“ตัน” เมินบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่น เสิร์ฟสเต๊กขาย

หลังจากส่ง “อิชิตัน” เปิดศึกชาเขียวกับ “โออิชิ” ระลอกใหญ่ ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไม่ตัน จำกัด ก็เปิดตัวร้านอาหารตามแนวทางธุรกิจที่เขาถนัด คราวนี้มาในแบรนด์ใหม่ “โทคิยะ” แต่ครั้งนี้โจทย์ยากของตัน เพราะเขาถูกจับตามองว่าจะโคลนนิ่ง โออิชิบุฟเฟ่ต์ มาเหมือนกับชาเขียว

ตันจึงต้องหลีกเลี่ยงบุฟเฟ่ต์สไตล์ญี่ปุ่นเขาเคยสร้างมา ซึ่งเวลานี้เปิดกันเกลื่อนเมือง ตันจึงต้องหาร้านอาหารสไตล์ใหม่ๆ ที่เรียกว่า สไตล์ “ฟิวชั่น สเต๊ก คอร์ส” โทคิยะ เป็นร้านอาหารสไตล์ ฟิวชั่น สเต๊ก คอร์ส ภายใต้คอนเซ็ปต์ Eat Meets Arts เป็นคอนเซ็ปต์จากไต้หวันแต่ยังตั้งชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น โดย โทคิยะ แปลว่า ความงดงามแห่งศิลปะของอาหารบนจานเซรามิก

ตันใช้เงินลงทุน 20 ล้านบาท สำหรับสาขาแรก บนพื้นที่ 600 ตารางเมตร ชั้น 2 สยามดิสคัฟเวอรี่ งบลงทุน 20 ล้านบาท จำนวนที่นั่ง 192 ที่ ให้บริการได้วันละ 400-500 คนต่อวัน เขาคาดว่าระยะเวลา 2-3 ปี คุ้มทุน ขณะที่ภายในสิ้นปี 2555 จะเปิดเพิ่มอีก 3 สาขา สาขาที่ 2คือ ทองหล่อ จะเปิดทั้งในและนอกศูนย์การค้า โดยจะมียอดขายรวมกัน 300 ล้านบาท การลงทุนอยู่ในระดับปานกลาง ไม่ได้เน้นการตกแต่งหรูหรา เน้นบรรยากาศสบายๆ กลุ่มเป้าหมายหลักคือ ครอบครัว และบริษัทต่างๆ ที่ต้องการจัดเลี้ยง เนื่องจากสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายต่อหัวได้

เป้าหมายของตันครั้งนี้ ไม่ต่างไปจากสมัยแจ้งเกิด โออิชิ บุฟเฟ่ต์ คือ การทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นที่เคยเป็นร้านราคาแพง กลายมาเป็นบุฟเฟ่ต์สำหรับลูกค้าทั่วไป ครั้งนี้ก็เช่นกัน ตันก็หวังว่า ฟิวชั่น สเต๊ก ที่มีให้บริการเป็นคอร์สในโรงแรม 5 ดาว ราคาแต่ละคอร์ส 4,000-5,000 บาท ยากที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ ให้คนทั่วไปได้ลิ้มลอง ด้วยราคา 499 บาท โดยเสิร์ฟ 8 คอร์ส (อาทิ ของว่าง สลัด ซุป เมน คอร์ส รวมเครื่องดื่ม) เฉลี่ยระยะเวลาการให้บริการต่อคอร์ส 1-1.30 ชั่วโมง

ตันมองว่าเซ็กเมนต์สเต๊กคู่แข่งยังน้อย ที่ครองตลาดอยู่ก็คือซิซเล่อร์จากไมเนอร์ ฟู้ดฯ แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างโดยซิซเล่อร์ให้บริการในรูปแบบบุฟเฟ่ต์และมีสลัดบาร์เป็นจุดแข็ง

แน่นอนว่าการแจ้งเกิด โทคิยะ เป็นโจทย์ยากกว่าสมัยเปิดโออิชิ บุฟเฟ่ต์ เพราะเวลานี้คู่แข่งมากมาย เฉพาะบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นอย่างเดียวก็มีหลายระดับราคา ผู้เล่นเวลานี้ก็เป็น ธุรกิจขนาดใหญ่ ยังไม่รวมร้านอาหารประเภทอื่นๆ

แต่ธุรกิจอาหารก็เป็นธุรกิจที่ตันถนัด แม้สัดส่วนรายได้จะไม่มากเท่ากับชาเขียว รายได้ 80% มาจากธุรกิจเครื่องดื่ม และร้านอาหาร 20% แต่ธุรกิจนี้ก็เป็นธุรกิจที่สร้างกระแสเงินสดได้ทันที

ตันเองก็มอบหมาย 20 Challengers ที่คัดเลือกเข้าเป็นพนักงานเพื่อดูแลธุรกิจร้านอาหารนี้ ซึ่งตันสร้างแรงจูงใจด้วยการให้เป็นหุ้นส่วนธุรกิจมาเป็นกำลังสำคัญ ธุรกิจนี้ที่ต้องใช้เวลาในการดูแลมากกว่า ยังเตรียมโปรเจกต์ใหญ่ของตันสำหรับธุรกิจร้านอาหารคือ ราเมง แชมเปี้ยน เตรียมยกทัพลงศูนย์การค้าในไม่ช้านี้

ต้องรอดูว่า “โทคิยะ” จะเป็นกลยุทธ์ “สับขาหลอก” เหมือนกับการปล่อย “ดับเบิ้ลดริ้งค์” ลงสู่ตลาดก่อนจะปล่อยหมัดจริง “อิชิตัน” เหมือนกับราเมงแชมเปี้ยนจะเป็นหมัดจริงของตันหรือไม่

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>ประเมินสัดส่วนรายได้บริษัท ไม่ตัน จำกัด ปี
2554

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>รายได้
เครื่องดื่ม

style=”vertical-align: top; text-align: left; font-weight: bold;”>1,300
ล้านบาท
– อิชิตัน

    1,000 ล้านบาท – ดับเบิ้ล ดริ้งค์

      300 ล้านบาท ร้านอาหาร

      style=”vertical-align: top; text-align: left; font-weight: bold;”>200
      ล้านบาท
      style=”font-weight: bold;”>ที่มา : บริษัท ไม่ตัน จำกัด