เปิดเทคนิคสร้างธุรกิจผ่านฐาน “คอมมูนิตี้” จาก “มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์” ดิจิตัลเอเยนซี่ที่กำลังบูม


แบรนด์จะเติบโตได้ไม่ใช่แค่สร้างด้วยการตลาดที่เน้นเฉพาะยอดขายตรงหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีเทคนิคที่เข้าใจพฤติกรรมคนยุคนี้ “มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์” บริษัทเอเยนซี่โฆษณาสัญชาติไทย ที่กำลังมาแรงในยุคนี้ จึงเลือกชูจุดขายการสร้างแบรนด์ผ่าน “คอมมูนิตี้” เปิดให้ลูกค้าได้สนทนากันเองเพื่อสร้างความผูกพัน หมัดเด็ดที่จะทำให้ผู้บริโภคอยู่กับแบรนด์อย่างยั่งยืน

“วันแรกๆ ที่เราเปิดบริษัท ช่วงนั้น Facebook กำลังบูม โพสต์และช่วยขายของได้ง่าย ค่าโฆษณายังค่อนข้างถูก บวกกับเราเริ่มการใช้กระแสกับคอนเทนต์เป็นเจ้าแรกๆ ทำให้สามารถสร้างฐานให้ธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว” ลิษา เลาหกรวัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด กล่าวย้อนถึงเมื่อแรกก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2559 โดยเริ่มจากการตลาดบนโซเชียลมีเดียและดิจิทัล

นางสาวลิษา เลาหกรวัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

อย่างไรก็ตาม เธอกล่าวต่อว่าบริบทของการทำการตลาดดิจิทัลวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคมีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในแง่พฤติกรรมผู้บริโภคและแพลตฟอร์มที่ใช้งาน โซเชียลมีเดียมีจำนวนมากขึ้น และผู้บริโภคมีความสนใจที่หลากหลาย ตลาดที่เปลี่ยนทำให้ “มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์” เองมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริษัทสามารถสร้าง “Business Solutions” ให้กับลูกค้าได้รอบด้าน ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ โดยปัจจุบัน มาสเก็ตฯ มีการให้บริการแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก คือ

  •  Conversation Solutions – การทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย, สร้างฐานคอมมูนิตี้ผ่านโซเชียลมีเดีย, รวบรวมและเข้าถึงอินฟลูเอนเซอร์ทุกแขนง
  •  Creative Solutions – สร้างสรรค์การตลาดและสร้างแบรนด์ โดยใช้ดาต้าและเทคโนโลยี
  • Tech Solutions – ผนึกพันธมิตรเพื่อใช้เทคโนโลยีทำการตลาด เช่น AI, Virtual Influencer, NFT, Gamification

“คอมมูนิตี้” กุญแจสำคัญที่ทำให้แบรนด์ยั่งยืน

ความซับซ้อนของผู้บริโภคเชื่อมโยงกับการสร้างแบรนด์ด้วย “คอมมูนิตี้” อย่างไร? ลิษาอธิบายว่า เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดยุคนี้ไม่ควรแบ่งกลุ่มลูกค้าเพียงแค่ เพศ วัย ภูมิลำเนา ฯลฯ เหมือนในอดีต เพราะ “ความสนใจ” หรือ “ไลฟ์สไตล์” ของคนไม่ได้แบ่งตาม “demographic” ที่ใกล้เคียงกันอีกแล้ว

“วันนี้เด็กอายุ 15 ปี อาจจะมีสิ่งที่ชอบต่างกันหลายอย่าง ขณะที่ผู้ใหญ่วัย 30 ปี อาจจะชอบสิ่งเดียวกับเด็กวัย 15 ปีก็ได้ อายุไม่ใช่กรอบจำกัดอีกต่อไปว่าจะต้องชอบเหมือนๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ทั้งคู่อาจชอบฟังเพลงเหมือนกัน ชอบออกกำลังกายเหมือนกัน หากแบรนด์เข้าใจไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคสินค้าตัวเอง จะสามารถสร้างสังคมความชอบเหมือนกัน ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์เข้าไปอยุ่ในใจผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น” ลิษากล่าว

