกโดยที่ “ไม่ได้” มีการใช้การขู่บังคับหรือว่าขู่เข็ญ

ตรงกันข้ามกับ Hard Power

การสร้าง Soft Power คือการเปลี่ยนแปลงความคิดโดยการที่ให้ทุกคนเกิดการมีส่วนร่วม โดยสมัครใจและรู้สึกว่าไม่ได้ถูกบังคับ แบบ Hard Power

ดังนั้นการสร้าง Soft Power ของ ศิลปินน้องมิลลิ ก็ตรงหลัก Concept ซึ่งการสร้าง Soft Power หลักการก็คือ ไม่ได้มีการบังคับขู่เข็ญแต่ให้ทุกคนมีส่วนร่วม

“Hard Power” คือ การบังคับโดยการที่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

Photo : Facebook MILLI

ซึ่งน้องมิลลิได้สร้างหลัก Soft Power ได้ตรงหลัก Soft Power ต้องใช้หลัก  2 C   

C แรก ก็คือ Communication อีก C คือ Connection

Communication หมายถึง ว่าคือการต้องสื่อสาร ให้ถูกกลุ่ม แล้วก็ใช้วิธีสื่อสารให้เกิดการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหาบุคลิกท่าทาง และข้อมูลอันนี้คือ C แรก Communication

C ที่ 2 คือคำว่า Connection ต้องมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้ที่จะสื่อสารด้วย

ผู้ที่จะสื่อสาร ให้เกิดคำว่า Soft Power ต้องมี Connection คือต้องมีส่วนร่วม และอารมณ์ร่วมกับผู้ที่สื่อสารด้วย Soft Power มันจะมีหลัก 2 ตัวคือ 1 คือ Communication กับ Connection ครับ ต้องสร้างการสื่อสารให้ตรงกลุ่ม และเกิดความเข้าใจ โดยที่ไม่ได้มีการบังคับขู่เข็ญ แต่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงพัฒนาความคิดว่าเปลี่ยนแปลงทัศนคติซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า Hard Power

ศิลปินน้องมิลลิ ที่ได้ทำถือว่าเล็กน้อย แต่สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่

การสร้าง Soft Power นี้สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ถ้ารู้จักกลุ่มที่จะสื่อสาร รู้จักหาจุดที่สื่อสาร และเปลี่ยนแปลงความคิดโดยไม่ได้ถูกบังคับ แต่สำคัญคนที่สร้าง Soft Power ต้องสร้างสิ่งสำคัญคือ Connection กับกลุ่มผู้สื่อสารให้เป็น โดยให้เขามีส่วนร่วม

ซึ่งเราจะเห็นว่าตัวอย่าง อย่างศิลปิน ลิซ่า ได้สร้าง Soft Power เช่นเดียวกัน โดยที่ผ่านมาก็สร้างกระแสลูกชิ้นยืนกิน เป็นต้น

“ดังนั้น Soft Power ถ้ากระแส ได้รับการตอบรับที่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดคำว่า Social Movement ได้ คือ สังคมที่ขับเคลื่อนในแง่ดี ต่อไป..”