1 ชั่วโมงสำหรับการพูดคุยกับบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น ถือเป็นช่วงเวลาที่มีค่าไม่น้อยเลยทีเดียว POSITIONING เป็นนิตยสารการตลาดฉบับเดียวจากเมืองไทยที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมพูดคุยกับ ทาดาชิ ยาไน (Tadashi Yanai) ขณะที่สื่ออื่นๆ ที่ไปด้วยกันเป็นสื่อด้านไลฟ์สไตล์และแฟชั่นทั้งหมดรวม 5-6 ฉบับ
ทาดาชิ ยาไน ประธาน ประธานกรรมการ และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ของ UNIQLO แบรนด์ที่มียอดขายอันดับ 4 ของโลก และตั้งเป้าว่าจะเป็นที่ 1 ให้ได้ภายในปี 2020 ปัจจุบันคนที่รวยกว่าเขามีเพียงเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ Soft Bank แต่ก่อนหน้านี้ 2 ปี (2009-2010) เขาเคยครองตำแหน่งบุคคลที่รวยที่สุดในญี่ปุ่นมาแล้วจากการจัดอันดับของฟรอบส์เช่นกัน
ก่อนจะไปถึงเป้าหมายนั้นทั้งเขาและเราต่างต้องรอดูผลว่าจะเป็นจริงได้หรือไม่ แต่สำหรับอดีตที่ผ่านมาผลงานของเขา จัดอยู่ในระดับตำนานการสร้างแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่มาได้ ด้วยการทำงานที่เข้มงวดทั้งกับตัวเองและพนักงานทุกคน ในแบบสไตล์ญี่ปุ่นที่เน้นวิจัยและความอดทนเป็นเลิศ ซึ่งเขาก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นจากผู้นำลงไปในองค์กรด้วย เมื่อ UNIQLO เริ่มขยายตัวไปทั่วโลก ทั้งอเมริกา ยุโรป และเกือบทุกประเทศในเอเชีย
ยาไนต้อนรับสื่อมวลชนไทยที่สำนักงานใหญ่ของ UNIQLO ใน Midtown Tower ย่านการค้าไฮโซกลางกรุงโตเกียว การสนทนานี้มีขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2011 ก่อนที่ Uniqlo จะเปิดตัวในไทย 2 เดือน ตรงกับหน้าร้อนในญี่ปุ่นและรัฐบาลญี่ปุ่นก็อยู่ในช่วงรณรงค์ให้ประหยัดไฟหลังเผชิญวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ บรรยกาศในห้องประชุมจึงค่อนข้างร้อน แต่นายใหญ่อย่างยาไนก็ยังให้เกียรติอาคันตุกะจากแดนไกลด้วยสูทสีกรมท่าเต็มยศ
เสื้อผ้าที่ยาไนใช้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าของ UNIQLO ยกเว้นเนกไท ซึ่ง UNIQLO ไม่ได้ผลิต การแต่งตัวแบบสากลนิยมทำให้เขาดูเหมือนพนักงานออฟฟิศวัย 60 กว่าที่มีบุคลิกเรียบง่าย มากกว่าเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น แต่นั่นก็สะท้อน Positioning ของแบรนด์ UNIQLO ในญี่ปุ่นไปในตัวว่า สำหรับที่นี่ UNIQLO คือแบรนด์ที่เน้นเสื้อผ้าเรียบง่าย และเน้นคุณภาพการใช้งานเป็นหลัก มากกว่าจะเป็นแบรนด์แฟชั่นเหมือนภาพลักษณ์ของแบรนด์ในต่างประเทศ
เช่นเดียวกัน บทสนทนาของเขา ก็เรียบง่ายและตรงไปตรงมาไม่เน้นลีลาเหมือนสไตล์เสื้อผ้า UNIQLO ที่อยู่ห่างจากจุดของ Design และ Fashionable อย่างไรอย่างนั้น
Q: อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้คุณมาทำธุรกิจเสื้อผ้า
