เมอร์เซเดส-เบนซ์ ใช้ 2 มาตรฐานจัดการ Grey Market

อาจเป็นความอัดอั้นตันใจของผู้บริหารระดับสูง อเล็กซานเดอร์ เพาฟเลอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส – เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ต้องตอบคำถามผู้สื่อข่าวอย่างต่อเนื่องกว่า 30 นาที ในเรื่องเดียว คือการแย่งชิงลูกค้าระหว่าง เบนซ์ ประเทศไทย กับผู้นำเข้าอิสระ

เขาพูดที่หน้าเวทีแถลงข่าวเลยว่า “รถยนต์เมอร์เซเดส – เบนซ์มีประวัติความเป็นมายาวนานถึง 125 ปี ผมนำรถรุ่นใหม่ คนออกแบบ วิศวกร ขึ้นบนเวทีเพื่อบอกว่าเรามีรถใหม่อะไร แต่เรากำลังพูดถึงยอดขาย 7 เดือนกับผู้นำเข้าอิสระแค่อย่างเดียว”

งานแถลงข่าวมีหัวข้อหลักคือ กลยุทธ์เชิงรุกขับเคลื่อนตลาดในไตรมาสสุดท้ายของปี 2011 ซึ่งทางเมอร์เซเดส – เบนซ์ (ประเทศไทย) ตั้งใจอย่างมากที่ต้องการสื่อสารออกไปว่า มีความพร้อมในการแข่งขัน และประกาศชัดเจนในการชนกับผู้นำเข้าอิสระ ปัญหาใหญ่ที่เบนซ์ประเทศไทยยังแก้ไม่ตก

บรรยากาศของงานก็เชิญชวนให้ทุกคนมองไปที่การแข่งขันของทั้ง 2 ผู้จำหน่ายเบนซ์ในประเทศไทย ซึ่งตัวแทนจากบริษัทแม่ ทีมผู้บริหารเปิดตัวอย่างชัดเจนด้วยทุกคนใส่เสื้อสีขาว สูทดำ และรถเบนซ์รุ่นใหม่ที่ขึ้นโชว์บนเวทีทุกคัน เป็นรุ่นสีขาว

อเล็กซานเดอร์ บอกเลยว่า แนวคิดของงานครั้งนี้คือความขาวสะอาด โปร่งใส ในการทำธุรกิจ ขายรถยนต์เมอร์เซเดส – เบนซ์ ในประเทศไทย ที่บริษัททำขั้นตอนถุกต้องตามกฎหมาย จ่ายภาษีครบ และตรงเวลา

การที่เบนซ์ต้องลุกขึ้นมาตอบโต้ และแก้เกมแบบนี้ก็เพราะว่ายอดขายรถของกลุ่มผู้นำเข้าอิสระนั้น เติบโตทัดเทียมกับเบนซ์ประเทศไทย

“เราขายได้เท่าไหร่ ผู้นำเข้าอิสระก็ขายได้เท่านั้น” ประธานบริหารของเบนซ์ ประเทศไทย ให้เหตุผลอย่างชัดเจนที่ต้องแก้เกมอย่างดุเดือด

เบนซ์ประเทศไทยจึงใช้วิธีประกาศเปิดตัวรุ่นใหม่ 7 รุ่นในกลุ่ม C, E และ SLK พร้อมกับปรับราคาลงมาตั้งแต่ 100,000 – 200,000 บาท และจำกัดการให้บริการรถที่ซื้อจากผู้นำเข้าอิสระด้วยการรับซ่อม แต่ไม่รับประกันคุณภาพ และรถที่ไม่ได้ซื้อจากตัวแทนจำหน่ายของเบนซ์ประเทศไทยต้องลงทะเบียนกับเบนซ์ประเทศไทย และเสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 150,000 – 500,000 บาท ตามรุ่นของรถยนต์

ความเจ็บปวดของเบนซ์ประเทศไทยคือ Brand ของเบนซ์ที่เป็นรถระดับหรู และกลุ่มผู้ใช้ในประเทศเป็นกลุ่มบน ทำให้ต้องรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์เอาไว้ จึงเกิดปัญหาซื้อรถจากผู้นำเข้าอิสระ แต่มาใช้บริการของตัวแทนจำหน่ายของเบนซ์ประเทศไทย ที่ต้องลงทุนด้านอุปกรณ์ พนักงาน

เบนซ์ประเทศไทยไม่ได้ต้องการเป็นแค่อู่ซ่อมรถเบนซ์เพียงอย่างเดียว

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ยอดขายรถเมอร์เซเดส
– เบนซ์ ม.ค. – ก.ค. 2554

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>รุ่น

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ยอดขาย
(คัน)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>เติบโต
(+/-)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>สัดส่วน
(%)
C-Class 1,023 +7 40 E-Class 

1,452 +2 57 S-Class N/A +3 49

การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรถที่ซื้อจากผู้นำเข้าอิสระ

  • รถที่ผลิตก่อนมกราคม 2554 ไม่มีผลบังคับ
  • รถที่ผลิตตั้งแต่ 1 มกราคา 2554 และใช้บริการของศูนย์บริการ
  • ภายใน 30 สิงหาคม 2554 ต้องสมัคร แต่ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  • รถที่ผลิตตั้งแต่ 1 มกราคา 2554 แต่ไม่ใช้บริการของศูนย์บริการ
  • ภายใน 30 สิงหาคม 2554 ต้องสมัคร และเสียค่าธรรมเนียม
  • cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

     อัตราค่าธรรมเนียมดำเนินการรถจากจากผู้นำเข้าอิสระ

    style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>รุ่น

    style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> ค่าธรรมเนียม
    (บาท)
    A/B/C 150,000 E/SLK/C-Coupe  300,000 CLS/S/M/R    400,000 GL/SL/CL/AMG 500,000