อีกประเด็นหนึ่งคือ ผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้รอฟังแบรนด์สื่อสารทางเดียวเท่านั้น แต่ชอบที่จะพูดคุยกันเองมากกว่า แบรนด์มีหน้าที่จับกระแสที่สังคมพูดคุยกันมาต่อยอดเป็นการตลาด หรือเรียกว่า “Reverse Marketing”

เมื่อต้องเจาะกลุ่มเป้าหมายตาม “ความสนใจ” และผู้บริโภคยังชอบการพูดคุยกันเอง ทำให้ “คอมมูนิตี้” คือคำตอบที่ใช่

มาสเก็ตฯ ได้หยิบวิธีการนี้มาเป็น “จุดแข็ง” ของบริษัทในการบริการลูกค้าแบรนด์มาตลอด โดยมีทั้งการ “สร้าง” คอมมูนิตี้ให้กับแบรนด์โดยเฉพาะ ผ่านกลยุทธ์ที่กระตุ้นให้เกิดความสนใจโดยกลุ่ม Influencer เพื่อให้เกิดบทสนทนาอย่างต่อเนื่องในคอมมูนิตี้เพื่อที่ในที่สุดผู้บริโภคจะสร้างการสนทนากันเองอย่างเป็นธรรมชาติ จนเกิดความผูกพันกับคอมมูนิตี้และแบรนด์ต่อไป

อีกส่วนหนึ่งคือความเข้าใจของทีมงานต่อคอมมูนิตี้นั้นๆ เพื่อจะจับกระแสในการทำการตลาดต่อได้ เช่น จากการศึกษาอินไซต์ของผู้ใช้รถยนต์รุ่นหนึ่ง พบว่ามีกลุ่มใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้มาสเก็ตฯ เข้าไปทำการตลาดผ่านความสนใจของการเป็นผู้ปกครองนักเรียน จนทำให้เกิดกระแสการแนะนำต่อแบบปากต่อปากทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

ตัวอย่างงานของมาสเก็ตฯ ที่ใช้กลยุทธ์นี้จนประสบความสำเร็จ เป็นแคมเปญแบรนด์ยาชนิดหนึ่ง ซึ่งในทางกฎหมายผลิตภัณฑ์ยาไม่สามารถโฆษณาได้ มาสเก็ตฯ จึงได้ใช้การสร้างคอมมูนิตี้ผ่านโซเชียลมีเดีย ในการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพผู้หญิง จัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ จนกลายเป็นชุมชนที่ผู้หญิงสามารถมาพูดคุยปัญหากัน มีผู้ติดตามกว่า 250,000 คน ซึ่งแพลตฟอร์มนี้กลายเป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมผู้หญิงกล้าที่จะปรึกษาเภสัชกรได้ทั่วประเทศ


รวดเร็ว ล้ำสมัยเรื่องดิจิตัล เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ

อีกหนึ่งจุดแข็งของมาสเก็ตฯ คือการปรับตัวใช้เครื่องมือเทคโนโลยีได้รวดเร็ว และนำมาใช้กับการสร้างสรรค์งานให้ลูกค้า ตัวอย่างเช่น แคมเปญของ TRAFFIC องค์กรไม่แสวงหากำไร ที่ต้องการรณรงค์ให้คนไทยหยุดสนับสนุนเครื่องรางที่ทำมาจากอวัยวะสัตว์ป่า เช่น งาช้าง มาสเก็ตฯ จึงสร้างสรรค์ไอเดียร่วมกับการใช้เทคโนโลยี “ยันต์ออนไลน์” ที่ customized เฉพาะบุคคล เป็นการสร้างตัวเลือกใหม่ให้คนเปลี่ยนมาเลือกใช้แทนการใช้เครื่องรางจากสัตว์ป่า