A: พ่อผมทำร้านขายเสื้อผ้า ผมเคยทำอาชีพอื่นมาก่อน แต่ว่าตอนหลังต้องกลับมาสืบทอดกิจการของพ่อ พ่อของผมทำพวกสูท แล้วผมก็มาเปลี่ยนแนวคิด ก็คือจากพวกเสื้อผ้าสูททางการ มาเป็นเสื้อผ้าแบบ Casual
Q: คุณเป็นคนที่รวยคนหนึ่งที่สุดในประเทศญี่ปุ่นมีความมุ่งมั่นอะไรที่อยากทำให้ UNIQLO เป็นเบอร์ 1 ของโลก
A: ผมแค่อยากให้ไปให้ได้ถึงที่สุด ให้โตที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ ปัจจุบันนี้เราเป็นที่ 4 ของโลกเราอยากจะให้มันเป็นที่ 1 ของโลกเราอยากที่จะให้ธุรกิจตรงนี้ให้มันไปถึงที่สุดของมัน ให้มันกลายเป็นที่ 1 พวกเราจะพยายาม พยายามเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมายตรงนั้น
Q: อยากให้ยกตัวอย่างสิ่งที่ทำพลาด และก็เป็นอุทาหรณ์สำหรับคนที่จะเข้ามาสู่วงการ
A: เราเปิดร้านแรกที่ฮิโรชิมาแล้วก็ประสบความสำเร็จมาก จากนั้นเราเลยเปิดร้านที่ 2 สถานที่อาจจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เราเลือกเปิดในตึกเดียวกับโรงภาพยนตร์ อยู่ที่ชั้น 2 ขนาดใหญ่เป็น 5 เท่าของร้านที่ 1 ปรากฏว่าร้านที่ 2 ขายไม่ดีเลย จนกำไรหายหมด นี่คือความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
Q: ช่วยบอกถึงบุคลิกลักษณะของตัวเองว่าเป็นคนอย่างไร
A: ผมคิดว่าผมมองโลกในแง่ดี ในบางครั้งผมก็มีจินตนาการ แต่บางครั้งก็มองโลกในแง่ของความเป็นจริงด้วย ผมชอบมองตัวเองจะเหมือนต้องจับผิด คล้ายๆ มีบุคคลที่ 3 มองที่ตัวเอง
Q: มีวิธีการถ่ายทอดงานให้ลูกน้องอย่างไร
A: ผมเป็นคนที่เข้มงวดมากถ้าทำผิด ผมไม่ให้อภัย แต่นั่นเพราะผมต้องการให้เขาเติบโต ไม่อยากให้ผิดหวังในอนาคตนั่นเอง
Q: การจะเอาชนะ Gap, H&M, ZARA คุณเคยเดินเข้าไปสำรวจร้านไหนบ้างหรือไม่ว่าเป็นอย่างไร
A: ผมเองไม่ค่อยได้มองบริษัทคู่แข่ง ร้านของผมเองก็ยังไม่ค่อยได้ไปเลย เพราะว่าถ้าไปร้านเหล่านี้แล้วจะทำให้รู้สึกเหมือนลักษณะไปจับผิดก็เลยไม่ไป แต่เราก็มีการสำรวจร้านต่างๆ เราจะมีแผนกเกี่ยวกับเรื่องการขาย การจัดการอยู่แล้ว นั่นเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องดูทำหน้าที่ไปดูโดยเฉพาะ
Q: คาดหวังอย่างไรเกี่ยวกับการเปิด UNIQLO ที่กรุงเทพฯ
A: ประเทศไทยกับญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกันอย่างดี ตั้งแต่สมัยก่อนแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางของเอเชีย เราจึงมีความรู้สึกว่าอยากจะเข้าไปเปิดตลาด และลักษณะระดับของการครองชีพต่างๆ ในประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีระดับค่าครองชีพที่สูง เลยถือโอกาสแนะนำ UNIQLO ในตลาดของประเทศ ไทยที่มีความเป็นอยู่ในระดับที่ดีแล้ว และเราคาดหวังว่าอยากจะให้ประชาชนไทยมีไลฟ์สไตล์ระดับที่ดีขึ้น
Q: อากาศในเมืองไทยค่อนข้างร้อนทั้งปีเพราะฉะนั้นสินค้าของ UNIQLO มีการปรับการตลาดอย่างไรบ้าง
