11 ตำแหน่งงาน IT ที่น่าจับตามองในครึ่งปีหลัง Project Managers นำโด่ง

ประเทศไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาขับเคลื่อนสังคมและช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เป็นเหตุให้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วเริ่มมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการดำเนินการของธุรกิจในทุกแง่มุม ทั้งยังกำลังก้าวเข้ามาทดแทนทักษะการทำงานของคน

อย่างไรก็ตาม “พนักงานยังคงเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท” หลายองค์กรจึงมองหาคนที่มีทักษะความรู้ความสามารถเพื่อมาร่วมพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี อาทิ ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะการเขียนโค้ดดิ้ง รวมถึงทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นต้น

ล่าสุด 𝗘𝘅𝗽𝗲𝗿𝗶𝘀 บริษัทจัดหางานด้านไอทีในเครือของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ได้ทําการสํารวจการตัดสินใจรับพนักงานจํานวน 39,000 คนจาก 40 ประเทศ และได้สัมภาษณ์ผู้นําทีมงานและเทคโนโลยีจากอุตสาหกรรมต่างๆ จํานวน 8 ท่าน ได้เผยผลสำรวจในรายงาน “𝙉𝙚𝙬𝘼𝙜𝙚𝙤𝙛𝙏𝙚𝙘𝙝𝙏𝙖𝙡𝙚𝙣𝙩” หรือ “ยุคใหม่แห่งสายเทคโนโลยี” โดยระบุว่า

  • กว่า 98% ของผู้สมัครงานจะถูกเลือกจากทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี
  • 98% ของผู้สมัครเข้าตําแหน่งวิเคราะห์ข้อมูลวิทยาศาสตร์จะถูกคัดออกโดยผู้ว่าจ้างที่ต้องการทักษะ 4 ด้าน และประสบการณ์ทํางาน 3 ปี
  • 34% ของผู้จ้างงานระบุว่าผู้สมัครงานสายดิจิทัลมีคุณสมบัติตรงกับที่ต้องการไม่เพียงพอ
  • 32% ของผู้จ้างงานระบุว่าผู้สมัครงานมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ
  • 32% ของผู้จ้างงานระบุว่ามากกว่า 1 ใน 4 หรือ 27% ของผู้สมัครงานสายดิจิทัลขาดทักษะซอฟต์สกิลที่เหมาะสม

ลิลลี่ งามตระกูลพานิช ผู้จัดการประจำประเทศไทย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดเผยว่า

“ปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนาเร็วกว่าคนเริ่มส่งผลให้ตลาดแรงงานมีการแข่งขันที่สูงและเข้มข้นมากขึ้น องค์กรต่างต้องการคนเก่งที่มีศักยภาพ และพร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีแห่งโลกดิจิทัลเพื่อสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจากรายงานของเอ็กซ์พีริส พบว่า หลายองค์กรกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะการทำงาน ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในสายงานดิจิทัล โดยเฉพาะตำแหน่งผู้จัดการโปรเจกต์ IT หรือ IT Project Managers ที่มีสัดส่วนความต้องการมากที่สุดถึง 22%”


บางองค์กรเลือกที่จะแสวงหาพนักงานคนใหม่ เข้ามาทำงานแทนคนเก่าที่ขาดทักษะความเชี่ยวชาญด้านนี้ แต่มักจะพบว่าคนเหล่านี้ยังขาดทักษะในการร่วมพัฒนาองค์กร อย่างไรก็ตาม องค์กรส่วนใหญ่มักเลือกที่จะเพิ่มอัตราภายใน และลงทุนเพิ่มมีศักยภาพภายในมากกว่าที่จะแสวงหาจากภายนอกองค์กร

แม้ว่าองค์กรต่างๆ จะปลูกฝังการเรียนรู้ทักษะอย่างเป็นระบบ แต่มักไม่ตรงกับความต้องการ พนักงานไม่สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่บริษัทต้องการได้ทันเวลา ส่งผลให้พนักงานยังจะมีความกังวลทั้งเรื่องหน้าที่การงาน และเหนื่อยล้าจากการเรียนรู้เอ็กซ์พีริส (Experis) จึงได้ออกแบบหลักสูตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยมี Experis Academy เป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ที่จะช่วยให้องค์กรนั้นๆ ประสานช่องว่างของตําแหน่งงานผ่านการฝึก การอบรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ นําโดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม พนักงานจะได้เรียนรู้ผ่านทฤษฎีมากมาย เช่น Experis Academy ร่วมมือกับ Scania AB ในด้านการผลิตและพัฒนาระบบการขนส่งจากประเทศสวีเดนเพื่อวิเคราะห์ช่องว่างของทักษะและจัดทําโครงการอบรมนักพัฒนา Front-end ที่ใช้เวลา 12 สัปดาห์เพื่อปรับทักษะพนักงานที่สนใจภายในบริษัทรวมถึงพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องด้าน IT ด้วย

Experis Academy ใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์เช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในกระบวนการจ้างงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการการจ้างงานด้วยมนุษย์ในสายงานที่มีการเปลี่ยนตําแหน่งสูงกว่า 300,000 งาน พบว่า คนงานที่ถูกจ้างผ่านการวิเคราะห์ของปัญญาประดิษฐ์นั้นทํางานอยู่นานกว่า และขั้นตอนการจ้างงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าคนที่ถูกจ้างผ่านการวิเคราะห์โดยมนุษย์อย่างน้อย 25% เพราะเมื่อพนักงานถูกจ้างแล้ว เทคโนโลยีประมวลข้อมูลจะช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะต่างๆ ได้ โครงการ Career Accelerator ของ Experis มีเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยให้พนักงานตั้งค่าโปรแกรมการพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยการเลือกทักษะ และประเมินงานกับหัวหน้างาน และจัดเป็นหลักสูตรพัฒนาทักษะส่วนตัวได้

นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า กว่า 7 ใน 10 ของพนักงานกล่าวว่าการมีผู้นําที่พึ่งพาและเชื่อถือได้นั้นสําคัญและกว่า 2 ใน 3 อยากทํางานกับองค์กรที่เห็นคุณค่าในตัวพนักงาน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรต้องการ คือ ซอฟต์สกิล หรือทักษะ “ภายใน” ของแต่ละคนที่มีผลต่อการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน คู่ค้า ลูกค้า เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการทำงานได้ ซึ่งทักษะเหล่านี้ เปรียบเสมือน “𝑷𝒐𝒘𝒆𝒓𝒔𝒌𝒊𝒍𝒍𝒔” อันทรงพลังในการขับเคลื่อนให้งานสำเร็จ และเป็นจุดแข็งของแรงงานที่เทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่สามารถเรียนรู้และเข้ามาทดแทนคนได้ โดยเฉพาะทักษะที่หายากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่

  1. ทักษะการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา
  2. ทักษะด้านการพึ่งพา ความไว้ใจ และวินัย
  3. ทักษะด้านการคิดเชิงวิพากษ์ และวิเคราะห์
  4. ทักษะด้านความสร้างสรรค์และเป็นต้นฉบับ มีความคิดเป็นของตัวเอง
  5. ทักษะความยืดหยุ่น ความอดทน อดกลั้น และการปรับตัว