แนวทางของบริษัทที่เน้นเทคโนโลยีมาเป็นแกนหลัก ทำให้ล่าสุดบริษัทมีการพัฒนา Virtual Influencer ขึ้นมาในชื่อ “พะพราว” อินฟลูฯ เสมือนจริงภายใต้คอนเซ็ปต์ “Powerful” ผู้หญิงแกร่ง แข็งแรง มีพลังเหนือธรรมชาติ แตกต่างจากที่มีมาก่อนในตลาดเอเชียซึ่งอินฟลูฯ เสมือนจริงมักจะเป็นหญิงสาวน่ารัก ตัวเล็ก ทำให้พะพราวน่าจะเป็นตัวเลือกใหม่ในวงการได้

ลิษาเชื่อว่า Virtual Influencer น่าจะเริ่มติดตลาดในไทยในปีนี้ และอนาคตน่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเหมือนกับในญี่ปุ่น ขณะที่แบรนด์จะได้ประโยชน์จากการเลือกใช้อินฟลูฯ เสมือนจริง เพราะสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ร่วมกันได้ง่ายกว่า เช่น ใช้ระบบ AI ปรับคำพูดหรือท่าทางของพะพราวได้อัตโนมัติเพื่อ personalized ทำโฆษณาที่แตกต่างแยกย่อยให้ลูกค้าแต่ละกลุ่ม หรือให้พะพราว Live ขายสินค้าได้หลายภาษาพร้อมๆ กัน

พะพราว (PAPROUD) อินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “1st Powerful Virtual Woman”


2023 จัดสมดุลออนไลน์-ออฟไลน์

สำหรับเทรนด์การตลาดปี 2023 ลิษาเชื่อว่าข้อแตกต่างสำคัญคือ ปีนี้จะเป็นปีที่ผู้บริโภค “Digital Balancing” เริ่มจัดสมดุลการรับสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ แตกต่างจากช่วง 3 ปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงโควิด-19 ทำให้น้ำหนักการรับสื่อแทบจะอยู่ในโลกออนไลน์ 100% เธอมองว่า สื่อดั้งเดิม เช่น สื่อ Out of Home, สื่อวิทยุ, อีเวนต์การตลาด ฯลฯ จะกลับมามีความสำคัญอีกครั้ง และต้องใช้งานผสมผสานกับสื่อออนไลน์ ทำให้นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์ให้ทันกระแสของผู้บริโภค

“ยุคนี้ 3-4 เดือนเราต้องรีวิวและปรับใหม่แล้ว เพราะทุกอย่างเปลี่ยนเร็วขึ้น เช่น เมื่อต้นปี 2022 TikTok ยังถูกมองว่าเป็นพื้นที่ของเด็ก Gen Z แต่พอถึงปลายปี 2022 ไม่ว่าวัยไหนก็เข้ามาเหมือนกัน และคอนเทนต์ก็มีหลากหลาย ไม่ใช่แค่ความบันเทิงแต่เป็นแหล่งความรู้ คอมมูนิตี้ของผู้ใช้ก็เกิดขึ้น ทำให้แบรนด์ไม่ควรมองข้าม” ลิษากล่าว

ปัจจุบัน มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ให้บริการลูกค้าแล้วกว่า 100 รายจากหลากหลายวงการ เช่น ยานยนต์ ธนาคาร พลังงาน อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ค้าปลีก บิวตี้ ฯลฯ และปีนี้บริษัทจะยังคงยึดมั่นในหัวใจการทำธุรกิจคือ ‘Move Us Forward’ ต่อไป พร้อมเคียงข้างลูกค้า พนักงาน และผู้บริโภคปลายทางให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน

มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์

ติดต่อ มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ ได้ที่

เว็บไซต์ www.masketcommunications.com

เฟซบุ๊ก Masket Communications : https://bit.ly/PRMasketFB1

อีเมล Client.service@masketcommunications.com