A: ถึงประเทศไทยจะมีไม่ครบทุกฤดูก็จริง แต่ว่าเราจะมี Concept ของสินค้าคล้ายๆ กันทั่วโลก
อย่างปีที่แล้วในช่วงตุลาคมของสิงคโปร์ ซึ่งก็จะเป็นตัวอย่างเดียวกันกับไทย เสื้อหนาวขนเป็ด Ultra Light ขายดี แล้วก็กลายเป็นว่าคนไทยเองก็เป็นนักท่องเที่ยวเองที่ไปซื้อด้วย และก็ยังมีกลุ่มลูกค้าที่ซื้อเตรียมไปท่องเที่ยวในต่างประเทศอีก ผมคิดว่าตลาดไทยน่าจะมีลักษณะเดียวกับสิงคโปร์ นอกจากนี้ช่วงหน้าร้อนหรือหน้าฝนคนจะเปิดแอร์จนเย็นเจี๊ยบ คนไทยก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอุปกรณ์เสื้อกันหนาวต่างๆ ก็จะมีส่วนสำคัญที่คนสามารถใช้ได้
Q: แล้วจะมีอะไรเพิ่มเติมอีกไหม เกี่ยวกับนวัตกรรมสำหรับเมืองร้อน
A: ญี่ปุ่นเองก็ร้อน โดยเฉพาะพอหลังจากที่แผ่นดินไหวก็และเกิดปัญหาเรื่องนิวเคลียร์ ทำให้อัตราพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ทั้งหมดมีความจำเป็นคนญี่ปุ่นต้องประหยัดไฟ เพราะเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟ เรื่องแอร์ที่ต้องปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นก็เลยกลายเป็นว่าชุดชั้นในก็ดี Silky Dry หรือ Sarafine ต่างๆ หรือพวกเสื้อผ้าแนว Sport ต่างๆ ของเรา ซึ่งเป็นเสื้อผ้าดูดความชื้นของเหงื่อ ก็จะระเหยได้เร็วมากแห้งไว และเนื้อนุ่มมาก ไม่ว่าจะเป็นพวกเสื้อโปโล เสื้อเชิ้ต หรือว่าพวกกางเกงชั้นในต่างๆ เรามีเทคนิคพิเศษ เทคโนโลยีพิเศษ ที่เราจะนำเอาทั้งหมดต่างๆ นี้เข้าไปจำหน่าย ในประเทศไทยด้วย ที่ทำให้คนไทยใส่แล้วรู้สึกสบายตัวกับอากาศที่ร้อน
Q: ในประเทศไทยมีโรงงานที่ผลิตสินค้าให้กับ UNIQLO เหมือนกัน ปัจจัยอะไรที่ใช้พิจารณาที่จะเลือกโรงงานไหนมาทำงานร่วมกับ UNIQLO
A: บริษัทนั้นๆ ต้องมีการดำเนินกิจการที่ดี เราเลือกไทย เพราะเป็นประเทศสำคัญในกลุ่ม ASEAN เรามีความมุ่งหวังว่าโรงงานมีศักยภาพและส่งไปขายยังประเทศรอบๆ ได้ด้วย แล้วเราอยากจะเพิ่มฐานการผลิต ขยายไปยังประเทศ ASEAN อื่นๆ ซึ่งถ้ามีไทยเป็นศูนย์กลางแล้วส่งขยายออกไปซึ่งจะเป็นผลดีไม่น้อย
Q: ทราบว่ามีแผนที่จะเกษียณ ตอนอายุ 65 มีการเตรียมตัวอย่างไร
A: คิดว่าจะเลิกมาทำงานบริษัทแบบทุกๆ วัน แต่ผมจะทำงานต่อในตำแหน่งของผู้บริหารคือเป็น Chairman และจำเป็นต้องหาผู้สืบทอด ต้องอบรม นี่เป็นจุดที่สำคัญมากเลยเพื่อสร้างผู้สืบทอดกิจการให้ดี นี่เป็นงานสำคัญ
Q: มีผู้สืบทอดหรือไม่
A: ผมมีลูกชาย 2 คน แต่น่าจะใช้การว่าจ้างมืออาชีพมาบริหารมากกว่า
Q: ทำไมถึงอยากรีไทร์ตัวเองตอนอายุ 65
A: ไม่เรียกว่าเกษียณดีกว่า คือตำแหน่งของ President ที่ทำอยู่นี้ ก็คือจะต้องมาบริษัททำงานทุกวัน พออายุเกิน 65 ปี คิดว่าเรี่ยวแรงก็จะเริ่มหายไปแล้ว ตอนนี้ก็เหลืออีก 3 ปี
Q: ทุกวันนี้ทำงานวันละกี่ชั่วโมง
A: ผมทำงานตั้งแต่ 08.00-17.00น. รวมแล้วก็ประมาณ 10 ชั่วโมง ซึ่งผมว่าน้อยมาก
Tadashi Yanai ก่อนจะเป็นที่ 1
1 ชั่วโมงสำหรับการพูดคุยกับบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น ถือเป็นช่วงเวลาที่มีค่าไม่น้อยเลยทีเดียว POSITIONING เป็นนิตยสารการตลาดฉบับเดียวจากเมืองไทยที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมพูดคุยกับ ทาดาชิ ยาไน (Tadashi Yanai) ขณะที่สื่ออื่นๆ ที่ไปด้วยกันเป็นสื่อด้านไลฟ์สไตล์และแฟชั่นทั้งหมด รวม 5-6 ฉบับ
ทาดาชิ ยาไน ประธาน ประธานกรรมการ และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ของ UNIQLO แบรนด์ที่มียอดขายอันดับ 4 ของโลก และตั้งเป้าว่าจะเป็นที่ 1 ให้ได้ภายในปี 2020 ปัจจุบันคนที่รวยกว่าเขามีเพียงเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ Soft Bank แต่ก่อนหน้านี้ 2 ปี (2009-2010) เขาเคยครองตำแหน่งบุคคลที่รวยที่สุดในญี่ปุ่นมาแล้วจากการจัดอันดับของฟรอบส์เช่นกัน
ก่อนจะไปถึงเป้าหมายนั้นทั้งเขาและเราต่างต้องรอดูผลว่าจะเป็นจริงได้หรือไม่ แต่สำหรับอดีตที่ผ่านมาผลงานของเขา จัดอยู่ในระดับตำนานการสร้างแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่มาได้ ด้วยการทำงานที่เข้มงวดทั้งกับตัวเองและพนักงานทุกคน ในแบบสไตล์ญี่ปุ่นที่เน้นวิจัยและความอดทนเป็นเลิศ ซึ่งเขาก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นจากผู้นำลงไปในองค์กรด้วย เมื่อ UNIQLO เริ่มขยายตัวไปทั่วโลก ทั้งอเมริกา ยุโรป และเกือบทุกประเทศในเอเชีย
ยาไนต้อนรับสื่อมวลชนไทยที่สำนักงานใหญ่ของ UNIQLO ใน Midtown Tower ย่านการค้าไฮโซกลางกรุงโตเกียว การสนทนานี้มีขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2011 ก่อนที่ Uniqlo จะเปิดตัวในไทย 2 เดือน ตรงกับหน้าร้อนในญี่ปุ่นและรัฐบาลญี่ปุ่นก็อยู่ในช่วงรณรงค์ให้ประหยัดไฟหลังเผชิญวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ บรรยกาศในห้องประชุมจึงค่อนข้างร้อน แต่นายใหญ่อย่างยาไนก็ยังให้เกียรติอาคันตุกะจากแดนไกลด้วยสูทสีกรมท่าเต็มยศ
เสื้อผ้าที่ยาไนใช้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าของ UNIQLO ยกเว้นเนกไท ซึ่ง UNIQLO ไม่ได้ผลิต การแต่งตัวแบบสากลนิยมทำให้เขาดูเหมือนพนักงานออฟฟิศวัย 60 กว่าที่มีบุคลิกเรียบง่าย มากกว่าเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น แต่นั่นก็สะท้อน Positioning ของแบรนด์ UNIQLO ในญี่ปุ่นไปในตัวว่า สำหรับที่นี่ UNIQLO คือแบรนด์ที่เน้นเสื้อผ้าเรียบง่าย และเน้นคุณภาพการใช้งานเป็นหลัก มากกว่าจะเป็นแบรนด์แฟชั่นเหมือนภาพลักษณ์ของแบรนด์ในต่างประเทศ
เช่นเดียวกัน บทสนทนาของเขา ก็เรียบง่ายและตรงไปตรงมาไม่เน้นลีลาเหมือนสไตล์เสื้อผ้า UNIQLO ที่อยู่ห่างจากจุดของ Design และ Fashionable อย่างไรอย่างนั้น
Q: อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้คุณมาทำธุรกิจเสื้อผ้า
A: พ่อผมทำร้านขายเสื้อผ้า ผมเคยทำอาชีพอื่นมาก่อน แต่ว่าตอนหลังต้องกลับมาสืบทอดกิจการของพ่อ พ่อของผมทำพวกสูท แล้วผมก็มาเปลี่ยนแนวคิด ก็คือจากพวกเสื้อผ้าสูททางการ มาเป็นเสื้อผ้าแบบ Casual
Q: คุณเป็นคนที่รวยคนหนึ่งที่สุดในประเทศญี่ปุ่นมีความมุ่งมั่นอะไรที่อยากทำให้ UNIQLO เป็นเบอร์ 1 ของโลก
A: ผมแค่อยากให้ไปให้ได้ถึงที่สุด ให้โตที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ ปัจจุบันนี้เราเป็นที่ 4 ของโลกเราอยากจะให้มันเป็นที่ 1 ของโลกเราอยากที่จะให้ธุรกิจตรงนี้ให้มันไปถึงที่สุดของมัน ให้มันกลายเป็นที่ 1 พวกเราจะพยายาม พยายามเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมายตรงนั้น
Q: อยากให้ยกตัวอย่างสิ่งที่ทำพลาด และก็เป็นอุทาหรณ์สำหรับคนที่จะเข้ามาสู่วงการ
A: เราเปิดร้านแรกที่ฮิโรชิมาแล้วก็ประสบความสำเร็จมาก จากนั้นเราเลยเปิดร้านที่ 2 สถานที่อาจจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เราเลือกเปิดในตึกเดียวกับโรงภาพยนตร์ อยู่ที่ชั้น 2 ขนาดใหญ่เป็น 5 เท่าของร้านที่ 1 ปรากฏว่าร้านที่ 2 ขายไม่ดีเลย จนกำไรหายหมด นี่คือความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
Q: ช่วยบอกถึงบุคลิกลักษณะของตัวเองว่าเป็นคนอย่างไร
A: ผมคิดว่าผมมองโลกในแง่ดี ในบางครั้งผมก็มีจินตนาการ แต่บางครั้งก็มองโลกในแง่ของความเป็นจริงด้วย ผมชอบมองตัวเองจะเหมือนต้องจับผิด คล้ายๆ มีบุคคลที่ 3 มองที่ตัวเอง
Q: มีวิธีการถ่ายทอดงานให้ลูกน้องอย่างไร
A: ผมเป็นคนที่เข้มงวดมากถ้าทำผิด ผมไม่ให้อภัย แต่นั่นเพราะผมต้องการให้เขาเติบโต ไม่อยากให้ผิดหวังในอนาคตนั่นเอง
Q: การจะเอาชนะ Gap, H&M, ZARA คุณเคยเดินเข้าไปสำรวจร้านไหนบ้างหรือไม่ว่าเป็นอย่างไร
A: ผมเองไม่ค่อยได้มองบริษัทคู่แข่ง ร้านของผมเองก็ยังไม่ค่อยได้ไปเลย เพราะว่าถ้าไปร้านเหล่านี้แล้วจะทำให้รู้สึกเหมือนลักษณะไปจับผิดก็เลยไม่ไป แต่เราก็มีการสำรวจร้านต่างๆ เราจะมีแผนกเกี่ยวกับเรื่องการขาย การจัดการอยู่แล้ว นั่นเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องดูทำหน้าที่ไปดูโดยเฉพาะ
Q: คาดหวังอย่างไรเกี่ยวกับการเปิด UNIQLO ที่กรุงเทพฯ
A: ประเทศไทยกับญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกันอย่างดี ตั้งแต่สมัยก่อนแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางของเอเชีย เราจึงมีความรู้สึกว่าอยากจะเข้าไปเปิดตลาด และลักษณะระดับของการครองชีพต่างๆ ในประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีระดับค่าครองชีพที่สูง เลยถือโอกาสแนะนำ UNIQLO ในตลาดของประเทศ ไทยที่มีความเป็นอยู่ในระดับที่ดีแล้ว และเราคาดหวังว่าอยากจะให้ประชาชนไทยมีไลฟ์สไตล์ระดับที่ดีขึ้น
Q: อากาศในเมืองไทยค่อนข้างร้อนทั้งปีเพราะฉะนั้นสินค้าของ UNIQLO มีการปรับการตลาดอย่างไรบ้าง
A: ถึงประเทศไทยจะมีไม่ครบทุกฤดูก็จริง แต่ว่าเราจะมี Concept ของสินค้าคล้ายๆ กันทั่วโลก
อย่างปีที่แล้วในช่วงตุลาคมของสิงคโปร์ ซึ่งก็จะเป็นตัวอย่างเดียวกันกับไทย เสื้อหนาวขนเป็ด Ultra Light ขายดี แล้วก็กลายเป็นว่าคนไทยเองก็เป็นนักท่องเที่ยวเองที่ไปซื้อด้วย และก็ยังมีกลุ่มลูกค้าที่ซื้อเตรียมไปท่องเที่ยวในต่างประเทศอีก ผมคิดว่าตลาดไทยน่าจะมีลักษณะเดียวกับสิงคโปร์ นอกจากนี้ช่วงหน้าร้อนหรือหน้าฝนคนจะเปิดแอร์จนเย็นเจี๊ยบ คนไทยก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอุปกรณ์เสื้อกันหนาวต่างๆ ก็จะมีส่วนสำคัญที่คนสามารถใช้ได้
Q: แล้วจะมีอะไรเพิ่มเติมอีกไหม เกี่ยวกับนวัตกรรมสำหรับเมืองร้อน
A: ญี่ปุ่นเองก็ร้อน โดยเฉพาะพอหลังจากที่แผ่นดินไหวก็และเกิดปัญหาเรื่องนิวเคลียร์ ทำให้อัตราพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ทั้งหมดมีความจำเป็นคนญี่ปุ่นต้องประหยัดไฟ เพราะเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟ เรื่องแอร์ที่ต้องปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นก็เลยกลายเป็นว่าชุดชั้นในก็ดี Silky Dry หรือ Sarafine ต่างๆ หรือพวกเสื้อผ้าแนว Sport ต่างๆ ของเรา ซึ่งเป็นเสื้อผ้าดูดความชื้นของเหงื่อ ก็จะระเหยได้เร็วมากแห้งไว และเนื้อนุ่มมาก ไม่ว่าจะเป็นพวกเสื้อโปโล เสื้อเชิ้ต หรือว่าพวกกางเกงชั้นในต่างๆ เรามีเทคนิคพิเศษ เทคโนโลยีพิเศษ ที่เราจะนำเอาทั้งหมดต่างๆ นี้เข้าไปจำหน่าย ในประเทศไทยด้วย ที่ทำให้คนไทยใส่แล้วรู้สึกสบายตัวกับอากาศที่ร้อน
Q: ในประเทศไทยมีโรงงานที่ผลิตสินค้าให้กับ UNIQLO เหมือนกัน ปัจจัยอะไรที่ใช้พิจารณาที่จะเลือกโรงงานไหนมาทำงานร่วมกับ UNIQLO
A: บริษัทนั้นๆ ต้องมีการดำเนินกิจการที่ดี เราเลือกไทย เพราะเป็นประเทศสำคัญในกลุ่ม ASEAN เรามีความมุ่งหวังว่าโรงงานมีศักยภาพและส่งไปขายยังประเทศรอบๆ ได้ด้วย แล้วเราอยากจะเพิ่มฐานการผลิต ขยายไปยังประเทศ ASEAN อื่นๆ ซึ่งถ้ามีไทยเป็นศูนย์กลางแล้วส่งขยายออกไปซึ่งจะเป็นผลดีไม่น้อย
Q: ทราบว่ามีแผนที่จะเกษียณ ตอนอายุ 65 มีการเตรียมตัวอย่างไร
A: คิดว่าจะเลิกมาทำงานบริษัทแบบทุกๆ วัน แต่ผมจะทำงานต่อในตำแหน่งของผู้บริหารคือเป็น Chairman และจำเป็นต้องหาผู้สืบทอด ต้องอบรม นี่เป็นจุดที่สำคัญมากเลยเพื่อสร้างผู้สืบทอดกิจการให้ดี นี่เป็นงานสำคัญ
Q: มีผู้สืบทอดหรือไม่
A: ผมมีลูกชาย 2 คน แต่น่าจะใช้การว่าจ้างมืออาชีพมาบริหารมากกว่า
Q: ทำไมถึงอยากรีไทร์ตัวเองตอนอายุ 65
A: ไม่เรียกว่าเกษียณดีกว่า คือตำแหน่งของ President ที่ทำอยู่นี้ ก็คือจะต้องมาบริษัททำงานทุกวัน พออายุเกิน 65 ปี คิดว่าเรี่ยวแรงก็จะเริ่มหายไปแล้ว ตอนนี้ก็เหลืออีก 3 ปี
Q: ทุกวันนี้ทำงานวันละกี่ชั่วโมง
A: ผมทำงานตั้งแต่ 08.00-17.00น. รวมแล้วก็ประมาณ 10 ชั่วโมง ซึ่งผมว่าน้อยมาก